Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

2018

COMPUTER SUPPORTED COOPERATIVE WORK

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Education

รายงานวิจัยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน, เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ Jul 2018

รายงานวิจัยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน, เพียงตา กิจหิรัญวงศ์

Journal of Education Studies

การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน เป็นโครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยมี วัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ เพื่อศึกษา 1) บริบทของโรงเรียน 2) ลักษณะของกิจกรรม สื่อ และ โปรแกรมการพัฒนาโรงเรียน 3) ผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่มี ต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียน การสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน 4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานการศึกษา ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทาง การศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 1 คน ครูจำนวน 10 คน ผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน นักการภารโรงจำนวน 2 คน นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 69 คน และ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 129 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) แบบบันทึก คะแนน NT และ O-NET 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 4) แบบประเมินร่วมกันสะท้อนและเสริมสร้างความคิดต่อกิจกรรมการฝึกอบรม 5) แบบสอบถามร่วมสะท้อนคิดวันดอกนนทรีบาน 6) แบบสัมภาษณ์วันดอกนนทรีบาน 7) แบบติดตามผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน 8) แบบติดตามผลการพัฒนาการ บริหารโรงเรียน 9) แบบสังเกตและแบบบันทึกการลงภาคสนาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) โรงเรียน วัดเสาธงหินเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สัดส่วนครู : นักเรียน คือ 1 : 8 โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี …