Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Architecture

Application Of Hazus-Mh Flood Model In Developing Countries: The Case Of Piura, Peru, Wan Chantavilasvong, Leo Guerrero Jun 2019

Application Of Hazus-Mh Flood Model In Developing Countries: The Case Of Piura, Peru, Wan Chantavilasvong, Leo Guerrero

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This research looks at the U.S.'s HAZUS-MH Flood Model and adapts some of its methodologies to Piura, Peru, as an example of many regions around the world with limited technical and capital capacity to estimate inundation risks. Thus, this research proposes a methodology for accessible and achievable flood risk estimation which takes into account limited available data. The proposed methodology will produce maps of potential inundation areas and monetized damage values from flood scenarios. These outputs can further help local authorities design, decide, and prepare their risk mitigation and adaptation plans for the future.


Transformation Of Housing In Low-Income Settlement: A Study Of Domestic Spaces In Ershad Nagar Resettlement Camp, Masud Ur Rashid Jun 2019

Transformation Of Housing In Low-Income Settlement: A Study Of Domestic Spaces In Ershad Nagar Resettlement Camp, Masud Ur Rashid

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Housing transformation is a major strategy among low-income households in formal and informal settlements. Domestic spaces are produced for social unity. This study illustrates the analysis ofdomestic spaces in a low-income settlement and their impact on the inhabitants' ways of life. The factors that affect the physical organization of spaces and its quality are evaluated with respect to the survival strategy of the low-income dwellers. The space organization of the dwelling units illustrates different structures and forms that may not fit the conventional understanding of modern urban housing. The space organization of a dwelling reflects the user's needs and space …


Rationalizing Public Transport System Of Dhaka City: Proposal Of Creating A Multimodal Hierarchical Transport Network To Reduce Traffic Congestion, Maher Niger Jun 2019

Rationalizing Public Transport System Of Dhaka City: Proposal Of Creating A Multimodal Hierarchical Transport Network To Reduce Traffic Congestion, Maher Niger

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

The concept of rationalization can be defined as a structured process to increase effectiveness througha maximize use of existing resources. Rationalization in terms of road infrastructure or systems can be achieved in various ways; establishing hierarchy of routes, optimize bus-stop points with density distribution changes, proper integration of motorized and non-motorized transport and providing policy framework. In the highly densely populated city of Dhaka, rationalizing public transport is one way to minimize the mismatch between demand and supply.This paper is concerned with the following issues: providing a general description of the city transport system, identifying problems and demands analysis in …


Anti-Democratic Spaces And Impoverishment: Role Of Roads In Low-Income Residential Areas, Allison John, Mabel Allison, Dennis Ejike Amadi, Crispin Allison Jun 2019

Anti-Democratic Spaces And Impoverishment: Role Of Roads In Low-Income Residential Areas, Allison John, Mabel Allison, Dennis Ejike Amadi, Crispin Allison

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This article identifies the low-income group as eco-friendly in terms of their favoured transit systems. Despite the group's eco-friendly and sustainable attributes, they suffer the most in their use of urban spaces, in low-cost housings and in transportation planning, in particular the roads. There is corruption among others who push for road dominance in the infrastructure. There is a call for action in developing the following: greater transparency, democratic approaches, and compact developments with a rich juxtaposition of greenery enhancing pedestrian corridors. Community spaces connecting working areas with the Central Business Districts (CBD) and high densities residencies to be developed …


Effects Of Growth On Urban Morphology And Land Use Pattern In Mymensingh: A Historic Town Of Bangladesh, Naimul Aziz, Farida Nilufar Jun 2019

Effects Of Growth On Urban Morphology And Land Use Pattern In Mymensingh: A Historic Town Of Bangladesh, Naimul Aziz, Farida Nilufar

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This study explores the effects of growth on the urban morphology and the land use pattern of a historic town Mymensingh, by analyzing the morphological transformation through Space Syntax along with the changes of land-use pattern. Mymensingh is one of the oldest and historic towns of Bangladesh that lies along the river Brahmaputra. This town was developed as an urban conglomeration during the period of the British colonists more than two hundred years ago. Through the juxtaposition of different establishments by the British colonists, local land-lords and local inhabitants at different time periods, a unique type of morphological pattern was …


Transformation Of Cultural Landscape Through Resilience Lens: A Case Study Of Mae Kampong Village, Chiang Mai, Thailand, Teranetr Tienthavorn Jun 2019

Transformation Of Cultural Landscape Through Resilience Lens: A Case Study Of Mae Kampong Village, Chiang Mai, Thailand, Teranetr Tienthavorn

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This study aims to understand the dynamics of the Mae Kampong's cultural landscape through two intervening approaches. The study includes the cultural landscape and the community resilience. Both are examined to determine the transformations. An analysis was made of capital sources and management of resources. The methodology includes literary reviews, site observations, and interviews. The findings illustrate three periods; resilience, adaptation, and transformation. In the last phase, the community utilized their opportunities to transform into entrepreneurs. New activities emerged that included: rental houses, cafes, innovative mixed-use spaces and artisan-based shops located within the living museum sites. Sources of capital and …


A Proxemic Study Of Waterfront Shophouses At The Hua Takhe Market, Bangkok, Thailand, Waricha Wongphyat Jun 2019

A Proxemic Study Of Waterfront Shophouses At The Hua Takhe Market, Bangkok, Thailand, Waricha Wongphyat

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Given that a physical environment is a manifestation of its socio-cultural context, this paper seeks to examine the development of the Hua Takhe settlement, the physical components of the community, the socio-spatial interconnection, and the spatial essences of the waterfront shophouses in relation to the ownership patterns. Based on field surveys, oral histories, and observations, the research employs Hall's theory of space to extricate the anthropological aspects of the case studies. It is noted that different types of ownership, i.e. inherited and long-term rental, affect the physical and spatial transformations as well as the social proxemics of the shophouses. This …


Serial Cultural Heritage: Concept, Applications, Categorization And Its Roles In Present Day Contexts, Saowalux Poshyanandana Jun 2019

Serial Cultural Heritage: Concept, Applications, Categorization And Its Roles In Present Day Contexts, Saowalux Poshyanandana

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Serial cultural heritage is a category of cultural heritage that is characterized by its formation of several cultural heritage sites which have shared meaning and values. The first recognition of serial cultural heritage was part of the World Heritage Convention and its subsequent Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention, 1980. Since that time, cultural heritage series have been nominated and inscribed as World Heritage Sites continuously.In general context, serial cultural heritage has been known and remembered since ancient times. Seven Wonders of the World is an example, although they are not called 'serial cultural heritage'. Apart …


สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี Jan 2019

สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพกายภาพของโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก โดยมีกระบวนการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลในผังสถาปัตยกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่กรณีศึกษา สำรวจ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้พื้นที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และอภิปราย ผลการศึกษาพบว่า ในปีพ.ศ. 2561 โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ และโรงพยาบาลเชษฐาธิราช มีสภาพอาคารส่วนใหญ่ก่อสร้างมานานประมาณ 20 ปีขึ้นไป มีการออกแบบให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีอาคารในยุคนั้น ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามสภาพมาเป็นระยะ ๆ และอยู่ในระหว่างการวางแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในพื้นที่โรงพยาบาลเดิม เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่วนโรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก อาคารที่ใช้งานอยู่ก่อสร้างมาได้ประมาณ 10 ปี มีการออกแบบอาคารโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ยังไม่มีแผนในการปรับปรุงอาคาร และแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงสรุปได้ว่า สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว ขนาดใหญ่ 3 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช อยู่ระหว่างการพัฒนาก่อสร้างอาคาร ที่ทันสมัยมากขึ้น ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็ก 2แห่ง ได้แกโรงพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพที่ตอบสนองบริการได้


ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาอาคารสำนักงานเดิมให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED O+M V.4.1 จะต้องมีการศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาคารสำนักงานโดยรวมก่อน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล หาจุดบกพร่อง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินจริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงอาคารสำนักงานเก่าตามมาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 และศึกษามาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 เพื่อนำมาปรับใช้กับอาคารสำนักงานเก่า ผลการศึกษาพบว่า อาคารสำนักงานที่เปิดใช้งานก่อนปี พ.ศ.2540 ที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกมาจำนวน 21 อาคาร มีลักษณะเด่นโดยรวมคือ เป็นอาคารที่สูงเกิน 100 เมตรขึ้นไป มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 80,000 - 100,000 ตารางเมตร จำนวนชั้นอย่างน้อย 20 ชั้น ภายในตัวอาคารจะมีร้านค้าหรือร้านอาหาร เปลือกอาคารมักเลือกใช้กระจกสะท้อนแสง ผนังอาคารส่วนทึบกรุหินแกรนิต หรือปิดผิวด้วยอลูมิเนียมคอมโพสิต ระบบปรับอากาศเลือกใช้ระบบ Water Cooled Package ด้วยลักษณะร่วมที่เด่นชัดดังกล่าวจึงได้เลือกอาคารซันทาวเวอร์สมาเป็นอาคารกรณีศึกษา ผลการประเมินก่อนการปรับปรุงอาคารได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 74/100 คะแนน ซึ่งจะได้รับการรับรองในระดับ GOLD แสดงให้เห็นว่าถึงแม้อาคารจะไม่มีการปรับปรุง แต่ถ้าหากอาคารมีการบริหารจัดการที่ดีพอ ดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอก็สามารถได้รับการรับรองเกณฑ์ LEED O+M V.4.1 ในระดับ GOLD ได้ ดังนั้น การปรับปรุงเพื่อให้ได้การรับรองในระดับ PLATINUM จึงมีความเป็นไปได้เป็นทางเลือกที่น่าจะทำ หลังการปรับปรุงในระดับ PLATINUM อาคารซันทาวเวอร์สได้คะแนนทั้งสิ้น 81/100 คะแนน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงทั้งสิ้น 12,309,824.00 บาท คิดเป็น 100.11 บาท/ตร.ม. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (เปลี่ยนหลอดไฟ, ปรับปรุงหอทำความเย็น) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้จริง แต่จะไม่ได้คะแนน LEED เพิ่ม เนื่องจากส่วนที่ปรับปรุงเป็นสัดส่วนการใช้พลังงานที่น้อยมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ดังนั้น การปรับปรุงอาคารเพื่อทำคะแนนในหัวข้อคะแนน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการทำคะแนนในข้อประสิทธิภาพ


สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสำหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ, ช่อเพชร พานระลึก Jan 2019

สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสำหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ, ช่อเพชร พานระลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมการทำนายความรู้สึกเชิงความร้อนส่วนใหญ่จะพัฒนาเพื่อใช้กับคนทั่วไป แต่ไม่มีสมการใดที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีสมการทำนายค่าความรู้สึกเชิงความร้อน (Thermal Sensation Vote, TSV) สำหรับผู้สูงอายุไทยเพื่อใช้งานในศูนย์ผู้สูงอายุของรัฐบาลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเชิงอุณหภาพในอาคารให้น่าสบายและประหยัดพลังงาน ซึ่งงานวิจัยได้ดำเนินการในตัวเมืองพิษณุโลกในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยใช้การศึกษาทั้งภาคสนามและห้องปฏิบัติการ ในภาคสนามได้เก็บข้อมูลจากศูนย์ผู้สูงอายุ 3 แห่ง ในขณะเดียวกันก็ได้นำผู้สูงอายุผลัดเปลี่ยนกันเข้าทดสอบในสภาพแวดล้อมเชิงอุณหภาพที่มีการปรับได้ 144 ลักษณะในห้องปฏิบัติการ โดยให้ผู้สูงอายุได้สวมใส่เสื้อผ้าตามปกติ (ในฤดูหนาวมีค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าที่สวมใส่ที่ 0.64 clo ในฤดูร้อนที่ 0.50 clo) และทำกิจกรรมที่มีค่า 65-70 W / m2 การเก็บข้อมูลได้ใช้ระยะเวลา 7 เดือน ทำให้ได้ข้อมูลกลับมาจากศูนย์ผู้สูงอายุ 192 ข้อมูล และจากห้องปฏิบัติการ 8,640 ข้อมูล ข้อมูลนี้ได้ถูกวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อสร้างสมการทำนายค่าความรู้สึกเชิงความร้อนมีผลดังนี้: สมการสำหรับใช้ในฤดูหนาว (ที่ R2 = 0.707) คือ TSVNfieldW = 0.531To –0.767Va +0.011RH –14.489 สมการสำหรับใช้ในฤดูร้อน (ที่ R2 = 0.844) คือ TSVNfieldS = 0.330To –0.496Va +0.007RH –9.646 [เมื่อ TSVNfieldW คือ ค่าความรู้สึกเชิงความร้อนของผู้สูงอายุฤดูหนาว, TSVNfieldS คือ ค่าความรู้สึกเชิงความร้อนของผู้สูงอายุฤดูร้อน, To คือ อุณหภูมิโอเปอเรทีพ (°C), RH คือ ความชื้นสัมพัทธ์ (%), Va คือ ความเร็วลม (m/s)] สมการที่ได้ถูกนำเข้าในโปรแกรม scSTREAM เพื่อจำลองผลค่า TSV ในผู้สูงอายุ ขณะเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ปรับสภาวะน่าสบาย ผลจากการปรับที่ทำให้ค่า TSV แสดงค่าความรู้สึกว่า “พอดี” จะได้ใช้เป็นมาตรฐานในการพัฒนาศูนย์ผู้สูงอายุซึ่งมีดังนี้ 8.00 น.–13.00 น. ฤดูหนาว และ 8.00 น.-12.00 …


อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม Jan 2019

อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ซื้อต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้ โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 33 คน อายุระหว่าง 23-40 ปี ด้วยแบบสอบถามการจำแนกความหมายของคำ 6 คู่คำตรงข้าม ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยภายในตู้จำลอง 18 สภาวะแสง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสง 4000K 6000K และแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K ปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ ได้แก่ สีขาวและสีดำ ทำการศึกษากับเครื่องประดับอัญมณีเทียม ทับทิม ไพลิน และเพชร จากผลการวิจัยพบว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้ซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อุณหภูมิสีของแสง 6000K และอุณหภูมิสีของแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K เมื่อจัดแสดงร่วมกับเครื่องประดับไพลินและเพชร ตัวอย่างวิจัยมีการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวก ส่วนสีภายในตู้โชว์ ตัวอย่างวิจัยรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกกับสีดำในด้านบรรยากาศ และกับสีขาวในด้านเครื่องประดับ และยังพบว่าปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ไม่มีอิทธิพลต่อความเป็นประกายของเครื่องประดับ งานวิจัยนี้มีข้อสรุปว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีส่วนสร้างการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้โชว์


การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสีภายในร้านเสื้อผ้ากีฬา, พิรัญญา อิทธิสุริยะ Jan 2019

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสีภายในร้านเสื้อผ้ากีฬา, พิรัญญา อิทธิสุริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจตลาดเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี การสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับร้านค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการภายในร้านค้า การใช้สีในการออกแบบเป็นปัจจัยสิ่งเร้ารูปแบบหนึ่งที่ช่วยดึงดูดสายตาและสร้างความน่าสนใจให้กับผู้คนที่ผ่านไปมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะสีที่แตกต่างกันภายในสภาพแวดล้อมร้านค้าเสื้อผ้ากีฬาที่มีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค โดยกำหนดตัวแปร ได้แก่ สี 10 รูปแบบ ที่มีความแตกต่างของสีและความอิ่มตัวของสี จากการทดสอบมีผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 83 คน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คุณลักษณะสีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่ออารมณ์ PAD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สีดำ (B) ส่งผลต่อมิติความพึงพอใจและความโดดเด่นมากที่สุด สีแดง (R-50) ส่งผลต่อมิติความตื่นตัวมากที่สุด ความอิ่มตัวของสีต่ำส่งผลเชิงบวกมากกว่าความอิ่มตัวของสีสูงในทุกมิติ งานวิจัยนี้สรุปได้ว่า ความอิ่มตัวของสีเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบ ดังนั้น การเลือกใช้สีในสภาพแวดล้อมร้านเสื้อผ้ากีฬา ควรพิจารณาความอิ่มตัวของสีเป็นลำดับแรกควบคู่กับการพิจารณาการเลือกใช้สีแต่ละสี


ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช Jan 2019

ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ ที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยของฝรั่งเศสปกครอง ปัจจุบันมีปัญหาตายและหักโค่น เป็นอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินโดยรอบ จึงควรมีการตรวจสอบและวางแผนดูแลรักษา โดยการประเมินระดับความเสี่ยงในการหักโค่นของต้นไม้ใหญ่ แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ การศึกษาครั้งนี้ จึงทำการสำรวจสภาพต้นไม้ใหญ่ฯ และจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐาน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้ประเมินความเสี่ยงและวางแผนจัดการดูแลรักษาต่อไป จากการสำรวจพบว่า ต้นไม้ใหญ่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีจำนวน 331 ต้น ประกอบด้วยมะฮอกกานี 265 ต้น จามจุรี 36 ต้น และสัก 30 ต้น อยู่บนถนนฟ้างุ่ม ขุนบูลม คูเวียง สามแสนไท เสดถาทิลาด สักกะลิน มะโหสด และจันทะกุมมาน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 40-176 ซม. มีความสูง 4.5 - 27 ม. และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 0-28 ม. ในเรื่องสภาพต้นไม้ ปัญหารากที่พบมากสุดคือ รากงัดผิวดิน แตกฉีก ขดรัดรอบต้น เปลือกแหว่งหาย ถูกตัดฟัน/เสียดสี และคอรากจมดิน ปัญหาลำต้นที่พบมากสุดคือ ลำต้นถูกเจาะทำลาย เปลือกแหว่งหาย ปูดบวม แตกฉีก เอียง และผุ และปัญหากิ่งที่พบมากสุดคือ กิ่งตาย แตกกิ่งกระโดง ผุ แตกฉีก หักห้อยคาต้น และขึ้นเบียดกัน ปัญหาอื่น ประกอบด้วย ปัญหาใบคือ ใบเหี่ยว และใบเหลือง ปัญหาศัตรูพืช คือ กาฝาก และแมลง และปัญหาทรงพุ่มคือ ทรงพุ่มเบี้ยว และถูกบั่นยอด นอกจากนี้ ในการสำรวจลักษณะโดยรวมของต้นไม้ พบว่าส่วนใหญ่มีสัดส่วนความสูงทรงพุ่มมากกว่า 70% มีความแน่นพุ่มใบในระดับปกติ เช่นเดียวกับปริมาณกิ่งในทรงพุ่ม ที่ส่วนใหญ่มีปริมาณอยู่ในระดับปกติ ในเรื่องสภาพพื้นที่ ส่วนใหญ่มีปัญหาสภาพดินอัดแน่น วัสดุดาดแข็งปูทับและร่องละบายน้ำใต้ดิน อันเป็นสิ่งกีดขวางการขยายตัวของระบบรากต้นไม้ ส่วนการใช้พื้นที่ พบว่ามีผู้คน สิ่งก่อสร้าง และยานพาหนะ ที่เสี่ยงจะได้รับความเสียหายจากการหักโค่นของต้นไม้ รวมทั้งระบบวิศวกรรม อาคาร และอื่น …


สัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, พิชญา โคอินทรางกูร Jan 2019

สัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, พิชญา โคอินทรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย โดยมีกลุ่มอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ซึ่งประกอบไปด้วย พระอุโบสถ พระวิหารทิศ พระระเบียงคดชั้นใน และพระระเบียงคดชั้นนอก เป็นกรณีศึกษา การวิจัยมุ่งถอดรูปแบบความสัมพันธ์หรือฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนที่กำกับการก่อรูปทรงและการปิดล้อมที่ว่างของสถาปัตยกรรม โดยตั้งต้นศึกษาสัดส่วนหน้าจั่วเป็นสำคัญ แล้วจึงลำดับไปยังองค์ประกอบอื่น ๆ ตามกระบวนการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทย กระบวนการศึกษามุ่งเน้นหาลักษณะร่วมเชิงสัดส่วนของอาคารทั้งสี่หลัง โดยวิเคราะห์ผ่านแบบรังวัดทางสถาปัตยกรรมเป็นหลัก เริ่มจากหน้าจั่ว สู่เครื่องบนหลังคา องค์ประกอบปิดล้อม พื้น ฝาผนัง ฝ้าเพดาน และวิเคราะห์ถอดฉันทลักษณ์ที่กำกับสัดส่วนในทั้งสี่อาคาร ในกรณีของพระอุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารประธาน การศึกษาได้ลงรายละเอียดต่อไปยังองค์ประกอบซุ้มช่องเปิดและการประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างสัดส่วนในกายภาพของสถาปัตยกรรมภายนอก สู่สัดส่วนของพื้นที่ว่างภายในห้องพระอุโบสถซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มอาคาร ผลการศึกษาพบว่า ฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนปรากฏอยู่ในรูปตั้งด้านสกัด หน้าจั่วที่มีสัดส่วนความกว้าง : ความสูง ประมาณ 1 : 0.7 มีบทบาทสำคัญในการกำกับทรงของสถาปัตยกรรม การแบ่งผืนตับหลังคาอ้างอิงสัดส่วนต่อเนื่องจากความสูงของตับหลังคาด้านบน และตับหลังคาสุดท้ายอ้างอิงสัดส่วนคงที่จากความสูงของหน้าจั่ว ระบบของตับในเครื่องบนหลังคากำหนดตำแหน่งขององค์ประกอบปิดล้อมทั้งทางตั้งและทางนอน กล่าวคือ องค์ประกอบเสาและผนังจะวางตัวตามแนวตับหลังคา ส่วนองค์ประกอบฝ้าจะอ้างอิงระดับจากเชิงกลอนของตับหลังคา การก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยฉันทลักษณ์ดังกล่าวส่งผลให้พระวิหารทิศ พระระเบียงคดชั้นใน และพระระเบียงคดชั้นนอก ซึ่งเป็นอาคารจั่วเปิดและมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 2 กับองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้งเหมือนกัน มีสัดส่วนเดียวกันทั้งในรูปตั้งด้านสกัดและระนาบที่ว่างภายใน ในขณะที่พระอุโบสถซึ่งเป็นอาคารจั่วปิดและมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 4 กับองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้ง มีสัดส่วนและทรงแผ่ออกไป โดดเด่นขึ้นมาในฐานะอาคารประธาน ความสัมพันธ์ของสัดส่วนยังเชื่อมโยงไปยังองค์ประกอบย่อย พระพุทธรูปภายในห้องพระอุโบสถปรากฏสัดส่วน 1 : 0.75 ทั้งในสัดส่วนขององค์พระพุทธรูปเองและสัดส่วนในการประดิษฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวใกล้เคียงกับสัดส่วนของหน้าจั่วที่ 1 : 0.7 และสัดส่วนในการยกของหน้าจั่วเหนือจากระดับพื้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนปรากฏอยู่ ณ ที่ว่างภายในอาคารศูนย์กลางเช่นกัน การก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยรูปแบบความสัมพันธ์ของสัดส่วนดังกล่าวส่งผลให้เกิดลักษณะร่วมทางกายภาพของอาคารทั้งสี่ ไม่เพียงแต่ทรงของรูปตั้งด้านสกัดที่ปรากฏชัดด้วยชุดความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 2 และองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้ง แต่ยังรวมถึงระนาบที่ว่างที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งเกิดจากการอ้างอิงระดับฝ้าจากระดับชายคาตับที่ 2 เช่นกัน ตลอดจนในการประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน ดังนั้น ฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดเอกภาพภายในกลุ่มอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ ทั้งในระดับรูปทรงของสถาปัตยกรรมภายนอก และในระดับการเชื่อมโยงเข้าสู่พื้นที่ว่างภายในสถาปัตยกรรม


Mono-Economy And Urban Vulnerability: A Case Study Of Pak Phanang Municipality In Nakhon Si Thammarat Province, Rawin Thinnakorn Jan 2019

Mono-Economy And Urban Vulnerability: A Case Study Of Pak Phanang Municipality In Nakhon Si Thammarat Province, Rawin Thinnakorn

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This paper examines the relationship between mono-economic growth and urban sensitivity. The selected case study is the Pak Phanang Municipality of Nakhon Si Thammarat Province, which has a mono-economy of bird's-nest businesses as its main economic base. The research methodology was divided into three parts. Part 1 includes the study of changing urban morphology caused by the growth of the mono-economy and the evaluation of urban decline from decentralization according to the theory of spatial centrality. Part 2 studies the distribution patterns of spatial and social sensitivity, using quantitative research and an indicator-based approach from the Social Vulnerability Index. Part …


Wildlife Conservation And Mangrove Interpretation Centre, Karamjal, Sundarban: A Case Study Of A Site-Specific Architectural Project In A Mangrove Forest, Farjana Rahman Jan 2019

Wildlife Conservation And Mangrove Interpretation Centre, Karamjal, Sundarban: A Case Study Of A Site-Specific Architectural Project In A Mangrove Forest, Farjana Rahman

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This paper analyses the design process that addresses the ecological consideration and architectural factors with local indigenous materials so that nature-based tourism can be more encouraged and feasible towards sustainable development. The case study is the Sundarbans, which is a mangrove forest and coastal wetland with a complex ecosystem formed by a variety of plants and animals. Due to its diversity, ecosystem richness and uniqueness, this contiguous block has a huge impact on both local and global environment and is significant among researchers, conservationists and nature lovers. Karamjal, Bangladesh, one of the main entry points of Sundarban Reserve Forest is …


The Commodification Of Public Spaces On Khao San Road, Parisa Musigakama Jan 2019

The Commodification Of Public Spaces On Khao San Road, Parisa Musigakama

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This study focuses on the mechanisms and institutions for the governance of public spaces on Khao San Road, Bangkok. Khao San is a small road famous for tourism. It is located near major attractions, and is full of budget accommodations and street vendors. This street is known among the locals and foreign tourists as one of Bangkok's most vibrant and lively.Furthermore, Khao San offers immense opportunity for vendors, as it is crowded with tourists all day. This factor is of utmost importance to the success of businesses. Therefore, competitions for prime vending spots on the road have been going on …


คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ Jan 2019

คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจความงามมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทเครื่องสำอางต่างพัฒนารูปแบบเคาน์เตอร์เครื่องสำอางเพื่อดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบแสงก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีรวมไปถึงการออกแบบแสงกับกระจกให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าร่วมกับการประเมินรูปลักษณ์ตนเองเพื่อพิจารณาการซื้อเครื่องสำอาง การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของในเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง จากผู้เข้าร่วม 60 คน เข้าทดสอบแบบจำลองเคาน์เตอร์เครื่องสำอางจุดแต่งหน้าที่จัดแสงด้วยลักษณะอุณหภูมิสีของแสง 2700 และ 6500 เคลวิน โดยใช้สีผนังที่แตกต่างกัน 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีดำ เพื่อศึกษาผลต่อความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมและการประเมินรูปลักษณ์ตนเองด้วยการให้คะแนนจากคู่คำความหมายตรงข้ามทั้งหมด 8 คู่ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้หญิงพบว่าลักษณะอุณหภูมิสีของแสงและสีของสภาพแวดล้อมมีผลต่อความพึงพอใจของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ลักษณะอุณหภูมิสีของแสงที่ 6500 เคลวิน ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมผนังสีขาว รองลงมาคือผนังสีแดง งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสีในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิสีของแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินรูปลักษณ์ตนเองและสภาพแวดล้อมเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณารูปแบบการตกแต่งภายในร้าน โดยเลือกใช้สีโทนธรรมชาติและสีแท้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเลือกใช้แสงทีมีอุณหภูมิสีเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริบทของร้านค้า


สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม Jan 2019

สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพความคงทนต่อการกัดกร่อน การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นเหล็กเคลือบสีที่มีระบบสีแตกต่างกัน รวมทั้งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร แผ่นเหล็กเคลือบสีใช้ในการทดสอบประกอบด้วยระบบสีโพลีเอสเตอร์ชั้นเดียวและสองชั้น และแบ่งตามโทนสี ทำการทดสอบแบบเร่งสภาวะในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความคงทนต่อการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองน้ำเกลือเป็นเวลา 1,000 ชั่วโมง และความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมเป็นเวลา 2,000 ชั่วโมง จากนั้นทำวัดค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์และจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.1 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบปรับอากาศก่อนและหลังการทดสอบดังกล่าว ผลทดสอบพบว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นมีความคงทนต่อการกัดกร่อนดีกว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีชั้นเดียว ชั้นเคลือบโลหะอะลูมิเนียมผสมสังกะสีจะมีความคงทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นเคลือบสังกะสี สังเกตได้จากลักษณะการกัดกร่อนที่มีการพองตัวของสีและการเกิดสนิมขาวตามรอยกรีดผิวหน้าของชิ้นงานทดสอบ การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีระยะเวลาการทดสอบนานขึ้น สีโทนอ่อนจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสูงสุด แผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นที่มีชั้นเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับชิ้นงานอื่น หากประเมินเทียบกับมาตรฐานแล้ว สีโทนกลางทุกตัวอย่างทดสอบมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิน 5 หน่วย การสะท้อนรังสีอาทิตย์หลังการทดสอบความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมมีค่าลดลงระหว่างร้อยละ 0.10 ถึง 3.30 แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีเคลือบสีสองชั้น สีโทนกลาง มีค่าลดลงสูงสุดร้อยละ 7.80 และแผ่นเหล็กเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีเคลือบสีสองชั้น โทนเข้ม มีค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์สูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของชั้นเคลือบสีภายนอก ทำให้เกิดไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีส่วนประกอบเป็นผงสีขาวบนผิวตัวอย่างทดสอบ การจำลองการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ แผ่นเหล็กเคลือบสีโทนอ่อนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด หากพิจารณาตลอดปี เดือนมีนาคมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุดในเดือนธันวาคม การใช้พลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้านค้าเปิดเวลา 7:00 น. เวลา 14:00 น. ที่มีการใช้พลังงานสูงสุดและจะลดลงมาจนกระทั่งปิดร้านเวลา 21:00 น. การเลือกแผ่นหลังคาเหล็กสีโทนอ่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีและเคลือบสีสองชั้นจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานทางด้านสมรรถะของวัสดุ ทั้งยังลดการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวอาคาร ประหยัดพลังงานที่ใช้กับระบบปรับอากาศภายในอาคารได้ถึงร้อยละ 34 หากเทียบกับการใช้สีโทนเข้ม หรือร้อยละ 18 หากเป็นสีโทนอ่อนเหมือนกัน


การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง Jan 2019

การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนริมน้ำประแสเป็นย่านประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน มาตั้งรกรากอยู่ในกลุ่มเรือนแถวไม้ริมแม่น้ำนานกว่าหนึ่งร้อยปี อาชีพหลักของคนในท้องถิ่นคือการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และทำการประมงพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนจะตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และต้องการที่จะรักษาคุณค่าเหล่านั้น แต่พวกเขาไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ระบบการขนส่ง ตลอดจนวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับแม่น้ำ ได้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของชุมชนค่อยๆ สูญหายไป จากผลการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ชาวบ้าน และกระบวนการประเมินคุณค่า สามารถสรุปได้ว่า เป้าหมายในการอนุรักษ์เรือนแถวเก่าริมน้ำประแส คือการรักษาลักษณะสำคัญของพื้นที่ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม บนฐานของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและสงบสุข ดังนั้นการอนุรักษ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ควรครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมดุล ในการรองรับคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ส่งเสริมการปรับการใช้สอยตามความต้องการในปัจจุบัน คุณค่าสำคัญที่ควรรักษาไว้ ประกอบด้วย 1) คุณค่าจากภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ที่รวมถึง องค์ประกอบของเมือง และการตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ เครือข่ายของถนนสายหลักและตรอก ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ การเชื่อมต่อที่ดีระหว่างกิจกรรมภายในอาคารและทางเดินสาธารณะ และทัศนียภาพอันงดงามของเรือนแถวแบบดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม 2) คุณค่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างตามช่วงเวลาก่อสร้าง 4 ช่วง (40-100 ปี) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงฝีมือช่างในท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย และ 3) คุณค่าตามการใช้งานของเรือนแถว อันประกอบด้วยการอยู่อาศัยและการทำงานในร้านค้า และการใช้งานแบบใหม่ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกิจกรรมการท่องเที่ยว


การจัดการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาล : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ปวันรัตน์ ดวงสุธา Jan 2019

การจัดการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาล : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ปวันรัตน์ ดวงสุธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุการณ์เพลิงไหม้อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาล ในการจัดการเหตุและความเสียหายด้านกายภาพอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายกายภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาลรวมถึงบทบาทของฝ่ายจัดการอาคารในการดำเนินงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นเอกสาร, การเข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุม และจากการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล ถอดบทเรียนจากการศึกษา สรุปผลและทำการอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ในการจัดการเหตุเพลิงไหม้แบ่งการดำเนินงานได้เป็น 4 ช่วงย่อย คือ การแจ้งเหตุ การระงับเหตุ การอพยพ และการบรรเทาสถานการณ์ ในการระงับเหตุและการบรรเทาสถานการณ์ฝ่ายจัดการอาคารดำเนินการร่วมกับบุคคลภายนอกองค์กรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ในการจัดการความเสียหายด้านกายภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ มีทั้งหมด 6 ช่วงดำเนินการในช่วงเวลาทับซ้อนกัน เริ่มตั้งแต่การบรรเทาสถานการณ์ในช่วงจัดการเหตุ, ช่วงแก้ไขสถานการณ์ระยะสั้น, ช่วงการประเมินความเสียหาย, ช่วงหยุดความเสียหาย, ช่วงการเตรียมสภาพและตรวจสอบสภาพ และช่วงการปรับปรุงสภาพ วิธีการดำเนินงานในการจัดการความเสียหายด้านกายภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้แบ่งได้เป็น 2 หมวดหลัก คือ หมวดงานอาคารและหมวดงานอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้มีวิธีในดำเนินงานซับซ้อนที่สุดและยังเกี่ยวพันกับงานระบบอาคารที่ต้องสนับสนุนการทำงานเครื่อง ส่วนหมวดงานอาคารมีวิธีการดำเนินงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเช่นกัน นอกจากนี้วิธีการดำเนินงานขึ้นอยู่ลักษณะและระดับความเสียหายในพื้นที่ อุปสรรคและข้อจำกัดที่พบคือ การสรุปมูลค่าเคลมประกันที่ใช้เวลานานเนื่องจากลักษณะของอุปกรณ์ทางการแพทย์ของฝ่ายรังสีที่มีมูลค่าสูงและมีความซับซ้อน การออกแบบล่าช้าเพราะขาดข้อมูล และโครงสร้างการดำเนินงานแบบราชการที่ไม่เอื้อต่อความเร็ว ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานช่วงการปรับปรุงสภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ต่อโรงพยาบาลที่ส่งผลเสียหายโดยตรงต่อทรัพยากรกายภาพที่มีลักษณะเฉพาะและมีมูลค่าสูง ควบคุมเรื่องขั้นตอนการทำงานและเวลาที่ใช้ได้ลำบากเพราะขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายที่พบและต้องแก้ไขเป็นลำดับ ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงภารกิจหลักของโรงพยาบาลคือการให้บริการรักษา ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่ของโรงพยาบาล โดยควรนำบทเรียนจากเหตุที่เกิดขึ้นมาปรับใช้กับการวางแผนและปรับปรุงแผนซึ่งเป็นหนึ่งในบทบาทของฝ่ายจัดการอาคารที่ควรต้องทำในช่วงก่อนการเกิดเหตุเพลิงไหม้ กรณีเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ฝ่ายจัดการอาคารมีบทบาทคือการบริหารแผนงานและจัดการงานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ Jan 2019

การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการบริหารจัดการอาคารชุด (Condominium) จากปัญหาปัจจุบันในการกำหนดระดับการพัฒนาตามทฤษฎีจะเป็นแบบจำลองที่มีความละเอียดสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอาคารชุด เพื่อทราบลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้จริง และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการข้อมูลด้วยกระบวนการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่คาดว่าเหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารประเภทอาคารชุด ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีลักษณะงานการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด และทฤษฎีการใช้ประโยชน์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Uses) ในช่วงการบริหารจัดการอาคาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบสอบถามและนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างในองค์กรที่มีแนวโน้มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จาก ผู้จัดการอาคารชุด จำนวน 35 คน และผู้จัดการวิศวกรรม จำนวน 30 คน เพื่อทราบถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อการบริหารจัดการอาคาร รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคารจำนวน 5 คน เพื่อทราบถึงแนวทางการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารในช่วงการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษา ชี้ว่าผู้จัดการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอาคารชุด โดยมีมุมมองที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการซ่อมบำรุง ลักษณะข้อมูลที่ผู้จัดการอาคารเลือกใช้ในวางแผนการบริหารจัดการอาคารชุดมากที่สุดคือเรื่อง กราฟิกในแบบ 2 มิติ ส่วนผู้จัดการวิศวกรรมอาคารเลือกลักษณะข้อมูลในวางแผนการปฏิบัติงานมากที่สุดคือเรื่อง ที่ไม่ใช่กราฟิก คือเอกสารข้อมูล และผลจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่าการจัดการข้อมูลในช่วงบริหารจัดการอาคารควรมีลักษณะที่ต้องลดทอนข้อมูลให้น้อยเฉพาะที่ต้องการใช้ เพื่อการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล Jan 2019

แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานออกแบบ ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ช่วงต้น ระหว่าง พ.ศ. 2509-2515 โดยมุ่งศึกษาสถาปัตยกรรมที่มีการใช้แผงกันแดดเป็นองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วยอาคารกรณีศึกษาจำนวน 9 หลัง ได้แก่ โรงแรมมโนราห์ (พ.ศ. 2509) โรงแรมเพรสิเดนท์ (พ.ศ. 2509) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสีลม (พ.ศ. 2510) อาคารแอนนา (พ.ศ. 2510) อาคารกรุงเทพสหกล (พ.ศ. 2511) ห้องสมุดสถานสอนภาษาเอ.ยู.เอ (พ.ศ. 2513) บ้านศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2514) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2514) และศูนย์เซเวียร์ (พ.ศ. 2515) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การออกแบบแผงกันแดดในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา ใน 3 ลักษณะ คือ ประเภทของการกันแดด ตำแหน่งของแผงกันแดด และภาษาสถาปัตยกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เริ่มจากการรวบรวมเอกสารชั้นต้น ได้แก่ หนังสือ และงานวิชาการที่เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปัตยกรรมในเขตร้อนชื้น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษา ประกอบกับเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวข้องหรืออ้างถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรมของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เป็นหลัก ด้วยการสร้างแบบสถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ ประกอบกับการสำรวจและถ่ายภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแผงกันแดดและผิวอาคาร รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่ได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เพื่อศึกษาแนวความคิดและที่มาในการออกแบบ โดยสรุป การออกแบบแผงกันแดดของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา มีการคำนึงถึงทิศทางของการกันแดด ฝน ด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตในจังหวะและสัดส่วนที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย ประกอบกับการใช้วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อันมีส่วนสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับอาคาร ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสง่างามอย่างเรียบง่าย เรียบร้อย เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ปรากฏในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผลจากการศึกษานี้อาจนำไปสู่การพิจารณาในบริบทของสถาปนิกร่วมสมัย ซึ่งจะช่วยต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย


การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ, สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย Jan 2019

การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ, สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างแบบจำลองสารสนเทศ สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ จากการสร้างองค์ประกอบกายภาพอาคารของกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงขั้นตอนการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) และการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในการบริหารจัดการกายภาพของกระทรวงการต่างประเทศ การศึกษาแนวคิดการบริหารจัดการกายภาพอาคารสถานที่ โดยการรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบกายภาพ ทำให้เกิดความเข้าใจการบริหารจัดการกายภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) และประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกายภาพทางไกล (Distant Management) ระหว่างสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ อาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ปัญหาข้อมูลทางกายภาพ ที่เป็นแบบก่อสร้างจริง (As built drawing) ประกอบด้วยอาคารเดิมที่เป็นแบบกระดาษพิมพ์เขียว และอาคารใหม่ที่เป็นแบบไฟล์ดิจิตอล เมื่อนำไปสำรวจสภาพจริงของอาคารกรณีศึกษา พบว่าข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขอาคาร โดยไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ใช้โปรแกรมกราฟฟิกซอฟ อาคิแคต (Graphicsoft ArchiCAD) ที่ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงกราฟิก (Graphic) เป็นมุมมองภาพเสมือนจริง 3 มิติ และข้อมูลไม่ใช่กราฟิก (Non-Graphic) ซึ่งเป็นอักขระตัวเลข ที่มีรายละเอียดที่จำเป็น ตลอดจนวิเคราะห์แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) กับการบริหารจัดการอาคารสถานที่ และนำเสนอผลการศึกษาต่อเจ้าหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ จากการนำเสนอผลการศึกษา พบว่าเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ มีความเห็นว่า การมีแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) จากมุมมองภาพเสมือนจริง 3 มิติ ทำให้การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ประจำอาคารสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศมีความชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น ส่วนข้อมูลอักขระและตัวเลข ช่วยในการจดบันทึก สามารถรวบรวมข้อมูลและเพิ่มเติมรายละเอียดได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการกายภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้พบข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ คำนึงถึงเรื่องงบประมาณ การลงทุนในการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) สำหรับการพัฒนาข้อมูลระบบบริหารกายภาพ และบุคลากรในการดูแลบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต


Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol Jan 2019

Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The precast concrete construction is widely used in Thailand by customers and developers for residential development. For many decades of building with the precast concrete wall system, the common problems of water leakage are the most pressing concerns. This thesis aims to find the issues that lead to the causes of water penetration and propose a solution to prevent water leakage. From the literature review, the sources of water leakage are at the connection location between the precast modules. The water can penetrate through the opening with the four forces: a momentum of the raindrop, capillary action, gravity, and air …


Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana Jan 2019

Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Serial cultural heritage refers to groups of cultural heritage sites which are formed as series by significant cultural linkage. It is a category of cultural heritage which has played important roles in World Heritage context, however, it has not been given appropriate attention in general context although it prevails in all cultures. This thesis, therefore, investigated into serial cultural heritage and has clarified its identification, concept, applications, categorization, values identification, and management, both in World Heritage and general contexts, which can be used as initiative frameworks for future works and studies in the issue of serial cultural heritage. To summarize, …


Traditional Design In An Ancient Village Of Tanintharyi, Winn Myintzu, Soe Thainkha, Elizabeth H. Moore Jan 2019

Traditional Design In An Ancient Village Of Tanintharyi, Winn Myintzu, Soe Thainkha, Elizabeth H. Moore

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

The ancient village of Thagara is located circa ten kilometres north of Dawei, Tanintharyi Region of Lower Myanmar. While Thagara's archaeology and the domestic religious architecture such as the pagodas and monasteries have been well documented, this article is the first to classify the main elements of the domestic dwellings. Five key components of the vernacular architecture are identified: the style of the house facade, the building materials, the hearth, the rice barn and the shrine. Constructed with local materials, the facades and roofs were designed to meet the challenges of the monsoonal climate and the hearth and rice barn …


Refining The Adaptive Capacity Framework For World Heritage Management, Montira Unakul Jan 2019

Refining The Adaptive Capacity Framework For World Heritage Management, Montira Unakul

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Well-developed in the context of climate change, the concept of adaptive capacity has so far not been applied extensively to the study of World Heritage management. This paper applies the analytic framework of adaptive capacity to better understand how institutional attributes enable or hinder systemic adaptation in managing World Heritage sites as boundaries of practice expand due to changing concepts of heritage and emerging management challenges. Drawing upon case studies from Southeast Asia, the study proposes a refined framework with the following dimensions of adaptive capacity: cognitive frames, learning capacity, resources, formal governance measures, organizational relationships, and agency.


The Effects Of Franco-Siamese Treaties On Ubon Ratchathani Urban Landscape Transformation, Lalida Boonmee Jan 2019

The Effects Of Franco-Siamese Treaties On Ubon Ratchathani Urban Landscape Transformation, Lalida Boonmee

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

In the written history, Ubon Ratchathani, most documents point out that the urban areas have developed and changed because of the administrative reforms from Bangkok since the reign of King Chulalongkorn, Rama V. While this domestic cause has certainly been at play, there is another cause connected to foreign colonisation of the Indochina area. French troops forced Siam to accept the Franco-Siamese treaty in 1893, which affected the boundaries of Siam near the Mekong River. This article will address the effects of Franco-Siamese treaties on the Ubon Ratchathani urban landscape, and will highlight the urban elements which currently contribute to …