Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

PDF

Chulalongkorn University

2022

Articles 1 - 12 of 12

Full-Text Articles in Education

An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai Jan 2022

An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this thesis is to study the trend of civic and citizenship education research from 2000 to 2020 and the influence the regional background of researches has on the research discussion. Relevant data is collected from ERIC and SCOPUS database. This includes abstracts, published year, regional background of researchers, and author h-index. The keywords used are “civic education” or “citizenship education” or “civics”. There are 4917 papers extracted in total. Upon doing further preparation, 4854 articles are prepared for analysis. We apply Structural Topic model (STM) technique to the abstracts with covariates including the published year and the …


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนที่ช่วยส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อน ดำเนินการตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) เริ่มจากการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของนักเรียน กำหนดประเด็นปัญหา ศึกษาและออกแบบแผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน โดยการสัมภาษณ์ครูที่ปรึกษา 5 คน ครูผู้สอน 3 คน อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา 2 คน ตัวแทนนักเรียน 5 คน จากนั้นนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 31 คน และใช้เทคนิคสังคมมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการยอมรับจากเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ค่าร้อยละ และสถานภาพทางสังคมมิติ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนเป็นการจัดกิจกรรมที่เอื้อให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการสอนแบบเป็นกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) และการใช้รายงานจากเพื่อนเพื่อให้นักเรียนสังเกตและแจ้งพฤติกรรมเชิงบวกของเพื่อนขณะปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม 2) หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนพบว่าสถานภาพทางสังคมมิติของนักเรียนทั้งห้องเรียนได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 7 คน และลดลง 2 คน ส่วนสถานภาพของนักเรียนในกลุ่มถูกทอดทิ้งหรือถูกปฏิเสธได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 5 คน


สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ, รัมณรา สมประสงค์ Jan 2022

สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ, รัมณรา สมประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหารในปัจจุบันมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 2) เพื่อสำรวจองค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงประจักษ์ขององค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ตัวอย่างวิจัย เป็นบุคลากรระดับปฏิบัติการในองค์กรทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม 50 หน่วยงาน จำนวน 860 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับ และจำนวน 863 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบพหุระดับ คือแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 2 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของกำลังพลผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร จำนวน 69 ข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม IBM SPSS Statistics 22 และ MPlus6 ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การวางแผนการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ 2) การสืบค้นข้อมูลทางดิจิทัล 3) การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4) การใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้น 5) การแก้ปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 6) การใช้อินทราเน็ตขององค์กร 7) การรักษาความลับในโลกไซเบอร์ 8) การจัดการไฟล์ดิจิทัลทางการทหาร 9) การเข้าถึงไฟล์ดิจิทัลในกรณีปฏิบัติงานนอกสถานที่ 10) การจัดการฐานข้อมูลทางการทหาร 11) การใช้สื่อดิจิทัลทางไกลเพื่อการสื่อสารทางการทหาร 12) การนำเสนอข้อมูลทางทหารในรูปแบบดิจิทัล 13) การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลเพื่อการทำงาน 14) การตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ 15) การรักษามารยาทในสังคมดิจิทัล 16) เจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร (2) องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร มีจำนวน 3 โมเดล คือ 1) องค์ประกอบระดับระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 1 องค์ประกอบ 2) องค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 2 องค์ประกอบ 3) องค์ประกอบระดับบุคคล …


การพัฒนารูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตามแบบการเรียนของผู้เรียน, ณภาภัช พรหมแก้วงาม Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตามแบบการเรียนของผู้เรียน, ณภาภัช พรหมแก้วงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียนที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตามแบบการเรียนของผู้เรียน 2) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการทดสอบฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการทดสอบฯ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการทดสอบฯ ตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 5 ห้อง จำนวน 126 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนที่มีแบบการเรียน (Learning Style) แบ่งเป็น 6 แบบ ได้แก่ แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบร่วมมือ แบบหลีกเลี่ยง แบบแข่งขัน และแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามแบบการเรียน 2) แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียนฉบับที่ 1 และ 2 เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และ 3) แบบทดสอบระหว่างเรียนเรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง (Two-ways MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียนที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตามแบบการเรียนของผู้เรียน รูปแบบมีองค์ประกอบของการทดสอบ มี 3 ประการ ได้แก่ ผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ และผลการทดสอบ และขั้นตอนการทดสอบตามกระบวนการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การทดสอบก่อนเรียน การทดสอบระหว่างเรียน และการทดสอบหลังเรียน จากการทดลองใช้ พบว่า รูปแบบการเรียนและรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความน่าจะเป็นในการตอบถูก (F= 0.66, Sig.= 0.76) ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน (F= 1.48, Sig.= 0.16) และไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความคงทนในการเรียนรู้ (F= 0.91, Sig.= 0.53) 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการทดสอบฯ …


การส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมในชั้นเรียนคู่ขนาน โดยใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน, ศศิ สุริยจันทราทอง Jan 2022

การส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมในชั้นเรียนคู่ขนาน โดยใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน, ศศิ สุริยจันทราทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มุ่ง 1) พัฒนาชุดกิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมในชั้นเรียนคู่ขนาน 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐานที่มีต่อความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม ในแต่ละระยะของการวิจัย และ 3) วิเคราะห์ลักษณะการใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐานในการส่งเสริมความจำขณะใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนมีภาวะออทิซึม ในชั้นเรียนคู่ขนาน ที่มีพื้นฐานและลักษณะแตกต่างกัน โดยตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้เรียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิซึม ที่มีระดับความสามารถเทียบเท่าผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ในชั้นเรียนคู่ขนานออทิซึม ที่ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่ามีความรุนแรงของภาวะออทิซึม ในระดับ 2 คือ ต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนอย่างมากจำนวน 4 คน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลความจำใช้งาน และพฤติกรรมเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ 1) การทักทายและขอบคุณ 2) การตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ และ 3) การผลัดกันทํากิจกรรมกับผู้อื่น ของตัวอย่างวิจัยในระยะต่าง ๆ ซึ่งแบ่งช่วงการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเส้นฐาน 2) ระยะการจัดกระทำ และ 3) ระยะติดตามผลการช่วยเหลือ โดยเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความจําขณะใช้งาน โดยใช้แบบประเมินทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต (KU-THEF) และ แบบประเมินพฤติกรรมทางสังคม โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ตามขั้นตอนที่ผู้วิจัยได้ออกแบบไว้ และนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกราฟเส้น (visual inspection) สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (context analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐานในงานวิจัยนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการ 3 ประการ 1) การคำนึงถึงพัฒนาการและพื้นฐานของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม 2) การใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาความจำใช้งาน 3) การใช้ดนตรีเป็นฐานในกิจกรรมการช่วยเหลือ โดยนำมาออกแบบกระบวนการ และวิธีการส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม 2. หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน พบว่าตัวอย่างทั้ง 4 คนมีการแสดงออกพฤติกรรมเป้าหมายด้วยตนเองสูงขึ้นตามลำดับและมีความจำใช้งานที่สูงขึ้น 3. มีการใช้การจัดการพฤติกรรมในชั้นเรียน การเพิ่มการใช้กลยุทธ์ในการส่งเสริมความจำใช้งาน การเพิ่มการส่งเสริมทักษะทางสังคมลงในกิจกรรมดนตรี เพื่อให้กิจกรรมดนตรียังคงตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม ที่มีพื้นฐานลักษณะแตกต่างกัน


การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์ Jan 2022

การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดด้วยการเรียนรู้เชิงลึกมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนจากการวิเคราะห์ความรู้สึกผ่านทางข้อความที่ได้จากกระบวนการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น ข้อความที่ใช้ในการพัฒนาโมเดลมีจำนวนทั้งสิ้น 23,974 ข้อความ เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง ได้แก่ วีดิทัศน์การสอนของครูในชั้นเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 11 วีดิทัศน์ที่ได้รับการแปลงเป็นข้อความผ่านกระบวนรู้จำคำพูด และฐานข้อมูล Wisesight Sentiment Analysis ในการพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียน ผู้วิจัยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง จำนวน 4 โมเดล กลุ่มที่ 2 โมเดลที่มีการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้ autoencoder และมีการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจำนวน 4 โมเดล และกลุ่มที่ 3 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้เชิงลึก จำนวน 2 โมเดล ผู้วิจัยดำเนินการจัดเตรียมข้อความให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการนำไปวิเคราะห์ด้วยการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยวิธี TF-IDF และมีการลดจำนวนคุณลักษณะด้วยกระบวนการ Principle Component Analysis (PCA) แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลกันของจำนวนข้อมูลในตัวแปรตามจึงใช้เทคนิค SMOTE และโมเดลทั้งสามกลุ่มมีการปรับแต่งไฮเพอร์พารามิเตอร์ของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนด้วยวิธีการตรวจสอบไขว้ (Cross validation) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลพิจารณาจากค่าดัชนี ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความไวในการจำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยที่ได้ พบว่า 1. จากทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า โมเดล LSTM ที่มีการปรับไฮเพอร์พารามิเตอร์มีค่าความถูกต้องของโมเดลที่ใช้ในการจำแนกอารมณ์สูงที่สุด ร้อยละ 71 โดยมีความแม่นยำและความไวในการจำแนกกลุ่มทั้งสามประเภทโดยภาพรวมได้ดีที่สุด 2. โมเดลกลุ่มที่ 1 โมเดล Support Vector Machine ที่มีการกำหนดไฮเพอร์พารามิเตอร์ มีค่าความถูกต้องในการจำแนกอยู่ที่ 66% สำหรับโมเดลกลุ่มที่ 2 ที่ใช้โมเดล Multilingual Universal Sentence Encoder ในการสกัดคุณลักษณะควบคู่กับการจำแนกด้วยการเรียนรู้ของเครื่องของโมเดล Support Vector Machine และ โมเดล …


การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่, วีรวัฒน์ โอษฐงาม Jan 2022

การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่, วีรวัฒน์ โอษฐงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ และ 4) ตรวจสอบคุณภาพระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการทดสอบออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ และระยะที่ 3 ประเมินคุณภาพระบบการทดสอบออนไลน์เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน สำหรับใช้ในการทดลองแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ แบบประเมินการใช้การอินเทอร์เฟซของระบบทดสอบออนไลน์ และแบบประเมินประสบการณ์ผู้ใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความยาก อำนาจจำแนก การวิเคราะห์ความเที่ยง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและความตรงตามเกณฑ์สัมพัทธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัย สี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r=0.976) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการคิดออกเสียงไม่แตกต่างกัน 3) ผลการพัฒนาระบบฯ พบว่า กระบวนการทำงานของระบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบทดสอบ 2) การดำเนินการทดสอบ และ 3) การรายงานผลการทดสอบ 4) ผลประเมินการใช้งานอินเทอร์เฟซของระบบทดสอบออนไลน์ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าระบบมีความเหมาะสมทั้ง 4 ด้าน โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงที่สุดคือ ด้านคู่มือการใช้ระบบมีบทนำที่อธิบายความเป็นมาอย่างชัดเจน สำหรับการประเมินประสบการณ์ผู้ใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์ พบว่า รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ มีการออกแบบระบบให้มีความสวยงามและน่าสนใจ


การส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบ, รวิวรรณ นิ้มคธาวุธ Jan 2022

การส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบ, รวิวรรณ นิ้มคธาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาของผู้เรียนระดับ ป. 1 ในประเทศไทยมักอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งเป็นข้อมูลพหุรูปแบบที่มีความซับซ้อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจรูปแบบและลักษณะของหนังสือและสื่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ประเภทของสื่อพหุรูปแบบ วิเคราะห์วาทกรรมในสื่อพหุรูปแบบ และพัฒนาฐานข้อมูลหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างวิจัย คือ หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์และได้รับการสุ่ม ครูผู้สอนและผู้ปกครองชั้น ป. 1 ที่อาสาสมัครเข้าทดลองใช้ฐานข้อมูลฯ ซึ่งดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของสื่อ โดยสุ่มจากหนังสือที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 221 เล่ม และสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 110 เรื่อง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ประเภทของสื่อพหุรูปแบบและวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบในสื่อ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ O’Halloran, Tan & Wignell (2019) ผลการวิจัย พบว่า 1. หนังสือและสื่อฯ อยู่ในรูปแบบที่หลากหลายผสมผสานกัน อันเป็นข้อมูลพหุรูปแบบ ที่มีการสอดแทรกความรู้และทักษะที่ผู้เขียน/ผู้แต่งต้องการส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนชั้น ป. 1 และมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับประสบการณ์ของผู้อ่าน 2. ประเภทของสื่อพหุรูปแบบปรากฏในหนังสือและสื่อฯ สามารถจำแนกได้ 6 ประเภท คือ ข้อความ สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและการเคลื่อนไหว 3. จากการวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบสะท้อนการผลิตหนังสือและสื่อฯ ที่สอดแทรกการส่งเสริมความฉลาดใน การรับมือกับปัญหาทั้งมิติของการควบคุม สาเหตุและความรับผิดชอบ การกระจายตัวของปัญหาและความอดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา โดยพบการส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาในมิติของการควบคุมสูงที่สุด 4. ฐานข้อมูลหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาความฉลาดในการรับมือกับปัญหาของผู้เรียนชั้น ป. 1 ที่พัฒนาขึ้นจากโปรแกรม AppSheet ได้รับความพึงพอใจในมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นไปได้ในเชิงบวกทั้งหมดทั้งระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งและเห็นด้วย


การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์ Jan 2022

การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของครูมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพและทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตฝึกสอนที่กำลังจะเป็นครูในอนาคต จึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการตรวจงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนของนิสิตฝึกสอนภาษาอังกฤษ จากการวิเคราะห์วิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษจากมุมมองของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นิสิตฝึกสอน และนักเรียนโดยจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน และเครื่องมือประเมินการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ครูใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยตรงและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยอ้อมต่อข้อผิดพลาดในงานเขียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครูยังให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำ และคำติชมให้แก่นักเรียนในงานเขียน นอกจากนี้ ผลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้านวิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตฝึกสอนมีความจำเป็นในเรื่องการเขียนข้อเสนอแนะลงไปในงานเขียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนมีความจำเป็นในเรื่องการให้อาจารย์นิสิตเขียนคำอธิบายแก้ไขข้อผิดพลาดให้ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่อาจารย์นิเทศก์มีความจำเป็นเรื่องการให้นักเรียนแก้ไขงานเขียนด้วยตนเองมากที่สุด ผลการวิจัยทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินในรูปแบบข้อคำถามและตัวเลือกพร้อมภาพประกอบโดยประเมินระดับของทักษะการตรวจงานเขียนด้วยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนในลักษณะข้อควรปฏิบัติ ที่ให้นิสิตฝึกสอนพิจารณา 1) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนสามารถแก้ไขเองได้ 2) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนไม่สามารถแก้ไขเองได้ 3) การสร้างแรงจูงใจในการเขียนของนักเรียน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับในงานเขียน แนวทางการพัฒนาที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนต่อไป


การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ธนวินท์ สุริวงศ์ Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ธนวินท์ สุริวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สถานการณ์การรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2. ออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลและ 3. วิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ ในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย และเปรียบเทียบคะแนนการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะเพื่อตอบวัตถุประสงค์แต่ละข้อ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ กับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 69 คนและครูผู้สอนจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ครูประจำชั้นและครูผู้สอน สอดแทรกในการสอนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นทางความคิด บางส่วน โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (M=6.25, SD=2.63) หมายถึง มีปัญหาพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลบางรายการ แบ่งตามองค์ประกอบรายย่อยคือ ด้านการใช้งาน และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัลบางรายการ ควรได้รับการส่งเสริม และด้านการตระหนักรู้ อยู่ในระดับน้อย หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัล ควรได้รับการปรับปรุง ระยะที่ 2 เป็นการออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานักเรียน จำนวน 5 คน ร่วมอภิปรายกลุ่ม รูปแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย แผนกิจกรรมทั้งหมด 10 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ผู้วิจัยพัฒนาจากกรอบแนวคิด ได้แก่ ข้อมูลการศึกษาระยะที่ 1 รวมถึงข้อมูลผลการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาต้นแบบ และข้อมูลการสังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมองอีเอฟในกลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) การจำเพื่อใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง และ (3) การยืดหยุ่นทางความคิด ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้ต้นแบบ โดยดำเนินการทดลองกับตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 69 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน …


ประสิทธิภาพของวิธีการจัดการข้อมูลไม่สมดุลสำหรับการจำแนกกลุ่มภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน, กาญธนา ลออสิริกุล Jan 2022

ประสิทธิภาพของวิธีการจัดการข้อมูลไม่สมดุลสำหรับการจำแนกกลุ่มภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน, กาญธนา ลออสิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของวิธีการปรับสมดุลข้อมูลกับเงื่อนไขด้านขนาดตัวอย่าง เทคนิคการจำแนกข้อมูล จำนวนตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวแปรจัดประเภทต่อกลุ่มตัวแปรต่อเนื่อง อัตราออด และร้อยละของจำนวนข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรองที่มีต่อประสิทธิภาพของการจำแนกกลุ่ม การปรับสมดุลของข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ (1) ไม่ปรับสมดุล (2) วิธี random oversampling และ (3) วิธีผสมผสานระหว่างรูปแบบสุ่มเกินและสุ่มลด (hybrid) โดยใช้แพคเกจ ROSE ส่วนเงื่อนไขด้านขนาดตัวอย่างแบ่งออกเป็น ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 100 300 และ 500 หน่วย ด้านเทคนิคการจำแนกข้อมูล แบ่งออกเป็น 4 วิธี ได้แก่ (1) เคเนียร์เรสเนเบอร์ (2) การถดถอยโลจิสติก (3) แรนดอมฟอร์เรส และ (4) ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน ตัวแปรจากการจำลองแบ่งออกเป็นตัวแปรตามซึ่งจำลองด้วยการถดถอยโลจิสติก ส่วนตัวแปรอิสระในการจำลองข้อมูลครั้งนี้จะกำหนดให้ใช้ตัวแปรอิสระจำลองทั้งหมด 8 ตัว โดยกำหนดให้มีจำนวนตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวแปรจัดประเภทต่อกลุ่มตัวแปรต่อเนื่อง 3 กรณี คือ 4:4 5:3 และ 6:2 ในขณะที่ระดับของอัตราออด จะสุ่มค่าจากช่วง [1,2) หรือ [2,3) และร้อยละของข้อมูลระหว่างข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรอง แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 60:40 และ 70:30 พิจารณาเกณฑ์ประสิทธิภาพของข้อมูลด้วยตัวชี้วัดความถูกต้องในการจำแนก ความไว และความจำเพาะ การจำลองแต่ละสถานการณ์จะทำซ้ำสถานการณ์ละ 500 รอบ การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรับสมดุลข้อมูลกับเงื่อนไขต่าง ๆ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณหลายทาง (n-way MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า วิธีการปรับสมดุลข้อมูลมีปฏิสัมพันธ์แบบสองทางกับเงื่อนไขด้านขนาดตัวอย่าง ร้อยละของข้อมูลระหว่างข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรอง อัตราออด และเทคนิคการจำแนกข้อมูล และพบปฏิสัมพันธ์แบบสามทางกับเงื่อนไขต่อไปนี้ (1) ขนาดตัวอย่างและจำนวนตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวแปรจัดประเภทต่อกลุ่มตัวแปรต่อเนื่อง (2) ขนาดตัวอย่างและเทคนิคการจำแนกข้อมูล และ (3) ร้อยละของข้อมูลระหว่างข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรอง และเทคนิคการจำแนกข้อมูล ดังนั้นนักวิเคราะห์ข้อมูลควรเลือกใช้วิธีการปรับสมดุลข้อมูลโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์


การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ถิรายุ อินทร์แปลง Jan 2022

การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ถิรายุ อินทร์แปลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครูโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบและคำบรรยายสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะ ผู้วิจัยสร้างออกแบบระบบประเมินสมรรถนะที่อาศัยระบบอินเทอร์เน็ตเว็ปเพจและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดคือ ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงเชิงสภาพ ดัชนีความเหมาะสมรายข้อ ความเป็นพหุมิติและสัมประสิทธิความเที่ยงตามทฤษฎีตอบสนองข้อสอบ ระยะที่ 3 การประเมินสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและประเมินประสิทธิภาพของระบบการทดสอบโดยทดลองใช้กับตัวอย่างการวิจัยจำนวน 1,786 คนเพื่อนำผลการทดสอบมาใช้ในการกำหนดจุดตัดคะแนนโดยอาศัยการกำหนดคะแนนจุดตัดบนแผนที่สภาวะสันนิษฐานและนำผลการวัดมาจำแนกกลุ่มตามระดับสมรรถนะและจำแนกเปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) กรอบและคำบรรยายสมรรถนะมีคุณภาพผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=3.50-5.00, IQR=0.00-1.50) 2) คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสมรรถนะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีความเที่ยงระดับสูง (rtt=.80-.82) ความตรงเชิงสภาพ (rxy=.73) โมเดลการวัดสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=39.461, df=30, p= .116 , AGFI=.988, CFI=.989, TLI=.979, SRMR=.019, RMSEA=.016, AIC=60062.182, BIC=60247.748) ค่าสถิติ OUTFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .764-.1.199 ค่าสถิติ INFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .787-1.137 และ3) ประสิทธิภาพของระบบการทดสอบสมรรถนะอยู่ในระดับดีและผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=5.00, IQR=1.00, M=4.45, SD=0.73)