Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Adult and Continuing Education

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Education

การนำเสนอรูปแบบเชิงกระบวนการในการบ่มเพาะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย, สายทิพย์ พิริยะธนารักษ์ Jan 2020

การนำเสนอรูปแบบเชิงกระบวนการในการบ่มเพาะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย, สายทิพย์ พิริยะธนารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้สู่การเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 2) เพื่อสังเคราะห์แบบแผนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากเส้นทางและกระบวนการเรียนรู้ของครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบเชิงกระบวนการในการบ่มเพาะบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากกรณีศึกษาครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูภูมิปัญญาแพทย์ไทย ที่ได้รับการสรรหาและยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 ถึงพ.ศ.2562 ซึ่งปัจจุบันมี 9 รุ่น ที่ยังมีชีวิตอยู่และยินดีให้ข้อมูล จำนวน 29 ท่าน ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นทางสู่การเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย 1) เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความสนใจและการตัดสินใจเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 2) กระบวนการเรียนรู้สู่การเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยขั้นตอน 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดแนวคิดสำคัญในการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทั้งจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และการลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 การคิดและลงมือแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบองค์ความรู้ ขั้นตอนที่ 5 การสร้างองค์ความรู้ ขั้นตอนที่ 6 การถ่ายทอดองค์ความรู้ และขั้นตอนที่ 7 การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (2) แบบแผนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากเส้นทางและกระบวนการเรียนรู้ของครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการในการเปลี่ยนผ่าน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานความเชื่อเดิม ประกอบด้วย เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคิดและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ ระยะที่ 2 การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความรู้ที่มีอยู่เดิม 2) การค้นหาวิธีการ 3) การแสวงหาความรู้ และ4) การประเมินผล ระยะที่ 3 การแสดงออกทางพฤติกรรมและการปฏิบัติซ้ำ …


Guidelines To Enhance Community Participation In Community Learning Centers In The Kingdom Of Cambodia, Piseth Neak Jan 2020

Guidelines To Enhance Community Participation In Community Learning Centers In The Kingdom Of Cambodia, Piseth Neak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to 1) analyze components of community participation in the CLCs in Cambodia; 2) study current states and desirable needs of community participation in enhancing community participation in the CLCs in Cambodia; 3) propose guidelines to enhance community participation in the CLCs in Cambodia. A semi-structured interview with 5 Cambodian experts has been employed, and all the keywords have been coded to analyze community participation components in the CLCs. Moreover, this research utilized a survey with the selected samples of 28 CLC committee members and 197 people using stratified random sampling by analyzing data through Means (x̅), Standard …


การพัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน, ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว Jan 2020

การพัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน, ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อความเป็นไทในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของกรณีตัวอย่างในการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นไทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ 3) พัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ระเบียบวิธีที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นไท ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิด ได้แก่ แนวคิดแบบองค์รวม หลักการความเป็นประชาธิปไตย หลักการความเป็นมนุษย์ และ หลักการมีส่วนร่วม 2) กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์ตนเอง การมองภาพรวมของกระบวนการทั้งหมด การสรุปองค์ความรู้และการสะท้อนกลับ การเชื่อมโยงความคิดและประยุกต์ใช้ และการสร้างแกนนำ 3) ผลลัพธ์ คือ ชี้นำตนเองและพึ่งตนเองได้ มีพลังอำนาจและมีความภาคภูมิใจในตนเอง และ เข้าใจตนเอง 4) สิ่งที่ผู้เรียนขาดไปคือเข้าใจวิถีทางประชาธิปไตย สำนึก หวงแหนบ้านเกิดและภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักวิเคราะห์ คิดพิจารณาวินิจฉัยใคร่ครวญ และรู้เท่าทันโลกและแก้ปัญหาชีวิต และ 5) ลักษณะผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านความรู้ต่อหน้าที่ ด้านเกี่ยวกับเนื้อหา และด้านเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม 2) ปัจจัยความสำเร็จของกรณีตัวอย่างในการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นไทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) เบื้องหลังปรัชญาและแนวคิด ได้แก่ ศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน เพื่อความเป็นไท สิทธิเสรีภาพ การรักษาอัตลักษณ์ชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ 2) เงื่อนไขและบริบทในการจัดโครงการ/กิจกรรม ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ เรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่งเสริมการรู้จักตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำเพื่อส่วนรวม 3) การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ ตั้งคำถาม มีเป้าหมายในตนเอง หาคำตอบอย่างเป็นระบบ และปฏิบัติการไปสู่การเปลี่ยนแปลง 4) การเตรียมและสนับสนุนผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ต่อหน้าที่ ความรู้ในการจัดกิจกรรม และประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม 5) …


การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร Jan 2020

การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) พัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อศึกษาบริบทของการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร บุคลากร และสมาชิกของกรณีศึกษาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3 แห่ง จำนวน 15 คน ผู้วิจัยพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียนร่วมกับครูการศึกษานอกระบบโรงเรียนจำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึก และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อวิพากษ์ จำนวน 10 ท่าน ผลวิจัยพบว่า 1) บริบทของการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีดังนี้ (1) เป้าหมายหลักเป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาซึ่งแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ (2) สมาชิกของชุมชนประกอบด้วยคนในชุมชน/องค์กร และคนภายนอกที่มีความสนใจ (3) กระบวนการเรียนรู้และลักษณะการเรียนรู้เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นและเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหานั้น (4) การสนับสนุนจากภายในและภายนอก สมาชิกของชุมชนถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ประสบความสำเร็จ (5) การประเมินผลการดำเนินงาน เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อวิเคราะห์และติดตามความก้าวหน้า และ (6) การสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติที่ดีเป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอน (2) การร่วมกันวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการสังเกตชั้นเรียน (4) การสะท้อนคิดและการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และ (5) การนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้ และประกอบด้วยบริบทของการพัฒนา 6 ประการ คือ (1) เป้าหมายหลักที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน (2) ภาวะผู้นำที่เข้มแข็งและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิก (3) การเรียนรู้ร่วมกันอย่างเปิดกว้างและจริงใจ (4) โครงสร้างที่สนับสนุนการดำเนินงาน (5) การประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและต่อเนื่อง และ(6) เครือข่ายทางวิชาชีพที่เข้มแข็ง 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย (1) แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดนโยบาย (2) นโยบายการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ (3) การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน


อนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล, วสุ ทัพพะรังสี Jan 2020

อนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล, วสุ ทัพพะรังสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอนาคตใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด รูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนาอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล และ3) เพื่อนำเสนออนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล ด้วยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 27 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และสรุปแนวโน้มอนาคตรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุดดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด รูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล แสดงให้เห็นว่า หลักการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบ ขับเคลื่อนให้บุคคลและสังคมพัฒนาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เตรียมความพร้อมของประชากรในการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล แนวคิดที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานเป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบหลากหลายและผสมผสานทั้งการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมี 6 องค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหาร รูปแบบการบริการความรู้ หลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์และการบริหารหลักสูตร การรับรองคุณภาพ และองค์กอบด้านสุดท้าย คือ เครือข่าย ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดเนื้อหาย่อยสำหรับการนำไปปฏิบัติจริงตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ 3) ผลการนำเสนออนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล พบว่า แนวโน้มอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล มีทั้งหมด 4 แนวโน้ม ได้แก่ 1)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 1: ดิจิทัลไม่พร้อม - คนไม่พร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ที่ขาดความพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการขาดความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน 2) ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 2: ดิจิทัลไม่พร้อม – คนพร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ที่ขาดความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ผู้สอนและผู้เรียนมีความพร้อม 3)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 3: ดิจิทัลพร้อม – คนไม่พร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์มีความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ผู้สอนและผู้เรียนขาดความพร้อม และ 4)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 4: ดิจิทัลพร้อม - คนพร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์มีความพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สามารถนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของบริบทที่แตกต่างกันและให้สอดคล้องกับแนวโน้มอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานในยุคดิจิทัลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง


การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่, เรือนทอง ไวทยะพานิช Jan 2020

การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่, เรือนทอง ไวทยะพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ และ 2.เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ กลุ่มเป้าหมายของการศึกษา คือ ผู้ใหญ่วัยแรงงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ในชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แผนการจัดเวทีชุมชน แบบบันทึกข้อมูล และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการรู้ดิจิทัล 2) กำหนดทิศทางการพัฒนาแผน 3) นำแผนไปทดลองใช้ 4) กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้ และ 5) ถอดบทเรียน ปรับปรุงแผน และประกาศใช้แผน ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติ แนวทางพัฒนา การติดตามและประเมินผล โดยกลยุทธ์ของแผนมี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัล 3) กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพชีวิตดิจิทัล และ 4) กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลชุมชน 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ3) ข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัล


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์, ปองเดช กวินปัถย์ Jan 2020

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์, ปองเดช กวินปัถย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ (2). พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ (3). พัฒนาคู่มือการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ โดยดำเนินการตามขั้นตอนการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดของ Houle (1972) 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้ 2) ขั้นการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์ 4) ขั้นการออกแบบรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ของ Kolb (1984) 5 ขั้นการวางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้เรียน 6) ขั้นการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ 7) ขั้นการวัดและประเมินผล การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำโปรแกรม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์โดยการร่างคู่มือจากผลการพัฒนาโปรแกรม มีการตรวจสอบคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน และการจัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) คุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์บ่งออกเป็น 3 มิติ ประกอบด้วย 1) มิติเจตคติ 20 รายการ 2) มิติทักษะ 5 รายการ และ 3) มิติความรอบรู้ 3 รายการ (2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโปรแกรมพบว่ากลุ่มทดลองมีคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง (3) ผลการพัฒนามือคู่มือโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ ได้คู่มือที่มีขนาดรูปเล่มที่เหมาะสม ตัวอักษรอ่านง่ายชัดเจน กิจกรรมแต่ละขั้นตอนมีความชัดเจน เข้าใจง่ายเนื้อหาความรู้มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ


แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, กฤษพร อยู่สวัสดิ์ Jan 2020

แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, กฤษพร อยู่สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษา 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานครที่ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,990 คน จากประชากรจำนวน 3,313 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 7 คน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียน ในฐานะผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรม LISREL และการวิเคราะเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษามี 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ ทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการสื่อสาร และเจตคติต่อการเรียนรู้ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2/df=1.30, p=.08, GFI=1.00, AGFI=0.99, CFI=1.00, RMSEA=0.01, SRMR=0.00) โดยการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านนักเรียนสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครอบครัว ตามลำดับ 3) แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษาประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มุ่งอนาคต 2) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เห็นคุณค่าในตนเอง 3) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้รู้จักตนเอง และ 4) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มีอำนาจในตน ซึ่งดำเนินการโดยผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครอง ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต