Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Letters

Journal

1982

Articles 1 - 14 of 14

Full-Text Articles in Arts and Humanities

กรุงวอร์ซอกับสงครามโลกครั้งที่ 2, สุรศักดิ์ ศิริไพบูลย์สินธ์ Jul 1982

กรุงวอร์ซอกับสงครามโลกครั้งที่ 2, สุรศักดิ์ ศิริไพบูลย์สินธ์

Journal of Letters

สาระสำคัญของบทความนี้ เป็นการเปิดเผยนโยบายเพื่อปฏิบัติการทำลายล้างกรุงวอร์ซอเมือง หลวงของประเทศโปแลนด์ โดยกองทัพนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งเปิดเผยเอกสารลับ และบันทึกลับเฉพาะบางฉบับของเยอรมันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรและโปแลนด์ เก็บหรือค้นพบได้ภายหลัง สงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่ง Stanistaw Jankowski และ Adolf Ciborowski ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ ชื่อ Warsaw 1945, Today and Tomorrow หนังสือเล่มนี้นอกจากจะแต่งเป็นภาษาอังกฤษแล้วยังมีการแปลเป็นภาษาเยอรมัน โปลิช และภาษารัสเซียนอีกด้วย เอกสารและบันทึกลับเฉพาะดังกล่าวเมื่อถูก เปิดเผยออกมาให้ชาวโลกได้ทราบว่าเป็นนโยบายของนาซีเยอรมันที่จะทำลายล้าง กรุงวอร์ซอให้เหลือแต่ ทรากปรักหักพัง ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ โบสถ์ วิหาร และพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งโรงงาน อุตสาหกรรมและอาคารบ้านเรือนของประชาชนถูกทำลายเสียหายอย่างยับเยินที่สุด ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน กรุงวอร์ซอในสมัยนั้น ต้องพลัดพรากจากญาติพี่น้องและทรัพย์สิน บางส่วนก็ถูกจับตัวเป็นเชลย ถูกฆ่าและ ถูกส่งตัวไปยังเขตกักกันในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ประมาณกันว่าประชากรของกรุงวอร์ซอได้ลดลงจาก 1.3 ล้านคนเหลือเพียง 200,000 คนเศษเท่านั้น


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการสร้างชาติไทย, กรรภิรมย์ สุวรรณานนท์ Jul 1982

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการสร้างชาติไทย, กรรภิรมย์ สุวรรณานนท์

Journal of Letters

No abstract provided.


แบบการเรียกพระนามเจ้านายในราชวงศ์จักรี, กรรณิการ์ ชินะโชติ Jul 1982

แบบการเรียกพระนามเจ้านายในราชวงศ์จักรี, กรรณิการ์ ชินะโชติ

Journal of Letters

การเรียกพระนามเจ้านายในราชวงศ์จักรีที่ 26 แบบ แต่ละแบบมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการ ใช้เรียกพระนาม แบบการเรียกพระนาม 2 แบบที่เพิ่งปรากฏครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน คือแบบที่ 15 ใช้เรียก พระนามพระชนกชนนี และแบบที่ 18 ใช้เรียกพระนามพระธิดาที่ได้รับการสถาปนา การเรียกพระนามราชวงศ์ จักรช่วยทำให้ทราบ ฐานันดรศักดิ์ ตำแหน่ง อิสริยยศ หรือความสัมพันธ์ของเจ้านายพระองค์นั้นกับพระมหากษัตริย์ด้วย


หน้าบรรณาธิการ, กาญจนา นาคสกุล Jul 1982

หน้าบรรณาธิการ, กาญจนา นาคสกุล

Journal of Letters

No abstract provided.


ผูกปี้ : การจัดเก็บเงินค่าแรงแทนการเกณฑ์แรงงาน จากคนจีนในสมัยรัตนโกสินทร์, ศรศักร ชูสวัสดิ์ Jul 1982

ผูกปี้ : การจัดเก็บเงินค่าแรงแทนการเกณฑ์แรงงาน จากคนจีนในสมัยรัตนโกสินทร์, ศรศักร ชูสวัสดิ์

Journal of Letters

No abstract provided.


พระราชพงศาวดาร-เชื่อได้หรือไม่, วิมล พงศ์พิพัฒน์ Jul 1982

พระราชพงศาวดาร-เชื่อได้หรือไม่, วิมล พงศ์พิพัฒน์

Journal of Letters

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรี สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา ล้วนอาศัยหลักฐานจากพงศาวดารเป็นหลักอยู่มาก ในระยะหลังๆ นี้ นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ มักจะสงสัย ในความถูกต้องของพงศาวดาร และมักจะกล่าวหาว่าพงศาวดารนั้นเชื่อไม่ได้ บทความนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พงศาวดารส่วนใหญ่เป็นหลักฐานหนึ่งทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ และได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เป็นปัญหา ถกเถียงกันมาก คือ เรื่องการสําเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มาแสดงให้เห็นว่า พงศาวดารได้บันทึกไว้ อย่างเที่ยงตรง มีเหตุผล ทั้งยังสามารถสอบเทียบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากที่อื่น ๆ ได้อีกด้วย


การประดิษฐ์แบบแผนคำประพันธ์ร้อย สมัยรัตนโกสินทร์, ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา Jul 1982

การประดิษฐ์แบบแผนคำประพันธ์ร้อย สมัยรัตนโกสินทร์, ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา

Journal of Letters

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้นำในการคิดประดิษฐ์แบบคำประพันธ์แบบ ใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากแบบที่มีมาแต่เดิม ทั้งยังทรงเป็นผู้พระราชทานกำลังใจแก่กวีคนอื่น ๆ ให้เจริญรอย ตามพระยุคลบาท ทำให้มีแบบโคลง ฉันท์ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกหลายแบบ


หน้าบรรณาธิการ Jan 1982

หน้าบรรณาธิการ

Journal of Letters

No abstract provided.


"ข้าว" สำหรับคนญัฮกุร (ชาวบน), ธีระพันธ์ ล. ทองคำ Jan 1982

"ข้าว" สำหรับคนญัฮกุร (ชาวบน), ธีระพันธ์ ล. ทองคำ

Journal of Letters

อาหารหลักของคนเอเชียคือข้าว แต่คนเอเชียที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษา ที่แตกต่างกันก็มีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับ "ข้าว" แตกต่างกัน ในบทความนี้ผู้เขียนได้เปรียบเทียบให้เห็น ความแตกต่างระหว่าง FOLK TAXONOMIES ของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้าว และได้วิเคราะห์ให้เห็น ความแตกต่างในเรื่ององค์ประกอบทางความหมายของคำว่า "ข้าว" ในภาษาไทย และองค์ประกอบทาง ความหมายของคำว่า "chroo?" "nkaa" และ "poon" หรือ "ข้าว" ในภาษาฮกุรโดยใช้หลัก "การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Componential Analysis)


เป้าประสงค์ของนักอุตสาหกรรมกับทฤษฎีที่ตั้งโรงงาน, นโรตม์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา Jan 1982

เป้าประสงค์ของนักอุตสาหกรรมกับทฤษฎีที่ตั้งโรงงาน, นโรตม์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

Journal of Letters

จุดอ่อนที่สำคัญของกลุ่มทฤษฎีที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแบบคลาสสิคคือ ข้อสมมุติที่ว่า นักบริหาร มีพฤติกรรมเยี่ยงมนุษย์เศรษฐกิจ บทความนี้เสนอว่า นักภูมิศาสตร์อุตสาหกรรมควรเลิกยึดถือกลุ่มทฤษฎี ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าถึงปัญหาเกี่ยวกับที่ตั้งโรงงาน และหันมาเริ่มต้นกันใหม่โดยการศึกษานัก อุตสาหกรรมในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์ที่ใช้ทั้งเหตุผลและอารมณ์ในการตัดสินใจ เป้าประสงค์ในการประกอบ อาชีพของนักอุตสาหกรรมอาจจัดว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญในกระบวนการการตัดสินใจดังกล่าว นักอุตสาหกรรม จะมีเป้าประสงค์อยู่หลายข้อ เป้าประสงค์เหล่านี้อาจขัดแย้งกัน บางข้ออาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนตัว และบางข้ออาจเกี่ยวกับความเจริญของบริษัท เป้าประสงค์เหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะใน แง่ที่เป็นตัวกําหนดปริมาณและคุณภาพของทำเลที่ตั้งที่นักอุตสาหกรรมจะดำเนินการแสวงหา เมื่อจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งโรงงาน ย้ายที่ตั้งโรงงานหรือเปิดโรงงานสาขา


คําซ้ำอุจจารณวิลาส : อีกแง่หนึ่งของระบบเสียง และระบบความหมายในภาษาไทย, สุดาพร ลักษณียนาวิน Jan 1982

คําซ้ำอุจจารณวิลาส : อีกแง่หนึ่งของระบบเสียง และระบบความหมายในภาษาไทย, สุดาพร ลักษณียนาวิน

Journal of Letters

คำซ้ำชนิดที่เรียกว่าคำซ้ำเสริมสร้อย หรือคำซ้ำอุจจารณวิลาสนุน ผู้พูดภาษาไทยใช้กันเป็นปกติ ในภาษาสนทนาประจำวัน ผู้ที่ศึกษาคําซ้ำส่วนใหญ่ให้คำอธิบายว่า การซ้ำคำนั้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ สละสลวยและสะดวกต่อการพูด ผู้เขียนบทความนี้มีความเห็นว่า การซ้ำคำประเภทอุจจารณวิลาสนี้ มิได้ เพียงให้เกิดความไพเราะสละสลวย แต่มีลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ มีความหมายที่ควรศึกษา กล่าวคือ มีทั้งรูป แบบเฉพาะทางเสียงที่อาจกำหนดได้ และมีความหมายเฉพาะซึ่งผู้พูดภาษาไทยทุกคนเรียนรู้ และใช้ได้ผล อย่างคล่องแคล่ว


พี่เลี้ยงในวรรณคดีไทย, ชลดา เรื่องรักษ์ลิขิต Jan 1982

พี่เลี้ยงในวรรณคดีไทย, ชลดา เรื่องรักษ์ลิขิต

Journal of Letters

พี่เลี้ยงในวรรณคดีไทยมีทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ พี่เลี้ยงเป็นตัวละครที่ใกล้ชิดและเป็นที่พึ่งพิงของตัวละครเอก พี่เลี้ยงเหล่านี้ได้แสดงพฤติกรรมหรือบทบาทหลายอย่างต่าง ๆ กันออกไป ซึ่งหากจำแนก ออกกว้าง ๆ จะเป็น 2 ประเภทคือ บทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอก และบทบาทที่เป็นโทษต่อตัวเอก (แต่แม้ กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้แสดงบทบาทที่เป็นโทษนั้นจะเป็นพี่เลี้ยงที่ไม่ดี) ในบทความเรื่องนี้ได้วิเคราะห์ บทบาทของพี่เลี้ยงออกเป็น 10 ประเภทด้วยกัน และสรุปได้ว่าบทบาทต่าง ๆ ของพี่เลี้ยงนั้นมีความสำคัญ และมีอิทธิพอต่อตัวละครเอกมาก


การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระโพธิสัตว์ ในคัมภีร์พระเถรวาทและคัมภีร์มหายาน, ประพจน์ อัศววิรุฬหการ Jan 1982

การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระโพธิสัตว์ ในคัมภีร์พระเถรวาทและคัมภีร์มหายาน, ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

Journal of Letters

No abstract provided.


คำหลายหน้าที่ในภาษาไทย, นววรรณ พันธุเมธา Jan 1982

คำหลายหน้าที่ในภาษาไทย, นววรรณ พันธุเมธา

Journal of Letters

คำในภาษาไทยอาจมีได้หลายหน้าที่ สาเหตุหนึ่งที่คำไทยมีหลายหน้าที่ก็คือในภาษาไทยคำไม่ เปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อคำเปลี่ยนหน้าที่ แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก บทความนี้ได้ศึกษาสาเหตุที่ทำให้มีคำหลาย หน้าที่อยู่มากมายในภาษาไทย สาเหตุนั้น ๆ มี 3 ประการคือ การใช้คำเดียวแสดงความหมายหลายความหมายที่เกี่ยวข้องกัน การใช้คำเดียวซึ่งทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้วมาขยายคำนามหรือคำกริยา และ การจำแนกคำบางคำที่ปรากฏในประโยคต่างแบบกัน ว่าเป็นคำต่างประเภท ทั้ง ๆ ที่คำเหล่านั้นอาจจะถือว่าเป็นคำประเภทเดียวกันได้