Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art Education

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ภูมินทร์ นวลรัตนตระกูล Jan 2021

การพัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ภูมินทร์ นวลรัตนตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ การอนุรักษ์ และการจัดการเรียนการสอนจิตรกรรมไทย 2) พัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1) ผู้เชี่ยวชาญ 5 ด้าน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปศึกษา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปบัณฑิต ศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทย นักอนุรักษ์จิตรกรรมไทย นักประวัติศาสตร์ศิลป์และทฤษฎีศิลป์ 2) สถาบันระดับปริญญาบัณฑิตที่มีการสอนรายวิชาเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยในหลักสูตรศิลปศึกษา จำนวน 2 แห่ง 3) นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการสอน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลงาน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบรับรองรายวิชา ผลการวิจัยพบว่ารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยประเพณี การอนุรักษ์จิตรกรรมไทย และจิตรกรรมไทยร่วมสมัยทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ได้ 2) เนื้อหา ด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ได้แก่ คุณค่าในด้านเนื้อหา รูปแบบ และเทคนิควิธีการ ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ได้แก่ การอนุรักษ์ในเชิงสงวนรักษาที่ครอบคลุมถึงหลักการอนุรักษ์เชิงป้องกัน และการอนุรักษ์ในรูปแบบศึกษาและเผยแพร่ ด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ได้แก่ แนวทางและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความร่วมสมัย 3) วิธีการสอน ใช้การบรรยายในด้านทฤษฎี ส่วนการปฏิบัติใช้วิธีการสาธิตและให้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง พร้อมทั้งมีการศึกษานอกสถานที่ 4) สื่อการสอน ได้แก่ วัสดุในการทำงานจิตรกรรมไทยของผู้เรียน ภาพประกอบการบรรยาย รวมถึงผลงานและสถานที่จริง 5) การวัดและประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย วัดจากความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับคุณค่าของจิตรกรรมไทยประเพณีและหลักการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ด้านทักษะพิสัย ประเมินทักษะปฏิบัติการทดลองเทคนิคทางด้านจิตรกรรมไทยและผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ โดยประเมินกระบวนการทำงานควบคู่ไปกับผลงาน จิตพิสัย วัดจากการนำเสนอคุณค่าทางด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ผลจากการประเมินผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ของผู้เรียนจากการทดลองใช้รายวิชาพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม โดยในด้านเนื้อหา ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการประยุกต์ใช้เนื้อหาเรื่องราวทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ผลงาน ด้านเทคนิคและกระบวนการ ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการเลือกใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม และด้านการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในส่วนของความสมบูรณ์ของผลงานการสร้างสรรค์ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรายวิชาที่ทำการทดลงใช้พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (x=4.88) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจมากที่สุด คือ …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ, กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ, กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและพัฒนาชุดกิจกรรมของกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มกับตัวอย่างในการศึกษาแนวทาง คือ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ จำนวน 3 คน ศิลปินภาพพิมพ์ จำนวน 3 คน ผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน ผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 1 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 2 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 5 กิจกรรม โดยนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กิจกรรม คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 79 ปี ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยไม่จำแนกเพศในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและสมัครใจ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับอาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับศิลปินภาพพิมพ์ 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ 4) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา และผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5) ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 6) แบบประเมินการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะผ่านชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 7) แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 8) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสำรวจข้อคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษ 9) แบบบันทึกผลการทดลองสำหรับผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) ทำสีพิมพ์ 2) พิมพ์ภาพด้วยการพับ 3) พิมพ์ภาพด้วยกระดาษลัง 4) พิมพ์ภาพผ่านช่องฉลุ 5) พิมพ์ภาพผ่านร่องลึก ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมทำกิจกรรมมีผลการประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุหลังทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากที่ 3.32 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าการกระจายตัวน้อยอยู่ที่ 0.19 สามารถแปลผลได้ว่า ในด้านร่างกาย ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ได้โดยไม่ใช้กำลังมากจนก่อให้เกิดความเหนื่อยล้า ในด้านจิตใจ ผู้สูงอายุรู้สึกดีต่อการทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ มีความเพลิดเพลิน สามารถจดจำกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะภาพพิมพ์ได้ และมีความพึงพอใจในผลงงานของตนเอง ในด้านสังคม ผู้สูงอายุและลูกหลานหรือเพื่อนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน …


การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ยุทธวี เจ๊ะเละ Jan 2021

การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ยุทธวี เจ๊ะเละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 4กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 2. อาจารย์ผู้สอนวิชาประติมากรรมตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 3. สถาบันระดับอุดมศึกษาในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 2แห่ง และ 4. นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ลงเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 10คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการสอน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติจากแบบสังเกตการสอน มี 4องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1.1 การเตรียมการสอน ได้แก่ ความพร้อมของผู้สอน สื่อประกอบเนื้อหาการสอน สภาพห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ สื่อประเภทข่าวสาร เนื้อหาจำเพาะ วิธีการ ตัวอย่างผลงาน 1.2 กระบวนการสอน จัดเนื้อหาการสอนสร้างชิ้นงานตั้งแต่สอนความรู้พื้นฐานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านวิธีการสอนในแต่ละด้าน 1.3 การดำเนินการสอน ด้วยสื่อการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน 1.4 พฤติกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วย ความสนใจของผู้เรียนระหว่างทำการสอนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 2. กระบวนการสร้างและวิธีการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล ครอบคลุมถึงกระบวนการทั้ง 5ด้าน ประกอบด้วย 2.1 ด้านการออกแบบตัวละคร 2.2 ด้านการวิเคราะห์แบบตัวละคร 2.3 ด้านการสร้างและตกแต่งชิ้นงาน 2.4 ด้านการสร้างความสมจริง และ 2.5 ด้านการประเมินผลงาน โดยใช้มีวิธีการสอนแบบบรรยาย สอนแบบคิดวิเคราะห์ สอนแบบอภิปรายผล สอนแบบสาธิตใช้ตัวอย่างประกอบ และสอนแบบสืบสวนสอบสวน 3. รูปแบบกิจกรรมสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล มีการจัดลำดับเนื้อหาโดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมสู่เทคนิคการสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เข้าใจวิธีการออกแบบสร้างชิ้นงานตามเวลาที่กำหนด ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสร้างตัวละครโดยประเมินดูจากความถูกต้องตามแนวคิดที่วางไว้ ผลการตรวจสอบรับรองคุณภาพกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3ท่าน …


การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ, รวิธ รัตนไพศาลกิจ Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ, รวิธ รัตนไพศาลกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ มีเป้าหมายเพื่อการจัดการศึกษาระยะสั้นแก่เยาวชนในฐานะแรงงานสร้างสรรค์ของภาคเหนือให้สามารถออกแบบนวัตศิลป์ที่นำเสนอเรื่องราวและคุณค่าเดิมของศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและคุณค่าใหม่ตามแนวทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อันจะนำไปสู่การมองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจที่มีเอกลักษณ์และสามารถนำไปแข่งขันเชิงนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร นวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา และประเมินคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น ประกอบด้วย 1) เยาวชนในภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 คน ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงออกแบบ จำนวน 5 คน และ 3) ผู้ประกอบการด้านนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการประเมินคุณภาพหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 คน และ 2) เยาวชนที่มีความสนใจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และอยากพัฒนาต่อยอดธุรกิจนวัตศิลป์ล้านนา จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบสะท้อนความคิด และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ ด้านความรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ด้านความรู้เกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมล้านนา ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และด้านการออกแบบหลักสูตร โดยพบว่าการมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญสูงที่สุด เท่ากับ 0.364 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อสร้างประสบการณ์ด้านการคิดเชิงออกแบบและการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาและมีแนวทางในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนพัฒนาอาชีพในปัจจุบันและอนาคต หลักสูตรมีลักษณะเฉพาะ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบูรณาการเนื้อหาข้ามศาสตร์ (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ และ (3) ด้านการออกแบบหลักสูตร และ 3) ด้านภาพรวมของคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.83, S.D. = 0.219) โดยภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผลการสะท้อนคิดของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.03, S.D. …