Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Adult and Continuing Education

PDF

Chulalongkorn University

2022

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งวางอยู่บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่สังเคราะห์มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ว่า 1) วาทกรรมใหม่ที่ควรจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุจะมีคุณลักษณะเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองได้อย่างไร 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมือง ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะเป็นอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้างในการใช้ และ 4) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสังคมเมืองต่อไปได้หรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2544-2555 โดยใช้หลักการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง โดยใช้พื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงผู้สูงอายุในสังคมเมือง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมใน 6 ภูมิภาคของไทย จำนวนตัวอย่าง 112 คน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมทีเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และนำเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจความเหมาะสมและความเป็นได้ที่จะนำไปใช้ สำหรับในระยะที่ 3 เป็นการศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองดังกล่าวไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในอดีตแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า การเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั้ง 2 ช่วงเวลาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันออกไป ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำมาพัฒนาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง นำเสนอประเด็นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 6 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) วิธีการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) เป้าหมายของการเรียนรู้ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ 6) เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ จากตัวบทที่พบในแต่ละประเด็น ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ประกอบด้วย หลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ …


การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน, ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์ Jan 2022

การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน, ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman 2) เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน 3) เพื่อจัดทำแนวทางสำหรับการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยไปใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ใหญ่วัยทำงาน จำนวน 300 คน 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมกระบวนการชี้แนะชีวิตฯ จำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนจากผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน แบบสังเกตพฤติดรรมผู้รับการชี้แนะระหว่างการเข้าร่วมกระบวนการ แบบบันทึกรายละเอียดกระบวนการชี้แนะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสารใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman พบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน หลังจากปรับค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างสองตัวแปรโดยใช้ค่าสถิติดัชนีการปรับโมเดลรวม จำนวน 17 คู่ ผลวิเคราะห์แบบจำลองของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี 2) กระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน มีทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) ระยะการเตรียมการก่อนการชี้แนะชีวิต (2) การชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ระบุความต้องการหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข ขั้นตอนที่ 2 สอบถามข้อมูลที่เป็นจริงในปัจจุบัน และค้นหาขอบเขตของสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันเลือกวิธีการที่จะทำให้บรรลุความต้องการ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมกันออกแบบวิธีดำเนินการและวิธีการติดตามผล และ ขั้นตอนที่ 5 ร่วมกันติดตามผลและประเมินผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้รับการชี้แนะได้ประเมินตนเอง (3) ระยะที่ 3 หลังการชี้แนะ ประเมินผลการทดลองใช้กระบวนการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมทุกคน และ 3) แนวทางการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานไปใช้มีประเด็นสำคัญ 3 ด้านได้แก่ (1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ (2) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการใช้กระบวนการ (3) การส่งเสริมการติดตามและประเมินผลกระบวนการ


กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง Jan 2022

กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม 2) เพื่อจัดทำแนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยจากกรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนาย อนันท์ ฐิตาคม และบุคคลใกล้ชิดที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ ผู้ช่วยในสถาบันการสอน The zero one ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายอนันท์ ฐิตาคมมากกว่า 5 ปี และยินดีให้ข้อมูลจำนวน 3 ท่าน ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม ประกอบไปด้วย 1) เรื่องราว เหตุการณ์ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ และปัจจัยสำคัญที่พัฒนาตนเองสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ แนวคิดการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนโมทัศน์ แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ แนวคิดคิดเป็น แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เป็นต้น 3) ด้านกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น (2) แนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัย ประกอบด้วยแนวทางทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือขั้นตอนที่นำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเป็นนักเขียนการ์ตูน 10 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนการ์ตูนเกิดจากการที่ผู้เรียนรักการอ่านการ์ตูน ชอบดูการ์ตูน ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มฝึกฝนเพื่อสร้างพื้นฐานในการเขียนการ์ตูน ขั้นตอนที่ 3 การแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและทักษะของตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติ ฝึกฝน พัฒนาเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 5 การสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบผลงานที่สร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงผลงาน ขั้นตอนที่ 8 การหาที่เผยแพร่ผลงาน ขั้นตอนที่ 9 ผลงานได้รับการยอม/ไม่ได้รับการยอมรับ ขั้นตอนที่ 10 นักเขียนการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จ


การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว Jan 2022

การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ และนำเสนอแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับชุมชนทอผ้าทอมือ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เป็นการสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน และใช้แบบสอบถามสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ กับผู้ประกอบการผ้าทอมือในประเทศไทย จำนวน 1,029 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โปรแกรมสถิติทางคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม LESREL กิจกรรมที่ 2 เป็นการระบุสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือที่ต้องการพัฒนาของกลุ่มทอผ้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชนขุนอมแฮดใน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกภาคสนามและแบบสังเกตการณ์เข้าร่วมการเรียนรู้ วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กิจกรรมที่ 3 การวางแผนพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามที่กลุ่มเป้าหมายระบุ เป็นการดำเนินการร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือในชุมชนขุนอมแฮดใน ที่ยินดีเข้าร่วมการเรียนรู้จำนวน 55 คน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสังเกตผล เป็นการร่วมกันตรวจสอบการบรรลุผลตามแผนปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1.กิจกรรมร่วมสรุปและถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้รับจากกระบวนการ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชน โดยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาการแทนพัฒนาการอำเภออำก๋อย 2.พัฒนาชุมชน อบต.สบโขง 3.ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออมก๋อย 4.หัวหน้าศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 5.หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และขยายผล ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 6.ครู.กศน อำก๋อย ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมอาชีพผ้าทอมือ 3 ท่าน และ 9.ผู้ใหญ่บ้านชุมชนขุนอมแฮดใน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก (core competency) มี 4 องค์ประกอบ และสมรรถนะทางวิชาชีพ (functional competency) มี 3 องค์ประกอบ 2. …


การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเพื่อนำกองทัพเรือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, รณยุทธ ขวัญมงคล Jan 2022

การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเพื่อนำกองทัพเรือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, รณยุทธ ขวัญมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการการพัฒนาคุณลักษณะและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรกองทัพเรือ 2) พัฒนาแบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตร และ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตรโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการเป็นกองทัพเรือแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะแรกเป็นการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการการพัฒนาคุณลักษณะและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรกองทัพเรือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นายทหารสัญญาบัตรสังกัดกองทัพเรือที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพเรือ จำนวน 241 คน และนายทหารสัญญาบัตรนักเรียนเสนาธิการทหารเรือ จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified ระยะที่สอง เป็นการพัฒนาแบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร รวม 11 คน เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุด ระยะที่สามเป็นการนำแบบแผนที่พัฒนาไปใช้และศึกษาผลของแบบแผน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนเสนาธิการทหารเรือ จำนวน 28 คน และอาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาความมั่นคง จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด และระยะที่สี่ เป็นการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาตลอดชีวิต ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และด้านการศึกษาของกองทัพเรือ รวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นายทหารสัญญาบัตรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก ปัญหาในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายทหารสัญญาบัตรสังกัดกองทัพเรือด้านการกระตุ้นทางปัญญาสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ การทำงานเป็นแบบอย่าง การส่งเสริมกำลังใจและการสร้างแรงบันดาลใจตามลำดับ 2) แบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเป็นแบบแผนแบบผสมระหว่าง Top-Down Approach, Bottom Up Approach และ Practical Approach ประกอบด้วยการดำเนินการ 4 ระดับ ระดับบุคคลได้แก่ อาจารย์และผู้เรียน 3 องค์ประกอบ ระดับกรมยุทธศึกษาทหารเรือ 10 องค์ประกอบ ระดับกรมในกองทัพเรือ 15 องค์ประกอบ และระดับกองทัพเรือ 7 องค์ประกอบ …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว, ภานุมาส เหล่าสกุล Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว, ภานุมาส เหล่าสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว 3) นำเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าวที่พัฒนาขึ้น การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี ในการออกแบบการวิจัยและพัฒนา โดยได้ดำเนินการทดลองแบบการทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังทดลอง มีลำดับขั้น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวางแผนพัฒนาโปรแกรมด้วยการวิเคราะห์ความต้องการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 560 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว ระยะที่ 2 การออกแบบพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว และการนำโปรแกรมไปใช้ โดยมีการบูรณาการร่วมกันของแนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม Boyle (1981) และแนวคิดสุขภาวะ ของ Burton (2010) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่สามารถสื่อสารภาษาไทย อ่านภาษาพม่าได้ และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะ และทัศนคติ และระยะที่ 3 นำเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าวที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แบบประเมินผลโปรแกรมโดยรวม ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของสุขภาวะทุกด้านของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สุขภาวะทางกายมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อยที่สุด ( = 2.83) ดังนั้นแรงงานต่างด้าวมีความต้องการในการเรียนรู้ด้านสุขภาวะทางกายมากที่สุด โดยเนื้อหากิจกรรมครอบคลุมองค์ประกอบของสุขภาวะทางกาย ได้แก่ การมีร่างกายแข็งแรง การออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถทางกาย การพักผ่อน การจัดชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสมกับการทำงาน การมีความเป็นอยู่ที่ดี การมีงานอดิเรก การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติภัยต่าง ๆ การเข้าถึงข่าวสาร ทรัพยากร และโอกาสเพื่อการดูแลสุขภาพ การมีพฤติกรรมการกินที่ถูกส่วน มีประโยชน์และสะอาด การสามารถควบคุมน้ำหนักได้ การมีร่างกายที่สมส่วน และการมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน 2. กระบวนการในการพัฒนาโปรแกรมมีการนำมิติคนคือ แนวคิดองค์กรแห่งความสุข ซึ่งมีความสอดคล้องกับมิติองค์กรอันได้แก่ แนวคิดสุขภาวะ มาบูรณาการกัน ได้ผลของปัจจัยพื้นฐานใหม่ของสุขภาวะเป็นกล่องแห่งความสุข 8 ประการ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา โดยกล่องแห่งความสุขมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางกาย แบ่งออกเป็น 3 …


ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว Jan 2022

ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และความต้องการด้านการจัดศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 39 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 9,604 คน 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถานการณ์ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อทางเลือกนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ หรือแทบเลตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ การเล่นเกม รองลงมาคือการดูยูทูบ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาคือการได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 4) ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 9 ทางเลือกที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งเป็นทางเลือกการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3 ทางเลือก ทางเลือกการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5 ทางเลือก และทางเลือกสนับสนุนอีก 1 ทางเลือก


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยนาสภ์ มีพันธุ์ Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยนาสภ์ มีพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสามารถในการวางแผนอาชีพและความต้องการการเรียนรู้เพื่อการวางแผนอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการทดลองโปรแกรม คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 คน จากนักเรียน 480 คนที่มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากการวิจัยในระยะแรก ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถในการวางแผนอาชีพในระดับสูงในภาพรวม ขั้นการวางแผนชีวิต (x̄ = 3.96 S.D. = 0.97) และขั้นการวินิจฉัยตนเอง (x̄ = 4.02 S.D. = 0.92) มีระดับน้อยกว่าขั้นการลงมือทำตามแผน (x̄ = 4.08 S.D. = 0.88) ความต้องการการเรียนรู้เรื่องการวางแผนอาชีพอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะเรื่องการสำรวจตนเอง (ร้อยละ 52) และการออกแบบเส้นทางเข้าสู่อาชีพ (ร้อยละ 19.4) 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 2) ผู้เรียน 3) ผู้สอน 4) เนื้อหาในการเรียนรู้ 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) ระยะเวลาในการจัด 7) ทรัพยากรการเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้โปรแกรม คือ กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เนื้อหาการวางแผนอาชีพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.5 และกลุ่มทดลองมีความสามารถในการวางแผนอาชีพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อนเข้าร่วม x̄ = 2.37 หลังเข้าร่วม x̄ = 4.46) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนี้ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน 2) ผู้สอนเป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้ 3) เนื้อหาในการเรียนรู้ที่ทันสมัย 4) กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย 5) ระยะเวลาในการจัดที่ยืดหยุ่น 6) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และ 7) สถานที่ดำเนินกิจกรรมต้องมีความสะดวก เงื่อนไขที่ช่วยให้การจัดโปรแกรมนี้มีประสิทธิภาพ คือ 1) …


Effects Of Using Self-Directed Learning To Foster Lifelong Learning Attitudes Of Functional Literacy Facilitators, Leakhena Orn Jan 2022

Effects Of Using Self-Directed Learning To Foster Lifelong Learning Attitudes Of Functional Literacy Facilitators, Leakhena Orn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) investigate the effects of self-directed learning on lifelong learning attitudes of functional literacy facilitators; and to 2) propose recommendations for using self-directed learning to foster lifelong learning. The research used quantitative method by employing quasi-experimental design where pre-test and post-test are employed to explore whether self-directed learning activities would foster lifelong learning attitudes of functional literacy facilitators in the five aspects. With subject group consisted of 37 functional literacy facilitators who were working as teachers in functional literacy programs in Cambodia. Moreover, an in-depth interview with 5 adult educators has been employed to propose recommendations …


ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยการสุ่มแจกแบบสอบถามกับเขตที่มีจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนมาก ทั้งสี่เขต คือ เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตห้วยขวาง และเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 183 คน จากนั้นนำระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดไปสร้างแผนและจัดกิจกรรมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับการยอมรับความหลากหลายรวมทั้ง 3 ด้าน (ความตระหนัก,ความรู้,ทักษะทางวัฒนธรรม) เขตสาทรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄=4.23; S.D.=0.20) ตามมาด้วยเขตบางขุนเทียน (x̄=4.13; S.D.=0.37) เขตบางบอน (x̄=4.12; S.D.=0.23) และเขตห้วยขวาง (x̄=3.60; S.D.=0.28 )ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงเลือกเขตห้วยขวางในการจัดกิจกรรมในระยะที่ 2 และระยะที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยกิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมที่ผสม 3 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผลการจัดกิจกรรมพบว่าก่อนจัดกิจกรรมนักศึกษาเขตห้วยขวาง ระดับชั้นประถมศึกษา มีระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ (x̄=3.61; S.D.=0.19) หลังจัดกิจกรรมที่ (x̄=4.33; S.D.=0.15) โดยค่าเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม ที่ 0.72 คะแนน ผลการเปรียบค่า (t-test) มีค่า -26.40 แสดงว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่ากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันมีผลต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน