Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Adult and Continuing Education

Chulalongkorn University

2017

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, หฤทัย จตุรวัฒนา Jan 2017

ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, หฤทัย จตุรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) นำเสนอข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลทุ่งขวาง จำนวน 30 คนซึ่งทำการคัดเลือกจากผลการวัดระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แผนการจัดกิจกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ ประเด็นคำถามเพื่อพิจารณา(ร่าง) ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสนมีระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาน้อยที่สุด ( x¯= 3.62) 2. ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (x¯= 3.91) ผลความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในระดับมาก (x¯ = 4.23) ความพึงพอใจด้านกระบวนการ/ขั้นตอนดำเนินการจัดกิจกรรมในระดับมาก ( x¯= 4.27) ความพึงพอใจด้านนำไปใช้ในการทำงานในระดับมากที่สุด (x¯ = 4.40) 3. ผลการนำเสนอข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรม 2 ข้อ ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะหลัก 5 ด้าน ดังนี้ (1) แนวคิดและหลักการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (2) ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย (3) ด้านเนื้อหากิจกรรม (4) ด้านกระบวนการจัดกิจกรรม (5) ด้านการวัดและประเมินผล และ 2) ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ช่วยให้การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ชนัญญา ใยลออ Jan 2017

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ชนัญญา ใยลออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เชิงยืนยันสาระร่วมกันที่เกิดจากแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แรงงานที่ทำงานอยู่ในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก เป็นการวิเคราะห์เชิงยืนยันสาระร่วมกันของแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ เพื่อตรวจสอบยืนยันความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเบื้องต้นในการพัฒนาเป็นเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างสัญชาติที่ทำงานร่วมกันในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 300 คน ขั้นตอนที่สอง พัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนกับแรงงานต่างสัญชาติที่ทำงานร่วมกันในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 20 คน ขั้นตอนที่สาม ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ด้วยการสนทนากลุ่มของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอน และเจ้าของกิจการ ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การเปิดใจต่อการเรียนรู้เพื่อเข้าใจความแตกต่างในการทำงานร่วมกัน การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้ด้านความแตกต่างเพื่อการทำงานร่วมกัน การผสานประโยชน์ร่วมกันในการทำงานด้วยการมีทัศนคติเชิงบวกต่อกัน การปรับตัวเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเองเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ผู้เรียน ผู้สอน กิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ ระยะเวลาในการเรียนรู้ แหล่งความรู้และสื่อการสอน สภาพแวดล้อมในการจัดการศึกษา รวมถึงการวัดและประเมินผล และผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความรู้ทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีทักษะในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) และกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมมีทัศนคติเพื่อเสริมสร้างทักษะในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ไม่มีความแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ ได้แก่ 1.การสนับสนุนส่งเสริมจากเจ้าของกิจการ 2. ผู้สอน 3.ผู้เรียน 4.การลงมือปฏิบัติจริง 5.สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขในการนำไปใช้ ได้แก่ …


พัฒนากระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัวเหนือ, กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ Jan 2017

พัฒนากระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัวเหนือ, กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สังเคราะห์ตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง 2) ศึกษาระดับความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง 3) พัฒนากระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง และ 4) นำเสนอแนวปฏิบัติในการสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนด้วยกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,807 คน และผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านครัวเหนือ แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คิอ แบบสอบถามและแบบวัดความตระหนักรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ในเชิงคุณภาพการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และ 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) พื้นที่ชุมชนที่ศึกษา ได้แก่ ชุมชนบ้านครัวเหนือ แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมืองประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 8 องค์ประกอบย่อย และ 50 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบหลักด้านกาย มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเสียสละ 6 ตัวบ่งชี้ การเคารพกติกาสังคม 5 ตัวบ่งชี้ และการยอมรับซึ่งกันและกัน 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านวาจา มี 2 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การพูดถูกกาลเทศะ 5 ตัวบ่งชี้ และการพูดสร้างสรรค์ …


การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ สำหรับเยาวชนในชุมชนแออัด, อัจฉรียา ธิรศริโชติ Jan 2017

การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ สำหรับเยาวชนในชุมชนแออัด, อัจฉรียา ธิรศริโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ สำหรับเยาวชนในชุมชนแออัด และเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำกระบวนการไปใช้ กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ คือ เยาวชนคู่ขัดแย้งและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ ชุมชนวัดโพธิ์เรียงและชุมชมวัดอัมพวา กรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบบันทึก และแบบสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนดังกล่าว อยู่บนความเชื่อในศักยภาพของเยาวชนในชุมชนแออัด ที่สามารถเรียนรู้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองได้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิพากษ์ตนเอง-เรียนรู้ผู้อื่น 2) การเรียนรู้ปัญหา-หาทางออก 3) การเรียนรู้การสร้างสัมพันธ์ใหม่ โดยร่วมมือร่วมใจ ลงมือปฏิบัติไปด้วยกัน และ 4) การเปิดใจตรวจสอบตนเอง ตรวจสอบความสัมพันธ์ และปรับปรุงวิธีการ สำหรับปัจจัยในการนำกระบวนการไปใช้ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุน ความพร้อมด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา ส่วนเงื่อนไขที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ความขัดแย้งต้องไม่ถึงขั้นรุนแรง และเยาวชนคู่ขัดแย้งต้องการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ สำหรับเยาวชนในชุมชนแออัด ไปใช้ แบ่งเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 นโยบายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มี 2 ข้อ ได้แก่ 1) สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ สำหรับเยาวชนในชุมชนแออัด 2) สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ มิติที่ 2 นโยบายสำหรับผู้ปฏิบัติงาน มี 3 ข้อ ได้แก่ 1) ดำเนินการค้นหาและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ดำเนินกระบวนการที่อยู่ในชุมชนแออัด ที่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกและคนกลางในการดำเนินกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ 2) ผู้ปฏิบัติงานปรับทัศนคติและวิธีการดำเนินงานกับชุมชน คู่ขัดแย้ง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการติดตามความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง