Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Curriculum and Instruction

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 13 of 13

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พัชราวลัย อินทร์สุข Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พัชราวลัย อินทร์สุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพี่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลิ่งชันวิทยา จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาในการทดลอง 27 คาบๆ ละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นเรียนรู้และฝึกฝนกลยุทธ์ ขั้นอ่านร่วมกันเป็นกลุ่ม ขั้นประเมินความเข้าใจของตนเอง และขั้นตอบสนองต่อบทอ่าน 2. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น จากการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 7.47 และ 16.78 คะแนนตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบมีพัฒนาการของความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังจากเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น


การพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, เกรียง ฐิติจำเริญพร Jan 2017

การพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, เกรียง ฐิติจำเริญพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง และ 2) ศึกษาผลของการดำเนินงานตามกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของครูใหม่ การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาของครูใหม่ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร ระยะที่ 2 การสร้าง การตรวจสอบ และการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ ฯ โดยการสังเคราะห์สาระสำคัญและหลักการของแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และการเป็นพี่เลี้ยง แล้วนำเสนอกระบวนการต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ตรวจพิจารณาเกี่ยวกับความตรงของเนื้อหา ความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบฯ และความเหมาะสมของกระบวนการที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การใช้กระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ ฯ กับกรณีศึกษาซึ่งเป็นครูใหม่ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ และยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูที่ทำการสอนในโรงเรียนไม่เกินระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มประกอบวิชาชีพครู จำนวน 8 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และแบบประเมินการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ ฯ ฉบับสมบูรณ์ แก่ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียน ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ การสังเกตชั้นเรียน การสังเกตการสะท้อนคิดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) กระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นเป็นระบบการพัฒนาวิชาชีพครูแก่ครูใหม่ ที่มุ่งเน้นให้ครูใหม่ได้เรียนรู้จากการทำงานกลุ่มแบบร่วมมือรวมพลัง การปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยใจที่เปิดกว้างร่วมกับครูใหม่ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มและพี่เลี้ยงผู้มีประสบการณ์สูงกว่า กระบวนการนี้มีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ 1) การดำเนินการพัฒนาวิชาชีพครูทันทีเมื่อครูใหม่เริ่มปฏิบัติงานโดยดำเนินงานอย่างเป็นระบบและเป็นวงจรต่อเนื่องในระยะยาว 2) การพัฒนาวิชาชีพในระบบการทำงานจริงในชั้นเรียน 3) การพัฒนาความสัมพันธ์และการปฏิบัติงานร่วมกันของครูใหม่กับพี่เลี้ยงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรและส่วนตน 4) การร่วมมือรวมพลังขับเคลื่อนและปรับกระบวนการทำงานด้วยตนเองของครูใหม่ โดยการสนับสนุนส่งเสริมจากพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์สูงกว่า 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนและการปฏิบัติการสอนเพื่อขยายผลและเติมเต็มการเรียนรู้ของกลุ่ม การดำเนินงานตามกระบวนการมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างทีมงานและตั้งเป้าหมายร่วมกัน ประกอบด้วยการนำครูใหม่สร้างทีมงาน การจับคู่ครูใหม่กับพี่เลี้ยง การอบรมพี่เลี้ยง การปฐมนิเทศครูใหม่ และการตั้งเป้าหมายที่ต้องการบรรลุร่วมกัน ขั้นที่ 2 การเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ประกอบด้วยวงจรของการวางแผนบทเรียนและสังเกตชั้นเรียนของพี่เลี้ยง การเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของพี่เลี้ยง …


แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6, ภรทิพย์ ภาคภูมิ Jan 2017

แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6, ภรทิพย์ ภาคภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างที่ใช้ในการทำแบบวัด ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 180 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้การสัมภาษณ์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้การสัมภาษณ์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรม SPSS เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้โปรแกรม M-Plus เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 มี 3 องค์ประกอบ และมี 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1.1) การใช้ภาษาและคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ และ 1.2) การใช้สัญลักษณ์ (เครื่องหมาย) ทางคณิตศาสตร์ องค์ประกอบที่ 2 การแสดงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 2.1) การตีความ แปลความ และวิเคราะห์ความหมายจากโจทย์หรือสถานการณ์ที่กำหนดให้ 2.2) การอธิบายวิธีคิด หรือวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ และ 2.3) การสรุปคำตอบที่ได้จากการแก้ปัญหา และองค์ประกอบที่ 3 ความชัดเจนในการนำเสนอมี 1 ตัวชี้วัดคือ การเขียนอธิบายวิธีคิดเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตรงกัน ผลการตรวจสอบโมเดลองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square = 9.57, df = 5, p = 0.09, CFI …


Development Of An Instructional Model Integrating Webquest Learning Approach And Reflective Practice To Enhance English Critical Reading Ability Of Undergraduate Students In Cambodia, Chanchhaya Chhouk Jan 2017

Development Of An Instructional Model Integrating Webquest Learning Approach And Reflective Practice To Enhance English Critical Reading Ability Of Undergraduate Students In Cambodia, Chanchhaya Chhouk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1) to develop an instructional model integrating WebQuest Learning Approach and Reflective Practice to enhance English critical reading ability of undergraduate students, 2) to investigate the effectiveness of the instructional, and 3) to investigate undergraduate students' English critical reading ability development learning with the instructional model. The research and development processes were divided into four phases: 1) studying of the significance of the problem and learning approaches, 2) developing of the instructional model integrating WebQuest Learning Approach and Reflective Practice, 3) Studying the effectiveness of the instructional model integrating WebQuest Learning Approach and Reflective …


การศึกษาการทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กัญยาณี พ่วงเสือ Jan 2017

การศึกษาการทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กัญยาณี พ่วงเสือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาวิธีการทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างการวิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 140 คน จาก 2 โรงเรียน (ขนาดใหญ่พิเศษ) สังกัดรัฐบาล จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โดยใช้สูตรของโปรแกรมคำนวณ Raosoft (2004) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) โดยใช้ Bonferroni และ Dennett's T3 และ 3) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนนิยมทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังโดยมีความถี่ และระยะเวลา ในการทำกิจกรรมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การฟังเพลงภาษาอังกฤษ การดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ และการดูรายการภาษาอังกฤษ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความถี่เท่ากับ 3.40 2.26 และ 2.02 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาเท่ากับ 2.91 2.42 และ 1.76 ตามลำดับ 2. นักเรียนกลุ่มสูง กลุ่มกลาง และกลุ่มต่ำ ทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังโดยมีความถี่ และระยะเวลา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระดับที่ .05 3. นักเรียนนิยมใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือในการเข้าทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟังมากที่สุด และนักเรียนกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำมีลักษณะการทำกิจกรรมการฟังที่แตกต่างกัน ดังนี้ การฟังอย่างเดียว หรือการฟังแล้วทำพฤติกรรมการรับรู้อื่นตามไปด้วย เช่น การฟังแล้วพูด อ่าน และเขียน) รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาที่พบขณะทำกิจกรรมภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้านการฟัง เนื่องจากผลของปัจจัยต่าง ๆ …


แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, จินตนา วิเศษจินดา Jan 2017

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, จินตนา วิเศษจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของครูไทยที่สอนแผนภาษาจีนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 93 แห่ง ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกครูต้นแบบ เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนของครูต้นแบบจำนวน 2 ท่าน โดยการสังเกตการสอนและการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างกับครูท่านที่หนึ่งจำนวน 5 ครั้ง และครูท่านที่สองจำนวน 4 ครั้ง และขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1. ด้านการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) เนื้อหา คือ คำศัพท์ภาษาจีน ไวยากรณ์จีน ตัวอักษรจีน การออกเสียง และวัฒนธรรมจีน และ (2) ทักษะทางภาษา คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน 2. ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ประเภทของสื่อการเรียนรู้ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี สื่อวัสดุ/อุปกรณ์ และสื่อบุคคล/ท้องถิ่น และ (2) การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ คือ การใช้สื่อที่เหมาะสมกับวัยผู้เรียน การใช้สื่อที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการจัดทำ/จัดหาสื่อใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ 3. ด้านการวัดและประเมินผล ได้แก่ (1) การวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ คือ การสอบย่อยเก็บคะแนน การสอบกลางภาค-ปลายภาคการศึกษา และ (2) การวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ คือ การพูดคุย การใช้คำถาม การประเมินการปฏิบัติ การประเมินผ่านใบงาน และการสังเกตพฤติกรรม


ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฏฐ์ชฎิล มาอิ่นแก้ว Jan 2017

ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฏฐ์ชฎิล มาอิ่นแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ2) ศึกษาผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 โรง ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 70 คน และดำเนินการสุ่มนักเรียน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์และแบบวัดเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏดังนี้ 1.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏดังนี้ 2.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปได้ของการขยายความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นาตยา รัตนอัมภา Jan 2017

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปได้ของการขยายความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นาตยา รัตนอัมภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปได้ของการขยายความในการโน้มน้าวใจ เพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 36 คน ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินรายงานการประเมินภาวะสุขภาพ และแผนการพยาบาลผู้สูงอายุ แบบสังเกตพฤติกรรมอย่างเป็นระบบในการพยาบาลผู้สูงอายุ และแบบประเมินเจตคติในการพยาบาลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ มีหลักการสำคัญ 9 ประการ ได้แก่ 1) การกระตุ้นให้นักศึกษาพยาบาลมีความต้องการการเรียนรู้ 2) การมอบหมายงาน และการนำเสนอกรณีหรือประเด็นปัญหาอย่างเหมาะสมและท้าทายความสามารถ 3) การประมวลผลข้อมูล และสร้างโครงสร้างความรู้ 4) การประยุกต์ใช้ข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ในบริบทต่าง ๆ 5) การฝึกเชื่อมโยงกลวิธีการคิด และแนวทางการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆ 6) การอภิปรายกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์และความเข้าใจ 7) การไตร่ตรองข้อมูลและสะท้อนความคิด 8) การประเมินและให้ข้อมูลย้อนกลับ 9) การสรุปความคิดรวบยอด กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นแรงจูงใจและความสามารถ (2) ขั้นสร้างโครงสร้างความรู้และวางแผนการพยาบาล (3) ขั้นปฏิบัติการพยาบาล และ (4) ขั้นไตร่ตรอง และสรุปความคิดรวบยอด 2. ประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ พบว่า นักศึกษาพยาบาลภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในภาพรวมภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยของทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในภาพรวมทั้ง 4 ครั้งมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นตามลำดับ


การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ, สไบทิพย์ จันทร์หอม Jan 2017

การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ, สไบทิพย์ จันทร์หอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ในมุมมองของนักเรียนช่างยนต์ ครู และช่างยนต์ 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักเรียนช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 120 คน ครู จำนวน 5 คน และช่างยนต์ จำนวน 10 คน การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) นักเรียนช่างยนต์ ครู และช่างยนต์ มีความต้องการจำเป็นในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามองค์ประกอบการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากที่สุด คือ องค์ประกอบความสามารถทางภาษาหรือไวยากรณ์ องค์ประกอบความสามารถทางวัฒนธรรมภาษา และองค์ประกอบความสามารถทางกลวิธีภาษาตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบความสามารถในการใช้สำนวนตามรูปแบบการใช้ภาษาตามหน้าที่และสถานการณ์การใช้ภาษา พบว่า นักเรียนช่างยนต์ ครู และช่างยนต์มีความต้องการเกี่ยวกับการพูดสนทนาทั่วไป การพูดให้ข้อมูล การพูดสาธิต การพูดให้อธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การพูดอธิบายระบบการทำงานและส่วนประกอบต่าง ๆ ของยานยนต์ และการพูดสอบถามและแสดงความคิดเห็นตามลำดับ
2) หลักสูตรรายวิชาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์รายวิชา คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างเนื้อหา ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 12 หน่วย รวมจำนวนชั่วโมงทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อประกอบการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, วราพร ทองจีน Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, วราพร ทองจีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง และระยะที่ 4 การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้ง และเกณฑ์ในการประเมินการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (dependent t-test และ independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยหลักการ 5 ข้อ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้เกิดความสงสัยหรือเกิดความขัดแย้งทางปัญญา แล้วแสวงหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้วิจารณญาณในการคิดและคัดเลือกข้อมูลด้วยตนเองเพื่อให้ได้ข้อสรุปความรู้หรือคำตอบ 2) การมีประสบการณ์ในการสังเกต วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลความรู้หรือความคิดช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ชัดเจนในสิ่งที่เรียนรู้ มีมุมมองการคิดสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย และส่งเสริมกลยุทธ์ทางปัญญาของผู้เรียน ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้ดีขึ้น 3) การสะท้อนคิดและการเชื่อมโยงความรู้หรือความคิดที่ค้นพบและได้รับจากรอบด้าน ช่วยให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ 4) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีหลายมิติช่วยเสริมต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ประเมินความรู้ความสามารถทั้งของตนเองและผู้อื่น ตระหนักถึงข้อดีข้อบกพร่องของผลงาน ได้สังเคราะห์ความรู้และมีมุมมองความคิดที่หลากหลายไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้และผลงาน 5) การประยุกต์ใช้ข้อมูลความรู้เดิมและความรู้ใหม่ไปใช้ในการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสมเหตุสมผล ช่วยขยายหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างความคิดหรือความรู้ของผู้เรียน และช่วยพัฒนาการคิดในการเขียนให้มีประสิทธิภาพ โดยมี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกระตุ้นความสงสัย ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการสร้างความรู้ใหม่ ขั้นตอนที่ …


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศุภณัฐ พานา Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศุภณัฐ พานา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่พัฒนาตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If และระยะการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และแบบทดสอบการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน แนวทางในการจัดการเรียนการสอน การเตรียมการสอน และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "TIMER" ได้แก่ (1) ขั้นการสนทนาเกี่ยวกับประเด็นทางประวัติศาสตร์ (Talk about historical issue) (2) ขั้นการจินตนาการเกี่ยวกับอดีต (Imagine about the past) (3) ขั้นการจัดการกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Manage evidence) (4) ขั้นการสำรวจผ่านกาลเวลา (Exploration through time) และ (5) ขั้นการสะท้อนถึงอดีต (Refection to the past) ตลอดจนการวัดและประเมินผล 2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้มีทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ไปในทางที่ดีขึ้น


แนวทางการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา, สุทธิ สีพิกา Jan 2017

แนวทางการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา, สุทธิ สีพิกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา และนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย เก็บข้อมูลโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา จำนวน 660 คน จาก 220 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) สภาพการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา ครูส่วนใหญ่กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ครูกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ระเบียบแถว และการผจญภัยและค่ายพักแรม ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย (2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ครูควรมุ่งเน้นการพัฒนาระเบียบวินัย คุณธรรม และการนำความรู้ไปใช้ ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ครูควรกำหนดเนื้อหาวิชาบังคับตามหลักสูตรไว้ในภาคเรียนที่ 1 และกำหนดเนื้อหาวิชาพิเศษไว้ในภาคเรียนที่ 2 ด้านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และมีเวลาเรียนอย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น วิธีการสอนลูกเสือ 10 วิธี การใช้ระบบหมู่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูควรวัดและประเมินผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ มีการประเมินทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ด้วยวิธีการที่หลากหลายและชัดเจน


กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย), อุทัย ศาสตรา Jan 2017

กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย), อุทัย ศาสตรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติเป็นฐาน 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การถอดบทเรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) จำนวน 5 ท่าน โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง 2) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ 3) การศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 4) การนำเสนอกระบวนการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 35 คน ระยะเวลาทดลอง 1 ภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินการสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทย และ 2) แบบประเมินผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทย วิเคราะห์ข้อมูลการถอดบทเรียนโดยการตีความและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired samples t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนศิลปินแห่งชาติเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ด้านหลักการสอนมี 5 ประการ ได้แก่ 1) การฝึกบรรเลงทำนองหลักของเพลงไทย 2) การสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย 3) การนำเสนอตัวอย่างการสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยที่หลากหลาย 4) การจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และ 5) การจัดประสบการณ์ในการฟังเพลงไทยที่หลากหลายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) ขั้นฝึกบรรเลงทำนองหลักของเพลงไทย และ 1.2) ขั้นสร้างความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ระยะที่ 2 การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ขั้นเรียนรู้การสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยจากต้นแบบ 2.2) …