Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

เครื่องมือทางปัญญา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Jul 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ 2) การนําร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ และ 3) การศึกษา
ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนํ้าพี้มิตรภาพที่ 214 จํานวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ (Executive functions) และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการเรียนการสอนฯ มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นสมอง ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น ขั้นเล่นร่วมกัน และขั้นสะท้อนความสําเร็จ 2) ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยควบคุมคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีขนาดอิทธิพลมาก


การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย, ธนิยา เยาดำ, ศิริชัย กาญจนวาสี, ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ Jan 2019

การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย, ธนิยา เยาดำ, ศิริชัย กาญจนวาสี, ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลักภาษา 9 คน และการสอนภาษาไทย 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ชุดที่ 1 แบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 และ 3 แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่าง ควอไทล์เพื่อหาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บอกความหมายของ คำศัพท์ที่มีความหมายตามอรรถ 2) บอกความหมายของคำศัพท์ที่มีความหมายโดยนัย 3) ระบุความหมาย ของพลความของข้อมูลที่ปรากฏ 4) ระบุความหมายของพลความของข้อมูลที่แฝงเร้น 5) ระบุใจความสำคัญ ของข้อมูลที่ปรากฏ 6) ระบุใจความสำคัญของข้อมูลที่แฝงเร้น และ 7) การตีความด้านองค์ประกอบของ ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 องค์ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด (Mdn = 5.00, |Mdn-Mode| = 0, IR = 0)