Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 121

Full-Text Articles in Arts and Humanities

การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์ Jan 2018

การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาการแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรจากการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของ ชาลส์ เอ็ม ชูลซ์ สมมติฐานในการวิจัยคือ การแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรอาจใช้แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล (Klaus Kaindl) เพื่อวิเคราะห์ตัวบทตามลักษณะสำคัญและโครงสร้างของการ์ตูนช่อง แนวคิด Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น (Neil Cohn) เพื่อวิเคราะห์ลำดับการเล่าเรื่อง รายงานการวิจัยการนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน (Disparage Theory) ของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว (Incongruity Theory) ของ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) และทฤษฎีปลดปล่อย (Release Theory) ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Sigmund Freud) เพื่อศึกษาลักษณะและกลวิธีการสร้างมุกตลกและวิเคราะห์มุกตลก รวมทั้งกลวิธีการแปล แบบตีความ (Interpretive Approach) และแนวทางการจัดการทางภาษา (Language Manipulation) ของฌอง เดอลิล (Jean Delisle) เพื่อแปลตัวบทให้เกิดสมมูลภาพเทียบเท่ากับตัวบทต้นฉบับทั้งในด้าน โครงสร้างและความหมาย ผลการศึกษาคือ แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล และ Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น สามารถใช้วิเคราะห์ตัวบทโดยรวมและลำดับการเล่าเรื่องของตัวบทที่คัดสรรได้ตามลำดับ และการ วิเคราะห์มุกตลกในตัวบทที่คัดสรรนั้นสามารถใช้การนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และ ทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน ของ โทมัส ฮอบส์ ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว ของ อิมมานูเอล คานต์ และทฤษฎีปลดปล่อย ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ ได้ …


มโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในนิตยสารสตรีสาร พ.ศ. 2491-2539, ปวีณา กุดแถลง Jan 2018

มโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในนิตยสารสตรีสาร พ.ศ. 2491-2539, ปวีณา กุดแถลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการให้ความหมาย การประกอบสร้างและการนำเสนอมโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในทศวรรษ 2490 – 2530 ผ่านปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว ที่ปรากฏในนิตยสาร สตรีสาร สองคอลัมน์หลัก ได้แก่ "ทรรศนะหญิง" และ "ทรรศนะชาย" จำนวน 576 ฉบับ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังมุ่งศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงและผู้ชายที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งมาถึงคอลัมน์ยอดนิยม "ตอบปัญหา" อีกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 475 ฉบับ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายซึ่งมิได้มุ่งเน้นเพียงการนำเสนอปิตาธิปไตยและการมองผู้หญิงในฐานะผู้ถูกกดขี่ แต่มุ่งพิจารณาการนำผู้ชายและผู้หญิงกลับไปยังหน่วย (unit) ที่เป็นพื้นฐานที่สุดในความสัมพันธ์ของมนุษย์นั่นก็คือครอบครัว โดยผ่านประเด็นหลักสามประเด็นคือ ลำดับชั้นทางเพศสภาพ, การปฏิบัติตัวตามบทบาทเพศสภาพ และผลกระทบของการปฏิบัติต่อปฏิสัมพันธ์ของหญิงและชายในครอบครัวและชีวิตของแต่ละบุคคล โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในมิติต่างๆ ได้แก่ การเป็นคู่รัก, การต่อรองบทบาทปิตาธิปไตยภายในครอบครัว, การมีเมียน้อย และการอกหักและการหย่าร้าง คำถามการวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ผู้หญิงและผู้ชายประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายของตนอย่างไรภายในครอบครัว, พัฒนาการในสังคมไทยระหว่าง พ.ศ. 2491 – 2539 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสร้างมโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายภายในครอบครัวอย่างไร, บทบาทและหน้าที่ของหญิงและชาย รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศสภาพของสมาชิกในครอบครัวมีส่วนกำหนดการแสดงออกความเป็นหญิงและความเป็นชายใน พ.ศ. 2491 – 2539 อย่างไรบ้าง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า ครอบครัวคือสถานที่สำคัญในการประกอบสร้างและนำเสนอความเป็นหญิงและความเป็นชาย เนื่องจากทศวรรษ 2490 – 2530 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อความคิด ความหวัง อารมณ์และความรู้สึกของชายหญิงที่มีต่อกันและกัน และนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งมีส่วนช่วยในการกำหนดและประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายโดยผ่านการปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัว


ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2557 ในพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, สุจิตรา แซ่ลิ่ม Jan 2018

ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2557 ในพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, สุจิตรา แซ่ลิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอภาพตัวแทนผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2549-2557 ที่สื่อผ่านภาษาในพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และเพื่อวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมของวาทกรรมสื่อในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่นำเสนอข่าวการชุมนุมประท้วงทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2557 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยจำนวน 6 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน ผู้จัดการรายวัน และไทยโพสต์ โดยศึกษาภาพตัวแทนผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใน 3 ช่วงเวลาที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมและรัฐบาลที่ต่างกัน ได้แก่ 1) การชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2549-2551 2) การชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2552-2553 และ 3) การชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2556-2557 การวิเคราะห์ใช้แนวคิดเรื่องการนำเสนอผู้กระทาทางสังคมของฟาน ลีอูเวน (van Leeuwen, 1996) การวิเคราะห์ชนิดกระบวนการของฮัลลิเดย์ (Halliday, 1985) และการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาอื่น เช่น สหบท มาวิเคราะห์การนำเสนอภาพตัวแทนของผู้ชุมนุม ผลการศึกษาพบว่า ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม คือ (1) ภาพตัวแทนที่เป็นกลางของผู้ชุมนุม ได้แก่ ผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาล (2) ภาพตัวแทนที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ชุมนุม ได้แก่ ผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มประชาชนจำนวนมากที่มารวมตัวกันเพื่อต่อต้านรัฐบาล ผู้ชุมนุมเป็นผู้กระทำสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมโดยการต่อต้านรัฐบาลที่ลุแก่อำนาจ ผู้ชุมนุมเป็นผู้ถูกกระทำจากรัฐบาลและจากคนกลุ่มต่าง ๆ และผู้ชุมนุมเป็นผู้ที่ชุมนุมอย่างสันติ และ (3) ภาพตัวแทนที่ลดทอนความชอบธรรมของผู้ชุมนุม ได้แก่ ผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อความวุ่นวายและสร้างความเดือดร้อน ผู้ชุมนุมเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ผู้ชุมนุมเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ผู้ชุมนุมเป็นผู้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ผู้ชุมนุมเป็นผู้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ผู้ชุมนุมเป็นผู้ขาดความน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเคารพ และผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเป็นชนชั้นที่มีฐานะซึ่งไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้พบว่าจุดยืนทางการเมืองของสื่อหนังสือพิมพ์และสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันมีส่วนสัมพันธ์กับการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ต่างกันในแต่ละช่วงเวลาที่ศึกษา งานวิจัยเรื่องนี้ทำให้เห็นว่าภาพของผู้ชุมนุมทางการเมืองกลุ่มเดียวกันได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อในแง่มุมที่ต่างกัน ผ่านมุมมองที่ต่างกันและนำเสนอด้วยกลวิธีทางภาษาที่ต่างกัน ภาพตัวแทนที่สื่อนำเสนอมีส่วนในการสร้างความชอบธรรมหรือลดทอนความชอบธรรมของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองและน่าจะมีผลต่อความคิดและทัศนคติของผู้อ่านที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ผลการวิจัยนี้ทำให้เห็นว่าภาพตัวแทนผู้ชุมนุมทางการเมืองเหล่านี้เป็นผลจากการประกอบสร้างทางภาษาของสื่อที่อาจมีจุดยืนต่างกัน ในบางครั้งผู้อ่านอาจจะไม่ทันได้ตระหนักถึงหรือสังเกตเห็นและเข้าใจว่าสิ่งที่นำเสนอเป็น "ความจริง" เพียงชุดเดียว ความตระหนักรู้หรือรู้เท่าทันวาทกรรมสื่อจะช่วยให้ผู้อ่านรับสารอย่างมีวิจารณญาณและตัดสินหรือประเมินค่าสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบยิ่งขึ้นอันอาจจะช่วยลดทอนความขัดแย้งที่มีต่อกันในสังคมได้ไม่มากก็น้อย


ละครซ้อนละครในละครเรื่องปริยทรรศิกาและพาลรามายณะ, สิทธิเชศวร์ เจนเรื่อย Jan 2018

ละครซ้อนละครในละครเรื่องปริยทรรศิกาและพาลรามายณะ, สิทธิเชศวร์ เจนเรื่อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ละครซ้อนละคร (play-within-a-play) เป็นกลวิธีการประพันธ์ที่ปรากฎในบทละครสันสกฤตเรื่องปริยทรรศิกา (Priyadrska) และพาลรามายณะ (Balaramayana) นักวรรณคดีสันสกฤตจำกัดความละครซ้อนในละครสันสกฤตแตกต่างกัน วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาลักษณะเฉพาะของละครซ้อนละคนในละครสันสกฤตทั้งสองเรื่อง พร้อมทั้งศึกษาบทบาทและความสำคัญที่ละครซ้อนแต่ละเรื่องมีต่อละครเรื่องหลัก ผลการศึกษาพบว่า มีคำอธิบาย "ละครซ้อนละคร" ในทฤษฎีการละครสันสกฤตเรื่อง สาหิตยทรรปณะ (Sahityadarpana) เรียกว่า ครรภางกะ (garbhanka) คือ ละครเล็กที่แทรกอยู่ในละครใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง มีบทเกริ่นนำ เนื่อเรื่อง และตอนจบของตนเอง จากนิยายดังกล่าวนำมาวิเคราะห์ละครซ้อนละครในปริยทรรศิกาและพาลรามายณะ ได้ผลว่า ละครทั้งสองเรื่องมีบทเกริ่นนำของตนเอง เรื่องปริทรรศิกามีนายโรงแนะนำละครซ้อนชื่อ "อุทัยนจริต" (Udayanacarita) เนื้อเรื่องแสดงความรักระหว่างพระเจ้าอุทัยน์ (วัตสราช) กับเทวีวาสวทัตตา แต่พระเจ้าอุทัยน์ที่ปลอมตนมาเล่นละครเป็นตนเองพลอดรักกับนางเอกจนเทวีวาสวทัตตาไม่อาจทนดูละครต่อได้จึ่งสั่งให้หยุดเล่น ละคนซ้อนเรื่องนี้จึ่งไม่มีตอนจบ ส่วนละครซ้อนละครในพาลรามายณะ ชื่อว่า "สีตาสวยัมวระ" (Sitasvayamvara) การเลือกคู่ของนางสีดา มีบทเกริ่นนำ เนื้อเรื่องเป็นการประลองยกธนูพระศิวะ พระรามสามารถยกได้พร้อมหักธนูและจัดพิธีอภิเษกสมรส ในเรื่องนี้มีบทอวยพรตอนจบเรื่อง ซึ่งสอดคล้องตามคำอธิบายในสาหิตยทรรปณะ บทบาทและความสำคัญของละครซ้อนต่อละครเรื่องหลัก ในบริบทของการพัฒนาปมเรื่อง ทำให้เรื่องเข้มข้นขึ้น ส่วนในบริบทการพัฒนารสและภาวะ ละครซ้อนเสริมให้ผู้ชมรับรู้รสซ้อนกัน แบ่งเป็นสองขั้น คือ รสของผู้ชมในละคร (ตัวละครที่เล่นเป็นผู้ชม) และรสของผู้ชมภายนอก (ผู้ชมจริง)


การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Jan 2018

การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร เนื่องจากอาหารมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น ทว่าอาหารยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกัน และเป็นวิถีปฏิบัติอันเกิดจากการประกอบสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากคอลัมน์ประจำที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารจากนิตยสารประเภทอาหาร 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ นิตยสารแม่บ้าน นิตยสารครัว นิตยสาร Gourmet & Cuisine และนิตยสาร Health & Cuisine ตั้งแต่ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 - ธันวาคม พ.ศ. 2558 รวม 48 ฉบับ การวิเคราะห์อาศัยกรอบแนวคิด (1) วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995a) (2) การบริโภคคุณค่าเชิงสัญญะของโบดริยาร์ (Baudrillard, 2001) และ (3) รสนิยมของบูร์ดิเยอ (Bourdier, 1984) ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า นิตยสารประเภทอาหารมิได้นำเสนอคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ที่แท้จริงของอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารในฐานะหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น หากแต่นิตยสารยังได้ประกอบสร้างชุดความคิดเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเชิงสัญญะ ดังปรากฏชุดความคิดสำคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ (1) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเป็น "คนฉลาดเลือกบริโภคอย่างมีรสนิยม" (2) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของเชฟ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญการรังสรรค์เมนูอาหารอย่างมีรสนิยม ชุดความคิดเหล่านี้ถูกประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้ชุดคำศัพท์ การใช้คำอ้างถึง การให้รายละเอียดโดยการระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือสินค้าอย่างเฉพาะเจาะจง การให้รายละเอียดโดยการระบุราคา การให้รายละเอียดโดยการใช้รางวัลเป็นเครื่องยืนยัน การใช้ความเปรียบ การใช้มูลบท การใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้โครงสร้างประโยคแสดงเหตุ-ผล การใช้สหบท และการใช้ภาพประกอบ ชุดความคิดเกี่ยวกับคุณค่าเชิงสัญญะเหล่านี้กลายเป็นชุดความรู้เกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารชุดหนึ่งที่นิตยสารประกอบสร้างขึ้นและทำให้ความรู้ชุดนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คนเฉพาะกลุ่มซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นคนฉลาดบริโภคอย่างมีความรู้ แต่จะต้องเป็นผู้มีรสนิยมด้วย อุดมการณ์ที่มีอิทธิพลต่อตัวบท ได้แก่ แนวคิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม แนวคิดชั้นทางสังคม แนวคิดสภาวะสมัยใหม่ และแนวคิดสุนทรียภาพ ตัวบทเหล่านี้จึงได้ผลิตซ้ำและตอกย้ำให้อุดมการณ์เหล่านี้คงอยู่ในสังคมต่อไป


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย พิจารณาข้อมูลเชิงทฤษฎีเชื่อมโยงในประเด็นของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ การสร้างสรรค์ และแนวคิดการแสดงนาฏยศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล ทดลองพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์เรียบเรียงข้อมูล แสดงขั้นตอนและผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงผลงานสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่ปรากฏคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายในทักษะการเต้นร่วมสมัยและแนวเต้นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้เสียงไวโอลินบรรเลงสดและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้พื้นที่ในและนอกวงกลมโดยมีเก้าอี้ 9 ตัววางเป็นวงกลมกลางเวที สวมใส่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหมาะสมกับสรีระและลีลานาฏยศิลป์ของนักแสดง ออกแบบแสงให้เห็นมิติของร่างกาย นำเสนอเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 ยุคบุกเบิก แบ่งเป็น 4 ฉาก คือ ฉาก 1 แนวคิดของลอย ฟูลเลอร์ (Loie Fuller) ฉาก 2 แนวคิดของอิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ฉาก 3 แนวคิดของรุท เซนต์เดนนีส (Ruth St Denis) ต่อเนื่องถึงฉาก 4 แนวคิดของเดนนีส-ชอร์น (Denis Shawn) องก์ 2 ยุคสมัยใหม่ศิลปินรุ่น 1 และ 2 แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของมาธา เกรแฮม (Matha Graham) ฉาก 2 แนวคิดของดอริช ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) ฉาก 3 แนวคิดของเมอร์ซ คันนิงแฮม (Merce Cunningham) และฉาก 4 แนวคิดของโฮเซ ลีมอน (Jose Limon) องก์ 3 ยุคหลังสมัยใหม่ แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้ตำนานนกกิ่งกะหร่าเพื่อสื่อสารความเชื่อความศรัทธาของชาติพันธุ์ไทใหญ่กับพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยผสมผสานตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเรื่องชาติภพทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้าในการกำเนิดเป็นนกกิ่งกะหร่า 2) นักแสดงมีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายตามทักษะความชำนาญของตนเอง 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านการฝึกปฏิบัติวิธีการแสดงแบบเดอะเมธอด (The Method of Acting) 4) เครื่องแต่งกายที่แสดงถึงบุคลิกภาพของนกกิ่งกะหร่าทั้ง 5 ตัว ตามแนวคิดเรื่องศีล 5 ข้อ 5) ดนตรีและเสียงประกอบที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือด้นสดกับสถานการณ์ในการแสดง และการขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเล่าเรื่องตำนานนกกิ่งกะหร่า 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เน้นการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญของเรื่อง 7) พื้นที่การแสดงที่กำหนดความหมายเป็นสถานที่ต่าง ๆ ในการแสดงได้แก่ สถานที่ไร้กาลและเวลา ป่าหิมพานต์ และท้องฟ้า 8) แสงที่ใช้แนวคิดทางทัศนศิลป์ และสัญวิทยาออกแบบเสียงให้ที่สามารถสื่อสารความคิดและสถานการณ์ของตัวละครให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ยังได้ให้ความสำคัญใน 6 ประเด็น 1) แนวคิดจากตำนานนกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ 2) แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์กับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ 3) แนวคิดที่เกี่ยวกับรากฐานความคิดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม 4) แนวคิดสัญวิทยา 5) แนวคิด การแสดงเดอะเมธอด (The Method of Acting) และ 6) แนวคิดทางทัศนศิลป์


เทเลเอสเทติกส์: การสร้างสรรค์นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่, ให้แสง ชวนะลิขิกร Jan 2018

เทเลเอสเทติกส์: การสร้างสรรค์นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่, ให้แสง ชวนะลิขิกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันศิลปะสื่อใหม่มีบทบาทในศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ทว่าในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ในประเทศไทยนั้นไม่มีความแพร่หลาย คนรุ่นใหม่ที่สนใจศิลปะสื่อใหม่นั้นเข้าถึงข้อมูลได้ยาก มีช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลศิลปะสื่อใหม่ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่มีการเน้นย้ำหรือกล่าวถึง งานเขียนภาษาไทยไม่มีการจัดทำเป็นตำรา และงานแปลมีจำกัดหนังสือเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น เมื่อกล่าวถึงธรรมชาติของการหาความรู้ของคนรุ่นใหม่ที่สนใจศิลปะพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูลเป็นหลัก แต่น้อยที่จะมีความสนใจในเนื้อหาที่เป็นการเขียนที่มีรายละเอียดเยอะโดยเฉพาะข้อมูลภาษาอังกฤษ ดังนั้น จากแนวความคิดเพื่อออกแบบชุดความรู้ ลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่สำหรับคนไทยรุ่นใหม่ที่สนใจ มาสู่การวิจัยการทำความเข้าใจองค์ความรู้ศิลปะสื่อใหม่ นำมาสร้างชุดข้อมูลนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าถึงและพัฒนาองค์ความรู้ต่อได้ การออกแบบชุดความรู้ดังกล่าวได้ถูกนำเสนอผ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์บนเว็บไซต์ที่มีชื่อว่าเทเลเอสเทติกส์โดยมีการกำหนดขอบเขตของงานวิจัยของงานวิจัยเผยแพร่ออกมา 2 ฉบับคือ เทเลเอสเทติกส์ฉบับที่หนึ่งเน้นไปที่การปูพื้นความรู้เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ ส่วนเทเลเอสเทติกส์ฉบับที่สองเป็นการนำต่อยอดองค์ความรู้จากฉบับที่หนึ่งและเน้นไปที่ศิลปะแห่งเสียงเป็นแขนงที่คาบเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้เนื้อหาดังกล่าว


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์ Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา รูปแบบสถาปัตยกรรม ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และสร้างองค์ความรู้ด้านการประพันธ์เพลงแนวใหม่ และการสร้างเครื่องดนตรี โดยถ่ายทอดผลงานในรูปแบบดนตรีพรรณนาทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ พุทธเจดีย์ทวารวดี 7 องค์เป็นสิ่งปลูกสร้างแสดงถึงความรุ่งเรืองเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่ปรากฏมาในเมืองนครปฐมสมัยทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-16 จนถึงปัจจุบันที่สมบูรณ์จำนวน 2 องค์คือ พระปฐมเจดีย์ พระประโทน-เจดีย์ และร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกจำนวน 5 องค์คือ จุลประโทนเจดีย์ พระเนินเจดีย์ สังฆรัตนธาตุเจดีย์ พระงามเจดีย์ และพระเมรุเจดีย์ การสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นการประพันธ์เพลงในรูปแบบของเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงหลัก 8 เพลงคือ 1) เพลงพุทธเจดีย์บูชา 2) เพลงพระปฐมเจดีย์ 3) เพลงพระประโทนเจดีย์ 4) เพลงพระเนินเจดีย์ 5) เพลงสังฆรัตนเจดีย์ 6) เพลงจุลประโทนเจดีย์ 7) เพลงพระงามเจดีย์ 8) เพลงพระเมรุเจดีย์ และทำนองเชื่อมเจดีย์สำหรับบรรเลงเชื่อมเพลงหลัก 1 ทำนอง โดยรูปแบบวงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประสมวงขึ้นใหม่ประดิษฐ์เพิ่มขึ้นใหม่ 2 ชิ้นคือ ระฆังหินและระนาดหิน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงเพลงชุดโดยเฉพาะประกอบด้วย ระนาดตัดขนาดใหญ่ ระนาดตัดขนาดเล็ก จะเข้ ปี่มอญ ขลุ่ยเพียงออ ระฆังหิน ระนาดหิน ปรับเปลี่ยนให้ความสอดคล้องกับลีลาทำนองของพุทธเจดีย์แต่ละองค์ กำหนดทำนองในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว จังหวะฉิ่ง 3 รูปแบบ และหน้าทับ 12 รูปแบบ แสดงความเป็นอัตลักษณ์สำเนียงของบทเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่


An Investigation Of Beliefs And Classroom Asssessment Practices Of English Teachers In Primary Schools In Thailand, Arthitaya Narathakoon Jan 2018

An Investigation Of Beliefs And Classroom Asssessment Practices Of English Teachers In Primary Schools In Thailand, Arthitaya Narathakoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of the present study is to investigate 1) the teachers' beliefs about classroom assessment in English classes, 2) their actual classroom practices, and 3) the extent to which their beliefs are congruent with their actual assessment practices. The participants were grade-6 English teachers in a school district from the northeastern part of Thailand. The study was conducted using a mix-methods approach. There were two phases. Phase 1 involved the administration of a questionnaire to 97 teachers. It aimed to gather data on the classroom assessment beliefs and practices of teachers in Thai primary schools. Phase 2 was comprised …


การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล Jan 2018

การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject ในตัวบทนวนิยาย จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และเพื่อประมวลกลวิธีการแปลจากกรณีศึกษาเรื่อง The Murder of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ และหนังสือแปลเรื่อง คดีฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ โดยพิรุณรัตน์ เนื่องจากภาษาไทยไม่มีโครงสร้างประโยคที่เทียบเท่ากันทางความหมายกับโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ จึงอาจเป็นปัญหาการแปลที่สำคัญได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่ประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject จานวน 63 ประโยค และกลวิธีการแปลสองระดับ ได้แก่ ระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณสรุปได้ว่า กลวิธีการแปลระดับโครงสร้างประโยคใช้การปรับโครงสร้างประโยคใหม่จำนวน 60 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 95.24 และใช้การรักษาโครงสร้างประโยคตามต้นฉบับจำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 4.76 ในการปรับโครงสร้างประโยคใหม่พบว่าผู้แปลใช้การหาประธาน หรือการปรับส่วนใด ส่วนหนึ่งของประโยคเป็นประธานมากที่สุด จำนวน 44 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 73.33 รองลงมาได้แก่การเปลี่ยนประโยคเป็นวลี ส่วนกลวิธีการแปลระดับคำใช้การเติมคำเน้นมากที่สุด จำนวน 17 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 26.98 รองลงมาได้แก่การเติมลักษณนาม ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพสรุปได้ว่า การแปลประโยคเคล็ฟต์ในนวนิยายเรื่องนี้ นักแปลใช้กลวิธี การปรับบทแปลระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำร่วมกัน โดยไม่รักษารูปแบบโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์เสมอไป แต่ยังคงรักษาหน้าที่และเจตนาในการสื่อสารของโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวทาง การแปลที่นักแปลอาศัยการตีความและทำความเข้าใจความหมายโดยนัยที่สื่อผ่านการใช้ประโยคเคล็ฟต์เป็นหลักก่อน แล้วจึงถ่ายทอดความหมายนั้นเป็นภาษาปลายทางอย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับแนวทางการแปลแบบตีความที่เดอลีลส์ (1988) นำเสนอ ทฤษฎี Skopostheorie ที่ไร้ส์และแฟร์เมียร์ (1984) นำเสนอ และทฤษฎีวัจนกรรมที่เฮอนิกช์และคุสเมาล์ (1982) นำมาใช้ในการแปล


The Development Of Vocabulary Learning Model Based On The Cognitive Theory Of Multimedia Learning, Nopthira Jawa-Ut Jan 2018

The Development Of Vocabulary Learning Model Based On The Cognitive Theory Of Multimedia Learning, Nopthira Jawa-Ut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In learning a language, vocabulary is one of the most significant factors, lying as a solid basis for learners; however, the complex system of human's cognitive processing works under many constraints. Therefore this research incorporated the Cognitive Theory of Multimedia Learning and vocabulary learning together so as to promote better and deeper understanding. Mix Methods were used for the research conduct. The purposes were to (1) develop Vocabulary Learning Model based on Cognitive Theory of Multimedia Learning (VCML), (2) investigate the effects of VCML on the learners' vocabulary achievement, (3) investigate the effects of VCML on the learners' vocabulary retention, …


ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง นิฮนจิน โอะอิน และเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ, ชมพูนิกข์ ล้อมวัฒนธรรม Jan 2018

ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง นิฮนจิน โอะอิน และเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ, ชมพูนิกข์ ล้อมวัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง นิฮนจิน โอะอิน (1932) ของโอะซะระงิ จิโร และเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ (1937) ของมินะมิ โยอิชิโร โดยเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นในทศวรรษ 1930 จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมทั้งสองเรื่องนำเสนอภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในลักษณะที่ญี่ปุ่นเป็นมิตรกับไทยหรือสยาม และร่วมมือกันปกป้องสยามจากการรุกรานของศัตรูต่างชาติ ซึ่งมีนัยยะหมายถึงการเข้ามารุกรานแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศนักล่าอาณานิคมตะวันตก ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่ปรากฏในเรื่องสะท้อนถึงทัศนะของญี่ปุ่นต่อไทยในช่วงทศวรรษ 1930 ที่คล้ายคลึงกัน คือถูกกำหนดด้วยแนวคิดอาณานิคมนิยมแบบญี่ปุ่น หรือ "นันฌินรน" แนวคิดขยายดินแดนลงสู่ใต้ที่ส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นปรารถนาจะออกไปแสวงโชค ตั้งรกรากทำมากินในต่างแดน โดยเรื่อง นิฮนจิน โอะอิน นำเสนอภาพความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ส่วนเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ สะท้อนภาพญี่ปุ่นกับสยามเป็นมิตรกันแบบพี่น้อง โดยญี่ปุ่นเป็นเสมือนพี่ผู้ให้ความช่วยเหลือปกป้องสยามจากการเอาเปรียบของชาติตะวันตก เน้นความร่วมมือกันเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของสองประเทศ แต่ในอีกทางหนึ่ง วรรณกรรมทั้งสองเรื่องก็นำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ญี่ปุ่นที่เหนือกว่าสยาม อันหมายถึงความพยายามในการครอบงำทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ประเทศเจ้าอาณานิคมมักใช้อ้างความชอบธรรมในการจะเข้าไปบุกเบิกครอบครองพื้นที่ แสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนอื่น นอกจากนั้น ในฐานะวรรณกรรมเยาวชน วรรณกรรมทั้ง 2 เรื่องยังมีบทบาทในการปลูกฝังแนวคิดอาณานิคมนิยมที่ถูกสอดแทรก ตอกย้ำอยู่ในตัวบทให้กับผู้อ่านซึ่งเป็นเยาวชนอีกด้วย


การสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่), รัชดา ขัตติสะ Jan 2018

การสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่), รัชดา ขัตติสะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาชีวประวัติและผลงาน การถ่ายทอดดนตรีไทย และสายการสืบทอดดนตรีไทยของ เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) ผลการวิจัยพบว่า เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) เกิดในตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือ เมื่อเยาว์วัยได้ตามเสด็จฯ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ไปพำนัก ณ วังสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ทำให้ได้เรียนจะเข้กับครูสังวาลย์ กุลวัลกี ผู้มีชื่อเสียงและมีฝีมือความสามารถในการบรรเลงจะเข้ นอกจากการเรียนจะเข้แล้ว เจ้าโสภายังเรียนซอเพิ่มเติมกับ ครูเจริญ พาทยโกศล เรียนขับร้องเพิ่มเติมกับคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ และขุนเสียงเสนาะกรรณ (พัน มุกตวาภัย) เมื่อกลับมาเชียงใหม่ เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) สอนดนตรีไทยให้กับสถาบันต่าง ๆ โดยมีผลงานด้านการแผยแพร่ดนตรีและการแสดง ผลงานด้านวิชาการ และผลงานด้านการควบคุมการบรรเลงและการแสดง การถ่ายทอดดนตรีไทยพบว่า เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านพื้นฐานดนตรีไทยและการบรรเลงเครื่องสาย ภายในระบบการศึกษาและภายนอกระบบการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับพื้นฐานดนตรีไทยและการบรรเลงดนตรีไทยตามขนบ คือ การไหว้ครู บุคลิกการบรรเลง รวมถึงข้อคิดสอนใจในการเป็นนักดนตรี แต่เนื่องจากเจ้าโสภาถ่ายทอดดนตรีไทยภายในและภายนอกระบบการศึกษา ที่มีการเรียนการสอนดนตรีไทยเป็นเพียงรายวิชาพื้นฐานและมีผู้ที่สนใจในจำนวนน้อย มิได้ถ่ายทอดให้กับศิลปินอาชีพหรือสถาบันที่มีการเรียนการสอนดนตรีไทยโดยตรง ทำให้สายการสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) ไม่แพร่หลาย


ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา, วรพจน์ ไวยเวทา Jan 2018

ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา, วรพจน์ ไวยเวทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา เป็นการศึกษาทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นกำเนิดศิลปะวิทยาการด้านศิลปะอิสลาม การนำมาปรับใช้ในยุคสมัยต่างๆของโลกอิสลาม ที่มาแนวคิด กฎเกณฑ์ สุนทรียศาสตร์ ความงาม จากความศรัทธาของศาสนา เกิดเป็นทฤษฎีโครงสร้างสู่การจัดระเบียบโครงสร้างต่างๆ รวมไปถึงลวดลายประดับ ศาสตร์และองค์ความรู้ที่ปราชญ์ชาวมุสลิมได้ให้คุณูปการกับโลกใบนี้นับพันปี ก่อเกิดเป็นทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลาม ศาสตร์แห่งเรขาคณิตอิสลามหรือ Islamic Geometry เป็นหนึ่งในองค์ความรู้เชิงช่างที่สำคัญ เป็นอัตลักษณ์ที่สรรค์สร้างให้ศิลปะอิสลามมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ประจักษ์และยกย่องของโลกถึงความงดงามเหล่านั้น รูปแบบสกุลช่างศิลปะอิสลามที่อาจส่งอิทธิพลผ่านความสัมพันธ์ระหว่างชาติ จากหลักฐานอันโดดเด่นในสมัยอยุธยาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อชาวมุสลิมทั้งรูปแบบสกุลช่างศิลปะอิสลามเปอร์เซียและสกุลช่างศิลปะอิสลามอินเดีย มูลเหตุข้อสันนิษฐานของนักวิชาการไทยในอดีตที่กล่าวถึงลวดลายประดับศิลปะไทยในสมัยอยุธยาที่มีอิทธิพลลวดลายประดับจากศิลปะอิสลาม เมื่อนำมาตรวจสอบด้วยเครื่องมือทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามแล้วพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมากในเชิงลึกตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงอยุธยาตอนปลาย มิติของการถ่ายเทองค์ความรู้ ช่างสมัยอยุธยาจำเป็นต้องมีความเข้าใจและความชำนาญในทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามเป็นอย่างดี จึงได้นำระบบโครงสร้างเหล่านี้มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับลวดลายศิลปะไทยพื้นถิ่นได้อย่างลงตัวทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยต่อชาวมุสลิมที่มีมาแต่อดีตมาช้านาน ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามนี้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระบวนการเชิงช่างศิลปะไทยในอดีตนั้นมีการคำนวณสัดส่วนอันงดงามต่างๆ อย่างเป็นระบบแบบแผนจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน ทฤษฎีเชิงช่างนี้อาจเป็นกุญแจไขความลับของความงดงาม ฟื้นความเข้าใจทฤษฎีเชิงช่างของศิลปะไทยสมัยอยุธยาที่ได้รับการยอมรับในความงดงามอันวิจิตรเหล่านั้นซึ่งได้สูญหายไปกับกาลสมัยอยุธยาก็เป็นได้


การออกแบบเรขศิลป์ที่แสดงถึงสุขภาพที่ดีโดยใช้ทฤษฏีหินสีบำบัด, นรินทร์ ปลื้มปรีดาพร Jan 2018

การออกแบบเรขศิลป์ที่แสดงถึงสุขภาพที่ดีโดยใช้ทฤษฏีหินสีบำบัด, นรินทร์ ปลื้มปรีดาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พุทธศาสนสุภาษิตคำว่า "อโรคา ปรมา ลาภา" ที่มีความหมายว่าการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐนั้นดูจะเห็นได้ชัดเจน เพราะว่าในปัจจุบันนี้คนเราเริ่มที่จะหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น ห่วงใยสุขภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากกระแสการออกกำลังกายและวีธีการรับประทานอาหารที่คำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายแล้วการบำบัดก็ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแลสุขภาพและมีมากมายหลายวิธี เช่น การนวดประเภทต่างๆ เป็นต้น จากการศึกษาวิจัยผู้วิจัยได้พบว่ามีวิธีการบำบัดซึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างมากช่วงหนึ่งคือการบำบัดด้วยหินสีที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการนวด การทำสมาธิหรือแม้กระทั่งแค่พกพาติดตัวไว้เป็นเครื่องประดับเฉยๆ ซึ่งผู้วิจัยจึงได้แนวคิดที่ว่าทฤษฎีหินสีบำบัดนั้นก็น่าจะสามารถที่จะแสดงถึงความเป็นสุขภาพที่ดีได้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยฉบับนี้ซึ่งได้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อหาองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่ได้จากทฤษฎีหินสีบำบัดเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบที่สามารถแสดงถึงสุขภาพที่ดีได้ โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีหินสีบำบัดมาหาความเชื่อมโยงกับองค์ประกอบทางเรขศิลป์โดยการสัมภาษณ์และสร้างแบบสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อหาคำตอบของงานวิจัย จากผลวิจัยพบว่าสามารถระบุองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่สำคัญได้แก่ ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กลุ่มบุคลิกภาพการสื่อสาร เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพประกอบ และโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม โดยแยกเป็นกลุ่มคำตอบที่สามารถแสดงถึงสุขภาพที่ดีตามรูปแบบต่างๆของการใช้การบำบัดด้วยทฤษฎีหินสีบำบัด


Third Language Acquisition Of Word Order In English Affirmative And Interrogative Structures By L1 Yi And L2 Mandarin Learners, Changyan Shi Jan 2018

Third Language Acquisition Of Word Order In English Affirmative And Interrogative Structures By L1 Yi And L2 Mandarin Learners, Changyan Shi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to test three hypotheses: 1) similarities and differences exist between the production and perception errors of word order in L3 English affirmative and interrogative structures by L1 Yi and L2 Mandarin learners; 2) positive and negative transfer from L1 Yi and L2 Mandarin to L3 English are evidenced in the production and perception of word order in affirmative and interrogative structures; 3) with respect to negative transfer, the production and perception of L3 English word order are negatively influenced by both L1 Yi and L2 Mandarin. However, the negative transfer is more influenced by L2 Mandarin learners …


The Relationship Between Attitudes Toward The Test Of English For International Communication (Toeic) And Scores Of Thai Test Takers, Danai Wongsa Jan 2018

The Relationship Between Attitudes Toward The Test Of English For International Communication (Toeic) And Scores Of Thai Test Takers, Danai Wongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Attitudes have played a pivotal role affecting not only English language learning but also language test performance. There have been some studies exhibiting that students' attitudes in English language learning were significantly related to their English test proficiency and their scores. The objectives of this study were to examine Thai test takers' attitudes toward the Test of English for International Communication (TOEIC) and explored the relationship between Thai test takers' attitudes toward the TOEIC and their scores. This study used quantitative and qualitative methods to collect and analyze the data under the research framework adapted from the ABC model of …


Improving Efl Undergraduate Students’ English Speaking Skill Through Dynamic Assessment, Prathana Siwathaworn Jan 2018

Improving Efl Undergraduate Students’ English Speaking Skill Through Dynamic Assessment, Prathana Siwathaworn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study focuses on the application of dynamic assessment (DA) for pedagogical purposes. It is aimed at investigating how the students' English speaking skill could be improved through DA, which is grounded in Vygotsky's zone of proximal development (ZPD). The objectives of this study were (1) to investigate to what extent DA assists EFL undergraduate students to improve their English speaking skill, (2) to explore the students' perceived self-efficacy in their English speaking skill through DA, and (3) to examine the students' attitudes toward DA. The participants of the study were 10 university students who studied in an EFL classroom …


Doctoral In Creative Music Research : The Musical Dialect In Modern Conventional Idiom Of The Piano Concertos, Paulo Ricardo Soares Zereu Jan 2018

Doctoral In Creative Music Research : The Musical Dialect In Modern Conventional Idiom Of The Piano Concertos, Paulo Ricardo Soares Zereu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore the musical dialect within the conventional idiom as well as the interpretational approach and analytical overview of the selected Piano Concertos. The three prominent and significant Piano Concertos were chosen as followed: 1) Concerto in E-flat major for Two Pianos and Orchestra, KV. 365 by Wolfgang Amadeus Mozart (1756-1791), 2) Concerto in C major for Piano, Violin, Cello, and Orchestra, Op.56 by Ludwig van Beethoven (1770-1827), and 3) Concerto for Two Pianos and Orchestra in D minor by Francis Poulenc (1899-1963). The research also presented the innovative revolutionary of the pianistic and interpretational challenges of …


Key Success Factors Of Starbucks Coffee In South Korea, Chandhit Sawangnate Jan 2018

Key Success Factors Of Starbucks Coffee In South Korea, Chandhit Sawangnate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Food and beverage is one of the industries that have been contributing economic growth toward South Korea economy for a decades; however, coffee market due to a relatively high competition and fierceness, coffee war, between international brands and local brands. This paper is trying to find the key success factors of Starbucks through various dimensions in South Korea market. This study is in order to find competitive advantages of Starbucks internationally and domestically. Observation is also held to find an insight data. The outcome shows that Korean coffee market has strength in it character conditions. The coffee quality and coffee …


Juche Realist Music : The Politicization Of Music In North Korea, Jungmin Heo Jan 2018

Juche Realist Music : The Politicization Of Music In North Korea, Jungmin Heo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In North Korea, music and songs have extensively been used as an effective political tool of state propaganda. Unlike previous research which overlooks the contents of the songs, this thesis examines how their lyrics reflect political ideologies and propaganda operation of North Korean regimes. Their lyrics are analyzed in light of the historical context they were written in and widely perceived. It aims at contributing to the knowledge of North Korean music and its relationship with the politics of the country. The study analyzes the lyrics of 100 North Korean songs from 4 different sources using qualitative contents analysis. The …


Korean Brand Ambassadors And Nationalism, Pacharawan Pathmanand Jan 2018

Korean Brand Ambassadors And Nationalism, Pacharawan Pathmanand

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study is to examine the expression of Nationalism that it is the main reason brands chosen the Korean Brand Ambassadors. The result of the study on the topic of Korean Brand Ambassadors and Korean nationalism explained that Korean domestic market needs a nationalist as a Brand Ambassadors to sell cultural products such as SoJu (Korean Beverage). Furthermore, in case of selling products in International market, being a nationalist is not the key for brands to have chosen the Brand Ambassador. However, if the Brand Ambassadors chose to represent himself or herself as a nationalist, they can …


The Creation Of A "Lanna Sense Of Place" Through Fine Arts In Northern Thailand : A Case Study Of Hotel Lobby Decorations In Chiang Mai And Chiang Rai, Muhammad Faizal Abdul Rani Jan 2018

The Creation Of A "Lanna Sense Of Place" Through Fine Arts In Northern Thailand : A Case Study Of Hotel Lobby Decorations In Chiang Mai And Chiang Rai, Muhammad Faizal Abdul Rani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation will observe and evaluate how the Northern region of Thailand had applied various cultural elements and beliefs in creating a "Sense of Lanna" to attract visitors. How these cultural elements had been applied by the various parties will demonstrate the manner of their commercialization - whether in a positive or negative way. The scope of this research is focused on seven 5-star hotels in Chiang Mai and Chiang Rai. This area was chosen because Chiang Mai is the most award-winning province in Thailand when it comes to tourism especially. This is in addition to the area having many …


Folklore Museums And Their Roles In Displaying And Preserving Communal Cultural Heritage : The Case Studies Of Yaowarat Chinatown Heritage Center, Bang Lamphu Museum And Bangkokian Museum, Xie Xiaoran Jan 2018

Folklore Museums And Their Roles In Displaying And Preserving Communal Cultural Heritage : The Case Studies Of Yaowarat Chinatown Heritage Center, Bang Lamphu Museum And Bangkokian Museum, Xie Xiaoran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Communal cultural heritage as the embodiment of cultural diversity of the nation, plays more significant roles in the contemporary context. Adopted from the definitions of tangible and intangible heritages and their displaying in communities, the idea of preserving communal cultural heritage has extended its instruments to various fields and different forms. Among them, local folklore museum plays irreplaceable roles in the displaying and maintaining the cultural identity of the local community. In this research, three folklore museums in Bangkok, Thailand are chosen as study cases to examine the roles that folklore museum plays in the process of displaying and preserving …


การขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา, นทีธร จุงเลียก Jan 2018

การขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา, นทีธร จุงเลียก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและกลวิธีการขับร้องลำตัดของคณะลำตัดพ่อผูก ศรีราชา ผลการศึกษาพบว่าคณะลำตัดพ่อผูกศรีราชา ก่อตั้งโดยนายผูก เอกพจน์ ใน พ.ศ.2486 แม่ประพิมพ์ เอกพจน์ เป็นบุตรของพ่อผูก สืบบทลำตัดแบบเก่าและดั้งเดิมตามที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ในการแสดงลำตัดนั้น ใช้รำมะนา 4 ลูก ฉิ่ง และ คนร้อง ซึ่งบทเพลงที่โดดเด่นที่พ่อผูกได้ประพันธ์ไว้คือ ลำตัด ก ไก่-ฮ นกฮูก จากการวิเคราะห์การขับร้องลำตัด ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก สามารถชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประพันธ์ทางร้องและกลวิธีการร้อง โดยนางประพิมพ์ เอกพจน์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากนายผูก เอกพจน์ ผู้เป็นบิดา พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 3 ช่วง คือช่วงเกริ่นนำ ช่วงเนื้อเพลง และช่วงท้าย โดยในช่วงเกริ่นนำ ใช้จังหวะอิสระ เริ่มเข้าจังหวะในช่วงเนื้อเพลงและช่วงท้าย กลวิธีที่ใช้ในการขับร้องทำนองลำตัดใช้กลุ่มเสียงเดียว การใช้ทางเอื้อน 2 เสียงโดยใช้เสียง 2 พยางค์ ติดกัน และใช้เสียง 3 พยางค์ การตกแต่งทำนองด้วยเสียงเอยต้นประโยค การใช้ลมหายใจตั้งแต่ 7-8 ห้อง และ แบ่งเป็น 4 ห้อง การใช้ลมหายใจ 3 ห้อง การเน้นเสียงในห้องที่ 3 และ 4 ที่ใช้สระเสียงยาว


การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี, นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร Jan 2018

การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี, นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติของคณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาการสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาบทบาทของคณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า คณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี มี 2 คณะ คือคณะดนตรีไทยจั่นประสิทธิ์ และคณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต ซึ่งทั้ง 2 คณะก่อตั้งขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 คณะจั่นประสิทธิ์ มีครูเล็กและครูปุ๊ย ทองเต็ม เป็นผู้ก่อตั้งต่อมาครูแสวง ปุยรักษา นักดนตรีไทยจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยมาจากสายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เข้ามาเป็นผู้ดูแลวง เนื่องจากครูแสวง ปุยรักษา มีฝีมือความสามารถและมีความรู้เรื่องเพลงเป็นอย่างดี ทำให้คณะดนตรีไทย จั่นประสิทธิ์ มีชื่อเสียงโดดเด่นทั้งในตำบลบ้านปึกและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ภายหลังจากนักดนตรีในยุคครูแสวง ปุยรักษา ถึงแก่กรรม คนในตระกูลส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพอื่น ๆ ทำให้ไม่มีการสืบทอดอาชีพนักปี่พาทย์ของคนในตระกูลอีก ปัจจุบันแม้มีคนในตระกูลคือครูละเอียด คชวัฒน์และครูมงคล คชวัฒน์ เป็นผู้สืบทอดดนตรีไทย แต่การประกอบอาชีพครูในสถาบันการศึกษาทำให้ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา คณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต เดิมชื่อคณะปี่พาทย์ครูองุ่น แสงจิต เนื่องจากมีครูองุ่น แสงจิต เป็นผู้ก่อตั้ง ปัจจุบันคณะจึงเปลี่ยนชื่อเป็นคณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต ตามชื่อผู้สืบทอด ความสามารถในการพัฒนาอาชีพตามความนิยมของคนในสังคมทั้งการสร้างวงปี่พาทย์มอญ วงแตรวง มีเครื่องไฟเพื่อสร้างสีสันในการบรรเลง อีกทั้งยังศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการการฟังดนตรีไทยจากคณะดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงทางวิทยุ และการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักดนตรีด้วยกัน ทำให้คณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต มีการพัฒนาจนเป็นแบบอย่างของวงดนตรีซึ่งมีชื่อเสียงในแถบจังหวัดชลบุรี ยังคงสืบทอดอาชีพดนตรีไทยและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพทั้งยังมีบทบาทในการสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา


ระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบละครชาตรีคณะสุดประเสริฐ ในชุมชนเกาะบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ, สุรศักดิ์ ปานลักษณ์ Jan 2018

ระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบละครชาตรีคณะสุดประเสริฐ ในชุมชนเกาะบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ, สุรศักดิ์ ปานลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบละครชาตรี คณะสุดประเสริฐ ในชุมชนเกาะบางปลา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการแสดงละครชาตรีของคณะสุดประเสริฐ ผลการวิจัยพบว่าละครชาตรีของคณะสุดประเสริฐ ได้รับการถ่ายทอดจากครูจิบ รุ่งไพโรจน์ เป็นการแสดงเพื่อแก้บน โดยจะใช้เวลาแสดง 1 วัน ลำดับการแสดงเริ่มจากการไหว้ครู ปี่พาทย์ทำเพลงโหมโรง ร้องเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และรำถวายมือ ทำการแสดงช่วงเช้า พักกลางวันเพื่อลาเครื่องสังเวย ทำการแสดงช่วงบ่ายจนจบเรื่อง ตามลำดับ เนื้อเรื่องที่ใช้ในการแสดงจะเลือกมาจากวรรณคดีไทย เรื่องที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สังข์ทองและแก้วหน้าม้า ใช้วงปี่พาทย์ไทยในการบรรเลง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบละครได้แก่เพลงหน้าพาทย์ใช้เมื่อตัวละครแสดงอากัปกิริยา เช่น เดินทาง ร้องไห้ แปลงกาย เป็นต้น และเพลงละครใช้รับร้องส่งร้องเมื่อตัวละครร้องเพลง นักแสดงเป็นผู้ร้องเพลงด้วยตัวเองโดยจะร้องเพลงขึ้นก่อนแล้วปี่พาทย์จึงบรรเลงรับร้อง เมื่อจบการแสดงจะร้องเพลงส่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์กลับสู่ที่ประทับ ปี่พาทย์บรรเลงเพลงรัวและกราวรำ ลำดับการบรรเลงและการแสดงปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ปรับปรุงตามความนิยมของผู้ชมมาโดยตลอด จึงทำให้ละครชาตรีคณะนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน


บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : ดอกไม้สีแดง, วิริทธิ์พล ปัญญาพฤกษ์ Jan 2018

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : ดอกไม้สีแดง, วิริทธิ์พล ปัญญาพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์ ดอกไม้สีแดง มีวัตถุประสงค์ในการประพันธ์ขึ้นเพื่อสร้างบทประพันธ์ที่มี เอกลักษณ์ เฉพาะตัว เพื่อส่งเสริมและสร้างจินตนาการผู้สนใจฟังดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย และ เพื่อสร้างผลงานที่มี สีสัน เทคนิค และลีลาผสมผสานวัฒนธรรมของตะวันตกและตะวันออก บทประพันธ์ดอกไม้สีแดง นี้ประพันธ์ ขึ้นโดยมีเนื้อหาบรรยายถึงไฟในทัศนะต่าง ๆ ซึ่งมีทัศนะหรือ มุมมองที่สามารถนำมาใช้เป็นปรัชญาในการ ดำรงชีวิตได้ ไฟนั้นถือเป็นตัวแทนของทั้งความดีและ ความชั่ว แต่ก็จะดับมอดลงหากไม่มีการเติมเชื้อไฟ ฉะนั้น เราจึงไม่ควรยึดติดอยู่กับไฟ หรือสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง บทประพันธ์นี้เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา โดยใช้ระบบอิงกุญแจเสียง มี การผสมผสานระหว่างสำเนียงดนตรีตะวันตกกับดนตรีตะวันออกโดยผู้วิจัยแบ่ง บทประพันธ์ ออกเป็น 4 ท่อนดังนี้ ดังนี้ ท่อนที่ 1 เป็นการบรรยายลักษณะการกำเนิดของไฟ ท่อนที่ 2 ไฟใน ฐานะผู้สร้างสรรค์ ท่อนที่ 3 คือไฟในฐานะผู้ทำลาย และท่อนที่ 4 คือการดับสูญของไฟ


บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : "ไตรลักษณ์" บทเพลงสำหรับออร์เคสตรา, ชินภัทร เจริญรัตน์ Jan 2018

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : "ไตรลักษณ์" บทเพลงสำหรับออร์เคสตรา, ชินภัทร เจริญรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่นำพุทธปรัชญาเข้ามาเชื่อมโยงกับบทประพันธ์เพลงร่วมสมัย ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของดนตรีประเภทนี้ และต้องการที่จะสร้างผลงานประเภทนี้ขึ้นมา และนำพุทธปรัชญาที่ชาวพุทธศาสนารู้จักเป็นอย่างดีคือ "ไตรลักษณ์" ไตรลักษณ์เหมือนเชือกที่มี 3 เกลียว หมายความว่า อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นที่เดียวกันคือ เมื่อมีอนิจจังหรือความไม่เที่ยงปรากฏขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ก็คือ เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์จึงมาจากอนิจจัง ส่วนอนัตตาหมายถึง ความไม่ใช่ตัวตนคือการบังคับบัญชาไม่ได้ บังคับให้ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อบังคับไม่ได้ก็เป็นทุกข์ ไตรลักษณ์นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่แล้ว ผู้วิจัยจึงเลือกไตรลักษณ์เป็นชื่อบทประพันธ์เพลงร่วมสมัยนี้ โดยมี 3 ท่อนที่บรรเลงต่อเนื่องกัน แต่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท่อนได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ตามลำดับ บทประพันธ์เพลงนี้เป็นบทประพันธ์เพลงสำหรับวงออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน บทประพันธ์เพลงนี้ได้แสดงเทคนิคการประพันธ์เพลงแบบสมัยใหม่และใช้เทคนิคสมัยใหม่ในการประพันธ์เพลง โดยผู้วิจัยพยายามนำมาผสมผสานได้อย่างลงตัวและอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย บทประพันธ์เพลง "ไตรลักษณ์" เป็นบทเพลงสำหรับออร์เคสตรา โดยมีความยาวประมาณ 12 นาที