Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 1 - 30 of 184

Full-Text Articles in Education

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 82 คน ครูผู้สอน จำนวน 164 คน รวมจำนวน 328 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะอารมณ์และสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคมด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และ การวางแผนงานกิจการนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม นำเสนอไว้ 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนการนำผลการประเมินไปใช้ส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพ (2) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการดำเนินงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (3) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนเน้นการวางแผนงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ


Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research objectives were to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools and intercultural competence, 2) study students’ intercultural competence levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats (SWOT) of academic management of secondary schools based on the concept of intercultural competence, and 4) develop academic management strategies based on the concept of intercultural competence, using a multiphase mixed-methods design methodology. The study population was 19 schools, with 307 respondents, including school administrators, head teachers, and teachers. Research instruments included questionnaires and evaluation forms. Data analysis included frequencies, percentages, arithmetic mean, standard deviations, modified priority needs index …


Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools in Cambodia and innovation leadership skills, 2) study students’ innovation leadership skills levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of academic management based on the concept of innovation leadership skills, and 4) develop academic management strategies based on the concept of innovation leadership skills. Multiphase mixed-methods design were employed. Samples included 2,662 students as respondents in Phase II and 94 public secondary schools in Phase III. Respondents included school administrators and teachers. Research instruments included evaluation forms and questionnaires. Data were analyzed using frequency, percentage, …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและวิเคราะห์องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,360 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 400 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 973 คน ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร และครู จำนวน 1,031 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ (3) ด้านการวัดประเมินผล 2) องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการนักเรียนมัธยมศึกษา มี 8 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ (2) มีแรงบันดาลใจสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์และความสำเร็จ (3) มีความกล้าเสี่ยง (4) มีภาวะผู้นำตนเอง (5) มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาโอกาส (6) มีความอดทนต่อความไม่ชัดเจน (7) มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนพลัง และ (8) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีความกล้าเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การวัดประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร 4) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารวิชาการประกอบด้วย 23 …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วิทวัช กุยแก้ว Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วิทวัช กุยแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกรอบแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เพื่อศึกษาระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.อำเภอ/เขต)สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 280 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้เรียนของ กศน.อำเภอ/เขต แห่งละ 15 คน รวม 4,200 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 3,045 คน และผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ/เขต ข้าราชการครู และครู กศน.ตำบล รวม 840 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 621 คน และ กศน.อำเภอ/เขตที่มีแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจ จำนวน 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบประเมินระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แบบสัมภาษณ์การบริหารวิชาการตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 1 และแบบประเมินร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และกรอบผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5 คุณลักษณะ ประกอบด้วย ผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย ผู้เรียนที่รอบรู้และมีไหวพริบ ผู้เรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์ ผู้เรียนอย่างไตร่ตรอง ผู้เรียนที่พึ่งตนเอง 2) ระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยรวมอยู่ในระดับอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายคุณลักษณะ พบว่า ด้านผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านผู้เรียนอย่างไตร่ตรอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด และด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าความจำเป็นต่ำสุด 3) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชน ตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์, มงคล ตีระดิเรก Jan 2022

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชน ตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์, มงคล ตีระดิเรก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนและแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ และ3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods Research) ประชากรได้แก่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในระบบ ที่มีชั้นอนุบาล จำนวน 3,329 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายปฐมวัย/วิชาการ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ และ (3) การประเมินพัฒนาการ กรอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ ประกอบด้วย (1) การกำกับตนเอง และ (2) ความรู้และทักษะระหว่างบุคคล 2) สภาพปัจจุบัน พบว่าอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ทั้งสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เพิ่มคุณค่าหลักสูตรสถานศึกษาในการเสริมสร้างพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง 2) พลิกโฉมคุณภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง 3) เพิ่มมิติในการประเมินพัฒนาการ เพื่อพัฒนาพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย, ณฐภาส์ รัชตะกุลธำรง Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย, ณฐภาส์ รัชตะกุลธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรในการวิจัยคือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารหรือครู โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวมทั้งสิ้น 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็นผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.358, SD = 0.549) และสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.589, SD = 0.509) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่าด้านการประเมินพัฒนาการมีความต้องการจำมากที่สุด (PNImodified = 0.058) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ( PNImodified = 0.056) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.054) และด้านการจัดประสบการณ์มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified = 0.044) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย รายข้อย่อยที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดเหมือนกันทั้ง 4 ด้านคือทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัยทักษะด้านความปลอดภัย 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย มีทั้งสิ้น 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาเครื่องมือในการวัดประเมินพัฒนาการของผู้เรียนที่เน้นเกี่ยวกับทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย …


กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ, ธันวิตา สิริวรภัทร พุทธพงษ์ศิริพร Jan 2022

กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ, ธันวิตา สิริวรภัทร พุทธพงษ์ศิริพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาและความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ โดยดำเนินการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 155 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ อธิการบดี และผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักงานด้านความเป็นนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเป็นนานาชาติในประเทศไทยประกอบด้วยการบริหารหลักสูตร และการบริหารการบริการวิชาการ กรอบแนวคิดความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยความเป็นนานาชาติในที่ตั้ง และการศึกษาข้ามพรมแดน 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติในภาพรวมการปฏิบัติอยู่ที่ระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก 3. จุดแข็งของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ ได้แก่ การบริหารหลักสูตร จุดอ่อน ได้แก่ การบริหารการบริการวิชาการ โอกาส ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 4. กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เน้นคุณค่าการพัฒนาหลักสูตรสู่สมรรถนะระดับโลก 2) ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานระดับโลก 3) ผลักดันการประกันการเรียนรู้ที่ทันสมัยก้าวทันโลก 4) เพิ่มขีดความสามารถการให้คำปรึกษาทางวิชาการเสริมศักยภาพการแข่งขันระดับโลก 5) มุ่งเป็นเลิศในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ระดับโลก โดยทั้ง 5 กลยุทธ์หลักเน้นตามแนวคิดความเป็นนานาชาติแบบการศึกษาข้ามพรมแดน


นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน, สุนีย์ บันโนะ Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน, สุนีย์ บันโนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะประกอบด้วยสามระยะ ระยะที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่หนึ่ง ระยะที่ 2 เป็นการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งและการกำหนดความต้องการจำเป็นเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่สองและสาม ประชากรคือโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด กทม. จำนวน 431 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูชั้น ป.1-6 และผู้บริหารโรงเรียน (ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้) จำนวน 1,113 คนจากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 206 โรงเรียน ส่วนระยะที่ 3 เป็นการใช้แนวคิดจากมุมมองหลายด้านมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่เป็นต้นแบบและทำการทดสอบเพื่อสรุปเป็นนวัตกรรมการบริหารวิชาการฯ เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่สี่ ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนประกอบด้วย 5 สมรรถนะหลัก ได้แก่ 1) ความฉลาดรู้ด้านความยั่งยืน 2) ค่านิยมเชิงรุก 3) การคิดเชิงระบบ 4) การร่วมมือกับภายนอก และ 5) การสร้างนวัตกรรมทางสังคม ส่วนกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) นโยบายการศึกษา 2) หลักสูตรและตำราเรียน 3) การเรียนการสอน และ 4) การประเมินผล (2) ระดับสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้บ้าง” เมื่อพิจารณาในรายด้านของนักเรียน ชั้น ป.3 พบว่า มีสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนที่อยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้ดี” อยู่ 2 ด้านคือ 1) ความฉลาดรู้ด้านความยั่งยืน และ 2) ค่านิยมเชิงรุก ส่วนอีก 3 ด้านอยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้บ้าง” ส่วนนักเรียนชั้น ป.6 พบว่า มีสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนที่อยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้ดี” อยู่ 1 ด้านคือ ค่านิยมเชิงรุก ส่วนอีก 4 ด้านอยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้บ้าง” …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 13 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.278) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.260) และ (PNI [modified] = 0.258) ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ทางสังคมด้านการเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (3) การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม


Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach Jan 2021

Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1. to examine the exemplary leadership level of Cambodian secondary school students in Battambang Province and to study the priority needs of academic management development of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership, 2. to develop the approaches for developing the academic management of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership. The data were collected from 12 sample schools, choosing one school to represent one district. The study informants included school principals, vice-principal, teachers, and students in Battambang province accounting for 169. The research instrument used …


Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim Jan 2021

Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were to 1) study the conceptual framework for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, 2) study the priority needs for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, and 3) propose approaches for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy. The study employed descriptive research approaches. The study sample was the 28 public high schools in Banteay Meanchey province. They were selected using simple random sampling. The informants …


Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger Jan 2021

Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This survey research aimed to, first, study the current and desirable levels of practice regarding the development of Universal Design for Learning (UDL) to promote children’s holistic development in private kindergartens and, second, to recommend approaches to the development of UDL to promote children’s holistic development in private kindergartens. It employed Block Two: Inclusive Instructional Practice by Katz (2012) as a research framework. The research population were 581 private kindergartens in Bangkok. The informants were 379 private kindergarten administrators, heads of the academics, and teachers obtained through random sampling. The research instruments were a questionnaire and a feasibility assessment form. …


แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีแบบ mixed-methods sequential explanatory design ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูฝึกในสถานประกอบการในเครือข่ายร่วมกับ 18 วิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครูฝึกในสถานประกอบการและครูนิเทศจากสถานอาชีวศึกษา รวม 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วยกลุ่มสมรรถนะสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสมรรถนะด้านวิชาชีพ (2) กลุ่มสมรรถนะด้านเจตคติ (3) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (4) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และกรอบแนวคิดวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน (2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (3) การพัฒนาในรูปแบบผสมผสาน 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการสำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 4 กลุ่มสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบการพัฒนาที่มีต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน และการพัฒนาแบบผสมผสาน ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีทั้งหมด 7 แนวทาง ดังนี้ สำหรับกลุ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ (1) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะวิชาชีพสู่การปฏิบัติ (2) พัฒนาความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือ แหล่งเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และสำหรับกลุ่มสมรรถนะทางการจัดการเรียนรู้ (3) พัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4) พัฒนาความความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (6) …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ศึกษา (สพฐ.) ในจังหวัดสระแก้ว รวม 161 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์ฯการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญของประเทศ และด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชื่อมโยงอารยธรรมขอม กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การแนะแนว และการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับองค์กรอื่น 2) จุดแข็งของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ การแนะแนว (PNImodified =0.4535) และการวัดและประเมินผล (PNImodified =0.4715) ตามลำดับ จุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified =0.5035) การประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNImodified =0.4848) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified =0.4837) และการจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.4823) ตามลำดับ โอกาสของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ สภาพนโยบายของรัฐ (PNImodified =0.4740) และสังคม (PNImodified =0.4780) ภาวะคุกคามคือสภาพเทคโนโลยี (PNImodified =0.4861) และเศรษฐกิจ (PNImodified =0.4832) ตามลำดับ 3) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน และ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงบรรยาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูระดับประถมศึกษา และครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 ที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ การวัดและประเมินผล รองลงมา คือ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ สมรรถนะการเสริมสร้าง ขีดความสามารถชุมชนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ 2) จุดแข็งของ การบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล สมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชนที่เป็นจุดแข็งมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการสร้างความรู้ สมรรถนะที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ โอกาส คือ ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความเป็นผู้นำ การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 16 วิธีดำเนินการ (2) พลิกโฉมการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 10 วิธีดำเนินการ และ (3) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phase Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนชั้นปฐมวัย รวมจำนวน 832 คน สุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูลแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์หา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัย ประกอบด้วยงาน 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล (5) การนิเทศการศึกษา และกรอบแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความจำขณะใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง (3) การยืดหยุ่นทางความคิด (4) การควบคุมอารมณ์ (5) การวางแผนและการจัดการ 2) ความต้องการจำเป็น สูงสุดอันดับหนึ่ง คือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินพัฒนาการ การนิเทศการศึกษา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การยั้งคิดไตร่ตรอง รองลงมาคือ การยืดหยุ่นทางความคิด ความจำขณะใช้งาน การควบคุมอารมณ์ การวางแผนและการจัดการ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ปฏิรูปหลักสูตร …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้, สุวนิตย์ ยงค์กมล Jan 2021

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้, สุวนิตย์ ยงค์กมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-Phase Mixed Methods) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการภาษาต่างประเทศ และครูผู้สอน จำนวนทั้งหมด 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (3) การพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้และการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (4) การนิเทศการสอน (5) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ประกอบด้วยทักษะดังนี้ (1) ทักษะการพูดด้านกายภาพ (2) ทักษะการพูดด้านภาษาศาสตร์ (3) ทักษะการพูดด้านการคิด (4) ทักษะการพูดด้านสังคมและอารมณ์ 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.170) เมื่อจำแนกตามการบริหารวิชาการรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล (ค่าเฉลี่ย = 4.226) ด้านการนิเทศการสอน (ค่าเฉลี่ย = 4.225) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.184) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย = 4.123) และด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้และการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 4.092) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด พบว่าสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.170) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการพูดด้านสังคมและอารมณ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.270) ทักษะการพูดด้านการคิด (ค่าเฉลี่ย = 4.250) ทักษะการพูดด้านภาษาศาสตร์ (ค่าเฉลี่ย …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ตามแนวคิดผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่า, ธีรยุทธ มาณะจักร์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ตามแนวคิดผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่า, ธีรยุทธ มาณะจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการตามแนวคิดผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่า 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ตามแนวคิดผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่า ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย(Descriptive Method Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 25 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน รวมจำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [Modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ตามแนวคิดผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.324, SD = 0.668) และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.579, SD = 0.539) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI [Modified] = 0.385) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.377) และด้านการประเมินผลมีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNI [Modified] = 0.371) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่า รายข้อย่อยที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดเหมือนกัน ทั้ง 3 ด้านของการบริหารวิชาการ คือ การวางแผนเส้นทางเพื่อไปสู่การได้ทำในสิ่งที่รักได้ดีอย่างมืออาชีพ (Profession) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ, ภัทรรัตน์ เหลือบเหลือง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ, ภัทรรัตน์ เหลือบเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 12 คน และครู จำนวน 91 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.56) และมากที่สุด (x = 4.80) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.367) รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.356) การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (PNI [Modified] = 0.335) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.330) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพประด้วยด้วย 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย และ 18 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพด้านการทำความเข้าใจข้อมูลทางสุขภาพแนวทางที่ 2 …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม, รัตนภูมิ เรืองสอาด Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม, รัตนภูมิ เรืองสอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม 2) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ฯ และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI [Modified]) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.281) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ยึดมั่น ในคุณธรรมจริยธรรม (PNI [Modified] = 0.302) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.276) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ สร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรม (PNI [Modified] = 0.319) รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.271) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือมีความรับผิดชอบต่อสังคม (PNI [Modified] = 0.290) และด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (PNI [Modified] = 0.264) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ มีความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน (PNI [Modified] = 0.293) ตามลำดับ แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม มีทั้งหมด 4 แนวทาง โดยเรียงลำดับตามดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างนิสัยการยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม และการมีความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับผู้เรียน โดยครูทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 2) พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อเสริมสร้างนิสัยการสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรมและการมีความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงานของผู้เรียน ให้ทันสมัย และมีความท้าทาย สามารถปรับประยุกต์และต่อยอดกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันร่วมกับสถานประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม, รุจิรา รักวงษ์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม, รุจิรา รักวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 50 คน ครู จำนวน 288 คน และนักเรียนจำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมและแบบประเมินความหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.627) โดยด้านการมีความเชี่ยวชาญธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหาวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม ที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.345) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.268) และการประเมินผล (PNI [Modified] = 0.219) ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การมีความเชี่ยวชาญธุรกิจ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการสังคม โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด มีทั้งสิ้น 2 แนวทาง ดังนี้ 1) พัฒนาการจัดสภาพบรรยากาศ สื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้คุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมของผู้เรียนด้านการมีความเชี่ยวชาญธุรกิจและการโน้มน้าวใจ และ 2) ยกระดับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้คุณลักษณะผู้ประกอบการสังคมของผู้เรียนด้านการมีความคิดสร้างสรรค์การมีความเชี่ยวชาญธุรกิจและการโน้มน้าวใจ


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล, ธัมมธาดา อู่วิเชียร Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล, ธัมมธาดา อู่วิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากลผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 11 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 33 คน และครู 277 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิด จิตสำนึกสากล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.803) และมากที่สุด (M = 4.568) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.230) รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.205) รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.188) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ งานกิจกรรมนักเรียน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.182) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล มีทั้งหมด 2 แนวทางย่อย และ 25 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พลิกโฉมหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยเน้นการส่งเสริมจิตสำนักสากลด้านความตระหนักในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นในโลก ประกอบด้วย 3 …


แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน, วศมน ใจชื่น Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน, วศมน ใจชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 จำนวน 10 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงินที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาขณะปฏิบัติงาน (PNI [modified] = 0.357) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (PNI [modified] = 0.341) และ 2) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงินมี 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. พัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงที่เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงินด้านทัศนคติทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงิน 2. ยกระดับการมอบหมายงานให้มีประสิทธิภาพที่เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงิน ด้านทัศนคติทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงิน 3. ยกระดับการศึกษาดูงานให้เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงิน ด้านความรู้ทางการเงินและทัศนคติทางการเงิน 4. ส่งเสริมการพัฒนาครูด้วยการอบรมสัมมนาที่เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงินด้านความรู้ทางการเงินและทัศนคติทางการเงิน


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน, วชิราภรณ์ สุวรรณวรางกูร Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน, วชิราภรณ์ สุวรรณวรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 7 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดในการพัฒนา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.437) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.436) และ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.407) ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบของแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านผลลัพธ์ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย 3 แนวทาง โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) พัฒนาการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการกำหนดแนวปฏิบัติในการวัดประเมินผลด้านผลลัพธ์ (2) พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์ความจำเป็นของหลักสูตรสถานศึกษาด้านเนื้อหา (3) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านผลลัพธ์


แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะ, จิรวรรณ จอมศิลป์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะ, จิรวรรณ จอมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ 2) นำเนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดลพบุรีจำนวน 6 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล เลือกโดยกำหนดคุณสมบัติประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้เรียน และเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 96 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีค่าสูงสุด คือด้านผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNI [modified] =0.513) รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน (PNI [modified] =0.484) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการบริหารจัดการความรู้ (PNI [modified] =0.482) ด้านกลยุทธ์ (PNI [modified] =0.416) ด้านการนำองค์กร (PNI [modified] =0.412) ด้านผลลัพธ์ (PNI [modified] =0.403) และด้านการปฏิบัติการ (PNI [modified] =0.391) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 6 แนวทาง12 แนวทางย่อย 45 วิธีการดำเนินการ เรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พัฒนาผู้ให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ ด้านการคำนึงถึงผลกระทบของธุรกิจ และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยยึดโยงกับความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) เสริมสร้างศักยภาพครู และวิทยากรจากสถานประกอบการ ในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ ด้านการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) พลิกโฉมระบบการวัด การวิเคราะห์ …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ, กิจธนะ รักษ์ธนธัช Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ, กิจธนะ รักษ์ธนธัช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการในโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คน และครู 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ({u1D465}̅ = 2.81) และมากที่สุด ({u1D465}̅ = 4.65) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.77) รองลงมา คือ การวัดผลประเมินผล (PNI [Modified] = 0.63) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.56) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ มีทั้งสิ้น 3 แนวทางหลัก ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพบรรยากาศ สื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจจากเป้าหมาย แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลให้เป็นตามสภาพจริง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากการขับเคลื่อน และแนวทางที่ 3 พัฒนาและบูรณาการหลักสูตรโดยการดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยเน้นในด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากการกระตุ้น


แนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ, ชัยรัตน์ อินทวงศ์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ, ชัยรัตน์ อินทวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะ การชี้แนะ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของร่างแนวทาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [Modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.092, S.D. = 0.670) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.704, S.D. = 0.481) ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูสูงที่สุดคือ ด้านทักษะการถาม (PNI [modified] = 0.571) และต่ำที่สุดคือ ด้านทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (PNI [modified] = 0.481) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะ การชี้แนะ มี 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาทักษะการถามของครูผ่านการปฏิบัติงาน ตามโครงการที่รับมอบหมาย การได้รับการชี้แนะ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การพัฒนาทักษะ การให้ข้อมูลย้อนกลับของครูผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมาย การได้รับการชี้แนะ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การพัฒนาทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งของครู …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม, สโรชา เอี่ยมสุรนันท์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม, สโรชา เอี่ยมสุรนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวมผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คนและครูผู้สอน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม และแบบประเมินควาเมหาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม ด้านที่มีความจำเป็นสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.341) รองลงมา คือ การประเมินผล (PNI [Modified] = 0.323) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.319) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม มีทั้งสิ้น 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อยและ 24 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการจัดสภาพบรรยากาศ สื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติร่วมกัน แนวทางที่ 2 พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติงานร่วมกัน แนวทางที่ 3 พัฒนาการประเมินผลเพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการทำให้เป็นปกติอย่างมีความรับผิดชอบและด้านการจิตนาการใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และแนวทางที่ 4 พัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติงานร่วมกันและด้านการทำให้เป็นปกติอย่างมีความรับผิดชอบ


การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่ Jan 2021

การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ การประเมินแบบร่วมมือ และเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ศึกษาในประชากรโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสะเต็มศึกษาจำนวน 26 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล กรอบแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในหลักการเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในเรื่องข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม วิธีการ และเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จัดทำรายงานการประเมินและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และจัดส่งข้อมูลย้อนกลับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนด้วยการประชุมปฏิบัติการเชิงปฏิสัมพันธ์ พร้อมทั้งวางแผนการประเมินระยะต่อไป และกรอบแนวคิดเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย การบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน พัฒนาการประกอบอาชีพ และสร้างนวัตกรรม 2) การบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือด้านการประเมินผล และด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุดคือด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 3) แนวปฏิบัติที่ดีประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 16 แนวปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 12 แนวปฏิบัติ และการประเมินผล 20 แนวปฏิบัติ และ 4) นวัตกรรมการบริหารวิชาการ คือ “นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลแบบร่วมมือสู่เป้าหมายของสะเต็มศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา” ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมย่อย คือ นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ นวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมการประเมินผล