Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

กระบวนการเรียนการสอน

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Education

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ Jul 2019

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอผลการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสะเต็มศึกษา แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล โดยผลการศึกษาที่ได้ คือ กระบวนการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยขั้นจํานวน 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเสนอปัญหา 2) ขั้นสืบสอบ 3) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และ 4) ขั้นประมวลผลการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การสนทนาโต้ตอบ การเลาเรื่องหรือเหตุการณ์ และการสร้างสัญลักษณ์


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Jul 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ 2) การนําร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ และ 3) การศึกษา
ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนํ้าพี้มิตรภาพที่ 214 จํานวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ (Executive functions) และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการเรียนการสอนฯ มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นสมอง ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น ขั้นเล่นร่วมกัน และขั้นสะท้อนความสําเร็จ 2) ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยควบคุมคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีขนาดอิทธิพลมาก


กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย), อุทัย ศาสตรา, ชาริณี ตรีวรัญญู, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ Apr 2019

กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย), อุทัย ศาสตรา, ชาริณี ตรีวรัญญู, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) เป็นฐาน และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถอดบทเรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยจากศิลปินแห่งชาติ จำนวน5 ท่าน ระยะที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พฒั นาขึน้ โดยกลมุ่ ตัวอยาางที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 35 คน และระยะที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอกระบวนการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ใช้สถิติค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ได้แก่ ขั้นฝึกบรรเลงทำนองหลักของเพลงไทย และขั้นสร้างความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ระยะที่ 2 การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ได้แก่ ขั้นเรียนรู้การสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยจากต้นแบบ ขั้นฝึกสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยขั้นเพิ่มพูนประสบการณ์การฟังเพลงไทย และขั้นพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทย2) ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีพัฒนาการในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการแต่งทำนองเพลงไทยได้คล่องแคล่วและด้านการแต่งทำนองเพลงไทยให้สอดคล้องเหมาะสม