Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

การบูรณาการ

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบสำหรับสถาบันอุดมศึกษารัฐ: กรณี 10 สถาบันอุดมศึกษา, เทื้อน ทองแก้ว, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบสำหรับสถาบันอุดมศึกษารัฐ: กรณี 10 สถาบันอุดมศึกษา, เทื้อน ทองแก้ว, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูง และระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบ สําหรับสถาบันอุดมศึกษารัฐ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร 30 คน และคณะกรรมการประกันคุณภาพ 250 คน ของสถาบันอุดมศึกษารัฐ 10 แห่ง ใช้การวิจัยผสมวิธี (Mixed method) การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้างการสนทนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และเขียนภาพเดนโดรแกรม (Dendrogram) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบและแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย คือ จํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNI modifiedสรุปเป็นรูปแบบ ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 18 คน และทดลองรูปแบบกับผู้บริหารและอาจารย์ จํานวน 40 คน ผลวิจัยพบว่า รูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบ คือ AEPQA Model จากการบูรณาการ การบริหารจัดการชั้นสูง (Advanced execution premium ? AEP) และระบบคุณภาพ (Quality assurance ? QA) ภายใต้กรอบความคิดของระบบ CSIPOCF (Context, suppliers, input, process, output/outcome, customers, feedback) และมีกลไกขับเคลื่อนระบบ คือ ภาวะผู้นําของสภาสถาบันและผู้บริหารโครงสร้างการบริหาร ระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ แผนยุทธศาสตร์ การควบคุม ติดตามและประเมินผล เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสํานักงานบริหารยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนระบบ


การบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชน: การวิจัยพหุกรณีศึกษา, สมพงษ์ จิตระดับ Jan 2019

การบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชน: การวิจัยพหุกรณีศึกษา, สมพงษ์ จิตระดับ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขึ้นโจทย์วิจัยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนของโครงการการบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินพลังบูรณาการฯ 6 ด้าน แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ใช้การสัมภาษณ์โดยการสมัครใจ กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในเรื่องการพัฒนางานด้านเด็กและเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมของทั้ง 12 พื้นที่ส่วนใหญ่มีจุดแข็งเรื่องพลัง อปท.และพลังเครือข่ายภายใน แต่มีข้อจํากัด คือ พลังเครือข่ายภายนอก รูปแบบของการขึ้นโจทย์วิจัยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนในการหาต้นทุนในท้องถิ่นทั้ง 12 พื้นที่นั้น จําแนกออกเป็น 3 รูปแบบที่สําคัญ คือ 1) การใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นฐานในการขึ้นโจทย์วิจัย 2) ประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง และ 3) การขึ้นโจทย์วิจัยจากต้นทุนในพื้นที่ ข้อค้นพบจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถ รวมทั้งเกิดคุณลักษณะของเด็กไทย 10 ประการโดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบต่อไป