Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Teacher Education and Professional Development

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Education

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, รัตน์สินี รื่นนุสาน Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, รัตน์สินี รื่นนุสาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนประจำเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 541 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็แบบสอบถาม 1 ฉบับ คือ (1) ปัจจัยด้านบุคคล (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูในโรงเรียนประจำ (3) การคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจงแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลศึกษาการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำพบว่า (1) ปัจจัยด้านบุคคลมีองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ คือ ด้านภาระครอบครัว ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำด้านความผูกพันในงานของครู และส่งผลต่อด้านความสมดุลการมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน กับด้านตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน (2) ปัจจัยด้านพึงพอใจในงานมีองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำคือ ด้านลักษณะงานส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำด้านความผูกพันในงานของครู และส่งผลต่อด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน และปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานด้านภาระงาน ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ ด้านความสมดุลการมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน (3) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำทั้ง 3 ด้าน ด้านที่ส่งผลคือด้านวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลด้านความผูกพันในงานของครูมากที่สุด และด้านความสมดุลการมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน และด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยทั้งสามด้านพบว่า ปัจจัยด้านองค์กรด้านวัฒนธรรมองค์กรส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำมากที่สุด ซึ่งหมายความว่า ครูที่มีความพึงพอใจด้านวัฒนธรรมองค์กรมาก จะส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำมาก


แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, วิไลพร ชิมชาติ Jan 2017

แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, วิไลพร ชิมชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูเกี่ยวกับการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ดำเนินการเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูเกี่ยวกับการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ประชากร คือ โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 431 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 431 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของการต้องการจำเป็นโดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI) ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการนิเทศการสอนครูภาษาอังกฤษ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จาก ศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้นิเทศการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน รวม 15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ด้านหลักสูตร 1) ควรกำหนดนโยบายการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษอย่างเป็นระบบ 2) ควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ เช่น หลักสูตรท้องถิ่นเป็นภาษาอังกฤษ หลักสูตร Jolly phonics เป็นหลักสูตรเพิ่มเติมทุกโรงเรียน 3) ต้องมีนโยบายให้ครูจัดทำและส่งแผนการจัดการเรียนรู้เป็นประจำ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4) ควรนิเทศการสอนครูผู้สอนโดยการนิเทศแบบคลินิก Lesson Study, Instructional Rounds หรือ Mini Observation เป็นต้น ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 1) ควรจัดอบรมเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (CEFR) 2) ควรจัดศึกษานิเทศก์ภาษาอังกฤษให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถนิเทศครูภาษาอังกฤษได้ทุกโรงเรียน 3) ส่งเสริมให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและครูชาวต่างชาติ ร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายหรือสำนักงานเขต จัดกิจกรรมร่วมกัน 4) ควรจัดตารางสอนให้ครูไทยเข้าสอนควบคู่กับครูชาวต่างชาติ 5) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับจัดการเรียนการสอนและต้องส่งรายงานการอบรมทุกครั้ง …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ ปะวันเณ Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ ปะวันเณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประชากร คือครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 202 คน จาก 37 โรงเรียน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับดังนี้ ด้านการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) (µ=4.05) ด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (µ=4.03) ด้านเทคนิคการสอนและสื่อการสอน (µ=4.03) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน ( µ=3.94) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอน พบว่า 1) ปัจจัยด้านอายุ ช่วงอายุ 21 – 30 ปี ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ช่วงอายุ 31 – 40 ปี ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และช่วงอายุ 51 – 60 ปี ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านเทคนิคการสอนและสื่อการสอน มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยด้านวุฒิการศึกษา พบว่า วุฒิการศึกษาปริญญาตรีส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนทุกด้าน โดยส่งผลมากที่สุด คือด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยด้านระดับชั้นที่สอน พบว่า ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนทุกด้าน โดยส่งผลมากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยด้านภาระงาน พบว่า ภาระงานที่รับผิดชอบมากกว่า 1 ภาระงาน และ 5) ปัจจัยด้านประสบการณ์การสอน พบว่า การที่ไม่เคยมีประสบการณ์การสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


การพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู, ศิริเดช เทพศิริ Jan 2017

การพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู, ศิริเดช เทพศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรคือ ครูระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 486 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ฉบับ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู (2) แบบสอบถามทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู จากนั้นนำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of variation) ความเบ้ (Skewness) ความโด่ง (Kurtosis) รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment coefficient) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis) สำหรับโมเดลตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู พบว่า ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูสามารถแบ่งได้เป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านปัญญา (Cognitive Component) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 1.1 มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการนิเทศ 1.2 มีความเข้าใจในเรื่องการนิเทศ 1.3 มีความเชื่อมั่นว่าการนิเทศเป็นการพัฒนาวิชาชีพของครู 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึก (Affective Component) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 2.1 เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการนิเทศ 2.2 มีความยินดีและเต็มใจที่จะรับการนิเทศ 2.3 ยอมรับและไว้วางใจผู้นิเทศ 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) …


แนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร, ภานุพงศ์ ใจเยือกเย็น Jan 2017

แนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร, ภานุพงศ์ ใจเยือกเย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับความรู้ทักษะและความคาดหวังในการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ประชากรคือครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 253 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ 1. การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ควรจัดสิ่งแวดล้อมระหว่างครูไทยกับครูต่างชาติให้นั่งทำงานอยู่ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันรวมถึงการจัดให้ทำกิจกรรมต่างๆ ให้ครูพัฒนาตนเองในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ควรกำหนดนโยบายให้ครูไทยที่สอนในโครงการ English Program สอบวัดทักษะภาษาอังกฤษทุกๆ 3 ปีและจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้ครูไทยไปอบรมความรู้ด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งในและต่างประเทศ 2. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ควรจัด English Program Boot Camp ให้ครูไทยที่สอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษา ก่อนที่จะเข้าสอนในโครงการ English Program ครูไทยควรวางแผนร่วมกับครูต่างชาติในการจัดทำแผนจัดทำแผนการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษในรายวิชาโดยให้ครูต่างชาติเป็นผู้ตรวจสอบด้านภาษา ควรจัดสรรงบประมาณจากเงินอุดหนุนช่วยเหลือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้กับครูไทยที่สามารถจัดการเรียนการสอนในโครงการ English Program จัดการนิเทศการสอนให้ครูไทยโดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบคลินิค Mini Observation จัดการนิเทศ Lesson Study ให้ครูไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูต่างชาติ 3. การใช้สื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ให้ครูไทยจัดทำเอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยมีครูต่างชาติเป็นผู้ตรวจสอบด้านภาษา จัด English teacher Camp เพื่อสร้างและใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้ครูเลือกใช้สื่อออนไลน์ Google Classroom, Google App โดยเลือกให้สอดคล้องกับบทเรียน รายวิชา 4. การพัฒนาการวัดและประเมินผล สนับสนุนให้ครูไทยในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนประชุมและวางแผนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ให้ครูไทยและครูต่างชาติร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการวัดและประเมินผล 5. การพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้ครูไทยไปร่วมทำกิจกรรม ฝึกทำกิจกรรม ศึกษาความรู้ในการทำกิจกรรมทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการแข่งขัน


การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ภานุพันธุ์ ขันธะ Jan 2017

การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ภานุพันธุ์ ขันธะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 320 คน โดยใช้การสุ่มแบบโควตาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเปรียบเทียบวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยายและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายพฤติกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากทุกพฤติกรรม ระดับการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นงานพบว่างานวิชาการ และงานด้านธุรการในชั้นเรียนพฤติกรรมการนิเทศแบบไม่ชี้นำส่งผลมากที่สุด ส่วนงานด้านปกครอง และงานพัฒนานักเรียนด้านต่าง ๆ พฤติกรรมการนิเทศแบบร่วมมือส่งผลมากที่สุด


ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล Jan 2017

ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีต่อสมรรถนะครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู ประชากร คือ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 21,812 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำนวน 1,040 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ มีทั้งหมด 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลด้านสถานภาพและสมรรถนะครู และตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการนิเทศ ในงานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมานและสถิติเชิงสรุปอ้างอิง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) ซึ่งผู้วิจัยใช้โปรแกรม SPSS for Window และ R ร่วมกันในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศและกิจกรรมการนิเทศเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูโดยสามารถนำมาสร้างเป็นโมเดลเชิงสาเหตุของการนิเทศและวิเคราะห์ความหลากหลายได้ 4 โมเดล ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบคลินิก มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.44) รองลงมาเป็นพฤติกรรมการนิเทศ (β = 0.29) และกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 77.4 2. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.42) ตามด้วยกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.26) และรูปแบบการนิเทศ (β = 0.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 74.1 3. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาตนเองมีรูปแบบการนิเทศ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.79) รองลงมาเป็นกิจกรรมการนิเทศ (β = …


กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต8, วิศนี ใจฉกาจ Jan 2017

กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต8, วิศนี ใจฉกาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (2) เพื่อศึกษาสภาพพึงประสงค์ของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (3) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (4) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ประชากร คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จำนวน 2,683 คน จาก 55 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากนั้นจึงเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมของร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา​ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄=3.88) แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 3.93) สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 4.32) แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 4.35) ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index; PNImodified) ในภาพรวมมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.116 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสอนคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.120 เป็นลำดับที่หนึ่ง กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก และ 16 วิธีการ ดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพครูด้านการได้รับความรู้ในการคิดวิเคราะห์ มี 5 วิธีการ 2) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคิดวิเคราะห์ มี 4 วิธีการ 3) การพัฒนาศักยภาพครูด้านการใช้สื่อ …