Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการนําครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, เกรียง ฐิติจำเริญพร, ชาริณี ตรีวรัญญู, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา Jan 2019

การพัฒนากระบวนการนําครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, เกรียง ฐิติจำเริญพร, ชาริณี ตรีวรัญญู, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนา บทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง และศึกษาผลของกระบวนการที่มีต่อความสามารถใน การออกแบบการเรียนการสอนของครูใหม่ กรณีศึกษาเป็นครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีวุฒิการศึกษา 8 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการจัด การเรียนรู้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ การสังเกตชั้นเรียน การสังเกตการสะท้อนคิดและ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้าง ทีมงานและตั้งเป้าหมายร่วมกัน การเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาชีพในการออกแบบการเรียนการสอนและการปฏิบัติการสอน กระบวนการที่พัฒนาขึ้นส่งผล ให้ครูใหม่มีพัฒนาการด้านความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสูงขึ้น ออกแบบกิจกรรม การเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้น เลือกใช้สื่อการสอนที่ เหมาะสมกับผู้เรียนออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และจัดการชั้นเรียนที่เอื้อ ต่อการเรียนการสอน


รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดํารงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พัชรา จันทรัตน์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดํารงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พัชรา จันทรัตน์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนา หลักสูตรบูรณาการฯ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษาละ 9-15 คน รวม 377 โรงเรียน ภายใต้รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธีที่ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร บูรณาการฯ มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สร้างสรรค์การวิเคราะห์มาตรฐาน ส่งเสริมการพัฒนาและ การสื่อสาร สืบสานการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดี รวมทั้งหมด 22 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ ประกอบด้วยจุดเน้น วัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำหลักสูตร ได้แก่ การสร้างสรรค์การวิเคราะห์มาตรฐาน การส่งเสริม การพัฒนาและการสื่อสาร และการสืบสานการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีภายใต้การเข้ามามีหน้าที่และ รับผิดชอบต่อกระบวนการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) รูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ในระดับมากที่สุดทุกข้อ