Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

2021

การบริหาร

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยะพร ป้อมเกษตร์, เพ็ญวรา ชูประวัติ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2021

การวิเคราะห์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยะพร ป้อมเกษตร์, เพ็ญวรา ชูประวัติ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์สภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว และครูฝ่ายปกครอง รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNImodifiedผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 กรอบแนวคิด ได้แก่ 1) กรอบแนวคิดการบริหาร 2) กรอบแนวคิดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) กรอบแนวคิดคุณภาพของนักเรียน 2) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษามีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล (PNImodified = 0.187) รองลงมาคือ การวางแผน (PNImodified = 0.178) และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (PNImodified = 0.170) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกระบวนการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การส่งต่อ (PNImodified = 0.238) รองลงมาคือ การป้องกัน (PNImodified = 0.177) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน (PNImodified= 0.173 เท่ากัน) และการคัดกรองนักเรียน (PNImodified = 0.169) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามคุณภาพนักเรียน พบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านจิตใจ (PNImodified = 0.193) รองลงมาคือ ด้านสติปัญญาและทักษะ (PNImodified = 0.188) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (PNImodified = 0.182) และด้านร่างกาย …


การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน, เกริกก้อง มังคละพฤกษ์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา Jul 2021

การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน, เกริกก้อง มังคละพฤกษ์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน ตัวอย่าง คือ โรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่เปิดสอนระดับ ปวช. และ/หรือ ปวส. จำนวน 269 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (M = 3.77) รองลงมาคือ การบริหารวิชาการ (M = 3.73) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.42) โดยการบริหารวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (M = 4.42) รองลงมาคือ การบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา (M = 4.41)