Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Adult and Continuing Education

PDF

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 7 of 7

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน, ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน, ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชน 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชนและนำเสนอปัจจัยเงื่อนไขการนำไปใช้ การวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฎิบัติการ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการสายการผลิตในองค์กรเอกชน จำนวน 5 คนที่ยินดีเข้าร่วมโปรแกรม ผู้วิจัยใช้แนวคิดกระบวนการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ในสถานประกอบการ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เป็นกรอบในการในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการ มีแนวคิดการเรียนรู้คือ 1) เป้าหมายและประเด็นในการเรียนรู้ต้องเริ่มมาจากตัวพนักงาน 2) การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ 3) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อต้องการใช้ประโยชน์ 4) การเรียนรู้ต้องมีความสำคัญกับสถานประกอบการ และ 5) การเรียนรู้ต้องมีความหมายกับพนักงาน ซึ่งกระบวนการการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอน การวิเคราะห์ตนเอง การตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ ดำเนินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบ และสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ คือ ผ่อนคลายไม่กดดัน มีเครื่องมือที่ช่วยสำหรับการเรียนรู้ และทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งพบว่าเงื่อนไขที่ต้องมีสำหรับการเรียนรู้ในสถานประกอบการคือ 1) สนับสนุนงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน 2) มีความเกี่ยวข้องกับการเติบโต 3) การให้ความสำคัญของผู้บังคับบัญชา และปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคือ 1) วิธีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว 2) ไม่เป็นงานเพิ่ม 3) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 4) มุมมองที่มีต่อปัญหาตรงกัน ซึ่งบุคคลสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการเรียนรู้ในสถานประกอบการคือ ผู้บังคับบัญชา ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อนร่วมงาน โดยการเรียนรู้ในสถานประกอบการต้องเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อพื้นฐานที่ว่า พนักงานทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ หากแต่ขาดความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมการแสดงออกบางอย่างที่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ได้ 2. รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมความเชื่อพื้นฐาน โดยให้เห็นว่าการเรียนรู้เริ่มที่ตัวพนักงาน และสนับสนุนงานที่ทำอยู่เดิม ให้การเรียนรู้ของพนักงานและสถานประกอบการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) การส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้ โดยให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ การตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกัน ทัศนคติการมองปัญหาเชิงบวก มีเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้ 3) การส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ โดยให้มีทักษะสะท้อนคิด มีการสื่อสารความคาดหวัง มีวินัยในการเรียนรู้ 4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยฝ่ายบริหารให้การสนับสนุน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนรู้ 5) การส่งเสริมเงื่อนไขที่ต้องมี โดยให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บังคับบัญชา และติดตามการเรียนรู้เป็นระยะ มีระบบการวัดผลที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ 6) การส่งเสริมปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยส่งเสริมความต่อเนื่องของการเรียนรู้และความไวในการปรับตัว และ7) การส่งเสริมบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ต้องมีทักษะเป็นผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะการเป็นที่ปรึกษา


อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์ Jan 2019

อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการ ด้านพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. เพื่อฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. และ 3.เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. งานวิจัยนี้ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบผสมผสาน ส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการกับครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย หรือครูกศน. จำนวน 2,145 คน ทั่วประเทศไทย ด้วยแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 18 คน จัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย กับครูกศน.จำนวน 18 คน จากนั้นจึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน เกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนาและกลไกในการสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง และผู้วิจัยจึงนำข้อมูลทั้งหมดสังเคราะห์เป็นอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ในการศึกษาความเป็นได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน และการจัดประชุมกลุ่มย่อย กับครูกศน.18 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันครูใช้ศูนย์การเรียนชุมชนและห้องสมุดเป็นพื้นที่การเรียนรู้หลัก และพบว่าพื้นที่การเรียนรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ที่แท้จริงของครูกศน. และครูกศน.ต้องการให้พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองสำหรับครูกศน.โดยเฉพาะขึ้น 2) ผลการวิจัยระบุว่า ควรพัฒนาพื้นที่เดิมหรือเเหล่งการเรียนรู้เดิมที่สำนักงานกศน.มี เช่น กศน.ตำบล ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. เเละให้ใช้คลังสารสนเทศดิจิทัลที่สำนักงานกศน.มีอยู่เดิม เช่น DMIS (Directive Management Information System) เเละเว็บไซต์ที่ครูกศน.จัดทำขึ้นกันเอง มาพัฒนาต่อยอดเเละส่งเสริมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. โดยอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ประกอบไปด้วย 2.1) ลักษณะของพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 6 คือ วัตถุประสงค์ พื้นที่การเรียนรู้ (ความดึงดูด ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ ความยืดหยุ่นและความสะดวกสบาย และความสามารถในการรองรับการใช้งานที่หลากหลาย) การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน กิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ ความเป็นไปได้ 2.2) ขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่เดิมเเหล่งการเรียนรู้เดิมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ 7 ขั้นตอน กำหนดทีมงาน พิจารณาพื้นที่เดิม จัดสรรทรัพยากร ปรับปรุงพื้นที่ วางแผนกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ 2.3) กลไกสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง 11 กลไก คือ การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ นโยบายที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ บทบาทผู้บริหาร ความร่วมมือกับเครือข่าย …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการมีเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทยและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยและเสนอผลการทดลองใช้ (3) นำเสนอปัจจัยเงื่อนไขและแนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้ในอนาคต โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมจากผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นจำนวน 124 คน (2) ศึกษาสภาพเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วยนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 1,000 คน และ 1,650 คน ตามลำดับ (3) ทดลองใช้โปรแกรมและศึกษาปัจจัยเงื่อนไขและนำเสนอแนวทางในการนำโปรแกรมไปใช้ในอนาคต ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) องค์ประกอบของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึกต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และ 4) องค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อม ในส่วนของแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะร่วมกันที่ชัดเจน คือ มีการเรียนรู้จากตัวแบบที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองและนำภาพลักษณ์เชิงบวกของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาใช้เป็นแรงผลักดันตนเองให้ได้เป็นอย่างตัวแบบนั้น และใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เนื่องจากเป็นช่องทางข่าวสารที่สำคัญและทันสมัย (2) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กลุ่มทดลองมีระดับเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในองค์ประกอบด้านความรู้สึกต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และองค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้พบว่า ปัจจัยได้แก่ 1) ผู้สอนเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสิ่งที่จะสอน 2) กลุ่มผู้เรียนมีความสนใจในกลุ่มวิสาหกิจที่คล้ายคลึงกัน 3) เนื้อหาต้องมีความทันสมัยตรงกับความสนใจของผู้เรียนและมีความยืดหยุ่น 4) กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน 5) ระยะเวลาเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน และ เงื่อนไขได้แก่ 1) จำนวนผู้เรียนมีความเหมาะสมกับผู้สอน 2) ผู้สอนต้องประเมินตัดสินผู้เรียนในเชิงบวกมากกว่าตำหนิเชิงลบ


อนาคตภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทย, กนกกร กมลเพ็ชร Jan 2019

อนาคตภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทย, กนกกร กมลเพ็ชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ฉายภาพอนาคตของสังคมไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า 2) วิเคราะห์ภาพปัจจุบันของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการบริการชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) สร้างอนาคตภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดขอบเขตการวิจัยด้านระยะเวลาของอนาคตระหว่าง พ.ศ. 2565 – 2585 และขอบเขตด้านเนื้อหาเฉพาะบทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเท่านั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารจำนวน 30 ฉบับ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 คน การสัมภาษณ์ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับหัวหน้างาน จำนวน 12 คน การใช้แบบสอบถามปลายเปิดแก่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดระดับปฏิบัติการจำนวน 150 คน และการประชุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. อนาคตของสังคมไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้า จะเป็นสังคมดิจิทัล คนไทยในอนาคตจะมีความเป็นตัวของตัวเองในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม ระบบการศึกษาจะเปลี่ยนไปสู่การส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยงานหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย 2. ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่สังคมในลักษณะของการให้บริการสารสนเทศทั้งแก่บุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลภายนอก แต่ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตและภารกิจที่กำหนดไว้ 3. บทบาทของมหาวิทยาลัยในอนาคตควรประกอบด้วย 3.1) บทบาทในการเป็นแหล่งแพร่กระจายข้อมูล 3.2) บทบาทในการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3.3) บทบาทในการเป็นผู้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กระบวนการเรียนรู้


การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย, นฤดี โสรัตน์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย, นฤดี โสรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีและปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 2) พัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 3) เสนอแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของบริบทสังคมไทยที่มีในครอบครัวนำไปใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกวัตถุประสงค์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1: ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 12 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งจำนวน 15 ครอบครัว (2) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2: สัมภาษณ์ครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง 15 ครอบครัวเดิม และการสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 (3) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 3: สนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และสรุปแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย โดยผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1 มี 3 ส่วน คือ 1.1) ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว มี 9 ประการ ดังนี้ (1) มีสัมพันธภาพที่ดี (2) รู้บทบาทหน้าที่ของตน (3) การยึดมั่นคำสัญญา เชื่อใจ และมีความเชื่อ (4) มีการสื่อสารระหว่างกันและกันในด้านบวก (5) มีทุนทางสังคม (6) มีความสามารถในการพึ่งตนเอง (7) มีความสามารถในการจัดการปัญหา (8) มีหลักคำสอนศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจในครอบครัว (9) มีลักษณะความเป็นพ่อแม่ต้นแบบและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 1.2) วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ประการ ดังนี้ (1) การพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (2) การทำตัวเป็นแบบอย่าง (3) การปรับตัว การปรับวิธีคิด การปรับความเชื่อ และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง (4) การเรียนรู้ในครอบครัว (5) การปลูกฝังให้เป็นครอบครัวคุณธรรม (6) การเรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น …


การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิตสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, อริสา สุมามาลย์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิตสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, อริสา สุมามาลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) จัดทำข้อเสนอแนะในการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไปขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่น ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกตผล และขั้นการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1.แบบบันทึกการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ 2.ใบสมัครเข้าร่วมกระบวนการ 3.แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 4.แบบบันทึกภาคสนาม 5. แบบบันทึกการทบทวนหลังการจัดกิจกรรม 6.แบบรายงานตนเองของนักศึกษา 7.แบบสัมภาษณ์กลุ่ม และ 8.แผนปฏิบัติการการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า กระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1. กระบวนการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมผู้เรียน 2) การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการวางแผนร่วมกัน 3) การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมเป้าหมายในชีวิต 4) การแปลงความต้องการในเรียนรู้ให้เป็นวัตถุประสงค์ และออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ 5) การลงมือปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ 6) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. หลักการ 3 มีหลักการ ได้แก่ 1) การพากลับสู่ด้านใน 2) การเรียนรู้ร่วมกันด้วยความเมตตา 3) การเคารพประสบการณ์และความต้องการของผู้เรียน 3.เงื่อนไขที่ต้องมี 2 เงื่อนไข ได้แก่ 1) นักศึกษามีความตั้งใจที่จะพัฒนาตัวเอง 2) นักศึกษาสามารถจัดสรรเวลาเพื่อข้าร่วมกระบวนการได้ และ 4.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายและเข้าใจได้ง่าย 2) บรรยากาศการเรียนรู้ที่สบายใจ 3) ผู้จัดการเรียนรู้ที่เข้าใจและใส่ใจผู้เรียน 4) การให้กำลังใจกันระหว่างนักศึกษา 5) การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ และข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ข้อเสนอแนะในการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไปขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้นำเสนอ 6 ประเด็นได้แก่ …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ, วรรณรี ตันติเวชอภิกุล Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ, วรรณรี ตันติเวชอภิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทการใช้สื่อและความต้องการในการรู้เท่าทันสื่อของครอบครัว 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ 3) นำเสนอแนวทางการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อไปใช้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ (1) ครอบครัวที่ประกอบไปด้วยผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุระหว่าง 9-12 ปี และเด็กที่มีอายุระหว่าง 9-12 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ครอบครัว ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multi-Stage Sampling) (2) ครอบครัวที่เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 10 ครอบครัว (3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนจากครอบครัวที่เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การหาค่าความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ครอบครัวมีการรับข้อมูลข่าวสารจากสมาร์ทโฟนมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามเหตุการณ์/ ข่าวสาร โดยมีการใช้ทุกวัน เฉลี่ยมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ Facebook ผู้มีที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบของสื่อในการรับรู้ข่าวสารของผู้ปกครองและเด็ก คือคนในครอบครัว ส่วนใหญ่จะใช้สื่อที่บ้านโดยเป็นการใช้ลำพังในบ้านแต่ไม่ใช่ห้องส่วนตัว ครอบครัวมีระดับการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก และมีความต้องการในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด 2) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ มีกระบวนการหลัก 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การวางแผน (2) การออกแบบโปรแกรมและการนำโปรแกรมไปฏิบัติ (3) การประเมินผลและความรับผิดชอบในการรายงานผล และองค์ประกอบของโปรแกรมประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ ผู้เรียน ผู้สอน วิธีการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล และผลการทดลองใช้โปรแกรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนเฉลี่ยจากการวัดความเข้าใจและทักษะการรู้เท่าทันสื่อหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) แนวทางการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อไปใช้ มีประเด็นสำคัญ 3 ด้านได้แก่ (1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในโปรแกรม (2) …