Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art and Design

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2022

Articles 1 - 17 of 17

Full-Text Articles in Arts and Humanities

การออกแบบเรขศิลป์จากแนวคิดปรัชญาแมว, ภาพิมล หล่อตระกูล Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์จากแนวคิดปรัชญาแมว, ภาพิมล หล่อตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากแนวคิดปรัชญาแมว และศึกษาหากลยุทธ์ เพื่อเผยแพร่แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่ได้จากแนวคิดปรัชญาแมว ดําเนินวิธีการวิจัยโดย 1. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดปรัชญาแมว 2. วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ วิเคราะห์ร่วมกับวรรณกรรมและเพื่อระบุแนวทางที่เหมาะสม สำหรับการออกแบบกลยุทธ์ของกรณีศึกษา 3. สร้างแบบสอบถามจากสารที่ต้องการจะสื่อ และกลยุทธ์การใช้สื่อ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ และใช้การกรองด้วยคําสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค้นพบแนวทางและกลยุทธการออกแบบเรขศิลป์จากแนวความคิดปรัชญาแมว ได้แก่ การออกแบบอย่างละเอียดอ่อน การออกแบบอย่างเจริญสติ และ การออกแบบอย่างนอกขนบ 2. ค้นพบลักษณะต้นแบบบุคลิกทั้งหมด 5 แบบคือ แมวขี้ตกใจ เหมาะสมกับคำว่า นุ่มนวล สงบเสงี่ยม และ เงียบสงบ แมวนักกิจกรรม เหมาะสมกับคำว่า คล่องแคล่ว มีชีวิตชีวา และ เปิดเผย แมวจอมบงการ เหมาะสมกับคำว่า แรงกล้า ฟุ่มเฟือย และ เต็มไปด้วยกำลัง แมวตามใจฉัน เหมาะสมกับคำว่า มีการเคลื่อนไหว ไม่อ่อนน้อม และ อิสระ แมวเป็นมิตร เหมาะสมกับคำว่า เป็นมิตร น่าสัมผัส และ น่ารักใคร 3. แนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากแนวความคิดปรัชญาแมวสำหรับการออกแบบคู่มือการออกแบบเรขศิลป์ ดูเป็นมิตร, ดูสงบ สบาย, ดูเป็นธรรมชาติ ได้สารที่ต้องการจะสื่อคือ 'การทำแบรนด์กับอาจารย์เซ็นขนนุ่ม'


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ สำหรับกลุ่มซีเนียล เจเนอเรชั่น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี่ ไอเดนทิฟิเคชั่น, เทรคเกอร์ เอลเดอลี และการออกแบบฟังก์ชั่นนอลแฟชั่น, วรัญตรี ฉลาดสุนทรวาที Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ สำหรับกลุ่มซีเนียล เจเนอเรชั่น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี่ ไอเดนทิฟิเคชั่น, เทรคเกอร์ เอลเดอลี และการออกแบบฟังก์ชั่นนอลแฟชั่น, วรัญตรี ฉลาดสุนทรวาที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยการสร้างสรรค์สินค้านวัตกรรมเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ (Active Street wear) สำหรับกลุ่มซีเนียลเจเนอเรชั่น (Zennials Generation) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาแนวทางในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี ไอเด็นทิฟิเคชัน เทรคเกอร์ เอลเดอลี และหลักการออกแบบฟังก์ชันนอลแฟชั่น (2) หาแนวทางในการสร้างสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ สำหรับตลาดกลุ่มเป้าหมาย ซีเนียล เจเนอเรชัน โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งกรอบการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ข้อมูลด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี ไอเด็นทิฟิเคชัน เทรคเกอร์ เอลเดอลี และหลักการแนวคิดฟังก์ชันนอลแฟชั่นดีไซน์ ร่วมกับเครื่องแต่งกายแฟชั่น (2) ข้อมูลด้านตลาดสินค้าแฟชั่นประเภท แอกทีฟสตรีทแวร์ ประกอบ กลุ่มผู้บริโภค ซีเนียล เจเนอเรชัน (3) ข้อมูลด้านการออกแบบสร้างสรรค์การออกแบบสินค้าแฟชั่นแอกทีฟสตรีทแวร์ ร่วมกับแนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นจากแนวโน้มแฟชั่นฤดูร้อนปี 2022 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างคนไทยจำนวน 400 คน มีผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ตามกรอบการศึกษา พบว่า (1) รูปแบบเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับการประยุกต์เทคโนโลยีฯ นั้น คือลักษณะโครงร่างที่ไม่แนบเนื้อหรือเป็นทรงหลวม มีรายละเอียดจำเพาะที่มีกรอบพื้นที่กว้างโดยประมาณ 1 – 2 ตารางเซ็นติเมตร บริเวณที่เหมาะสมกับการฝังแผงวงจรหรือชิพ ได้แก่ ส่วนของบริเวณเครื่องแต่งกายที่เป็นแถบ เช่น ขอบชาย ส่วนสาบ หรือ กระเป๋าเสื้อ โดยการวัดแคลอรีในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายของเทรคเกอร์ เอลเดอลี จะเป็นจุดขายสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับกลุ่มสินค้าใหม่ (2) กลุ่มซีเนียล เจเนอเรชันในงานวิจัยของตราสินค้าใหม่ คือกลุ่มที่มีความชื่นชอบการใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ โดยมีราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและระดับชั้นของตราสินค้าอยู่ในระหว่างช่วงราคา 2,000 – 10,000 บาท แบ่งออกเป็นช่วงราคาของกลุ่มสินค้าเบสิกและกลุ่มสินค้าทำซ้ำจะอยู่ระหว่าง 2,000 – 5,000 บาท กลุ่มสินค้าแฟชั่นเหมาะสมในช่วงราคา 5,000 บาทขึ้นไป มีช่องทางการจัดจำหน่ายประกอบไปด้วยทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งตราสินค้าทอมมี ฮิลฟิงเกอร์ (Tommy Hilfiger) และตราสินค้าเวกิ้งบี (Wakingbee) …


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี, ธนกฤต ดิษยครินทร์ Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี, ธนกฤต ดิษยครินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี วิธีการดําเนินการวิจัยโดย 1.การรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้อมูลจังหวัดปราจีนบุรี และธุรกิจลานกางเต็นท์ เพื่อนําข้อมูลมาหาอัตลักษณ์ให้กับโครงการ 2.กําหนดกลุ่มเป้าหมายทางกายภาพ และจินตภาพโดยให้กลุ่มเป้าหมายทําแบบสอบถามและผู้วิจัยทําการสัมภาษณ์ 3.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สื่อของกลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์แนวทางการใช้สื่อ 4.หาข้อมูลคําสําคัญ วิเคราะห์หาสารที่ต้องการจะสื่อ บุคลิกภาพ อารมณ์และชื่อแบรนด์ 5.วิเคราะห์ข้อมูลเทรนด์การออกแบบ และให้ผู้เชี่ยวชาญทําการประเมินแนวทางการออกแบบที่เหมาะสม สรุปผลวิจัยพบว่า กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์สําหรับการออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี ได้สารที่ต้องการสื่อ คือ nature's symphony ส่วนบุคลิกภาพและอารมณ์ คือ Dynamic , Modern และ Calm แนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันและอัตลักษณ์ที่เหมาะสมและสามารถให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวได้


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์สินค้าโปรตีนจากแมลงสำหรับเจเนอเรชัน ซี, ธนชาติ ครองยุติ Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์สินค้าโปรตีนจากแมลงสำหรับเจเนอเรชัน ซี, ธนชาติ ครองยุติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์ สินค้าโปรตีนจากแมลงสำหรับกลุ่ม Generation Z เพื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่น่าดึงดูด รู้สึกอยากบริโภคและสร้างมุมมองเชิงบวกที่ดีต่อสินค้าโปรตีนจากแมลง วิธีการวิจัยแบบ Practise Base มีการดำเนินงานวิจัย 3 ขั้นตอนได้แก่ขั้นตอนแรกคือ การศึกษาข้อมูลและรวมรวบวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้องกับแมลงกินได้และสินค้าโปรตีนจากแมลง ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย Gen Z ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการออกแบบสื่อโฆษณาด้วยทฤษฎี Rhetoric In Advertising ในขั้นตอนต่อมา ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาสรุปเพื่อนำไปสร้างเครื่องมือการวิจัยชุดที่ 1 เพื่อสอบถาม ความคิดเห็นกับกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 19-22 ปี จากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม จำนวน 21 คนและสร้างรูปแบบแบรนด์ ธุรกิจสินค้าโปรตีนจากแมลงขึ้นเพื่อหาผลลัพธ์ด้านกลยุทธ์ ขั้นตอนสุดท้าย ผู้วิจัยได้สร้างผลงานตัวต้นแบบ(Prototype) สำหรับเครื่องมือวิจัยชุดที่ 2 นำไปสอบถามข้อคิดเห็นกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสรุปกลยุทธ์และสารที่ต้องการสื่อ(What to Communicate) สรุปผลตามวัตถุประสงค์ ของงานวิจัยพบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เลือกสารที่ต้องการจะสื่อคือ “ความมันที่ถูกอัดแน่น” โดยมีข้อมูลสนับสนุน คือแมลงเป็นแหล่งอาหารทางเลือกที่อุดมไปด้วยโปรตีนให้รสสัมผัสที่ มันเวลาเคี้ยวซึ่งอัดแน่นอยู่ภายในและวัยรุ่นก็เป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน ซึ่งมีบุคลิกภาพของการสื่อสารคือ กระตือรือร้น (Active), มีความร่าเริง(Cheerful) และดูกระฉับกระเฉง(Energetic) มีแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์(Packaging Design) โดยใช้ “Creative Storytelling” ในการสร้างภาพประกอบบนตัวบรรจุภัณฑ์สินค้า ผสานเรื่องราวแมลงเข้ากับ Life-Style ของกลุ่ม Gen Z และการออกแบบสื่อโฆษณาด้วยรูปแบบ​ “Simile”


การออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีด้านความรัก, กัลย์สุดา ปานพรม Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีด้านความรัก, กัลย์สุดา ปานพรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางทางการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีด้านความรัก และเพื่อศึกษาหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีด้านความรักสำหรับคู่มือการออกแบบเรขศิลป์ ดำเนินวิธีการวิจัยโดย 1. ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีด้านความรัก 2. วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ วิเคราะห์ร่วมกับวรรณกรรมเพื่อระบุกลยุทธ์และแนวทางการออกแบบสำหรับคู่มือการออกแบบเรขศิลป์ 3. สร้างแบบสอบถามจากสารที่ต้องการจะสื่อและกลยุทธ์การใช้สื่อโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์และใช้การกรองด้วยคำสำคัญ ผลวิจัยพบว่า 1. ค้นพบลักษณะความรักทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่ ความรักชอบพอ, ความรักหลงใหล, ความรักว่างเปล่า, ความรักโรแมนติก, ความรักเพื่อนคู่ชีวิต, ความรักโง่เขลา และความรักสมบูรณ์แบบ 2. ได้กลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีด้านความรักที่เหมาะสมสำหรับคู่มือการออกแบบเรขศิลป์ และรูปแบบความรักที่สอดคล้องกับสกุลเมฆ ดังนี้ ความรักชอบพอเหมาะสมกับความสบาย ๆ, อิสระ, ดูสดชื่น ความรักหลงใหลเหมาะสมกับความมีเสน่ห์, พึงพอใจ, ไร้เดียงสา ความรักว่างเปล่าเหมาะสมกับความงียบ, อนุรักษ์นิยม, มีรสขม ความรักโรแมนติกเหมาะสมกับการชวนฝัน, อ่อนหวาน, ความสนุก ความรักเพื่อนคู่ชีวิตเหมาะสมกับความใกล้ชิด, เป็นผู้ใหญ่, มั่นคง ความรักโง่เขลาเหมาะสมกับความไม่นิ่ง, อ่อนแอ, ซับซ้อน ความรักสมบูรณ์แบบเหมาะสมกับความเรียบง่าย, เด่นชัด, มีชีวิตชีวา 3. ได้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีด้านความรักและรูปแบบความรักที่สอดคล้องกับสกุลเมฆสำหรับคู่มือการออกแบบเรขศิลป์ มีบุคลิกภาพและอารมณ์คือ ดูเหมาะสมที่จะใช้งาน (PRACTICAL), ดูเรียบง่าย (SIMPLE), อิสระ ไร้กฎเกณฑ์ (FREE) ได้สารที่ต้องการจะสื่อคือ ปรากฏการณ์รัก (Love Phenomenon)


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษจากนวัตกรรมเส้นใยสาหร่ายในนากุ้ง สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิดซีโร่เวสท์, มงคล อิงคุทานนท์ Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษจากนวัตกรรมเส้นใยสาหร่ายในนากุ้ง สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิดซีโร่เวสท์, มงคล อิงคุทานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษ จากนวัตกรรมเส้นใยสาหร่ายในนากุ้ง สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิดซีโร่เวสท์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรสาหร่ายในนากุ้ง ให้เป็นนวัตกรรมวัสดุทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG การวิจัยในครั้งนี้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการวิจัยเชิงทดลอง และเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้อง คุณลักษณะ และคุณสมบัติของวัสดุ ขั้นตอนที่ 2 การทดลองการแปรรูป จากการศึกษาพบว่าสาหร่ายในนากุ้งเป็นวัชพืชตามธรรมชาติที่พบมากในเกษตรกรรมการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Microspora sp. มีเส้นสายไม่แตกแขนง เซลล์เรียงกันเป็นชั้นเดียว เซลล์มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกผนังเชลล์หนาแบ่งเป็นชั้นๆ และผนังตามยาวมีลักษณะเป็นตัว H ช้อนกัน มีคลอโรพสาสต์อยู่ข้างเซลล์รูปร่างคล้ายตาข่าย ด้วยลักษณะทางกายภาพของสาหร่ายในนากุ้งมีความเป็นเส้นใยจำนวนมากคล้ายเส้นผม เส้นใยมีความเหนียว เงา มีสีเขียวอ่อน และเข้ม เส้นใยมีความนุ่มใกล้เคียงกับขนสัตว์ ในการแปรรูปสาหร่ายในนากุ้งจำเป็นที่จะต้องล้างทำความสะอาด ตากให้แห้ง และตีเส้นใยให้ฟูเพื่อง่ายต่อการนำมาปั่น และทอผสมกับเส้นใยฝ้าย ด้วยการทดลองอัตราส่วนของเส้นใยสาหร่าย:เส้นใยฝ้าย 3 อัตราส่วน โดยอัตราส่วน 30:70 เส้นใยสามารถยึดเกาะกันได้ดีสิ่งทอที่ได้มีความแข็งแรง 50:50 เส้นใยสามารถยึดเกาะกันได้ปานกลางสิ่งทอที่ได้มีความแข็งแรงปานกลาง 70:30 เส้นใยสามารถยึดเกาะกันได้ค่อนข้างยากขาดง่าย สิ่งทอที่ได้มีความแข็งแรงข้อนข้างน้อย ซึ่งคุณสมบัติของแต่ละอัตราส่วนสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์ โดยแตกต่างตามความเหมาะสม เช่น 30:70 เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ 50:50 เหมาะสำหรับสินค้าไลฟ์สไตล์ 70:30 เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่ง สาหร่ายในนากุ้งจึงเป็นวัสดุทางเลือกที่สามารถมาใช้ในการผลิตเครื่องแต่งกายแฟชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่ทำให้เกิดความน่าสนใจ และความจำเพาะของผลิตภัณฑ์ โดยสิ่งทอที่ได้นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าจากสิ่งไร้มูลค่าทางการเกษตร แล้วยังเป็นการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้ง


การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม : ชุด “ความฝันที่เติมเต็ม”, เอกชัย วรรณแก้ว Jan 2022

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม : ชุด “ความฝันที่เติมเต็ม”, เอกชัย วรรณแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหวตั้งแต่กำเนิด จึงได้รับแรงบันดาลใจจากความทรงจำในอดีตจนถึงปัจจุบันของผู้วิจัยที่แสนเจ็บปวด โดยได้รับผลกระทบจาก แรงกดดันในตัวเอง และจากสังคมรอบข้าง ทำให้มีความต้องการที่จะสะท้อนความเป็นจริงของสังคม สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำ สิทธิคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส อันเนื่องมาจากปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การขาดโอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เป็นต้น จากผลกระทบดังกล่าว ทำให้ผู้พิการบางคนไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมเหมือนคนปกติ ถึงแม้ว่าผู้พิการจะมีความรู้ความสามารถแต่เข้าไม่ถึงโอกาสขั้นพื้นฐานก็ไม่สามารถที่จะได้ทำงานเหมือนคนปกติได้ โดยถ่ายทอดผลงานวิจัยผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) ที่มีรูปแบบการนำเสนอสาระหรือเรื่องราวในอดีต ที่มีผลต่อจิตใจของศิลปิน มักจะนำเสนอผลงานในด้านลบ เพื่อเป็นการสั่งสอนหรือเสียดสีสังคม เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านการรับรู้ด้วยจิตใจหรือความคิดฝัน มีมิติด้านกาลเวลาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาพบว่า ผลงานศิลปะที่ผู้วิจัยได้ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) ทำให้ผู้วิจัยมีการพัฒนาด้านความสามารถที่ใช้เพียงปาก คอ และเท้า ในการสร้างสรรค์งานศิลปะเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกอันเจ็บปวดจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างดี สะท้อนให้เห็นถึงความจริงของผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากจิตใจมาตลอดชีวิต สามารถเป็นกระบอกเสียงผ่านงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อให้สังคมได้เห็นค่าของผู้พิการ จนสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติระหว่างคนปกติกับผู้พิการได้ไม่มากก็น้อย ให้ผู้พิการได้ยืนอยู่ในสังคมเดียวกันอย่างเท่าเทียม และเป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างยั่งยืน


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี จากนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนด้วยกระบวนการย้อมสีพืชคำแสดร่วมสมัย สำหรับกลุ่มเจเนอเรชันกรีน ภายใต้แนวคิดคอนเชียสดีไซน์, กรกต พงศาโรจนวิทย์ Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี จากนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนด้วยกระบวนการย้อมสีพืชคำแสดร่วมสมัย สำหรับกลุ่มเจเนอเรชันกรีน ภายใต้แนวคิดคอนเชียสดีไซน์, กรกต พงศาโรจนวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี จากนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนด้วยกระบวนการย้อมสี พืชคำแสดร่วมสมัยสาหรับกลุ่มเจเนอเรชันกรีน ภายใต้แนวคิดคอนเชียสดีไซน์ เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางในการสร้างเฉดสีส้มหลากหลายเฉดจากพืชวัฒนธรรมคำแสด โดยองค์ความรู้การย้อมสีธรรมชาติของชุมชนไทลื้อบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน และเพื่อหาแนวทางในการสร้างตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี จากนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนด้วยกระบวนการย้อมพืชคำแสดร่วมสมัย สําหรับกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นกรีนในกรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิดคอนเชียสดีไซน์ กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษากระแสความนิยมของสีส้มจากนักออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อหาขอบเขตระดับสีส้มที่กำลังเป็นที่นิยม พร้อมทั้งศึกษากระบวนการย้อมสีส้มจากพืชคำแสดซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย ทดลองย้อมด้วยนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของสีส้มในสิ่งทอ และผู้วิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในแฟชั่นเพื่อความยั่งยืนร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอ พบกว่ากลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่นกรีน คือกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสนใจในสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสนใจและรูปแบบเครื่องแต่งกายผ่านการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจในแนวคิดคอนเชียสดีไซน์ที่มีความโดดเด่นด้านคุณค่าของวัสดุ ความร่วมสมัย สวยงามและกลมกลืนกับการดำเนินชีวิตในเมืองหลวง โดยผลการวิจัยพบว่าวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนย้อมสีพืชคำแสด สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่นกรีนและสามารถพัฒนารูปแบบแนวคิดคอนเชียสดีไซน์ ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและมีความร่วมสมัย เป็นแนวทางการย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสดอย่างยั่งยืน


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน, ขวัญชัย บุญสม Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน, ขวัญชัย บุญสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากกระแสความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและการบริโภคปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสิ่งทอทางเลือกจากเส้นใยธรรมชาติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่กล่าวได้ว่ายังมีเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำมาพัฒนาต่อในบริบทของการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย งานวิจัยเรื่องนวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการทดลองสร้างสรรค์ผลงานวิธีแบบหัตถกรรม จากการศึกษาพบว่าในกระบวนการทดลองทอเส้นใยเฮมพ์แบบหัตถกรรมทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่นด้วยกี่ทอมือแบบ แบบ 2 ตะกอ แบบลายขัดมาตรฐาน และ 4 ตะกอ แบบลายทอมาตรฐาน จะได้สิ่งทอที่มีลักษณะที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ แนวทางของอัตราส่วนของเส้นใยชนิดอื่นที่ทอร่วม ส่งผลให้มีผ้ามีน้ำหนัก ความหนาบางที่เหมาะแก่การทำเครื่องแต่งกายที่มีโครงสร้างอยู่ทรง มีความแข็งแรง และคงทนมากขึ้น ในด้านสีเป็นสัจจะวัสดุ คือ สีธรรมชาติของตัววัตถุดิบที่เกิดจากการผสมเส้นใยชนิดอื่นทำให้เกิดลวดลายขึ้น โดยลดขั้นตอนการฟอกย้อม ลดการใช้น้ำลงจากกระบวนการย้อมสี โดยสามารถนำสิ่งทอจากเฮมพ์ที่พัฒนาแล้วไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นที่มีแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน ผสมผสานงานหัตถกรรมร่วมสมัย (Contemporary Craft) ในรูปแบบสไตล์โมเดิร์นผสมกับมินิมอลลิสต์ (Modern Minimalist) เน้นการออกแบบที่มีความทันสมัย มีรูปแบบเรียบง่าย ทั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่เส้นใยเฮมพ์หัตถกรรมท้องถิ่นจะได้มีการพัฒนาและแพร่หลายให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจกับกระแสรักษ์โลกและการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีปาร์ตี้แวร์สำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นเอเชีย จากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้ง, ณัฏฐ์กฤตา บัวคล้ายรัตนชัย Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีปาร์ตี้แวร์สำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นเอเชีย จากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้ง, ณัฏฐ์กฤตา บัวคล้ายรัตนชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีปาร์ตี้แวร์สําหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นเอเชีย จากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้ง มุ่งศึกษาทุนวัฒนธรรมด้านสิ่งทอและศิลปะในการสร้างลวดลายบนผืนผ้าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการสร้างตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ (Partywear) สำหรับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชีย (Generation Asia) จากการออกแบบแนวคิดรูปทรงเรขาคณิต (Geometric Art) กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ และการออกแบบผลงานสร้างสรรค์ ผลจากการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชียเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีความสำคัญในตลาดสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสินค้าที่เกี่ยวข้องและสะท้อนอัตลักษณ์พื้นถิ่นในรูปแบบที่ทันสมัยตามกระแสนิยม (2) กลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชียให้ความสนใจสินค้าจากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้ง โดยใช้แนวคิดการออกแบบเรขาคณิตซึ่งเป็นการลดทอนรูปแบบลวดลายที่มีมาในอดีต และพัฒนาให้เข้ากันกับรูปแบบเสื้อผ้าในยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การพัฒนาลวดลายจากแนวคิดเรขาคณิตนั้น ผู้วิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาลวดลายใหม่เพื่อใช้สำหรับเทคนิคการผลิตผ้าด้วยกระบวนการปั๊มเทียน ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชียเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวายและให้ความใส่ใจในทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญว่ากลุ่มเป้าหมายเจอเนอเรชั่นเอเชีย ให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนารูปแบบทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้มีความทันสมัย


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์สำหรับกลุ่มเฟมบอย จากสีเกล็ดประกายมุกจากเปลือกเพอร์นา วิริดิส ด้วยแนวคิดสุนทรียศาสตร์แคมป์, ศุภากร มั่งคั่ง Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์สำหรับกลุ่มเฟมบอย จากสีเกล็ดประกายมุกจากเปลือกเพอร์นา วิริดิส ด้วยแนวคิดสุนทรียศาสตร์แคมป์, ศุภากร มั่งคั่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์สำหรับกลุ่มเฟมบอยจากสีเกล็ดประกายมุกจากเปลือกเพอร์นา วิริดิส ด้วยแนวคิดสุนทรียศาสตร์แคมป์ เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายในโอกาสงานสังสรรค์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ร่วมกับการใช้แนวคิดสุนทรียศาสตร์แคมป์ ท่ามกลางกระแสนิยมแฟชั่นไร้เพศในปัจจุบัน รวมถึงการหาแนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นที่ตอบรับแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปขยะจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย ในรูปแบบการพัฒนาต่อยอดเกล็ดประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่สู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ร่วมกับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์คอลเลคชันเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเฟมบอยผ่านการใช้เครื่องมือแบบสอบถาม จำนวน 50 คน พบว่า เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงวัย 24 – 29 ปี หรือกลุ่มเซนเนียล ผู้มีอัตลักษณ์ทางเพศจำเพาะ มีความเป็นตัวของตัวเอง และต้องการแสดงจุดยืนทางสังคมอย่างชัดเจนผ่านการแสดงออกทางการแต่งกายที่ท้าทายขนบสังคม ให้ความสนใจในการเข้าสังคมผ่านรูปแบบงานสังสรรค์ และให้ความสำคัญในการเลือกสวมใส่เครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ที่มีประกายระยิบระยับ ร่วมกับการใช้รายละเอียดตกแต่งบนเสื้อผ้าที่เสริมบุคลิกภาพของตน นอกจากนี้ยังให้ความสนใจในแนวคิดสุนทรียศาสตร์แคมป์ในมิติความเริงรมย์ อันเป็นหนึ่งในแนวทางที่เผยถึงความงดงามอีกด้านที่ตรงกันข้ามกับค่านิยมทางสังคม กล่าวถึงความงดงามในรูปแบบภาพอนาจาร ความพิศวง และลื่นไหลในเพศภาวะ ผลการวิจัยพบว่า เกล็ดประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่นั้น สามารถใช้งานร่วมกับเทคนิคการทำบล็อกสกรีน เพื่อสร้างลวดลายบนเสื้อผ้าได้ดี เหมาะสำหรับโอกาสงานสังสรรค์เพราะให้ประกายแสงที่โดดเด่น และติดทน มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับการสกรีนสีกากเพชรเคมีทั่วไป จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกใหม่ของการสกรีนสีกากเพชรบนเสื้อผ้าได้ ก่อให้เกิดแนวทางใหม่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นในรูปแบบของเกล็ดประกายมุกที่ได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางธรรมชาติ ปลอดสารไมกา และลดต้นทุนการนำเข้ากากเพชรเคมีจากต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มแนวทางในการลดปัญหาขยะจากภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลประเทศไทยได้เช่นกัน


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัสดุห่อของขวัญ โดยใช้แนวคิดการสื่อความหมายของภาษาดอกไม้ (ฟลอริโอกราฟี), เทพธิดา เทพคุ้มกัน Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัสดุห่อของขวัญ โดยใช้แนวคิดการสื่อความหมายของภาษาดอกไม้ (ฟลอริโอกราฟี), เทพธิดา เทพคุ้มกัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัสดุห่อของขวัญโดยใช้แนวคิดการสื่อความหมายของภาษาดอกไม้ (ฟลอริโอกราฟี) มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ โดยใช้แนวคิดการสื่อความหมายของภาษาดอกไม้ (ฟลอริโอกราฟี) ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย โดยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลภาษาดอกไม้และธุรกิจวัสดุห่อของขวัญจากบทความ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม งานวิจัย และสื่ออินเทอร์เน็ต โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ ทำให้ได้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการออกแบบต่อไป สรุปผลวิจัยพบว่า 1.) สารที่ต้องการจะสื่อ คือ Hidden Flower (ความลับที่ซ่อนอยู่ในดอกไม้) และบุคลิกภาพของงานที่เหมาะสม คือ ดึงดูดใจ ขี้เล่น และมีเสน่ห์ 2.)แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสม ใช้การวาดแบบ Hand drawn, ตัวอักษรใช้แบบ Calligraphy Mix และใช้โทนสีจากบุคลิกภาพของงานคือ สีม่วง สีชมพู และสีเหลือง


การออกแบบแบรนด์สำหรับแพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับกลุ่มเอฟไออาร์อี มูฟเมนต์, คมเดช อินทรครรชิต Jan 2022

การออกแบบแบรนด์สำหรับแพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับกลุ่มเอฟไออาร์อี มูฟเมนต์, คมเดช อินทรครรชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยออกแบบแบรนด์สำหรับแพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับกลุ่มเอฟไออาร์อีมูฟเมนต์มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์แพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับกลุ่มเอฟไออาร์อี มูฟเมนต์ ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย โดยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลและกลุ่มเอฟไออาร์อี มูฟเมนต์ จากบทความดิจิทัลแพลตฟอร์มและสื่ออินเตอร์เน็ตโดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาสร้างธุรกิจแบรนด์ต้นแบบ เพื่อนำไปสร้างเครื่องการวิจัยในรูปแบบการทํางานสร้างสรรค์โดยให้ การปฏิบัติเป็นเครื่องมือนําไปสู่ความรู้ใหม่จากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเอฟไออาร์อี มูฟเมนต์ สรุปผลวิจัยพบว่าแนวโน้มการออกแบบ Minimal Neumorphism สามารถนำไปสร้างสรรค์แบรนด์สำหรับแพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับกลุ่มเอฟไออาร์อี มูฟเมนต์ รู้สึกสนใจและประทับใจในงานออกแบบเรขศิลป์ โดยใช้สารที่ต้องการจะสื่อคือ Safe Heaven และบุคคลภาพของงานที่เหมาะสมคือ น่าเชื่อถือ การเจริญเติบโต ความมั่นคงผนวกกับเทคนิคการออกแบบการปั๊มนูนและจมทำให้เกิดแพลตฟอร์มการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินสำหรับสตรี, นริศรา เกียรติบุตร Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินสำหรับสตรี, นริศรา เกียรติบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยการออกแบบเรขศิลป์เพื่อเครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินสำหรับสตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์เครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินที่เหมาะสมสำหรับสตรี ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานวิจัย โดยการ 1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินและกลุ่มเป้าหมายสตรีจากวรรณกรรม บทความ งานวิจัย สื่อออนไลน์ 2. โดยนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาวิเคราะห์เพื่อทำแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกลุ่ม 3. จากนั้นจึงได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ เพื่อได้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการออกแบบดังต่อไปนี้ สรุปผลวิจัยพบว่า 1.)สารที่ต้องการจะสื่อ คือ ปลดล็อคอิสระทางอารมณ์ บุคลิกภาพของงานที่เหมาะสม คือ HEALTHY (ถูกหลักอนามัย ดูสุขภาพดี) , CHIC (เก๋ เท่ ทันสมัยแบบผู้ดี) , PEACEFUL (สงบ สบาย) 2.) แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสม คือ การออกแบบอัตลักษณ์แบบ Typography With a Twist, ตัวอักษรแบบ SANS SERIF โทนสีบุคลิกภาพแบรนด์ ส้ม ฟ้า


การออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีกลไกการป้องกันตัว, รุจิกร รักพนาสุวรรณ Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีกลไกการป้องกันตัว, รุจิกร รักพนาสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สําหรับไลฟ์สไตล์แบรนด์ เพื่อค้นหากลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมสำหรับสินค้าไลฟ์สไตล์แบรนด์โดยใช้แนวคิดกลไกการป้องกัน (Defense Mechanism) ขั้นตอนและการวิธีการวิจัยคือศึกษาและรวบรวมข้อมูลทฤษฏีกลไกป้องกัน (Defense Mechanism) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เพื่อตีความหมายของกลไกแต่ละแบบเป็นกลุ่มคํา จากนั้นได้ นําข้อมูลที่ได้มาทําแบบสอบถามเรื่องความสอดคล้องในการให้ความหมายของคำและทําการวิเคราะห์แนวโน้มในการออกแบบเรขศิลป์ปี2564 โดยใช้ผลงานที่ได้รางวัลจากงานออกแบบตัวอักษร (Typography)งานออกแบบภาพประกอบ (illustration trends) งานออกแบบภาพเคลื่อนไหว (Motion graphic) และสร้างชุดแบบสอบถามหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์จากกลไกการป้องกัน (Defense Mechanism) จากเทรนด์การออกแบบเป็น​ลำดับต่อมา สรุปผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มในการออกแบบจากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางการออกแบบภาพประกอบคือ character design และแนวทางการออกแบบ illustration เทรนด์โดยให้การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกราฟิกดีไซน์และกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ความหมายกลไกการป้องกันตัวให้การตัดสินเรื่องการสื่อสารของเทรนด์ได้แนวทางการออกแบบ maximalism style graphic , motion graphic และKinetic typography


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเรือสำราญเส้นทางสายสุขภาพในแม่น้ำเจ้าพระยา, สุพัชชา วิริยะญาณ Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเรือสำราญเส้นทางสายสุขภาพในแม่น้ำเจ้าพระยา, สุพัชชา วิริยะญาณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังจากที่ทั่วโลกได้เผชิญกับวิกฤตการณ์ของโคโรน่าไวรัส 19 ทําให้เทรนด์ท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ทั้งในประเทศและต่างประเทศก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น แม้ว่าคนกรุงเทพมหานครจะชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงพักผ่อน แต่การเดินทางต่างๆนั้นต้องเสียเวลาบนท้องถนน จึงต้องมีการเผื่อเวลารวมไปถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนในจังหวัดใกล้เคียง ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นโอกาสที่จะออกแบบเรขศิลป์เพื่อเรือสำราญเส้นทางสายสุขภาพในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อหากลยุทย์และแนวทางที่เหมาะสม วิธีการดําเนินการวิจัยโดย 1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายและการออกแบบเรขศิลป์ 2. สัมภาษณ์ความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย 3. วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายและหลักการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสม สรุปผลวิจัยพบว่า 1. กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อเรือสำราญเส้นทางสายสุขภาพในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้สารที่ต้องการสื่อ คือ Live your wellness life ส่วนบุคลิกภาพและอารมณ์ คือ Clear, Elegant 2. แนวทางในการออกแบบใช้องค์ประกอบจากสายน้ำที่เป็นเรื่องราวสำคัญในเส้นทางการล่องเรือและสถานที่สำคัญต่างๆตามเส้นทางมาทำเป็น Pattern และมีการออกแบบภายนอกและภายในตัวเรือสำราญ Environmental Graphic Design


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายลำลองสำหรับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันภายใต้แนวคิดความยั่งยืนแบบเอมทิเนส, ธัญชนิต นฤปจาตุรงค์พร Jan 2022

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายลำลองสำหรับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันภายใต้แนวคิดความยั่งยืนแบบเอมทิเนส, ธัญชนิต นฤปจาตุรงค์พร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาทางด้านกายภาพของเด็กส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปแบบเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กด้วยนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเองจากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 71 คน ข้อมูลการแต่งกายของกลุ่มผู้บริโภคด้วยเทคนิค Paper doll data set เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลรูปภาพและวิเคราะห์องค์ประกอบการแต่งกายที่ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ ทดลองสร้างเทคนิค รายละเอียดตกแต่งภายใต้แนวคิดการออกแบบที่สามารถขยายได้ จากการศึกษาพบว่าในการออกแบบคอลเลกชันเครื่องแต่งกายกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันต้องคำนึงถึงรูปแบบการแต่งกายและความต้องการของกลุ่มมิลเลนเนียลส์เจเนอเรชัน ผู้ที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อเครื่องแต่งกายให้กับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชัน โดยมีองค์ประกอบการตัดสินใจซื้อคือรูปแบบของการออกแบบดังนี้ 1) รูปแบบเครื่องแต่งกาย นิยมรูปแบบเรียบง่าย หรือแบบมินิมอล และรูปแบบสตรีท 2) รูปแบบโครงร่างเงาของเครื่องแต่งกาย นิยมรูปแบบทรงตรง หรือ I-Line และรูปแบบทรงเอ หรือ A-Line 3) รูปแบบสีของเครื่องแต่งกาย นิยมสีพาสเทล และสีสดใส 4) รูปแบบของการออกแบบเครื่องแต่งกายด้านการใช้สอยที่ได้รับความสนใจคือรูปแบบการปรับขยายตามสัดส่วนของร่างกาย รูปแบบการปรับเปลี่ยนได้ และรูปแบบการถอดประกอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ตามสัดส่วนของร่างกาย จากการทดลองสร้างสรรค์เทคนิครายละเอียดตกแต่งพบว่าการถัก ด้วยรูปแบบ Accordion Pleat มีการยืด หด ขยายได้ดีที่สุด ประกอบกับการเลือกใช้วัสดุ Eco Vero ที่ไม่ผสมกับวัสดุอื่นในการถัก ส่งผลให้มีผิวสัมผัสที่นิ่ม นุ่ม น้ำหนักเบา เนื้อผ้ามีความเย็นสบาย อีกทั้งขนาดเส้นด้ายที่เล็กและไม่ฟูเป็นขุยง่าย เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กที่สามารถขยายได้