Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

ระดับประถมศึกษา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

หลักสูตรและการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาของโรงเรียนท้องถิ่นในภาคเหนือ, สุรางคนา ฤกษ์สมบูรณ์ดี Apr 2019

หลักสูตรและการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาของโรงเรียนท้องถิ่นในภาคเหนือ, สุรางคนา ฤกษ์สมบูรณ์ดี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการหลักสูตรการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ของโรงเรียนท้องถิ่นและโรงเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ภาคเหนือ ผลการวิจัยพบว่า สมัยพญามังรายมหาราช กษัตริย์พระองค์แรก ใช้วัดเป็นสถานที่อ่านเขียนตัวอักษรล้านนา ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ส่งเสริมให้คนล้านนาเรียนภาษาไทย หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้ารับราชการมากขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายชาตินิยม และหลักสูตรในยุคหลังสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 มีจุดเน้นที่ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีนโยบายสร้างความเป็นชาติเพื่อความน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องเรียนภาษาไทยอย่างเดียว ทั้งมีพระราชบัญญัติประถมศึกษาเกิดขึ้น การศึกษาในล้านนาจึงเป็นระบบแบบเดียวกับส่วนกลางเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย แต่การจัดการศึกษาไม่ได้คำนึงถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงของสังคมภาคเหนือที่มีแรงงานอพยพ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายดังนั้นหลักสูตรจากนโยบายส่วนกลางจึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนในภาคเหนือ


สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สริน ประดู่, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์, มนธีร์ จิตต์อนันต์ Jan 2019

สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สริน ประดู่, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์, มนธีร์ จิตต์อนันต์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิตจำนวน 186 คน สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ด้านความรู้ ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ เลือกประเมินด้วยข้อสอบปรนัย ด้านทักษะกีฬา ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ประเมินทักษะกีฬาเชิงปริมาณโดย ใช้แบบทดสอบและข้อทดสอบทักษะกีฬาที่ครูสร้างขึ้น ส่วนเชิงคุณภาพครูพลศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้เกณฑ์ การประเมิน (Scoring rubric) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ครูพลศึกษา ส่วนใหญ่เลือกใช้แบบสังเกตพฤติกรรม ด้านสมรรถภาพทางกาย ครูพลศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้แบบทดสอบ และเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สภาพปัญหาที่ครูพลศึกษาพบในการวัดและประเมินผล ได้แก่ 1) ด้านความรู้ คือ การออกข้อสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัยไม่สามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ 2) ด้านทักษะกีฬา คือ การเลือกแบบทดสอบทักษะกีฬาไม่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน 3) ด้านสมรรถภาพทางกาย คือ จำนวนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบไม่เพียงพอ 4) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม คือ การวัดคุณธรรมและจริยธรรมได้ไม่ครบทุกด้าน 5) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ ขาดแบบสังเกต ที่วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นมาตรฐาน