Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

โรงเรียนประถมศึกษา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, ชมนาถ ลือภูเขียว, สุรชัย สิกขาบัณฑิต Oct 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, ชมนาถ ลือภูเขียว, สุรชัย สิกขาบัณฑิต

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการและการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้ แก่ผู้บริหารและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 320 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.53) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านพัฒนาหลักสูตร ด้านพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบุคลากรด้านเทคโนโลยี ด้านวัฒนธรรม และด้านโครงสร้าง 3) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีความสัมพันธ์กับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างด้านวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี และด้านบุคลากร (R2 = 0.606, F = 88.087, p-value = 0.000)


รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด Jul 2019

รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประชากร ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล โรงเรียนละ 9 คน จาก 761 โรง รวมทั้งสิ้น 6,849 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) การปฏิรูปการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา (2) การปฏิรูปการจัดทําหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (3) การปฏิรูปการประกันคุณภาพการศึกษา และ (4) การปฏิรูปการวัดและประเมินผลซึ่งรวมได้เป็น 15 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ เป็นชุดของการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การปฏิบัติ การรับผลที่เกิดขึ้น และการประเมินผล ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงจุดเน้นวัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการ ให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และ 3) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ ในภาพรวม มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย