Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

การจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วชิรวิทย์ ช้างแก้ว, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2019

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วชิรวิทย์ ช้างแก้ว, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 66 คน โรงเรียนบางแพปฐมพิทยาคม แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ จำนวน 33 คน และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที”
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้เจตคติ การปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส Jan 2019

โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส

Journal of Education Studies

การศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสถานะทางเศรษฐกิจ การบูรณาการทางวิชาการ การบูรณาการทาง สังคม ความผูกพันกับเป้าประสงค์และความผูกพันกับสถาบันที่มีต่อการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรอบแนวคิดในการวิจัยพัฒนาจากทฤษฎีปฏิกิริยาตอบโต้ของทินโตและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการศึกษาจากโมเดลเชิงสาเหตุ พบว่า การออกกลางคัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (?2 = 217.98, df = 40, p-value = 0.09, GFI = 0.90; AGFI = 0.83; SRMS = 0.03; RMSEA = 0.05) ตัวแปรแฝงด้านสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การบูรณาการทาง วิชาการ การบูรณาการทางสังคม ความผูกพันกับเป้าประสงค์และความผูกพันกับสถาบันมีอิทธิพลทางตรง ต่อในทิศทางตรงข้ามกับการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา ได้แก่ (1) พัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวย ความสะดวกในมหาวิทยาลัย (2) สนับสนุนทุนการศึกษาและการสร้างรายได้เสริมให้กับนักศึกษา (3) การรับนักศึกษาต้องเน้นที่คุณภาพและมีการสอนเสริมในกลุ่มที่มีความต้องการเป็นพิเศษ (4) สร้าง แรงจูงใจและสร้างเป้าหมายในชีวิตให้แก่นักศึกษา (5) มีการฝึกอบรมอาจารย์ให้เป็นที่ปรึกษามืออาชีพ