Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 155

Full-Text Articles in Education

Effects Of Extensive Reading On English Reading Comprehension Of Thai Vocational Students, Runyarut Singkum Jan 2019

Effects Of Extensive Reading On English Reading Comprehension Of Thai Vocational Students, Runyarut Singkum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) investigate the effects of extensive reading on English reading comprehension of Thai vocational students, 2) explore the opinions of Thai vocational students toward extensive reading. Fifty-one students majoring in Computer, Information Technology, and General Management from a public college in Thailand participated in this study for 12 weeks. The instruments used to collect data were the Test of English for International Communication (TOEIC) reading test, and extensive reading motivation questionnaire. The TOEIC reading test was used to investigate students’ reading while the extensive reading motivation questionnaire was used to explore their motivation toward Extensive Reading. …


Effect Of The Scaffolded Reading Experience Using A Graphic Novel On The English Reading Comprehension And Reading Motivation Of Thai Efi Students, Uthumporn Kennedy Jan 2019

Effect Of The Scaffolded Reading Experience Using A Graphic Novel On The English Reading Comprehension And Reading Motivation Of Thai Efi Students, Uthumporn Kennedy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1) to investigate the effect of a graphic novel on students’ English reading comprehension and 2) to explore students’ English reading motivation while reading a graphic novel. Participants included 20 tenth grade Thai EFL students, who were studying in an Intensive English course. The experiment took 12 periods. The instruments used in this research were the English reading comprehension test, reading motivation questionnaires, lesson plans and student journals. The Paired sample t-test was used to investigate the difference between students’ mean scores between the Pre- and Post- English reading comprehension and reading motivation test …


รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง Jan 2019

รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเอกสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ในโลกเสมือน การคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน และส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 33 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 67 คน และจัดทีมแบบคละความสามารถออกเป็น 14 ทีม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3 มิติ (โลกเสมือน) และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบสังเกตการมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบประเมินคุณภาพของผลงานการจัดนิทรรศการทางการศึกษาในโลกเสมือนของนักศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โลกเสมือน 2) การจัดสภาพแวดล้อม 3 มิติ 3) เครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 4) กิจกรรมการเรียนรู้ในโลกเสมือน 5) บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 6) ส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน และ 7) การประเมินผล และประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) เตรียมการในชั้นเรียนปกติ 2) ร่วมเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1) ร่วมสำรวจตรวจตราสถานการณ์ 2.2) ร่วมคิดร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ 2.3) ร่วมค้นคว้าสืบเสาะข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ 2.4) ร่วมเสนอแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ 2.5) ร่วมคัดร่วมเลือกวิธีการแก้ไขสถานการณ์ และ 2.6) ร่วมสรุปแนวคิดการแก้ไขสถานการณ์ …


มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่21, ทองจันทร์ เติมจิตร Jan 2019

มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่21, ทองจันทร์ เติมจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด การจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อจัดทำและนำเสนอมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสาร วรรณกรรม งานวิจัย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ระยะที่2 จัดทำมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ระยะที่3 การศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 255 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า (1) มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มี 4 มาตรฐาน 13 องค์ประกอบ 43 ตัวชี้วัด ประกอบด้วยมาตรฐานที่ 1) ด้านการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 มี 4 องค์ประกอบ 1) กระบวนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 2) ความรู้ ทักษะ คุณธรรม 3) การพัฒนาผู้สอน 4) การพัฒนาผู้เรียน มี 14 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 2) ด้านการใช้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การใช้สื่อการเรียนรู้ 2) เทคโนโลยีการเรียนรู้ 3) การประเมินสื่อการเรียนรู้ มี 12 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่3) ด้านการจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมาน, ธนกร ชัยสิทธิ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมาน, ธนกร ชัยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์สรุปผลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของการวิจัยทางด้านการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) เพื่อวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพลจากปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของงานวิจัยทางด้านการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ และ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อสรุปการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ จากการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยตามองค์ประกอบกรอบแนวคิดพื้นฐานของการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยงานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 2552-2562 จำนวน 66 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.งานวิจัยทางด้านการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นำมาวิเคราะห์ครั้งนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2552-2562 ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ผลิตและเผยแพร่ในปี พ.ศ.2558 มากที่สุด (21.2%) ด้านสถาบันที่ผลิตงานวิจัยพบว่า เป็นงานวิจัยที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากร มากที่สุด (19.7%) ด้านระดับงานวิจัย พบว่าเป็นงานวิจัยที่ทำขึ้นในรูปแบบวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญามหาบัณฑิตมากที่สุด (69.7%) 2. งานวิจัยที่มีข้อมูลเพียงพอในการนำมาวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพล จำนวน 66 เรื่อง มีจำนวนค่าขนาดอิทธิพลจากระดับชุดการทดสอบสมมติฐาน 149 ค่า มีค่าเฉลี่ยของค่าขนาดอิทธิพลโดยรวมที่มีผลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้โดยรวมในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ( d = 1.50) 3.ผลการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามองค์ประกอบแนวคิดพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านศาสตร์การสอนหรือวิธีการสอนพบว่า ศาสตร์การสอนที่นำมาใช้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้มากที่สุดคือ รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ ซึ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูงมาก 2)ด้านเนื้อหาวิชาที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ คือ มีการใช้เนื้อหาวิชาในกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับที่สูงมาก 3)ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านระบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีการใช้ระบบปฏิบัติการ Android ในการจัดระบบการเรียนการสอนมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ด้านเทคโนโลยีด้านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีการใช้ VDO ในการเรียนการสอนมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง ด้านระดับขั้นของการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ช่วง 30–79% ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง และรูปแบบเนื้อหาบทเรียนที่เรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในระดับปานกลาง


การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา, ชไมพร อินทร์แก้ว Jan 2019

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา, ชไมพร อินทร์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพได้ตามเกณฑ์และสอดคล้องกับมาตรฐานเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของวิชาชีพ เพื่อความอยู่รอดและความยั่งยืนของวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ระดับสมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา และ 3) นำเสนอตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 10 คน และนักเทคโนโลยีการศึกษา 985 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินการรับรองตัวบ่งชี้สมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (f-test) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษาได้สมรรถนะ 5 สมรรรถนะ 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ สมรรถนะที่ 1 ความรู้ทางวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา มี 2 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 2 คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 3 ทักษะวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 4 การบริหารจัดการและจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ มี 3 ตัวบ่งชี้ และสมรรถนะที่ 5 การพัฒนาวิชาชีพเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มี 3 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะอันดับที่สอง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=33.27 , df = 30, p = 0.311, AGFI = 0.98, SRMR = 0.013, RMSEA = 0.011, CN = 1501.43) โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 5 …


การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นลิน คำแน่น Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นลิน คำแน่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาและเกมิฟิเคชัน และผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงคำนวณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบฯ เว็บการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบการคิดเชิงคำนวณ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เป้าหมายการเรียน 4) เกมิฟิเคชัน 5) แหล่งเรียนรู้และเครื่องมือ และ 6) การวัดและประเมินผล โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา 2) การทำความเข้าใจปัญหา 3) การดำเนินการค้นคว้าข้อมูล 4) การวางแผนและร่างแบบจำลอง 5) การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม และ 6) การนำเสนอผลงานและสะท้อนผล ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์, นุจรีย์ โลหะการ Jan 2019

โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์, นุจรีย์ โลหะการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย จำนวน 10 คน และนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองร่างโมเดล แบบประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบประเมินรับรองโมเดล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนและหลังเรียนบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) เนื้อหา 3) ขั้นตอน 3P 4) กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพ ได้แก่ เส้นกริด สี เส้นโปรเจคชั่น และภาพเคลื่อนไหวโต้ตอบสามมิติ และ 5) คอร์สแวร์ 2. ขั้นตอนของโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ดู 2) ฝึก และ 3) สรุปพยากรณ์ 3. ผลการทดลองใช้โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ พบว่า 1) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาออกแบบ ที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์เสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก และ 3) การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพที่ใช้มากที่สุดและมีประสิทธิภาพคือ สี


การพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น, ภัทรา จันทร์เกิด Jan 2019

การพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น, ภัทรา จันทร์เกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการสอนงานฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาผลการใช้ชุดการสอนงาน คือ หัวหน้างานระดับปฏิบัติการส่วนงานคลังสินค้า เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองจำนวน 20 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการสอนงาน แบบทดสอบวัดความสามารถในการตัดสินใจ แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน แบบประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) คู่มือ (2) สื่อ (3) เนื้อหา (4) กิจกรรม (5) แบบวัด มีขั้นตอนกิจกรรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) นำเสนอสถานการณ์ (2) ระบุปัญหาและขอบเขตที่ศึกษา (3) รวบรวมข้อมูล (4) สร้างทางเลือก (5) วิเคราะห์ทางเลือก (6) ตัดสินใจเลือก นอกจากนี้พบว่า ประสบการณ์การทำงานและพื้นฐานด้านสื่อเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรม โดยผลการใช้ชุดการสอนงานฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตัดสินใจหลังใช้ชุดการสอนสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562-2571, ภัสส์ธีมา มาสิริธนาธิป Jan 2019

การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562-2571, ภัสส์ธีมา มาสิริธนาธิป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบภควันตภาพ และ 3) พัฒนาและรับรองแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นการศึกษาเฉพาะบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคกลาง 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม ตารางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Mendelow's matrix) และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม 2) การวิเคราะห์แหล่งทรัพยากร สังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด 3) การตั้งเป้าหมาย โดยการนำตารางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย 4) การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ โดยการใช้เทคนิค SWOT analysis และ TOWS matrix แบ่งเป็นสนทนากลุ่มแยกตามตำแหน่งงาน และ 5) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพของยุทธศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก จึงนำแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาราชภัฏมาทำประชาพิจารณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) และการจัดลำดับความต้องการจำเป็นผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จำนวน 48 คน และแบบสอบถาม จำนวน 419 ฉบับ พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านดังนี้ ด้านที่ 1 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย 4.28 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่ 2 อาจารย์มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.14 อยู่ในระดับมาก ด้านที่ 3 มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ย 3.97 อยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับการเรียนรู้ภควันตภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.03 อยู่ในระดับมาก และมีค่า PNIModified = 0.241 3) การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562-2571 มีทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ …


การพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย, ศุภัทรพร อุปพงษ์ Jan 2019

การพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย, ศุภัทรพร อุปพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) เพื่อประเมินระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตัวอย่างในการวิจัยได้ คือ ตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารโรงเรียน 6 คน และตัวแทนครู 6 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและตัวแทนครู 246 คน และตัวอย่างเพื่อร่างระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัล ใช้เทคนิคเดลฟายโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และคู่มือระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัล พบว่า ความต้องการจำเป็นในการเปลี่ยนผ่าน แต่ละองค์ประกอบ คือ 1) การใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหารายบุคคลของนักเรียน (PNIModified =0.19) 2) การพัฒนาความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญในด้านการใช้เทคโนโลยีของบุคลากร (PNIModified =0.20) 3) การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลเปิดที่เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (PNIModified =0.22)และ 4) การนำแหล่งเรียนรู้ทางไกล มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (PNIModified =0.22) 2. ระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 นักเรียน องค์ประกอบที่ 2 บุคลากร องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 4 รูปแบบองค์กร โดยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพในแต่ละองค์ประกอบ 2) กำหนดยุทธศาสตร์เชิงกลยุทธ์ 3) ออกแบบการดำเนินการ 4) ดำเนินการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนผ่าน และ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย, หทัยภัทร โอสุวรรณ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย, หทัยภัทร โอสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลฯ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่มีต่อแนวทางการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1, 2, และ 3 จำนวน 614 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอาจารย์พฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยา จิตแพทย์ และครูแนะแนว และนำผลมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศมีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว (β = -0.63) และปัจจัยส่วนบุคคล (β = -1.34) และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ ปัจจัยอินเทอร์เน็ตและสื่อ ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านโรงเรียน โดยส่งผ่านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงที่สุดต่อปัจจัยส่วนบุคคล คือ ปัจจัยด้านอินเทอร์เน็ตและสื่อ (β = -0.37) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (β = 0.17) และปัจจัยด้านโรงเรียนน้อยที่สุด (β = 0.12) ซึ่งโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 113.822, df = 42, p = 0.000, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, …


การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา, สุธิดา การีมี Jan 2019

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา, สุธิดา การีมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ มีตัวอย่างวิจัยดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และคุณครูระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 17 คน 2) ครูระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน เข้าร่วมวิจัยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น รวม 32 สัปดาห์ และ 3) ครู 84 คน จากโรงเรียนที่ทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) แบบทดสอบวัดความรู้ 3) แบบประเมินตรวจสอบรายการฯ 4) แบบประเมินรูบริกส์ และ 5) แบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ทีมเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวก ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ปฏิสัมพันธ์และบริบทของโรงเรียน การดำเนินกิจกรรมของชุมชน แรงจูงใจ และแหล่งเรียนรู้ และมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) วางแผนร่วมกัน 3) วิเคราะห์และออกแบบร่วมกัน 4) นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) จัดการเรียนรู้และสังเกตการสอน และ 6) สะท้อนคิด 2. คะแนนประเมินหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาจากแบบประเมินรูบริกส์ระหว่างรอบที่ 1 และรอบที่ 2 พบว่า คุณครูที่เข้าร่วมวิจัยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงสมรรถนะทางด้านการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาและบางสมรรถนะมีผลคะแนนเฉลี่ยทั้งที่ลดลงและคงเดิม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ส่งผลให้คุณครูในระดับชั้นเดียวกันได้มีปฎิสัมพันธ์กันที่มีการผสมผสานทั้งแบบเผชิญหน้าร่วมกับการใช้ระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา อีกทั้งช่วยให้คุณครูมีเพื่อนร่วมปรึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการระหว่างวิชา 3. ปัจจัยทางด้านโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่เอื้อให้ผู้สอนรวมกลุ่มเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาทางวิชาชีพ การให้ความร่วมมือกับเพื่อนครูในระดับชั้นเดียวกันเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีที่มีต่อชุมชนแห่งการเรียนรูทางวิชาชีพแบบออนไลน์ ได้แก่ การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับการเอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาบทเรียนร่วมกันภายในโรงเรียน …


การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน, อลิษา เมืองผุด Jan 2019

การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน, อลิษา เมืองผุด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นและองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ และ 4) เพื่อนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายฯ คือผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่าน ครู 10 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 980 คน ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทั่วพื้นที่ 5 ภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพระบบ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองระบบฯ โมบายแอปพลิเคชันฯ แบบวัดสมรรถนะการจัดการทางการเงิน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล และการทดสอบค่าที (T-Test) ผลการวิจัยพบว่า ระบบโมบายแอปพลิเคชันฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ 2) กลยุทธ์เสริมการเรียนรู้ผ่านโมบาย 3) การติดต่อสื่อสารสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 4) กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอน และ 5) แหล่งข้อมูลการเรียนรู้ โดยมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) เกริ่นนำและให้ความรู้ 2) ศึกษาสถานการณ์เรียนรู้ตามสภาพจริง 3) ศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหา 4) เสริมความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญผ่านโมบายโดยการเสริมศักยภาพแบบยืดหยุ่น (Soft Scaffolding) และแบบคงที่ (Hard Scaffolding) 5) แบ่งปันในสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 6) อภิปรายและสรุปผลบนสื่อสังคม และ 7) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และหลังจากการวิเคราะห์ระดับความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการทางการเงิน พบว่า ผู้ที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้น้อยก็จะส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินน้อยไปด้วย แต่ในทางกลับกันผู้เรียนที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้มากส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินมากไปด้วย


โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ, อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา Jan 2019

โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ, อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (NADDIA Model) โดยกลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาความคิดเห็น ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการฝ่ายการบริการบนเครื่องบินจำนวน 5 คน หัวหน้าฝ่ายการบริการบนเครื่องบิน หรือผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 39 คน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 296 คนและผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 18 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมฯ ได้แก่ ผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากบริษัทการบินไทย สายการบินเดลต้าแอร์ไลน์ และลุฟท์ฮันซ่า จำนวนทั้งหมด 6 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับทดลองออกแบบแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเครื่องมือวัด ตามโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์ฯ จำนวน 1 คน ทดลองฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมฯ กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำนวน 12 คน ระยะเวลา 7 สัปดาห์ วิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ยของคะแนน (Paired Samples t-Test) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ทีม มุ่งเน้นการออกแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (2) กลยุทธ์ ประกอบด้วยการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเขียนแผนภูมิวงจรปัญหา การตั้งคำถามตามกฎพื้นฐานการคิดดีเอสอาร์พี (DSRP) และการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ (3) ระบบจัดการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์สำหรับจัดการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ (4) สื่อและเนื้อหา สื่อสำหรับการฝึกอบรมทั้งในชั้นเรียนและผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ห้องเรียนออนไลน์ ห้องสนทนาเฉพาะกลุ่ม จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เว็บสำเร็จรูปสำหรับการสื่อสารและประกาศข้อมูลเฉพาะกลุ่ม และทรัพยากรการเรียนรู้ที่เอื้อต่อทักษะการคิดเชิงระบบ และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ แผนการฝึกอบรม สไลด์ประกอบการฝึกอบรม เอกสารการฝึกอบรม คู่มือการใช้งานโปรแกรม ภาพประกอบ ใบงานสรุปประเด็น แบบฝึกหัดวัดความเข้าใจผ่านระบบออนไลน์ ลิงก์เกี่ยวกับแนวคิดของกฎพื้นฐานการคิดดีเอสอาร์พี (DSRP) ลิงก์เกี่ยวกับแนวคิดการเขียนแผนภูมิวงจรปัญหา เว็บการสร้างวีดิทัศน์อิงกรณีศึกษา แบบประเมินรูบริกในการออกแบบแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเครื่องมือวัดสำหรับวัดผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการฝึกอบรมเกี่ยวกับความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และขั้นตอนการออกแบบโมเดลฯ 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การจัดการความจำเป็น (N) …


การพัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, จิราภรณ์ มีสง่า Jan 2019

การพัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, จิราภรณ์ มีสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 2) พัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 3) ประเมินประสิทธิภาพคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 1,631 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบหลายตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบโมเดลการวัด ได้แก่ Chi-Square, GFI, AGFI และ RMSEA สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก, ค่าพารามิเตอร์ความยาก, INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, G2, AIC, และ BIC ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษามี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square= 22.23, df=16, p=0.14, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMSEA=0.02) 2. คลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1. การจัดการผู้ใช้งาน 2. การจัดการข้อสอบ 3. การจัดการการสอบ 4. การประเมินผลการสอบ และ 5. การจัดการคะแนน ซึ่งคลังข้อสอบมีข้อสอบจำนวน 279 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 มีค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์ความยากเท่ากับ 0.069 และค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์อำนาจจำแนกเท่ากับ 0.862 เมื่อสุ่มข้อสอบมาจากคลังข้อสอบเพื่อจัดชุด และตรวจสอบคุณภาพแบบวัด มีจำนวน 78 ข้อ มีค่า MNSQ อยู่ระหว่าง .75 ถึง 1.19 อยู่ในเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าความเที่ยงแบบ EAP ทั้งฉบับเท่ากับ 0.707 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์พหุมิติ พบว่า โมเดลการวัดแบบพหุมิติ (G2 = 53729.526, …


การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า, รังสิมาภรณ์ หนูน้อย Jan 2019

การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า, รังสิมาภรณ์ หนูน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า และเพื่อประเมินคุณภาพระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริดโดยการประเมินแบบอิงมาตรฐาน การประเมินฮิวริสติค และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการทดสอบ โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาภายใต้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ 3 พารามิเตอร์ การพัฒนาระบบ การทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ใช้ข้อสอบแบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 640 ข้อ มีการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จำนวน 1,109 คน และทดลองใช้ระบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพระบบ ประกอบด้วยแบบประเมินอิงมาตรฐาน แบบประเมินฮิวริสติค และแบบประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบ การทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้และความโด่ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า ซึ่งทดสอบผ่านระบบออนไลน์ ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) รูปแบบของระบบการทดสอบ 2) การทดสอบ ซึ่งประกอบไปด้วย จุดเริ่มต้นการทดสอบ การประมาณค่าความสามารถผู้สอบด้วยวิธีการประมาณค่าด้วยความเป็นไปได้สูงสุด (MLE) การคัดเลือกข้อสอบด้วยวิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด (MPI) การควบคุมการใช้ข้อสอบซ้ำด้วยวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า (PR-SE) การยุติการทดสอบ (≤0.3) และ 3) การรายงานผลการทดสอบ 2. ผลการประเมินคุณภาพระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ด้วยการประเมิน แบบอิงมาตรฐานภาพรวมระบบการทดสอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.59, SD = 0.35) ผลการประเมินระบบ แบบฮิวริสติคภาพรวมระบบการทดสอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (M= 4.42, SD= 0.33) และผลการประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากต่อระบบการทดสอบ (M=3.91, SD= 0.50)


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 5) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7e ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, สุสิริยา ธิรากุลนันท์ชัย Jan 2019

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7e ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, สุสิริยา ธิรากุลนันท์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7E ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งในภาพรวมและตามองค์ประกอบย่อยของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7E ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน ค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบค่าที และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและตามทุกองค์ประกอบย่อยดีขึ้นทุกด้าน


การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน, ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน, ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชน 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชนและนำเสนอปัจจัยเงื่อนไขการนำไปใช้ การวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฎิบัติการ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการสายการผลิตในองค์กรเอกชน จำนวน 5 คนที่ยินดีเข้าร่วมโปรแกรม ผู้วิจัยใช้แนวคิดกระบวนการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ในสถานประกอบการ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เป็นกรอบในการในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการ มีแนวคิดการเรียนรู้คือ 1) เป้าหมายและประเด็นในการเรียนรู้ต้องเริ่มมาจากตัวพนักงาน 2) การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ 3) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อต้องการใช้ประโยชน์ 4) การเรียนรู้ต้องมีความสำคัญกับสถานประกอบการ และ 5) การเรียนรู้ต้องมีความหมายกับพนักงาน ซึ่งกระบวนการการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอน การวิเคราะห์ตนเอง การตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ ดำเนินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบ และสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ คือ ผ่อนคลายไม่กดดัน มีเครื่องมือที่ช่วยสำหรับการเรียนรู้ และทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งพบว่าเงื่อนไขที่ต้องมีสำหรับการเรียนรู้ในสถานประกอบการคือ 1) สนับสนุนงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน 2) มีความเกี่ยวข้องกับการเติบโต 3) การให้ความสำคัญของผู้บังคับบัญชา และปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคือ 1) วิธีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว 2) ไม่เป็นงานเพิ่ม 3) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 4) มุมมองที่มีต่อปัญหาตรงกัน ซึ่งบุคคลสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการเรียนรู้ในสถานประกอบการคือ ผู้บังคับบัญชา ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อนร่วมงาน โดยการเรียนรู้ในสถานประกอบการต้องเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อพื้นฐานที่ว่า พนักงานทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ หากแต่ขาดความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมการแสดงออกบางอย่างที่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ได้ 2. รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมความเชื่อพื้นฐาน โดยให้เห็นว่าการเรียนรู้เริ่มที่ตัวพนักงาน และสนับสนุนงานที่ทำอยู่เดิม ให้การเรียนรู้ของพนักงานและสถานประกอบการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) การส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้ โดยให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ การตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกัน ทัศนคติการมองปัญหาเชิงบวก มีเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้ 3) การส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ โดยให้มีทักษะสะท้อนคิด มีการสื่อสารความคาดหวัง มีวินัยในการเรียนรู้ 4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยฝ่ายบริหารให้การสนับสนุน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนรู้ 5) การส่งเสริมเงื่อนไขที่ต้องมี โดยให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บังคับบัญชา และติดตามการเรียนรู้เป็นระยะ มีระบบการวัดผลที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ 6) การส่งเสริมปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยส่งเสริมความต่อเนื่องของการเรียนรู้และความไวในการปรับตัว และ7) การส่งเสริมบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ต้องมีทักษะเป็นผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะการเป็นที่ปรึกษา


อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์ Jan 2019

อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการ ด้านพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. เพื่อฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. และ 3.เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. งานวิจัยนี้ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบผสมผสาน ส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการกับครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย หรือครูกศน. จำนวน 2,145 คน ทั่วประเทศไทย ด้วยแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 18 คน จัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย กับครูกศน.จำนวน 18 คน จากนั้นจึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน เกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนาและกลไกในการสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง และผู้วิจัยจึงนำข้อมูลทั้งหมดสังเคราะห์เป็นอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ในการศึกษาความเป็นได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน และการจัดประชุมกลุ่มย่อย กับครูกศน.18 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันครูใช้ศูนย์การเรียนชุมชนและห้องสมุดเป็นพื้นที่การเรียนรู้หลัก และพบว่าพื้นที่การเรียนรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ที่แท้จริงของครูกศน. และครูกศน.ต้องการให้พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองสำหรับครูกศน.โดยเฉพาะขึ้น 2) ผลการวิจัยระบุว่า ควรพัฒนาพื้นที่เดิมหรือเเหล่งการเรียนรู้เดิมที่สำนักงานกศน.มี เช่น กศน.ตำบล ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. เเละให้ใช้คลังสารสนเทศดิจิทัลที่สำนักงานกศน.มีอยู่เดิม เช่น DMIS (Directive Management Information System) เเละเว็บไซต์ที่ครูกศน.จัดทำขึ้นกันเอง มาพัฒนาต่อยอดเเละส่งเสริมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. โดยอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ประกอบไปด้วย 2.1) ลักษณะของพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 6 คือ วัตถุประสงค์ พื้นที่การเรียนรู้ (ความดึงดูด ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ ความยืดหยุ่นและความสะดวกสบาย และความสามารถในการรองรับการใช้งานที่หลากหลาย) การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน กิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ ความเป็นไปได้ 2.2) ขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่เดิมเเหล่งการเรียนรู้เดิมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ 7 ขั้นตอน กำหนดทีมงาน พิจารณาพื้นที่เดิม จัดสรรทรัพยากร ปรับปรุงพื้นที่ วางแผนกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ 2.3) กลไกสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง 11 กลไก คือ การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ นโยบายที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ บทบาทผู้บริหาร ความร่วมมือกับเครือข่าย …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการมีเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทยและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยและเสนอผลการทดลองใช้ (3) นำเสนอปัจจัยเงื่อนไขและแนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้ในอนาคต โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมจากผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นจำนวน 124 คน (2) ศึกษาสภาพเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วยนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 1,000 คน และ 1,650 คน ตามลำดับ (3) ทดลองใช้โปรแกรมและศึกษาปัจจัยเงื่อนไขและนำเสนอแนวทางในการนำโปรแกรมไปใช้ในอนาคต ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) องค์ประกอบของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึกต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และ 4) องค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อม ในส่วนของแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะร่วมกันที่ชัดเจน คือ มีการเรียนรู้จากตัวแบบที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองและนำภาพลักษณ์เชิงบวกของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาใช้เป็นแรงผลักดันตนเองให้ได้เป็นอย่างตัวแบบนั้น และใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เนื่องจากเป็นช่องทางข่าวสารที่สำคัญและทันสมัย (2) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กลุ่มทดลองมีระดับเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในองค์ประกอบด้านความรู้สึกต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และองค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้พบว่า ปัจจัยได้แก่ 1) ผู้สอนเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสิ่งที่จะสอน 2) กลุ่มผู้เรียนมีความสนใจในกลุ่มวิสาหกิจที่คล้ายคลึงกัน 3) เนื้อหาต้องมีความทันสมัยตรงกับความสนใจของผู้เรียนและมีความยืดหยุ่น 4) กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน 5) ระยะเวลาเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน และ เงื่อนไขได้แก่ 1) จำนวนผู้เรียนมีความเหมาะสมกับผู้สอน 2) ผู้สอนต้องประเมินตัดสินผู้เรียนในเชิงบวกมากกว่าตำหนิเชิงลบ


ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภูริต สงวนศักดิ์ Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภูริต สงวนศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีมีรูปแบบงานวิจัยเป็นแบบทดลองเบื้องต้นหนึ่งกลุ่มวัดครั้งเดียว วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้เคมีในแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบความรู้เนื้อหาทางเคมี การประยุกต์ใช้บริบททางเคมี ทักษะการเรียนรู้ระดับสูง และเจตคติต่อเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานกับเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ในเนื้อหาเรื่อง กรด – เบส จำนวน 4 แผน รวมระยะเวลา 6 สัปดาห์ และแบบวัดการรู้เคมีที่มีค่าความเที่ยงด้านพุทธิพิสัย 0.82 และด้านจิตพิสัย 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ได้จากการหาคะแนนจุดตัดด้วยวิธีการของเบอร์ก ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานมีองค์ประกอบของการรู้เคมีสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ


ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5e ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง Jan 2019

ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5e ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้กลยุทธ์ด้วยแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 53 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเที่ยงฉบับก่อนเรียนเท่ากับ 0.64 ฉบับหลังเรียนเท่ากับ 0.67 และ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.46 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การศึกษาพัฒนาการ (normalized gain) และขนาดของผล (effect size) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง, ปณาลี สติคราม Jan 2019

การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง, ปณาลี สติคราม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นโดยมีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลความสามารถในการ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมของความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี 2. คะแนนความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัด การเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุภารัตน์ สาลียงพวย Jan 2019

ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุภารัตน์ สาลียงพวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาเท่ากับ 22.83 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 63.43 ซึ่งสูงกว่าระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน, ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต Jan 2019

ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน, ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่านในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายาม และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครองหลังจากการใช้โปรแกรมฯ การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดี่ยวแบบหลายเส้นฐานข้ามบุคคล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเส้นฐาน และระยะได้รับการช่วยเหลือ รวมทั้งหมด 20 ครั้ง ครั้งละ 40 นาทีตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมสาธิตศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจากแบบวัดความสามารถในการอ่านและการเสนอชื่อจากครูประจำชั้นและครูสอนวิชาภาษาไทย เครื่องมือวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายาม และเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น ใช้สถิติบรรยายวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนต่ำสุด-สูงสุด วิเคราะห์ด้วยกราฟเส้นเพื่อแสดงพัฒนาการของทักษะการอ่านสะกดคำ และวิเคราะห์ประเด็นความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวอย่างวิจัยทั้ง 3 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำเพิ่มขึ้นหลังได้รับโปรแกรมฯ ซึ่งในระยะได้รับการช่วยเหลือมีคะแนนการอ่านสะกดคำเพิ่มขึ้นสูงกว่าระยะเส้นฐาน และ 2) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อโปรแกรมฯ คือ มีผลเชิงบวกต่อการใช้โปรแกรมฯ และเห็นสมควรนำไปใช้ต่อเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน


ผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3, ธัญรดา แก้วกันหา Jan 2019

ผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3, ธัญรดา แก้วกันหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนที่ผ่านการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายลำดับขั้นจากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกการเปิดเผยตนเองที่พัฒนาขึ้นตามโมเดลการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและแบบวัดทักษะการทำงานแบบร่วมมือดำเนินการก่อนและหลังการทดลอง รวมถึงในระยะติดตามผล ข้อมูลทางสถิติพื้นฐานที่ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนาม (MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ (repeated MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ธีระ ยอน Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ธีระ ยอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยา 5 ปัจจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานกระทรวงศึกษาธิการฯ จังหวัดกำปงธม จำนวน 544 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดการกำกับตนเองในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ การเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การกำกับตนเองในการเรียน (RGU) การเห็นคุณค่าในตนเอง (SET) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) เจตคติต่อการเรียน (ATT) และอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ (ASC) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.944 49.741 49.002 36.133 และ 35.738 ตามลำดับ 2. การกำกับตนเองในการเรียน (RGU) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ (ASC) การเห็นคุณค่าในตนเอง (SET) และเจตคติต่อการเรียน (ATT) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ตัวแปรที่มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือการกำกับตนเองในการเรียน รองลงมา คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ตามลำดับ ดังนี้ Y’ = 2.184RGU + 1.032MOT + 23.848 Z’ …


อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปวริศ ไชยลาโภ Jan 2019

อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปวริศ ไชยลาโภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความเพียร สุขภาวะ และผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) วิเคราะห์บทบาทการส่งผ่านของความเพียรและสุขภาวะในโมเดลอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 805 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง มาตรวัดความเพียร และมาตรวัดสุขภาวะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมนักเรียนนายร้อยมีสุขภาวะอยู่ในระดับสูง (%RWB = 70.00) ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย ความเพียร และการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (%RCMA = 47.25; %RGRT = 44.00; %RSE = 35.00) 2) โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 44.620, df = 36, p = 0.131, Chi-Square/df = 1.239, GFI = 0.991, AGFI = 0.978, NFI = 0.997; RMR = 0.015, RMSEA = 0.018) 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย (β = 0.765, p < .05) ในขณะที่ความเพียรส่งผลทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย (β = -0.704, p < .05) อย่างไรก็ดีสุขภาวะไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ