Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

การพัฒนา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง Oct 2019

การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง

Journal of Education Studies

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตย และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยของสถานศึกษาปฐมวัย ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูประจำชั้นระดับอนุบาล อาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยแต่ละข้อมีความสำคัญอยู่ในระดับมากและมากที่สุด คุณลักษณะที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รองลงมา คือ เคารพข้อตกลง กฎ กติกา และมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มและเรียนรู้จากกลุ่ม 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้ออันดับแรก คือ บูรณาการผ่านการเล่นและลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงให้เกิดความเข้าใจและได้ซึมซับทักษะประชาธิปไตย รองลงมา คือ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และวินัยในตนเองในทุกกิจกรรมประจำวันตามโอกาสและเหมาะกับวัย และให้เด็กร่วมกันคิด ใช้เหตุผลตามวัยในการกำหนดข้อตกลงในห้องเรียน และการเคารพข้อตกลง กฎ กติกา


การจัดการเรียนรู้จากงานของพ่อผ่านสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและประสบการณ์ การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ของเด็กปฐมวัย, สิริญ์ลดาฌ์ เกียรติทวี, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน Jan 2019

การจัดการเรียนรู้จากงานของพ่อผ่านสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและประสบการณ์ การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ของเด็กปฐมวัย, สิริญ์ลดาฌ์ เกียรติทวี, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหน่วยบูรณาการการเรียนรู้จากงานของพ่อผ่าน สะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษา 3) เพื่อศึกษา ประสบการณ์การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนุบาลไชยโรจน์สิริล เชียงใหม่ จำนวน 17 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากงานของพ่อผ่านสะเต็มศึกษา 2) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 3) แบบวัดประสบการณ์การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย กำหนดเกณฑ์คะแนนการผ่าน ร้อยละ 70.00 ตามที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หน่วยบูรณาการการเรียนรู้ จากงานของพ่อผ่านสะเต็มศึกษา จำนวน 3 หน่วย 2) ผลการศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.41 สูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70.00 3) ผลการศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมาย ได้คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 94.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70.00