Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

Cu Flipped Smart: นวัตกรรมจากฐานการวิจัยสําหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, จินตวีร์ คล้ายสังข์ Jul 2019

Cu Flipped Smart: นวัตกรรมจากฐานการวิจัยสําหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, จินตวีร์ คล้ายสังข์

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอระบบ CU Flipped Smart หรือ CUFS ซึ่งเป็นนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาจากงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิตสําหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา โดย CUFS เป็นการผสมผสานแนวคิดของเทคโนโลยีอัจฉริยะกับแนวคิดเรื่องห้องเรียนกลับด้านเพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะในห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่สําคัญในการเรียน การทํางาน และการดํารงชีวิตชองผู้เรียนต่อไป บทความจะฉายภาพกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เป็นฐานคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม แนวคิดเรื่องการกํากับตนเองในการเรียนรู้ จากนั้นจะนําเสนอจุดเด่นของนวัตกรรมฯ ที่เน้นการออกแบบแบบเรซสปอนซีพ (Responsive design) เพื่อสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์โมบายที่หลากหลาย ตอบโจทย์แนวคิด Bring your own devices (BYOD) อีกทั้งยังมีการนําแนวคิดเกมิฟิเคชันมาเสริมเพื่อให้ระบบฯ มีความท้าทายกับผู้เรียนแห่งยุคดิจิทัลนี้ และในส่วนสุดท้ายจะเป็นการสรุปผลที่ได้จากงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม โดยได้ออกแบบและพัฒนาตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา สําหรับเป็นแนวทางในการนําไปประยุกต์ใช้ในบริบทจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนสูงสุดต่อไป


การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง, พงษ์ลิขิต เพชรผล, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2019

การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง, พงษ์ลิขิต เพชรผล, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง วิธีดําเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) กําหนดกรอบแนวคิด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัด สพฐ. จํานวน 230 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิด ประกอบด้วย กรอบกระบวนการบริหาร ได้แก่ การวางแผน การนําแผนไปปฏิบัติและการประเมินผล กรอบห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การสนับสนุนผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้ กรอบความเป็นพลเมือง ได้แก่ ใจกว้าง รับฟัง มีเมตตา เข้าใจวัฒนธรรมและความคาดหวังของผู้อื่น และกรอบการเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง ได้แก่ การสอนความเป็นพลเมืองและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมาก 3) จุดแข็ง คือ บรรยากาศในการเรียนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จุดอ่อน คือ การวัดและประเมินผล โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ นโยบายของรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจและสังคม