Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

โรงเรียนสาธิต

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

รูปแบบการจัดการศึกษา "โรงเรียนสัมมาชีพ" สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม เชียงใหม่, จรีพร นาคสัมฤทธิ์ Apr 2019

รูปแบบการจัดการศึกษา "โรงเรียนสัมมาชีพ" สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม เชียงใหม่, จรีพร นาคสัมฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง 2) เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง วิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (PNImodified) ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมของสภาพที่พึงประสงค์ (X bar = 4.12) สูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมของสภาพปัจจุบันทั้งหมด ( = 3.72) สภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ จัดการศึกษาโดยเทียบโอน ประเมินผลมาตรฐาน หลักสูตรเน้นทักษะอาชีพควบคู่หลักสูตรแกนกลาง จัดการศึกษาและประเมินผลยืดหยุ่นจัดทำสื่อการสอน จัดการศึกษาแบบสำธิตทางเลือก สร้างนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และวิจัยการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมแก่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง คือ รูปแบบโรงเรียนสำธิต?สัมมาชีพ? จัดการศึกษา 3 ระบบ ใช้วิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชนเป็นฐานเรียนรู้ ส่งเสริมนวัตกรรมจัดหลักสูตรสัมมาชีพที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นห้องปฏิบัติการฝึกอบรมครู ประเมินผลยืดหยุ่น เทียบโอนผลการเรียนรู้ พัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่งเสริมความสำมัคคีในกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายจัดมาตรฐานการศึกษาแบบพิเศษ ใช้ภาษาชนเผ่า ใช้สื่อการสอนหลากหลาย ดึงศักยภาพของผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์ให้พึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สริน ประดู่, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์, มนธีร์ จิตต์อนันต์ Jan 2019

สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สริน ประดู่, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์, มนธีร์ จิตต์อนันต์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิตจำนวน 186 คน สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ด้านความรู้ ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ เลือกประเมินด้วยข้อสอบปรนัย ด้านทักษะกีฬา ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ประเมินทักษะกีฬาเชิงปริมาณโดย ใช้แบบทดสอบและข้อทดสอบทักษะกีฬาที่ครูสร้างขึ้น ส่วนเชิงคุณภาพครูพลศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้เกณฑ์ การประเมิน (Scoring rubric) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ครูพลศึกษา ส่วนใหญ่เลือกใช้แบบสังเกตพฤติกรรม ด้านสมรรถภาพทางกาย ครูพลศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้แบบทดสอบ และเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สภาพปัญหาที่ครูพลศึกษาพบในการวัดและประเมินผล ได้แก่ 1) ด้านความรู้ คือ การออกข้อสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัยไม่สามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ 2) ด้านทักษะกีฬา คือ การเลือกแบบทดสอบทักษะกีฬาไม่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน 3) ด้านสมรรถภาพทางกาย คือ จำนวนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบไม่เพียงพอ 4) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม คือ การวัดคุณธรรมและจริยธรรมได้ไม่ครบทุกด้าน 5) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ ขาดแบบสังเกต ที่วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นมาตรฐาน