Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Higher Education

PDF

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโลจิสติกส์สากลสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, นภัสพร แสงพายัพ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโลจิสติกส์สากลสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, นภัสพร แสงพายัพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะโลจิสติกส์สากลของนักศึกษาไทยในสภาพปัจจุบัน 2) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพสมรรถนะโลจิสติกส์สากลที่พึงประสงค์ 3) วิเคราะห์ช่องว่างการเรียนการสอนโลจิสติกส์สากลในสถาบันอุดมศึกษาไทย 4) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโลจิสติกส์สากลสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) อาจารย์ผู้สอนโลจิสติกส์ 30 ราย 2) ผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ 50 ราย 3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรโลจิสติกส์ 11 ราย 4) ผู้บริหารหลักสูตรโลจิสติกส์และผู้เชี่ยวชาญโลจิสติกส์ 8 ราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์สาระ วิเคราะห์สมรรถนะโลจิสติกส์ และสมรรถนะสากล และสถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ( Factor Analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สมรรถนะโลจิสติกส์สากลของนักศึกษาในสภาพปัจจุบันมีความแตกต่างกันคือ กลุ่มอาจารย์เห็นว่าสมรรถนะโลจิสติกส์สากลด้านความรู้เชิงอาชีพโลจิสติกส์ ด้านทักษะพื้นฐานส่วนบุคคล ด้านคุณลักษณะเชิงอาชีพโลจิสติกส์ มีมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศเห็นว่าสมรรถนะโลจิสติกส์สากลด้านความรู้พื้นฐานส่วนบุคคล ด้านทักษะเชิงพฤติกรรม และด้านคุณลักษณะเชิงอาชีพโลจิสติกส์ มีมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2. สมรรถนะโลจิสติกสากลของนักศึกษาสภาพที่พึงประสงค์มีความแตกต่างกันคือ กลุ่มอาจารย์เห็นว่าสมรรถนะโลจิสติกส์สากลด้านความรู้เชิงอาชีพ โลจิสติกส์ ด้านทักษะพื้นฐานส่วนบุคคล ด้านคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล พึงประสงค์มากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ เห็นว่าสมรรถนะโลจิสติกส์สากลด้านความรู้เชิงพฤติกรรม ด้านทักษะพื้นฐานส่วนบุคคล และด้านคุณลักษณะเชิงอาชีพโลจิสติกส์ พึงประสงค์มากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3. การพัฒนาการเรียนการสอนโลจิสติกส์สากลมุ่งพัฒนาสมรรถนะโลจิสติกส์สากลให้มีมากขึ้นกว่าสภาพสมรรถนะโลจิสติกส์ที่พึงประสงค์ของหลักสูตร โลจิสติกส์ไทย ในด้านความรู้นั้นควรมีการพัฒนาสมรรถนะความรู้เรื่องการจัดการคุณภาพและลูกค้า การบริหารสัญญา การจัดการสภาวะโลก วัฒนธรรมที่แตกต่าง อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ในด้านทักษะนั้นควรมีการพัฒนาสมรรถนะทักษะด้านการทำงานบนวัฒนธรรมที่แตกต่าง การจัดการลูกค้า การจัดการคุณภาพ การเป็นผู้ประกอบการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในด้านคุณลักษณะนั้นควรพัฒนาสมรรถนะด้านความเข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่าง มุ่งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ มุมมองคุณค่าการเป็นผู้ประกอบการ มีความเป็นพลวัตรและมีอิสระ 4. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโลจิสติกส์สากลสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตประกอบ ด้วย 4.1) การพัฒนาสมรรถนะ โลจิสติกส์สากล 4 องค์ประกอบ ภายใต้ GLOB Mdel คือ สมรรถนะด้านพื้นฐานส่วนบุคคล สมรรถนะเชิงอาชีพโลจิสติกส์ สมรรถนะเชิงธุรกิจอุตสาหกรรม และสมรรถนเชิงพฤติกรรม 4.2) การพัฒนาหลักสูตรโลจิสติกส์ไทยด้วยสมรรถนะโลจิสติกส์สากลที่ได้คัดเลือกจำนวน 25 …


แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เคลน บุณยานันต์ Jan 2019

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เคลน บุณยานันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาแนวโน้มและภาวะคุกคามของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) อาจารย์สาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 110 คน ที่ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย 2) ประธานหลักสูตรและเลขานุการของหลักสูตรหรือผู้ที่ได้รับการแนะนำจากประธานหลักสูตร รวม 24 คน ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตรเบื้องต้น แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตร และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวโน้มและภาวะคุกคามของหลักสูตร ดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. สภาพการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 และพบปัญหาการใช้หลักสูตรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร 2) ด้านการบริหารหลักสูตร 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2. แนวโน้มของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) โครงสร้างของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) แนวทางการจัดการเรียนการสอน 5) วัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 6) การวัดและประเมินผลของหลักสูตร และพบภาวะคุกคามของหลักสูตรครุ ศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะคุกคามจากสิ่งแวดล้อมภายนอก 2) ภาวะคุกคามจากหน่วยงานส่วนกลาง 3) ภาวะคุกคามจากคณะและมหาวิทยาลัย 4) ภาวะคุกคามจากผู้ร่วมงาน 5) ภาวะคุกคามจากผู้เรียนและผู้ปกครอง และ 6) ภาวะคุกคามจากชุมชนและหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต 3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรด้านรายละเอียดหลักสูตร 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรด้านบทบาทของที่ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร


การพัฒนารูปแบบกระบวนการแปลงสภาพองค์การสู่ตําแหน่งทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย, พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบกระบวนการแปลงสภาพองค์การสู่ตําแหน่งทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย, พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่มีต่อมหาวิทยาลัยเอกชนไทยในอนาคต ประเมินศักยภาพความพร้อมของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยสู่ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ และนำเสนอรูปแบบกระบวนการแปลงสภาพองค์การสู่ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้แบ่งออกได้ 5 กลุ่ม รวมจำนวน 33 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลปัจจัยการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่มีต่อมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ได้แก่ ผู้บริหารด้านนโยบายการอุดมศึกษา ผู้แทนคณะกรรมการองค์กรเครือข่ายการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทย อธิการบดีหรือผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย และผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจ จำนวน 10 คน 2) กลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดเน้นและการประเมินตนเอง ได้แก่ ผู้ประเมินการประกันคุณภาพระดับสถาบันตามเกณฑ์เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ เกณฑ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 8 คน 3) กลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตตามจุดเน้นที่เป็นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ได้แก่ ผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจ ภาครัฐ และ รัฐวิสาหกิจ จำนวน 6 คน 4) กลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยที่ทดลองใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น จำนวน 1 สถาบัน และ 5) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 7 คน ในการจัดทำการสนทนากลุ่ม สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบและประเมิน ซึ่งเครื่องมือวิจัยทุกชุดได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนไทยจำเป็นต้องปรับตัวโดยการแปลงสภาพองค์การไปสู่จุดเน้นหรือตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยต้องประเมินศักยภาพความพร้อมของสถาบันใน 2 ด้าน คือ บริบทและองค์ประกอบ ซึ่งจะทำทราบถึงระดับศักยภาพและความพร้อมในด้านต่าง ๆ การศึกษาพัฒนารูปแบบกระบวนการแปลงสภาพองค์การสู่ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินเพื่อการแปลงสภาพองค์การ 2) การวางแผนการแปลงสภาพองค์การ 3) การนำโปรแกรมการแปลงสภาพองค์การไปสู่การปฏิบัติ และ 4) การตรวจสอบ ติดตามการแปลงสภาพองค์การ ประกอบการใช้กลยุทธ์การดำเนินงาน (PRIME) เพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพความพร้อมในมิติต่าง ๆ สู่ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ทั้งที่เป็นมิติความพร้อมเชิงบริบทของมหาวิทยาลัยและมิติความพร้อมเชิงองค์ประกอบให้บรรลุผลตามเป้าหมายร่วมกัน โดยรูปแบบกระบวนการแปลงสภาพองค์การสู่ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามผลการศึกษานี้สามารถเรียกชื่อว่า “4 Trans-Process Model”