Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Letters

Journal

1992

Articles 1 - 17 of 17

Full-Text Articles in Arts and Humanities

ชาวไร่ชาวนากับศิลปาชีพ, สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา Aug 1992

ชาวไร่ชาวนากับศิลปาชีพ, สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา

Journal of Letters

ในอดีตที่มา ชาวบ้านในชนบทของไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และใช้เวลาว่างทำงาน หัตถกรรมเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้สอย ดังเช่น การทอผ้า หรือ การจักสาน มาเป็นเวลาช้านาน อย่างไร ก็ตามเมื่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมไทยเข้าสู่สมัยพัฒนาภายหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง ชาวไร่ชาวนาหันมานิยมซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคจากโรงงานแม้กระทั่งของที่เคยทำขึ้นใช้เอง เนื่องจากมีความสะดวกมากกว่า โดยเหตุนี้งานประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นบ้านจึงซบเซาลง ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงริเริ่มการส่งเสริมให้ชาวชนบทประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๙ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิศิลปาชีพขึ้น เพื่อขยายการส่งเสริมดังกล่าวไปสู่ทุกภูมิภาค จะเห็นได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นสมาชิกของโครงการศิล ปาชีพสามารถประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมนานาประเภทซึ่งมีความประณีตงดงาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือมูลนิธิศิลปาชีพมีวิธีการเช่นใด ในการชักจูงให้ชาวไร่ชาวนาเกิดความกระตือรือร้นในการประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม บทความเรื่องนี้มุ่งศึกษาประเด็นดังกล่าวข้างต้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์สมาชิกโครงการศิลปาชีพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครูฝึก และข้าราชการท้องถิ่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทความเรื่องนี้จะกล่าวถึงประเภท ของงานศิลปหัตถกรรมในโครงการศิลปาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงวิธีการในการกระตุ้น ชาวไร่ชาวนา ให้มีความสนใจและความผูกพันกับงานศิลปหัตถกรรม อันเป็นอาชีพเสริมของพวกเขาเหล่านั้น


การฝึกช่างฝีมือในโครงการศิลปาชีพ, พิพาดา ยังเจริญ Aug 1992

การฝึกช่างฝีมือในโครงการศิลปาชีพ, พิพาดา ยังเจริญ

Journal of Letters

ท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยปัจจุบัน ศิลปหัตถกรรมและ หัตถกรรมพื้นบ้าน อันเป็นงานช่างฝีมือที่มีศิลปะวิจิตรงดงาม และทรงคุณค่าที่ได้สืบทอดกันมาช้านาน โดยช่างฝีมือ คนไทย กำลังจะสูญหายไปทีละน้อยทีละน้อย สาเหตุประการสำคัญเนื่องมาจากการทํางานหัตถกรรมนั้นเป็นงานที่ ต้องใช้เวลาและความอดทน รายได้ที่ได้รับก็ไม่คุ้มกับเวลาและแรงงานที่ลงไป เมื่อเปรียบเทียบกับการไปขายแรงงาน หรือทำงานประเภทอื่นตามความต้องการของสังคม ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เยาวชนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น ต่าง ๆ จึงมองข้ามการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากบรรรพบุรุษของตน ยิ่งไปกว่านั้น งานศิลปะชั้นสูงซึ่งเป็นงาน ประณีตศิลป์ที่ล้ำค่า ก็ขาดผู้สืบทอดเช่นกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งการขาดครูผู้ฝึกสอน ทั้งนี้เนื่อง จากจำนวนครูผู้รู้ในศิลปะนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลงทุกวัน ๆ อันเนื่องมาจากวัยและการหวงวิชาความรู้ของตน ใน ภาวการณ์ดังกล่าว มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นสถาบันหนึ่งที่มี บทบาทสําคัญในการผลิตช่างฝีมือที่สามารถประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่งดงาม ตลอดจนงานประณีตศิลป์ที่ งามวิจิตรบรรจง อาทิ งานคร่ำ งามถมยาดำ ถมตะทอง (นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ถมเงิน ถมทอง) งานเครื่องเงิน เครื่องทอง งานตกแต่งด้วยปีกแมลงทับ เป็นต้น ซึ่งการแสดงผลงานของเหล่าศิลปินของมูลนิธิศิลปาชีพได้ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวไทยและชาวต่างประเทศมาแล้ว บทความนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงวิธีการฝึกช่างฝีมือในโครงการศิลปาชีพซึ่งมีวิธีการคัดเลือกนักเรียน และการ ดการเรียนการสอนที่แตกต่างจากสถาบันฝึกช่างฝีมืออื่น ๆ โดยการศึกษาจากการสัมภาษณ์ นักเรียน ครูฝึก และผู้ร่วมงานอื่น ๆ ณ โรงฝึก ศิลปาชีพสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนฝึกช่างฝีมือของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ


ความคิดและอุดมการณ์ : ในการปฏิวัติฝรั่งเศส, มอริส แครนสตัน, สุวิมล รุ่งเจริญ Aug 1992

ความคิดและอุดมการณ์ : ในการปฏิวัติฝรั่งเศส, มอริส แครนสตัน, สุวิมล รุ่งเจริญ

Journal of Letters

No abstract provided.


ผ้าทอกับวิถีชีวิตชนบทอีสาน Aug 1992

ผ้าทอกับวิถีชีวิตชนบทอีสาน

Journal of Letters

ชาวชนบทไทยส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ในยามว่างผู้หญิงก็จะทอผ้า ผู้ชายก็จะ จัดหาและเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งในการทอผ้าและในการทํานา ผ้าที่ทอได้ก็จะนำมาใช้ในครอบครัวในชีวิตประจำ วันตามโอกาสต่าง ๆ หรือใช้ในการแลกเปลี่ยนกับผลผลิตอื่น ๆ การทอผ้าในสมัยก่อนจึงเป็นการผลิตเพื่อใช้เองใน ชุมชนมิใช่ผลิตเพื่อการค้า การทอผ้านับเป็นงานศิลปะที่แสดงฝีมือ ความอดทน และภูมิปัญญาของผู้หญิงชนบทที่ได้รับ การถ่ายทอดในครัวเรือนเป็นเสมือนมรดกทางวัฒนธรรม


สถานภาพการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ : รายงานการสำรวจเบื้องต้นจากวิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๓๔, ฉลอง สุนทราวาณิชย์ Aug 1992

สถานภาพการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ : รายงานการสำรวจเบื้องต้นจากวิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๓๔, ฉลอง สุนทราวาณิชย์

Journal of Letters

No abstract provided.


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระราชดำริทางด้านศิลปะ, สาวิตรี เจริญพงศ์ Aug 1992

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระราชดำริทางด้านศิลปะ, สาวิตรี เจริญพงศ์

Journal of Letters

No abstract provided.


ประวัติศาสตร์แบบระบบโลกของวอลเลอร์สไตน์, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ Aug 1992

ประวัติศาสตร์แบบระบบโลกของวอลเลอร์สไตน์, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

Journal of Letters

อิมมานูเอล วอลเลอร์สไตน์ (Immanuel Wallerstein) อาจเป็นนักวิชาการสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นที่รู้จัก แพร่หลายคนหนึ่ง นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ ๑๙๗๐ เป็นต้นมา ในฐานะที่เป็นผู้เสนอแนวทฤษฎี "ระบบโลก" (world- system) อันเป็นแนวคิดที่ทวนกระแสทฤษฎีสังคมศาสตร์ต่าง ๆ ในขณะนั้น ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีระบบโลกกับ ทฤษฎีสังคมศาสตร์อื่น ๆ จะเริ่มตั้งแต่รากฐานทางปรัชญา โดยวอลเลอร์สไตน์เสนอให้พิจารณาระบบเศรษฐกิจ การ เมืองและสังคม ในลักษณะองค์รวม (totality) มิใช่ลักษณะเฉพาะส่วน จากนี้วอลเลอร์สไตน์ จึงได้เสนอหน่วยการ วิเคราะห์ โดยใช้ระบบใหญ่นั้นคือ "โลก" ในฐานะหน่วยเดียว และศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในฐานะความ สัมพันธ์ภายใน นี่นับเป็นมิติใหม่ในวิชาสังคมศาสตร์ และทำให้งานเขียนชุดของวอลเลอร์สไตน์ได้รับความสนใจ ศึกษากันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้วอลเลอร์สไตน์ ยังได้เสนอข้อวิเคราะห์ของตนโดยการนำประวัติศาสตร์ยุโรป มาเป็นหลักฐานการอธิบาย ทฤษฎีระบบโลกจึงเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ด้วย


การแข่งขันทางความคิดเกี่ยวกับเป้าหมาย ของญี่ปุ่น, Kenneth B. Pyle, สุรางค์ศรี ตันเสียงสม ผศ.ดร. Aug 1992

การแข่งขันทางความคิดเกี่ยวกับเป้าหมาย ของญี่ปุ่น, Kenneth B. Pyle, สุรางค์ศรี ตันเสียงสม ผศ.ดร.

Journal of Letters

No abstract provided.


ประวัติศาสตร์ไทยในหลักฐานพม่า, สุเนตร ชุตินธรานนท์ Aug 1992

ประวัติศาสตร์ไทยในหลักฐานพม่า, สุเนตร ชุตินธรานนท์

Journal of Letters

No abstract provided.


Different Dress And Times Of Migration Do Not Always Mean Different Ways Of Talking: A Case Study Of Mien-Yao (Iu Mien) Tones, Theraphan L-Thongkum Jan 1992

Different Dress And Times Of Migration Do Not Always Mean Different Ways Of Talking: A Case Study Of Mien-Yao (Iu Mien) Tones, Theraphan L-Thongkum

Journal of Letters

According to the survey of the Tribal Welfare Division, Social Welfare Department, Ministry of Interior, in 1986, the Mien-Yao (lu Mien) population in Thailand was about 33,997. There are 159 Mien-Yao villages scattered in seven northern provinces: Chiengmai (978),1 Chiengrai (10,465), Phayao (6,605), Nan (7,110), Lampang (3,708), Kamphaeng Phet (4,192), and Sukhothai (1,038). The settlements in the latter two provinces are recent ones. After visiting many Mien-Yao villages and interviewing the Mien-Yao people and the Tribal Welfare officials, I decided to collect language data for the analysis of tones at six field sites, as follows: Baan Huay Mae Saay, Müang …


การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย, กัลยาณี สีตสุวรรณ Jan 1992

การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย, กัลยาณี สีตสุวรรณ

Journal of Letters

No abstract provided.


บทสนทนาที่หนึ่งระหว่างไฮลาสกับฟิโลนุส (ตัดต่อ), จอร์จ เบอร์คเล่ย์, สมฤดี วิศทเวทย์ Jan 1992

บทสนทนาที่หนึ่งระหว่างไฮลาสกับฟิโลนุส (ตัดต่อ), จอร์จ เบอร์คเล่ย์, สมฤดี วิศทเวทย์

Journal of Letters

บทสนทนานี้เป็นผลงานของนักปรัชญาจิตนิยมชาวไอริชชื่อ จอร์จ เบอร์คเลย์ (George Berkeley ๑๖๘๕-๑๗๕๓) เป็นการเสนอทฤษฎีความรู้และความเป็นจริงในรูปของการสนทนาที่มีการตั้งคำถามให้ตอบ และย้อนถามใหม่จึงง่ายแก่การติดตามและทําให้ไม่น่าเบื่อ วิธีการนี้เป็นวิธีเดียวกันกับที่โสเครติส นักปรัชญา กรีกผู้มีชื่อเสียงนิยมใช้ในการแสวงหาความรู้ ที่เรียกว่าวิธี dialectic เป็นการค้นหาความจริงร่วมกับคู่ สนทนาโดยให้ผู้ร่วมสนทนาหาเหตุผลให้กับความเชื่อที่ตนยึดถือ และซักถามวิพากษ์วิจารณ์ความหมาย และเหตุผลที่ยกมา จนในที่สุดคู่สนทนาจะรู้ว่าตนไม่สามารถอ้างเหตุผลสนับสนุนความเชื่อที่มีอยู่ได้ หรือรู้ ว่าจริงๆ แล้วตนยังไม่รู้สิ่งที่คิดว่ารู้


"ปอเล่อ"ในหมิงสือลู่กับการคลี่คลายของประวัติศาสตร์ไทย, ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี, วินัย พงศ์ศรีเพียร Jan 1992

"ปอเล่อ"ในหมิงสือลู่กับการคลี่คลายของประวัติศาสตร์ไทย, ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี, วินัย พงศ์ศรีเพียร

Journal of Letters

No abstract provided.


Bunmei Kaika บทเรียนแห่งการพัฒนาให้เป็นสมัยใหม่, สุรางค์ศรี ตันเสียงสม Jan 1992

Bunmei Kaika บทเรียนแห่งการพัฒนาให้เป็นสมัยใหม่, สุรางค์ศรี ตันเสียงสม

Journal of Letters

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการพัฒนาให้ทันสมัยมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๑๙ ญี่ปุ่นเปิด ประเทศรับความคิดทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของตะวันตก ผู้นำและปัญญาชนได้นําความรู้และ เทคโนโลยีเข้ามาปฏิบัติและเผยแพร่ในสังคม ซึ่งก่อให้เกิดการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนฐานะจากประเทศเกษตรกรรมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม การปรับปรุงประเทศในสมัยนี้เป็นวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่สมัยต่อมา บุนเม ไคคะ (Bunmei Kaika = Civilization and Enlightenment) เป็นคำเรียกช่วงระยะเวลาดังกล่าว


Rabelais กับความคิดในการปรับแก้สังคมมนุษย์, ทัศนีย์ นาควัชระ Jan 1992

Rabelais กับความคิดในการปรับแก้สังคมมนุษย์, ทัศนีย์ นาควัชระ

Journal of Letters

Gargantua-Pantagruel เป็นงานวรรณกรรมเอกของฝรั่งเศสในช่วงต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่ผู้ ประพันธ์คือ François Rabelais ได้ถ่ายทอดความคิดในการปรับแก้สังคมมนุษย์ Rabelais ได้หยิบยก ปัญหาสําคัญๆ ในยุคนั้นขึ้นมาวิเคราะห์วิจารณ์พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ปัญหาการศึกษา ปัญหา ศาสนา นอกจากนั้นเขายังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใฝ่หาสันติภาพ การทำสงคราม และระบอบ การปกครองประเทศ ชีวิตของเขาคือการต่อสู้อย่างอาจหาญของนักมนุษยนิยมที่มุ่งมั่นจะสร้างสรรค์สังคม ในอุดมคติ


บทวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง The Ambassadors ของ เฮนรี่ เจมส์, อานันท์ชนก พานิชพัฒน์ Jan 1992

บทวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง The Ambassadors ของ เฮนรี่ เจมส์, อานันท์ชนก พานิชพัฒน์

Journal of Letters

นวนิยายเรื่อง The Ambassadors (1903) ของ เฮนรี่ เจมส์ เป็นนวนิยายชั้นยอดเรื่องแรกใน วงการนวนิยายอเมริกันสมัยใหม่" นักวิจารณ์หลายคนลงความเห็นว่านวนิยายเรื่องนี้ผู้แต่งวางแผนล่วง หน้าไว้อย่างละเอียดแยบยลที่สุด" เฮนรี่ เจมส์ เองเคยกล่าวไว้ว่านวนิยายเรื่อง The Ambassadors เป็น นวนิยายที่ดีที่สุดในบรรดานวนิยายทั้งหมดที่เขาได้ประพันธ์ขึ้นมา เพราะเขาได้บรรจงเขียนขึ้นอย่างประณีต สุดฝีมือ ควรแก่การอ่านอย่างพินิจพิจารณา เขาจึงได้แนะนำให้ผู้อ่านอ่านเรื่องนี้อย่างตั้งใจเพียงวันละห้า หน้าติดต่อกันไปทุกวันตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ขาดตอน เพื่อให้ซึ้งในอรรถรสเต็มที่สมดังที่ผู้เขียนตั้งใจไว้


ปัญหาปรัชญาเกี่ยวกับสี, โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ Jan 1992

ปัญหาปรัชญาเกี่ยวกับสี, โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

Journal of Letters

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สีต่าง ๆ ที่เราเห็นกันอยู่เสมอในวัตถุรอบ ๆ ตัวเรานั้นมีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง ในชีวิตนับตั้งแต่การเลือกสีสันของเสื้อผ้าอาภรณ์ตลอดจนถึงการตกแต่งที่อยู่อาศัย เรามีความรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ มีสีอะไรบ้าง เช่น เรารู้ว่ามะเขือเทศสุกมีสีแดง มะละกอดิบมีสีเขียวอ่อนแต่พอสุกกลับมีสีแสดเข้ม เรารู้ว่า สายรุ้งมีเจ็ดสี ธงชาติไทยมีสามสีเป็นต้น ความรู้เหล่านี้ดูเหมือนว่าเราไม่ต้องใช้ความพยายามใด ๆ เลยเพื่อ ให้ได้มา เรารู้ว่าใบไม้มีสีเขียวโดยที่เราไม่จําเป็นต้องไปเรียนวิชาอะไรโดยเฉพาะ ผิดกับความรู้แบบอื่น เช่น ดนตรีซึ่งจะต้องใช้เวลาและความพยายามในการเรียนรู้เป็นอันมาก ดูเหมือนว่าความสามารถในการใช้ภาษา ก็เพียงพอแล้วสําหรับความรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ มีสีอะไรบ้าง