Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Higher Education

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า, สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า, สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการ (2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า (3) ทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า และ (4) เสนอแนะแนวทางในการนำโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่าไปใช้ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ จำนวน 532 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินผลงานนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอ้างอิงโดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างมีความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือด้านอภิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านพฤติกรรมทางวัฒนธรรมและด้านปัญญาทางวัฒนธรรม 2) โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า ประกอบ ด้วยการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรม การสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรม การเผชิญกับสถานการณ์ทางวัฒนธรรม การสะท้อนกลับระหว่างผู้เรียน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด และการพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติของตนเอง จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสร้างคุณค่า 5 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายเชิงลึก กำหนดโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การระดมความคิดเห็น การสร้างสินค้าหรือบริการต้นแบบ และการทดสอบ โดยมีระยะเวลาในการเข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 30 ชั่วโมง แบ่งเป็นครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมงจำนวน 10 ครั้ง 3) ระดับของความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า นักศึกษาอุตสาหกรรมบริการมีความฉลาดทางวัฒนธรรมภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความแตกต่างกันมากที่สุด คือ ด้านปัญญาทางวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรมทางวัฒนธรรม ด้านอภิปัญญาทางวัฒนธรรม และด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรม ตามลำดับ 4) การนำโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างคุณค่าไปปรับใช้กับนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการสามารถนำไปใช้ได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งความเกี่ยวข้องด้านความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดการพัฒนาคุณค่า การนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร การนำไปเป็นหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ การนำไปปรับใช้ในรูปแบบของสหกิจศึกษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งของสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการอย่างชัดเจน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเปิดเป็นรายวิชาเฉพาะของระดับอุดมศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ตามอัธยาศัยตามความสนใจของผู้เรียนเอง และการเรียนเพื่อสะสมหน่วยกิต


การพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา, พรประสิทธิ์ เด่นโมฬี Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา, พรประสิทธิ์ เด่นโมฬี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของหลักสูตรผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ และแนวคิดผู้ประกอบการนิสิตนักศึกษา 2) วิเคราะห์ความต้องการหลักสูตรผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 3) พัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรผู้ประกอบการระดับปริญญาตรี จำนวน 8 คน 2) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรผู้ประกอบการระดับปริญญาโท จำนวน 9 คน 3) ผู้บริหารที่เปิดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประกอบการะยะสั้นจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 คน 4) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับความต้องการต่อหลักสูตรผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน 5) ผู้ประกอบการที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน 6) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 390 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตาตามประเภทมหาวิทยาลัยและเลือกมหาวิทยาลัยในแต่ละกลุ่มอย่างละ 1 แห่งใน 4 ภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินและแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของหลักสูตรผู้ประกอบการในประเทศ พบว่า หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการทั้งระดับปริญญาตรีและโทในประเทศ ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ภายใต้คณะวิทยาการจัดการ/คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี/คณะเทคโนโลยีการจัดการ และรายวิชาส่วนใหญ่มาจากหลักสูตรบริหารธุรกิจ แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้เป็นหลักสูตรเฉพาะที่จะไปส่งเสริมให้ไปเป็นผู้ประกอบการที่จะเริ่มต้นธุรกิจ (Startup) ดังนั้น ควรมีหลักสูตรเฉพาะที่จะส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นิสิตนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ 2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการหลักสูตรผู้ประกอบการ พบว่า ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะให้เปิดหลักสูตรผู้ประกอบการ ที่เป็นหลักสูตรระยะสั้นและใช้เวลาในการเรียนรายวิชาละ 1-2 ชั่วโมง และวิชาที่นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่สนใจจะเรียน 5 อันดับแรก ได้แก่ การตลาด การเป็นผู้ประกอบการ การวางแผนทางธุรกิจ การเงิน และการจัดการกลยุทธ์ 3) หลักสูตรผู้ประกอบการสำหรับนิสิตนักศึกษาประกอบด้วย 5 ชุดวิชา ได้แก่ ผู้ประกอบการ 5.0 การตลาด 5.0 การเงิน 5.0 …


แผนกลยุทธ์การจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, จินตนา เทียมทิพร Jan 2021

แผนกลยุทธ์การจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, จินตนา เทียมทิพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการกีฬา ความต้องการ และแนวทางในการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2) เพื่อนำเสนอแผนกลยุทธ์การจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 3) เพื่อนำเสนอโครงสร้างและแนวทางการบริหารจัดการคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงขององค์การทางการกีฬาและการอุดมศึกษา 10 คน ผู้ใช้บัณฑิตในภาคเอกชน 20 คน ผู้บริหารระดับสูง 10 คณาจารย์ 15 คน และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 20 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.50 และสูงกว่า การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สภาพปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ด้วยการใช้ PESTEL analysis วิเคราะห์ปัจจัยภายในด้วย SWOT Analysis การกำหนดกลยุทธ์ โดยใช้ TOWS Matrix นำเสนอข้อมูลโดยตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมการกีฬา และความต้องการในการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พบว่า สภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมการกีฬามีปัญหาความต้องการบุคลากรของอุตสาหกรรมการกีฬา และควรจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) จุดแข็ง คือ โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและพันธกิจของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติสอดคล้องกับการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มีความพร้อมด้านบุคลากร 2) จุดอ่อน คือ คุณลักษณะของบัณฑิตที่ยังไม่ค่อยมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ 3) โอกาส คือ นโยบายต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐต่างมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมการกีฬา 4) อุปสรรค คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อการจ้างงาน หลักเกณฑ์การจัดส่วนงานภายในสถาบันอุดมศึกษาทำให้การเพิ่มหน่วยงานเป็นไปได้ยาก แผนกลยุทธ์การจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก ดังนี้ 1) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการกีฬา 2) พัฒนาคุณภาพอาจารย์และมาตรฐานการเรียนการสอนให้พร้อมกับการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมการกีฬา 3) ผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงเพื่อรองรับภาคการผลิตและบริการของอุตสาหกรรมการกีฬา 4) พัฒนานวัตกรรมจากผลงานวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมการกีฬาที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม 5) คณะอุตสาหกรรมการกีฬาเป็นแหล่งสนับสนุนทางวิชาการและวิชาชีพของอุตสาหกรรมการกีฬา และ …


อนาคตภาพการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏ, สุมลฑา เมืองศิลปศาสตร์ Jan 2021

อนาคตภาพการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏ, สุมลฑา เมืองศิลปศาสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) ทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏในอนาคต เพื่อสร้างและนำเสนออนาคตภาพการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในรูปแบบวงล้ออนาคต และเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการนำอนาคตภาพการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในรูปแบบวงล้ออนาคตไปใช้เป็นแนวทางในการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิทางการอุดมศึกษา 3 คน กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 คน ผู้บริหารระดับอธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 คน ผู้นำชุมชน 6 คน ผู้ใช้บัณฑิต 6 คน คณาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของร่างอนาคตภาพการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏในรูปแบบวงล้ออนาคต การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำตารางความถี่ การหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีทั้งสิ้น 5 ด้าน คือ ด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านการผลิตและพัฒนาครู ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบบริหาร พบว่า จุดแข็ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความใกล้ชิดกับชุมชน มีความรอบรู้ในท้องถิ่น มีเครือข่าย 38 แห่งทั่วประเทศ มีทรัพยากรเพียงพอต่อการดำเนินงาน มีนโยบายและพันธกิจชัดเจน จุดอ่อน คือ ประเด็นเครือข่ายความร่วมมือในแต่ละด้าน ยังไม่เข้มแข็ง ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการที่จะนำข้อมูลมาพัฒนาการดำเนินงานในแต่ละด้าน โอกาส คือ การให้การสนับสนุนในระดับนโยบาย โดยการกำหนดเป้าการพัฒนาที่ชัดเจน การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ การทำงานในลักษณะเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผ่านที่ประชุมอธิการบดี อุปสรรค คือ จำนวนผู้เรียนลดลง ต้นทุนการจัดการศึกษาสูงขึ้น และเกณฑ์มาตรฐาน กฎระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่ยืดหยุ่น 2. การเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 5 ด้าน ดังกล่าวมาแล้ว ดังแสดงอยู่ในวงล้อระดับที่ 1 และพบว่าแนวทางการเปลี่ยนผ่านร่วมของทั้ง 5 ด้าน จำนวน 3 การเปลี่ยนผ่าน คือ มีระบบฐานข้อมูลของท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืน …