Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์ Oct 2019

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และ(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย และ(2) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 89.10 คะแนน ขณะที่นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 87.68 คะแนน และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันทั้ง 2 รูปแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = .368, p = 0.695)


ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สมรัก อินทวิมลศรี, สกลรัชต์ แก้วดี, สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ Apr 2019

ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สมรัก อินทวิมลศรี, สกลรัชต์ แก้วดี, สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษา (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังเรียน (3) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานครการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นครั้งนี้มีรูปแบบ การวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน มีการเก็บข้อมูลความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์(2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ และ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักเรียนที่เรียนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนในระดับดีขึ้นไป มีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียนในระดับปานกลาง


การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พิเชษฐ เทบำรุง Apr 2019

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พิเชษฐ เทบำรุง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ผู้วิจัยพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.07/79.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลังเรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน, จิรชพรรณ ชาญช่าง Apr 2019

ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน, จิรชพรรณ ชาญช่าง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน (2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำมารถของผู้เรียนกับการจัดการเรียนการสอนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสำธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่มีการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน มีคะแนนหลังเรียนผ่านชุดการเรียนฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ผู้เรียนที่มีการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียว มีคะแนนก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ระดับความสำมารถและการจัดการเรียนการสอนไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 0.693, Sig. = 0.504)