Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Science and Mathematics Education

2020

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, เสาวลักษณ์ สุวรรณชัยรบ Jan 2020

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, เสาวลักษณ์ สุวรรณชัยรบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบ ซึ่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สืบค้นความรู้จากคำถาม สถานการณ์ หรือปัญหาที่นักเรียนสนใจ จนนำไปสู่การหาคำตอบหรือแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง ซึ่งเป็นห้องเรียนที่มีการจัดการห้องเรียนปกติแบบคละความสามารถ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 และแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี React ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, จารุวรรณ ว่องไววิริยะ Jan 2020

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี React ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, จารุวรรณ ว่องไววิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสะท้อนคิด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พลฐวัตร ฉิมทอง Jan 2020

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พลฐวัตร ฉิมทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานกับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 4) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานระหว่างเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ใบงาน และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทำนายแลกเปลี่ยนความคิดสังเกตอธิบาย, จารุภา กิจเจริญปัญญา Jan 2020

การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทำนายแลกเปลี่ยนความคิดสังเกตอธิบาย, จารุภา กิจเจริญปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบายที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังทดลอง 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนและหลังการทดลองด้วยรูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย 4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียน ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเลือกโรงเรียนแบบเจาะจง ได้แก่ โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบสอบปรนัยคู่ขนาน 2 ฉบับ 2) แบบประเมินความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมค่าความเที่ยง และ 4) แบบสัมภาษณ์เจตคติต่อการทำงานเป็นทีม มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของเครื่องมือทั้ง 4 เครื่องมือ มีค่าระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย มีความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 83.73 อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการสร้างแบบจำลองภาพรวมจากการวัดทั้ง 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 79.79 อยู่ในระดับดี ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต …


การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ชยวัฏ ศิริพันธศักดิ์ Jan 2020

การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ชยวัฏ ศิริพันธศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และ การรู้คิดของนักเรียน 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างกรอบแนวคิดการวิจัยที่แสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนที่สามารถแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ได้ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 187 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความสามารถใน การแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ ซึ่งมีความยาก 0.35 ถึง 0.71 อำนาจจำแนก 0.24 ถึง 0.42 และความเที่ยง 0.807 2) แบบวัดการรู้คิด ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.745 3) แบบบันทึกการคิดออกเสียงความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และ 4) ประเด็นการสัมภาษณ์ การแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์อยู่ในระดับปานกลาง และมีการรู้คิดอยู่ในระดับสูง 2) กรอบแนวคิดการวิจัยสอดคล้องกับหลักฐานเชิงประจักษ์ (χ2 = 9.19, df = 11, p–value = 0.60, RMSEA = 0.00, RMR = 0.02, SRMR = 0.02, GFI = 0.99, AGFI = 0.96) โดยการรู้คิดมีอิทธิพลทางบวกในระดับสูงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ น้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมดในการวัดความสามารถใน การแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุดคือ กระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ในภาพรวม และความรู้เกี่ยวกับการคิด ตามลำดับ 3) นักเรียนที่แก้ปัญหาทางฟิสิกส์ได้ดีมีกระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา และการตรวจสอบผลการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ นักเรียนใช้การรู้คิดทั้งความรู้เกี่ยวกับการคิดและการกำกับควบคุม การคิดในระหว่างกระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และที่มาของกระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียน ได้แก่ การฝึกฝนด้วยตนเอง การสืบค้นในกรณีที่แก้ปัญหาทางฟิสิกส์ไม่สำเร็จ การเรียนกับครูที่โรงเรียน การเรียนพิเศษ และ …


ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศักรินทร์ อะจิมา Jan 2020

ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศักรินทร์ อะจิมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) ศึกษากระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสร้างแบบจำลองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 34 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนสาธิตสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รูปแบบวิจัยเป็นแบบเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน รวม 23 คาบ และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 1 คือ แบบวัดความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตอนที่ 2 คือ แบบสังเกตกระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ (%) การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนรวมทุกองค์ประกอบสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการสร้างข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้างมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คิดเป็นร้อยละ 44.00 และความสามารถในการสร้างข้อโต้แย้งที่แตกต่างออกไปมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนน้อยที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 คิดเป็นร้อยละ 28.15 เมื่อพิจารณาตามระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนร้อยละ 58.82 มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ขณะที่นักเรียนร้อยละ 44.12 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ 2) นักเรียนมีรูปแบบกระบวนการโต้แย้งผ่านการสร้างแบบจำลองที่แตกต่างกัน


การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริมเรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัชชานนท์ ดิษเจริญ Jan 2020

การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริมเรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัชชานนท์ ดิษเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยา จำนวน 5 ท่าน และผู้ออกแบบหลักสูตรวิชาชีววิทยาในสถานศึกษา จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มออนไลน์แบบมีโครงสร้างเรื่อง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบ สร้าง และประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสบการณ์เรียนเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาต้นแบบ เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ประกอบด้วย 4 หัวเรื่อง และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 3 นำสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยา จำนวน 1 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ยังไม่มีประสบการณ์เรียนเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ปรับปรุงแก้ไขจากขั้นตอนที่ 2 และ 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 20 ข้อ ในรูปแบบของแบบทดสอบแบบเลือกตอบสองระดับ มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.36-0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.43-0.71 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 …


การศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร, ศิริยุบล หมื่นศรี Jan 2020

การศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร, ศิริยุบล หมื่นศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูวิทยาศาสตร์จำนวน 187 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ในการวิจัยระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 ส่วนแบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีระดับความสามารถจัดอยู่ในกลุ่มพอใช้มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มดี กลุ่มดีมาก และกลุ่มปรับปรุงตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายประเด็นที่ศึกษาพบว่า ด้านการวัดประเมินที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามมาด้วยการใช้สื่อที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ส่วนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ยเท่ากันในอันดับสุดท้าย ผลการวิจัยระยะที่ 2 ครูวิทยาศาสตร์จำนวน 2 คน จาก 4 คนมีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แต่ในประเด็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ยังคงต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาต่อไป ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง และปัจจัยด้านการสนับสนุน โดยปัจจัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด เนื่องจากครูทั้ง 4 คนได้อธิบายและลงรายละเอียดในปัจจัยนี้


ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ Jan 2020

ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 3) ศึกษาคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง รวม 48 คน มีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .817 2) แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .931 และ 3) แบบประเมินคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .993 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 2 ระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบ และการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบสอบถาม 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับสูง 3) คุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับดี


การศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร, ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์ Jan 2020

การศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร, ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลกของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อศึกษาระดับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3. เพื่อศึกษาการวางแผนและการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนระดับต้นแบบ ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลก และแบบสอบถามเรื่องการศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลก แบบบันทึกการสังเกตการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินบันทึกหลังสอน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลกสรุปได้ดังนี้ ด้านหลักสูตร และด้านการวัดและประเมินผล ไม่พบปัญหา ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูไม่สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้ 2. ระดับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกส่วนใหญ่อยู่ในระดับพื้นฐาน 3. ครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนระดับต้นแบบจะทำการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้และสื่อการสอน และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการสำหรับการเรียนรู้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ และความแตกต่างกันของวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน และการสืบสอบและการนำเสนอ และประเมินความก้าวหน้าโดยตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนในระหว่างเรียนรู้และหลังจากการเรียนรู้เสมอ