Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Early Childhood Education

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและหลักการชี้แนะโดยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก, ปวรา ชูสังข์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและหลักการชี้แนะโดยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก, ปวรา ชูสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการฝึกอบรมฯ และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างกระบวนการฝึกอบรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 2 นำร่องการใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 3 ทดลองใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ ตัวอย่าง คือ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก และแบบประเมินความคิดเห็นต่อกระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและหลักการชี้แนะโดยเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน สถิติทดสอบวิลคอกซัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการฝึกอบรมฯ ที่พัฒนาขึ้น ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก ด้านการเตรียมการก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการสอน มีหลักการสำคัญ คือ 1) ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ตามกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงการสอนที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในการทำงานปกติของครู บนพื้นฐานความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกันของครู 2) ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงการสอนโดยคำนึงถึงวิธีการคิดและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) สลับบทบาทการเป็นผู้ให้และผู้รับการชี้แนะโดยเท่าเทียม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ในการทำงานร่วมกัน และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ 4) สังเกตการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติของสมาชิกกลุ่ม โดยใช้ประเด็นการสังเกตและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ผู้รับการชี้แนะกำหนดไว้ 5) วิเคราะห์ และสะท้อนคิดจากข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ และให้ข้อมูลย้อนกลับโดยส่งเสริมให้ผู้สอนประเมินตนเองเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้วางแผนพัฒนาตนเอง และมีขั้นตอนของกระบวนการฝึกอบรมฯ 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างกลุ่มสมาชิก 2) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเด็กร่วมกัน 3) พัฒนาการสอน 4) สะท้อนผลการพัฒนา กระบวนการฝึกอบรมฯ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 50 ชั่วโมง 2. ผลการใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ พบว่า ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กหลังเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการสอน รองลงมา คือ การเตรียมการก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามลำดับ นอกจากนี้ หลังจากเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมฯ พบว่า ครูผู้ดูเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ครบถ้วนทุกองค์ประกอบ …


การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, วณิชชา สิทธิพล Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, วณิชชา สิทธิพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูอนุบาลชั้นปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 8 คน แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับตั้งต้น) ขั้นที่ 3 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 4 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) และขั้นที่ 5 การนำเสนอกระบวนการฯ ฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาล แนวคำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง บันทึกย่อ และแบบสะท้อนความคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยนับความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) กระบวนการฯ ที่พัฒนาขึ้น มุ่งพัฒนาครูอนุบาลให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง เน้นการสะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงการเรียนรู้ลงสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กลยุทธ์ 5) ขั้นตอนการเสริมสร้างฯ 6) บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง 7) ลักษณะการดำเนินการ 8) ระยะเวลา และ 9) การประเมินผล กระบวนการฯ ตั้งอยู่บนหลักการ 6 ประการ คือ 1) กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ชัดเจน 2) ฝึกฝนทักษะการสังเกตตามสภาพจริงและการสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง 3) สนับสนุนให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนความคิดทางบวก และให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนให้ประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อน 5) เปิดโอกาสให้เป็นผู้นำทางความคิดและการตัดสินใจทางวิชาการ 6) …