Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Design

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 30

Full-Text Articles in Architecture

สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี Jan 2019

สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพกายภาพของโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก โดยมีกระบวนการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลในผังสถาปัตยกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่กรณีศึกษา สำรวจ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้พื้นที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และอภิปราย ผลการศึกษาพบว่า ในปีพ.ศ. 2561 โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ และโรงพยาบาลเชษฐาธิราช มีสภาพอาคารส่วนใหญ่ก่อสร้างมานานประมาณ 20 ปีขึ้นไป มีการออกแบบให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีอาคารในยุคนั้น ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามสภาพมาเป็นระยะ ๆ และอยู่ในระหว่างการวางแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในพื้นที่โรงพยาบาลเดิม เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่วนโรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก อาคารที่ใช้งานอยู่ก่อสร้างมาได้ประมาณ 10 ปี มีการออกแบบอาคารโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ยังไม่มีแผนในการปรับปรุงอาคาร และแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงสรุปได้ว่า สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว ขนาดใหญ่ 3 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช อยู่ระหว่างการพัฒนาก่อสร้างอาคาร ที่ทันสมัยมากขึ้น ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็ก 2แห่ง ได้แกโรงพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพที่ตอบสนองบริการได้


ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาอาคารสำนักงานเดิมให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED O+M V.4.1 จะต้องมีการศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาคารสำนักงานโดยรวมก่อน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล หาจุดบกพร่อง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินจริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงอาคารสำนักงานเก่าตามมาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 และศึกษามาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 เพื่อนำมาปรับใช้กับอาคารสำนักงานเก่า ผลการศึกษาพบว่า อาคารสำนักงานที่เปิดใช้งานก่อนปี พ.ศ.2540 ที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกมาจำนวน 21 อาคาร มีลักษณะเด่นโดยรวมคือ เป็นอาคารที่สูงเกิน 100 เมตรขึ้นไป มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 80,000 - 100,000 ตารางเมตร จำนวนชั้นอย่างน้อย 20 ชั้น ภายในตัวอาคารจะมีร้านค้าหรือร้านอาหาร เปลือกอาคารมักเลือกใช้กระจกสะท้อนแสง ผนังอาคารส่วนทึบกรุหินแกรนิต หรือปิดผิวด้วยอลูมิเนียมคอมโพสิต ระบบปรับอากาศเลือกใช้ระบบ Water Cooled Package ด้วยลักษณะร่วมที่เด่นชัดดังกล่าวจึงได้เลือกอาคารซันทาวเวอร์สมาเป็นอาคารกรณีศึกษา ผลการประเมินก่อนการปรับปรุงอาคารได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 74/100 คะแนน ซึ่งจะได้รับการรับรองในระดับ GOLD แสดงให้เห็นว่าถึงแม้อาคารจะไม่มีการปรับปรุง แต่ถ้าหากอาคารมีการบริหารจัดการที่ดีพอ ดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอก็สามารถได้รับการรับรองเกณฑ์ LEED O+M V.4.1 ในระดับ GOLD ได้ ดังนั้น การปรับปรุงเพื่อให้ได้การรับรองในระดับ PLATINUM จึงมีความเป็นไปได้เป็นทางเลือกที่น่าจะทำ หลังการปรับปรุงในระดับ PLATINUM อาคารซันทาวเวอร์สได้คะแนนทั้งสิ้น 81/100 คะแนน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงทั้งสิ้น 12,309,824.00 บาท คิดเป็น 100.11 บาท/ตร.ม. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (เปลี่ยนหลอดไฟ, ปรับปรุงหอทำความเย็น) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้จริง แต่จะไม่ได้คะแนน LEED เพิ่ม เนื่องจากส่วนที่ปรับปรุงเป็นสัดส่วนการใช้พลังงานที่น้อยมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ดังนั้น การปรับปรุงอาคารเพื่อทำคะแนนในหัวข้อคะแนน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการทำคะแนนในข้อประสิทธิภาพ


สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสำหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ, ช่อเพชร พานระลึก Jan 2019

สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสำหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ, ช่อเพชร พานระลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมการทำนายความรู้สึกเชิงความร้อนส่วนใหญ่จะพัฒนาเพื่อใช้กับคนทั่วไป แต่ไม่มีสมการใดที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีสมการทำนายค่าความรู้สึกเชิงความร้อน (Thermal Sensation Vote, TSV) สำหรับผู้สูงอายุไทยเพื่อใช้งานในศูนย์ผู้สูงอายุของรัฐบาลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเชิงอุณหภาพในอาคารให้น่าสบายและประหยัดพลังงาน ซึ่งงานวิจัยได้ดำเนินการในตัวเมืองพิษณุโลกในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยใช้การศึกษาทั้งภาคสนามและห้องปฏิบัติการ ในภาคสนามได้เก็บข้อมูลจากศูนย์ผู้สูงอายุ 3 แห่ง ในขณะเดียวกันก็ได้นำผู้สูงอายุผลัดเปลี่ยนกันเข้าทดสอบในสภาพแวดล้อมเชิงอุณหภาพที่มีการปรับได้ 144 ลักษณะในห้องปฏิบัติการ โดยให้ผู้สูงอายุได้สวมใส่เสื้อผ้าตามปกติ (ในฤดูหนาวมีค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าที่สวมใส่ที่ 0.64 clo ในฤดูร้อนที่ 0.50 clo) และทำกิจกรรมที่มีค่า 65-70 W / m2 การเก็บข้อมูลได้ใช้ระยะเวลา 7 เดือน ทำให้ได้ข้อมูลกลับมาจากศูนย์ผู้สูงอายุ 192 ข้อมูล และจากห้องปฏิบัติการ 8,640 ข้อมูล ข้อมูลนี้ได้ถูกวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อสร้างสมการทำนายค่าความรู้สึกเชิงความร้อนมีผลดังนี้: สมการสำหรับใช้ในฤดูหนาว (ที่ R2 = 0.707) คือ TSVNfieldW = 0.531To –0.767Va +0.011RH –14.489 สมการสำหรับใช้ในฤดูร้อน (ที่ R2 = 0.844) คือ TSVNfieldS = 0.330To –0.496Va +0.007RH –9.646 [เมื่อ TSVNfieldW คือ ค่าความรู้สึกเชิงความร้อนของผู้สูงอายุฤดูหนาว, TSVNfieldS คือ ค่าความรู้สึกเชิงความร้อนของผู้สูงอายุฤดูร้อน, To คือ อุณหภูมิโอเปอเรทีพ (°C), RH คือ ความชื้นสัมพัทธ์ (%), Va คือ ความเร็วลม (m/s)] สมการที่ได้ถูกนำเข้าในโปรแกรม scSTREAM เพื่อจำลองผลค่า TSV ในผู้สูงอายุ ขณะเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ปรับสภาวะน่าสบาย ผลจากการปรับที่ทำให้ค่า TSV แสดงค่าความรู้สึกว่า “พอดี” จะได้ใช้เป็นมาตรฐานในการพัฒนาศูนย์ผู้สูงอายุซึ่งมีดังนี้ 8.00 น.–13.00 น. ฤดูหนาว และ 8.00 น.-12.00 …


อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม Jan 2019

อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ซื้อต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้ โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 33 คน อายุระหว่าง 23-40 ปี ด้วยแบบสอบถามการจำแนกความหมายของคำ 6 คู่คำตรงข้าม ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยภายในตู้จำลอง 18 สภาวะแสง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสง 4000K 6000K และแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K ปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ ได้แก่ สีขาวและสีดำ ทำการศึกษากับเครื่องประดับอัญมณีเทียม ทับทิม ไพลิน และเพชร จากผลการวิจัยพบว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้ซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อุณหภูมิสีของแสง 6000K และอุณหภูมิสีของแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K เมื่อจัดแสดงร่วมกับเครื่องประดับไพลินและเพชร ตัวอย่างวิจัยมีการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวก ส่วนสีภายในตู้โชว์ ตัวอย่างวิจัยรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกกับสีดำในด้านบรรยากาศ และกับสีขาวในด้านเครื่องประดับ และยังพบว่าปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ไม่มีอิทธิพลต่อความเป็นประกายของเครื่องประดับ งานวิจัยนี้มีข้อสรุปว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีส่วนสร้างการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้โชว์


การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสีภายในร้านเสื้อผ้ากีฬา, พิรัญญา อิทธิสุริยะ Jan 2019

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสีภายในร้านเสื้อผ้ากีฬา, พิรัญญา อิทธิสุริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจตลาดเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี การสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับร้านค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการภายในร้านค้า การใช้สีในการออกแบบเป็นปัจจัยสิ่งเร้ารูปแบบหนึ่งที่ช่วยดึงดูดสายตาและสร้างความน่าสนใจให้กับผู้คนที่ผ่านไปมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะสีที่แตกต่างกันภายในสภาพแวดล้อมร้านค้าเสื้อผ้ากีฬาที่มีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค โดยกำหนดตัวแปร ได้แก่ สี 10 รูปแบบ ที่มีความแตกต่างของสีและความอิ่มตัวของสี จากการทดสอบมีผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 83 คน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คุณลักษณะสีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่ออารมณ์ PAD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สีดำ (B) ส่งผลต่อมิติความพึงพอใจและความโดดเด่นมากที่สุด สีแดง (R-50) ส่งผลต่อมิติความตื่นตัวมากที่สุด ความอิ่มตัวของสีต่ำส่งผลเชิงบวกมากกว่าความอิ่มตัวของสีสูงในทุกมิติ งานวิจัยนี้สรุปได้ว่า ความอิ่มตัวของสีเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบ ดังนั้น การเลือกใช้สีในสภาพแวดล้อมร้านเสื้อผ้ากีฬา ควรพิจารณาความอิ่มตัวของสีเป็นลำดับแรกควบคู่กับการพิจารณาการเลือกใช้สีแต่ละสี


ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช Jan 2019

ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ ที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยของฝรั่งเศสปกครอง ปัจจุบันมีปัญหาตายและหักโค่น เป็นอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินโดยรอบ จึงควรมีการตรวจสอบและวางแผนดูแลรักษา โดยการประเมินระดับความเสี่ยงในการหักโค่นของต้นไม้ใหญ่ แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ การศึกษาครั้งนี้ จึงทำการสำรวจสภาพต้นไม้ใหญ่ฯ และจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐาน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้ประเมินความเสี่ยงและวางแผนจัดการดูแลรักษาต่อไป จากการสำรวจพบว่า ต้นไม้ใหญ่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีจำนวน 331 ต้น ประกอบด้วยมะฮอกกานี 265 ต้น จามจุรี 36 ต้น และสัก 30 ต้น อยู่บนถนนฟ้างุ่ม ขุนบูลม คูเวียง สามแสนไท เสดถาทิลาด สักกะลิน มะโหสด และจันทะกุมมาน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 40-176 ซม. มีความสูง 4.5 - 27 ม. และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 0-28 ม. ในเรื่องสภาพต้นไม้ ปัญหารากที่พบมากสุดคือ รากงัดผิวดิน แตกฉีก ขดรัดรอบต้น เปลือกแหว่งหาย ถูกตัดฟัน/เสียดสี และคอรากจมดิน ปัญหาลำต้นที่พบมากสุดคือ ลำต้นถูกเจาะทำลาย เปลือกแหว่งหาย ปูดบวม แตกฉีก เอียง และผุ และปัญหากิ่งที่พบมากสุดคือ กิ่งตาย แตกกิ่งกระโดง ผุ แตกฉีก หักห้อยคาต้น และขึ้นเบียดกัน ปัญหาอื่น ประกอบด้วย ปัญหาใบคือ ใบเหี่ยว และใบเหลือง ปัญหาศัตรูพืช คือ กาฝาก และแมลง และปัญหาทรงพุ่มคือ ทรงพุ่มเบี้ยว และถูกบั่นยอด นอกจากนี้ ในการสำรวจลักษณะโดยรวมของต้นไม้ พบว่าส่วนใหญ่มีสัดส่วนความสูงทรงพุ่มมากกว่า 70% มีความแน่นพุ่มใบในระดับปกติ เช่นเดียวกับปริมาณกิ่งในทรงพุ่ม ที่ส่วนใหญ่มีปริมาณอยู่ในระดับปกติ ในเรื่องสภาพพื้นที่ ส่วนใหญ่มีปัญหาสภาพดินอัดแน่น วัสดุดาดแข็งปูทับและร่องละบายน้ำใต้ดิน อันเป็นสิ่งกีดขวางการขยายตัวของระบบรากต้นไม้ ส่วนการใช้พื้นที่ พบว่ามีผู้คน สิ่งก่อสร้าง และยานพาหนะ ที่เสี่ยงจะได้รับความเสียหายจากการหักโค่นของต้นไม้ รวมทั้งระบบวิศวกรรม อาคาร และอื่น …


สัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, พิชญา โคอินทรางกูร Jan 2019

สัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, พิชญา โคอินทรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย โดยมีกลุ่มอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ซึ่งประกอบไปด้วย พระอุโบสถ พระวิหารทิศ พระระเบียงคดชั้นใน และพระระเบียงคดชั้นนอก เป็นกรณีศึกษา การวิจัยมุ่งถอดรูปแบบความสัมพันธ์หรือฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนที่กำกับการก่อรูปทรงและการปิดล้อมที่ว่างของสถาปัตยกรรม โดยตั้งต้นศึกษาสัดส่วนหน้าจั่วเป็นสำคัญ แล้วจึงลำดับไปยังองค์ประกอบอื่น ๆ ตามกระบวนการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทย กระบวนการศึกษามุ่งเน้นหาลักษณะร่วมเชิงสัดส่วนของอาคารทั้งสี่หลัง โดยวิเคราะห์ผ่านแบบรังวัดทางสถาปัตยกรรมเป็นหลัก เริ่มจากหน้าจั่ว สู่เครื่องบนหลังคา องค์ประกอบปิดล้อม พื้น ฝาผนัง ฝ้าเพดาน และวิเคราะห์ถอดฉันทลักษณ์ที่กำกับสัดส่วนในทั้งสี่อาคาร ในกรณีของพระอุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารประธาน การศึกษาได้ลงรายละเอียดต่อไปยังองค์ประกอบซุ้มช่องเปิดและการประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างสัดส่วนในกายภาพของสถาปัตยกรรมภายนอก สู่สัดส่วนของพื้นที่ว่างภายในห้องพระอุโบสถซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มอาคาร ผลการศึกษาพบว่า ฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนปรากฏอยู่ในรูปตั้งด้านสกัด หน้าจั่วที่มีสัดส่วนความกว้าง : ความสูง ประมาณ 1 : 0.7 มีบทบาทสำคัญในการกำกับทรงของสถาปัตยกรรม การแบ่งผืนตับหลังคาอ้างอิงสัดส่วนต่อเนื่องจากความสูงของตับหลังคาด้านบน และตับหลังคาสุดท้ายอ้างอิงสัดส่วนคงที่จากความสูงของหน้าจั่ว ระบบของตับในเครื่องบนหลังคากำหนดตำแหน่งขององค์ประกอบปิดล้อมทั้งทางตั้งและทางนอน กล่าวคือ องค์ประกอบเสาและผนังจะวางตัวตามแนวตับหลังคา ส่วนองค์ประกอบฝ้าจะอ้างอิงระดับจากเชิงกลอนของตับหลังคา การก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยฉันทลักษณ์ดังกล่าวส่งผลให้พระวิหารทิศ พระระเบียงคดชั้นใน และพระระเบียงคดชั้นนอก ซึ่งเป็นอาคารจั่วเปิดและมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 2 กับองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้งเหมือนกัน มีสัดส่วนเดียวกันทั้งในรูปตั้งด้านสกัดและระนาบที่ว่างภายใน ในขณะที่พระอุโบสถซึ่งเป็นอาคารจั่วปิดและมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 4 กับองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้ง มีสัดส่วนและทรงแผ่ออกไป โดดเด่นขึ้นมาในฐานะอาคารประธาน ความสัมพันธ์ของสัดส่วนยังเชื่อมโยงไปยังองค์ประกอบย่อย พระพุทธรูปภายในห้องพระอุโบสถปรากฏสัดส่วน 1 : 0.75 ทั้งในสัดส่วนขององค์พระพุทธรูปเองและสัดส่วนในการประดิษฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวใกล้เคียงกับสัดส่วนของหน้าจั่วที่ 1 : 0.7 และสัดส่วนในการยกของหน้าจั่วเหนือจากระดับพื้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนปรากฏอยู่ ณ ที่ว่างภายในอาคารศูนย์กลางเช่นกัน การก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยรูปแบบความสัมพันธ์ของสัดส่วนดังกล่าวส่งผลให้เกิดลักษณะร่วมทางกายภาพของอาคารทั้งสี่ ไม่เพียงแต่ทรงของรูปตั้งด้านสกัดที่ปรากฏชัดด้วยชุดความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 2 และองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้ง แต่ยังรวมถึงระนาบที่ว่างที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งเกิดจากการอ้างอิงระดับฝ้าจากระดับชายคาตับที่ 2 เช่นกัน ตลอดจนในการประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน ดังนั้น ฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดเอกภาพภายในกลุ่มอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ ทั้งในระดับรูปทรงของสถาปัตยกรรมภายนอก และในระดับการเชื่อมโยงเข้าสู่พื้นที่ว่างภายในสถาปัตยกรรม


คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ Jan 2019

คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจความงามมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทเครื่องสำอางต่างพัฒนารูปแบบเคาน์เตอร์เครื่องสำอางเพื่อดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบแสงก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีรวมไปถึงการออกแบบแสงกับกระจกให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าร่วมกับการประเมินรูปลักษณ์ตนเองเพื่อพิจารณาการซื้อเครื่องสำอาง การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของในเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง จากผู้เข้าร่วม 60 คน เข้าทดสอบแบบจำลองเคาน์เตอร์เครื่องสำอางจุดแต่งหน้าที่จัดแสงด้วยลักษณะอุณหภูมิสีของแสง 2700 และ 6500 เคลวิน โดยใช้สีผนังที่แตกต่างกัน 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีดำ เพื่อศึกษาผลต่อความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมและการประเมินรูปลักษณ์ตนเองด้วยการให้คะแนนจากคู่คำความหมายตรงข้ามทั้งหมด 8 คู่ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้หญิงพบว่าลักษณะอุณหภูมิสีของแสงและสีของสภาพแวดล้อมมีผลต่อความพึงพอใจของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ลักษณะอุณหภูมิสีของแสงที่ 6500 เคลวิน ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมผนังสีขาว รองลงมาคือผนังสีแดง งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสีในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิสีของแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินรูปลักษณ์ตนเองและสภาพแวดล้อมเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณารูปแบบการตกแต่งภายในร้าน โดยเลือกใช้สีโทนธรรมชาติและสีแท้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเลือกใช้แสงทีมีอุณหภูมิสีเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริบทของร้านค้า


สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม Jan 2019

สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพความคงทนต่อการกัดกร่อน การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นเหล็กเคลือบสีที่มีระบบสีแตกต่างกัน รวมทั้งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร แผ่นเหล็กเคลือบสีใช้ในการทดสอบประกอบด้วยระบบสีโพลีเอสเตอร์ชั้นเดียวและสองชั้น และแบ่งตามโทนสี ทำการทดสอบแบบเร่งสภาวะในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความคงทนต่อการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองน้ำเกลือเป็นเวลา 1,000 ชั่วโมง และความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมเป็นเวลา 2,000 ชั่วโมง จากนั้นทำวัดค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์และจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.1 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบปรับอากาศก่อนและหลังการทดสอบดังกล่าว ผลทดสอบพบว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นมีความคงทนต่อการกัดกร่อนดีกว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีชั้นเดียว ชั้นเคลือบโลหะอะลูมิเนียมผสมสังกะสีจะมีความคงทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นเคลือบสังกะสี สังเกตได้จากลักษณะการกัดกร่อนที่มีการพองตัวของสีและการเกิดสนิมขาวตามรอยกรีดผิวหน้าของชิ้นงานทดสอบ การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีระยะเวลาการทดสอบนานขึ้น สีโทนอ่อนจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสูงสุด แผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นที่มีชั้นเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับชิ้นงานอื่น หากประเมินเทียบกับมาตรฐานแล้ว สีโทนกลางทุกตัวอย่างทดสอบมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิน 5 หน่วย การสะท้อนรังสีอาทิตย์หลังการทดสอบความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมมีค่าลดลงระหว่างร้อยละ 0.10 ถึง 3.30 แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีเคลือบสีสองชั้น สีโทนกลาง มีค่าลดลงสูงสุดร้อยละ 7.80 และแผ่นเหล็กเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีเคลือบสีสองชั้น โทนเข้ม มีค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์สูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของชั้นเคลือบสีภายนอก ทำให้เกิดไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีส่วนประกอบเป็นผงสีขาวบนผิวตัวอย่างทดสอบ การจำลองการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ แผ่นเหล็กเคลือบสีโทนอ่อนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด หากพิจารณาตลอดปี เดือนมีนาคมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุดในเดือนธันวาคม การใช้พลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้านค้าเปิดเวลา 7:00 น. เวลา 14:00 น. ที่มีการใช้พลังงานสูงสุดและจะลดลงมาจนกระทั่งปิดร้านเวลา 21:00 น. การเลือกแผ่นหลังคาเหล็กสีโทนอ่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีและเคลือบสีสองชั้นจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานทางด้านสมรรถะของวัสดุ ทั้งยังลดการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวอาคาร ประหยัดพลังงานที่ใช้กับระบบปรับอากาศภายในอาคารได้ถึงร้อยละ 34 หากเทียบกับการใช้สีโทนเข้ม หรือร้อยละ 18 หากเป็นสีโทนอ่อนเหมือนกัน


การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง Jan 2019

การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนริมน้ำประแสเป็นย่านประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน มาตั้งรกรากอยู่ในกลุ่มเรือนแถวไม้ริมแม่น้ำนานกว่าหนึ่งร้อยปี อาชีพหลักของคนในท้องถิ่นคือการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และทำการประมงพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนจะตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และต้องการที่จะรักษาคุณค่าเหล่านั้น แต่พวกเขาไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ระบบการขนส่ง ตลอดจนวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับแม่น้ำ ได้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของชุมชนค่อยๆ สูญหายไป จากผลการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ชาวบ้าน และกระบวนการประเมินคุณค่า สามารถสรุปได้ว่า เป้าหมายในการอนุรักษ์เรือนแถวเก่าริมน้ำประแส คือการรักษาลักษณะสำคัญของพื้นที่ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม บนฐานของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและสงบสุข ดังนั้นการอนุรักษ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ควรครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมดุล ในการรองรับคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ส่งเสริมการปรับการใช้สอยตามความต้องการในปัจจุบัน คุณค่าสำคัญที่ควรรักษาไว้ ประกอบด้วย 1) คุณค่าจากภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ที่รวมถึง องค์ประกอบของเมือง และการตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ เครือข่ายของถนนสายหลักและตรอก ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ การเชื่อมต่อที่ดีระหว่างกิจกรรมภายในอาคารและทางเดินสาธารณะ และทัศนียภาพอันงดงามของเรือนแถวแบบดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม 2) คุณค่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างตามช่วงเวลาก่อสร้าง 4 ช่วง (40-100 ปี) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงฝีมือช่างในท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย และ 3) คุณค่าตามการใช้งานของเรือนแถว อันประกอบด้วยการอยู่อาศัยและการทำงานในร้านค้า และการใช้งานแบบใหม่ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกิจกรรมการท่องเที่ยว


การจัดการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาล : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ปวันรัตน์ ดวงสุธา Jan 2019

การจัดการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาล : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ปวันรัตน์ ดวงสุธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุการณ์เพลิงไหม้อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาล ในการจัดการเหตุและความเสียหายด้านกายภาพอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายกายภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาลรวมถึงบทบาทของฝ่ายจัดการอาคารในการดำเนินงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นเอกสาร, การเข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุม และจากการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล ถอดบทเรียนจากการศึกษา สรุปผลและทำการอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ในการจัดการเหตุเพลิงไหม้แบ่งการดำเนินงานได้เป็น 4 ช่วงย่อย คือ การแจ้งเหตุ การระงับเหตุ การอพยพ และการบรรเทาสถานการณ์ ในการระงับเหตุและการบรรเทาสถานการณ์ฝ่ายจัดการอาคารดำเนินการร่วมกับบุคคลภายนอกองค์กรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ในการจัดการความเสียหายด้านกายภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ มีทั้งหมด 6 ช่วงดำเนินการในช่วงเวลาทับซ้อนกัน เริ่มตั้งแต่การบรรเทาสถานการณ์ในช่วงจัดการเหตุ, ช่วงแก้ไขสถานการณ์ระยะสั้น, ช่วงการประเมินความเสียหาย, ช่วงหยุดความเสียหาย, ช่วงการเตรียมสภาพและตรวจสอบสภาพ และช่วงการปรับปรุงสภาพ วิธีการดำเนินงานในการจัดการความเสียหายด้านกายภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้แบ่งได้เป็น 2 หมวดหลัก คือ หมวดงานอาคารและหมวดงานอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้มีวิธีในดำเนินงานซับซ้อนที่สุดและยังเกี่ยวพันกับงานระบบอาคารที่ต้องสนับสนุนการทำงานเครื่อง ส่วนหมวดงานอาคารมีวิธีการดำเนินงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเช่นกัน นอกจากนี้วิธีการดำเนินงานขึ้นอยู่ลักษณะและระดับความเสียหายในพื้นที่ อุปสรรคและข้อจำกัดที่พบคือ การสรุปมูลค่าเคลมประกันที่ใช้เวลานานเนื่องจากลักษณะของอุปกรณ์ทางการแพทย์ของฝ่ายรังสีที่มีมูลค่าสูงและมีความซับซ้อน การออกแบบล่าช้าเพราะขาดข้อมูล และโครงสร้างการดำเนินงานแบบราชการที่ไม่เอื้อต่อความเร็ว ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานช่วงการปรับปรุงสภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ต่อโรงพยาบาลที่ส่งผลเสียหายโดยตรงต่อทรัพยากรกายภาพที่มีลักษณะเฉพาะและมีมูลค่าสูง ควบคุมเรื่องขั้นตอนการทำงานและเวลาที่ใช้ได้ลำบากเพราะขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายที่พบและต้องแก้ไขเป็นลำดับ ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงภารกิจหลักของโรงพยาบาลคือการให้บริการรักษา ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่ของโรงพยาบาล โดยควรนำบทเรียนจากเหตุที่เกิดขึ้นมาปรับใช้กับการวางแผนและปรับปรุงแผนซึ่งเป็นหนึ่งในบทบาทของฝ่ายจัดการอาคารที่ควรต้องทำในช่วงก่อนการเกิดเหตุเพลิงไหม้ กรณีเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ฝ่ายจัดการอาคารมีบทบาทคือการบริหารแผนงานและจัดการงานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ Jan 2019

การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการบริหารจัดการอาคารชุด (Condominium) จากปัญหาปัจจุบันในการกำหนดระดับการพัฒนาตามทฤษฎีจะเป็นแบบจำลองที่มีความละเอียดสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอาคารชุด เพื่อทราบลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้จริง และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการข้อมูลด้วยกระบวนการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่คาดว่าเหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารประเภทอาคารชุด ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีลักษณะงานการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด และทฤษฎีการใช้ประโยชน์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Uses) ในช่วงการบริหารจัดการอาคาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบสอบถามและนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างในองค์กรที่มีแนวโน้มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จาก ผู้จัดการอาคารชุด จำนวน 35 คน และผู้จัดการวิศวกรรม จำนวน 30 คน เพื่อทราบถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อการบริหารจัดการอาคาร รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคารจำนวน 5 คน เพื่อทราบถึงแนวทางการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารในช่วงการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษา ชี้ว่าผู้จัดการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอาคารชุด โดยมีมุมมองที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการซ่อมบำรุง ลักษณะข้อมูลที่ผู้จัดการอาคารเลือกใช้ในวางแผนการบริหารจัดการอาคารชุดมากที่สุดคือเรื่อง กราฟิกในแบบ 2 มิติ ส่วนผู้จัดการวิศวกรรมอาคารเลือกลักษณะข้อมูลในวางแผนการปฏิบัติงานมากที่สุดคือเรื่อง ที่ไม่ใช่กราฟิก คือเอกสารข้อมูล และผลจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่าการจัดการข้อมูลในช่วงบริหารจัดการอาคารควรมีลักษณะที่ต้องลดทอนข้อมูลให้น้อยเฉพาะที่ต้องการใช้ เพื่อการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล Jan 2019

แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานออกแบบ ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ช่วงต้น ระหว่าง พ.ศ. 2509-2515 โดยมุ่งศึกษาสถาปัตยกรรมที่มีการใช้แผงกันแดดเป็นองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วยอาคารกรณีศึกษาจำนวน 9 หลัง ได้แก่ โรงแรมมโนราห์ (พ.ศ. 2509) โรงแรมเพรสิเดนท์ (พ.ศ. 2509) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสีลม (พ.ศ. 2510) อาคารแอนนา (พ.ศ. 2510) อาคารกรุงเทพสหกล (พ.ศ. 2511) ห้องสมุดสถานสอนภาษาเอ.ยู.เอ (พ.ศ. 2513) บ้านศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2514) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2514) และศูนย์เซเวียร์ (พ.ศ. 2515) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การออกแบบแผงกันแดดในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา ใน 3 ลักษณะ คือ ประเภทของการกันแดด ตำแหน่งของแผงกันแดด และภาษาสถาปัตยกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เริ่มจากการรวบรวมเอกสารชั้นต้น ได้แก่ หนังสือ และงานวิชาการที่เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปัตยกรรมในเขตร้อนชื้น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษา ประกอบกับเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวข้องหรืออ้างถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรมของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เป็นหลัก ด้วยการสร้างแบบสถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ ประกอบกับการสำรวจและถ่ายภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแผงกันแดดและผิวอาคาร รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่ได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เพื่อศึกษาแนวความคิดและที่มาในการออกแบบ โดยสรุป การออกแบบแผงกันแดดของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา มีการคำนึงถึงทิศทางของการกันแดด ฝน ด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตในจังหวะและสัดส่วนที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย ประกอบกับการใช้วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อันมีส่วนสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับอาคาร ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสง่างามอย่างเรียบง่าย เรียบร้อย เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ปรากฏในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผลจากการศึกษานี้อาจนำไปสู่การพิจารณาในบริบทของสถาปนิกร่วมสมัย ซึ่งจะช่วยต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย


การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ, สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย Jan 2019

การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ, สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างแบบจำลองสารสนเทศ สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ จากการสร้างองค์ประกอบกายภาพอาคารของกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงขั้นตอนการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) และการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในการบริหารจัดการกายภาพของกระทรวงการต่างประเทศ การศึกษาแนวคิดการบริหารจัดการกายภาพอาคารสถานที่ โดยการรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบกายภาพ ทำให้เกิดความเข้าใจการบริหารจัดการกายภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) และประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกายภาพทางไกล (Distant Management) ระหว่างสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ อาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ปัญหาข้อมูลทางกายภาพ ที่เป็นแบบก่อสร้างจริง (As built drawing) ประกอบด้วยอาคารเดิมที่เป็นแบบกระดาษพิมพ์เขียว และอาคารใหม่ที่เป็นแบบไฟล์ดิจิตอล เมื่อนำไปสำรวจสภาพจริงของอาคารกรณีศึกษา พบว่าข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขอาคาร โดยไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ใช้โปรแกรมกราฟฟิกซอฟ อาคิแคต (Graphicsoft ArchiCAD) ที่ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงกราฟิก (Graphic) เป็นมุมมองภาพเสมือนจริง 3 มิติ และข้อมูลไม่ใช่กราฟิก (Non-Graphic) ซึ่งเป็นอักขระตัวเลข ที่มีรายละเอียดที่จำเป็น ตลอดจนวิเคราะห์แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) กับการบริหารจัดการอาคารสถานที่ และนำเสนอผลการศึกษาต่อเจ้าหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ จากการนำเสนอผลการศึกษา พบว่าเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ มีความเห็นว่า การมีแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) จากมุมมองภาพเสมือนจริง 3 มิติ ทำให้การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ประจำอาคารสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศมีความชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น ส่วนข้อมูลอักขระและตัวเลข ช่วยในการจดบันทึก สามารถรวบรวมข้อมูลและเพิ่มเติมรายละเอียดได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการกายภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้พบข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ คำนึงถึงเรื่องงบประมาณ การลงทุนในการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) สำหรับการพัฒนาข้อมูลระบบบริหารกายภาพ และบุคลากรในการดูแลบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต


Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol Jan 2019

Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The precast concrete construction is widely used in Thailand by customers and developers for residential development. For many decades of building with the precast concrete wall system, the common problems of water leakage are the most pressing concerns. This thesis aims to find the issues that lead to the causes of water penetration and propose a solution to prevent water leakage. From the literature review, the sources of water leakage are at the connection location between the precast modules. The water can penetrate through the opening with the four forces: a momentum of the raindrop, capillary action, gravity, and air …


Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana Jan 2019

Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Serial cultural heritage refers to groups of cultural heritage sites which are formed as series by significant cultural linkage. It is a category of cultural heritage which has played important roles in World Heritage context, however, it has not been given appropriate attention in general context although it prevails in all cultures. This thesis, therefore, investigated into serial cultural heritage and has clarified its identification, concept, applications, categorization, values identification, and management, both in World Heritage and general contexts, which can be used as initiative frameworks for future works and studies in the issue of serial cultural heritage. To summarize, …


แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ Jan 2019

แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตในหลากหลายแขนง รวมถึงที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในปัจจุบันและอนาคต รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้วิธีการถอดความ (Coding data) จากบทความทางอินเทอเน็ต งานวิจัย บทความวิชาการ โดยผู้วิจัยพิจารณาคำ วลี และประโยค ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และอนาคต จากนั้นนำมาจัดหมวดหมู่ (Categories) เพื่อกำหนดตัวแปรเบื้องต้นสำหรับตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ปัจจัยคือ 1) Service 2) Control 3) Visualize 4) Personalize 5) Communicate และจำแนกประเภทของกิจกรรมสำหรับการอยู่อาศัยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมทางชีวภาพ 2) กิจกรรมทางการผลิต 3) กิจกรรมทางการปฏิสัมพันธ์ 4) กิจกรรมทางนันทนาการ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผ่าน 3 องค์ประกอบของกิจกรรมได้แก่ 1) กริยาขั้นตอน 2) เครื่องมือ 3) พื้นที่ เพื่อศึกษาช่องว่างและนำเสนอแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยก่อนและหลังการบูรณาการภายใต้แนวคิดของตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาโดยใช้กรณีศึกษากลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต ทั้งหมด 17 กิจกรรม ทำการจำแนกองค์ประกอบของกิจกรรมตามกริยาขั้นตอน เครื่องมือ และพื้นที่ จากนั้นวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อนำตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเข้าไปแทนหรือเสริมในองค์ประกอบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนของที่อยู่อาศัยในเชิงขั้นตอนและกายภาพ 3 ลักษณะได้แก่ 1. ลักษณะลดลง 2. ลักษณะเพิ่มขึ้น 3. ลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง การทำงานของตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเชิงขั้นตอนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1. ทำงานส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล 3 ปัจจัยคือ Control Visualize และService 2. ทำงานส่งผลทางอ้อมต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล Personalize และCommunicate ทางด้านกายภาพการออกแบบที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการใช้งานพื้นที่เพิ่มขึ้นทางด้านผนัง (แนวตั้ง) และเพดาน (แนวนอน) การใช้งานพื้นที่ลดลงทางด้านพื้น (แนวนอน) ประมาน 40 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการสร้างแนวทางการพัฒนาการการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์ Jan 2019

การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน เป็นชุมชนที่มีความสำคัญและประวัติศาสตร์ยาวนานในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญคือ คลองโอ่งอ่าง ประตูเมือง สะพานหัน บ้านเจ้านาย เรือนแถว และตรอกซอกซอย สะท้อนให้เห็นความสำคัญและความหลากหลายของการใช้พื้นที่ชุมชนเป็นอย่างมาก จากการสำรวจพื้นที่ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้เคียงในบริบทเดียวกันเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหันจึงเป็นการศึกษาที่สำคัญสะท้อนให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาในพื้นที่ศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญประกอบด้วย 2 ปัจจัยได้แก่ 1) การพัฒนาเครือข่ายเส้นทางสัญจรสมัยรัชกาลที่ 5 และ2) การพัฒนาแปลงที่ดินสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลให้ค้นพบประเด็น 3 ข้อได้แก่ 1) ลักษณะการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินและการใช้งานที่ดินชุมชน 3 รูปแบบคือ รูปแปลงที่คงเดิม รูปแปลงที่ดินซอยแปลง และรูปแปลงที่ดินผสม 2) พัฒนาการเส้นทางสัญจร 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่ 1 เป็นแรกเริ่มของเส้นทางตรอกหลักและตรอกรอง ช่วงที่ 2 เป็นการพัฒนาตรอกและตัดถนนใหม่ และช่วงที่ 3 เป็นการพัฒนาตรอกย่อยภายในแปลงที่ดิน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ลักษณะดั้งเดิม การพัฒนาภายนอกชุมชน การพัฒนาภายในชุมชน และการพัฒนาภายในแปลง และ 3) สัณฐานการใช้พื้นตรอกซอกซอยของชุมชน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ตรอกยาฉุน ตรอกขี้หมา และตรอกแคบ ซึ่งเกิดจากปัจจัยคือ แปลงที่ดินและการใช้งานมาก่อนกฎหมาย และการพัฒนาภายในแปลง ซึ่งทั้งสามข้อค้นพบทำให้ชุมชนการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมีการศึกษาในอนาคตต่อไป


กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ ใน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มะโนสิน จันทะนูไล Jan 2019

กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ ใน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มะโนสิน จันทะนูไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐใน สปป. ลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา พัฒนาการการประมาณราคาก่อสร้างอาคารภาครัฐใน สปป. ลาว โดยเริ่มจากองค์ความรู้ของสถาบันศึกษาของภาครัฐ กระบวนการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในภาคงานก่อสร้าง จนถึงระเบียบวิธีเอกสารของภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการ โดยนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์ และจัดทำเป็นโครงสร้างแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพ และคณาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา รวมทั้งสิ้น 15 ท่าน พร้อมทั้งศึกษารวบรวมจากเอกสารของกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารภาครัฐที่ลงทุนแบบปกติ 9 โครงการ ผลการศึกษาพบว่า หลักการการประมาณราคาในการก่อสร้างอาคารของภาครัฐ มีการจัดทำโดย กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง กรมเคหะและผังเมือง ที่แบ่งขั้นความรับผิดชอบการตรวจสอบประเมินราคาก่อสร้างตามลำดับขั้นหน่วยงาน และเจ้าของงบประมาณ คือ ขั้นศูนย์กลาง ขั้นจังหวัด และขั้นเมือง พร้อมกำหนดสัมประสิทธิ์ตัวคูณวัสดุ เกณฑ์การเผื่อ และราคาต่อหน่วยตามประเภทอาคาร ที่ความสูง 1 - 4 ชั้น ใช้เพื่อตรวจสอบประเมินราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ และอยู่ในระหว่างดำเนินการออกประกาศใช้ราคาต่อหน่วยแบบสำเร็จรูป ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้เป็นฐานอ้างอิงในการตรวจสอบ ในขั้นพิจารณาอนุมัติผ่านงบประมาณก่อสร้าง โดยกระทรวงแผนการและการลงทุนได้แบ่งโครงการลงทุนก่อสร้างออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งขึ้นกับวงเงินก่อสร้าง และระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้น ยังมีความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบการประมาณราคาใน สปป. ลาว ควรเริ่มต้นสร้างระเบียบ และวิธีการประมาณราคาจากสถาบันศึกษาในการผลิตองค์ความรู้ และบุคคลากรสู่การปฏิบัติวิชาชีพ


การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ในขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น, ภัทรพล วัชรเมธากุล Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ในขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น, ภัทรพล วัชรเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันปัญหาน้ำท่วมขังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการพัฒนาแล้ว อาทิเช่น กรุงเทพมหานคร ทำให้ มีเกณฑ์ในการออกแบบต่าง ๆ เช่น เกณฑ์ประเมินอาคารเขียว LEED เกณฑ์ประเมินอาคารเขียว TREES และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อออกแบบจัดการการระบายน้ำฝนไม่ให้ท่วมขังภายในพื้นที่ โดยมีแนวคิดของเกณฑ์ในการออกแบบคือ การหน่วงน้ำภายในพื้นที่ของโครงการให้ได้ปริมาณ หรืออัตราการไหลที่สามารถชะลอให้น้ำภายนอกโครงการระบายลงสู่ระบบสาธารณะได้ทัน ทำให้มีความจำเป็นในการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณปริมาณน้ำฝนในปัจจุบัน เช่น การคำนวณมือ การใช้ตาราง Microsoft Excel หรือการใช้โปรแกรมเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำฝน มีความซับซ้อน และยุ่งยากแก่นักออกแบบ อีกทั้งยังต้องใช้ความรู้ด้านการจัดการน้ำฝนเพื่อใช้งานเครื่องมือ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เข้ามาใช้ในการออกแบบโครงการต่าง ๆ โดยโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทยได้แก่ โปรแกรม Revit ซึ่งภายในจะมีโปรแกรมเสริม Dynamo ที่มีความสามารถในการดึงข้อมูลจากแบบจำลองโปรแกรม Revit มาใช้ในการคำนวณข้อมูลทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน งานวิจัยนี้ได้เลือกพัฒนาเครื่องมือเสริมโดยใช้โปรแกรม Revit และ โปรแกรมเสริม Dynamo ที่สามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลากได้อย่างอัตโนมัติ และทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ โดยเปรียบเทียบระหว่างเครื่องมือเสริมที่ได้จากการพัฒนา และการถอดปริมาณพื้นที่จากโปรแกรม Revit เพื่อนำมาคำนวณในโปรแกรม Microsoft Excel เครื่องมือเสริมที่ได้จากการพัฒนาประกอบด้วยไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไฟล์โปรแกรม Revit, ไฟล์โปรแกรม Dynamo และไฟล์โปรแกรม Microsoft Excel โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในการคำนวณสูงสุดประมาณ ±2.52% ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดในการสร้างแบบจำลองอาคารที่มีผลต่อการใช้งานชุดคำสั่งภายในโปรแกรม Dynamo โดยเฉพาะองค์ประกอบ (Component) ที่มีพื้นผิวจำนวนมาก อาทิเช่น พื้นดิน (Topography) ซึ่งเมื่อใช้งาน Dynamo script เพื่อคำนวณหาพื้นที่รับน้ำที่ขนานกับผิวโลก จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนที่มากขึ้น


การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน Jan 2019

การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีความนิยมก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เพราะมีแบบห้องชุดพักอาศัยซ้ำกัน ในแต่ละโครงการ หลังจากสถาปนิกออกแบบแล้ว ทางโรงงานจะนำแบบไปปรับแก้ ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีวัตถุประสงค์จะออกแบบอาคารชุดพักอาศัย สำหรับก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกเอาโครงการ พลัมคอนโด ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการใช้ระบบประสานพิกัดและกำหนดขนาดช่องเปิดมาตรฐาน ทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นระบบมากขึ้น การเพิ่มระยะริมช่องเปิดให้มีระยะมากกว่า 60 เซนติเมตร ทำให้ไม่ต้องปรับระยะตะแกรงเหล็กเสริม และลดความเสี่ยง ที่จะเกิดปัญหาในการขนส่งและประกอบติดตั้ง นอกจากนั้นการยื่นแผ่นพื้นผนังสามารถลดปัญหารอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อ และทำให้รูปด้านมีความหลากหลาย ปัจจุบันโครงการ พลัมคอนโด มี 13 แห่ง แต่ละแห่งมีผังพื้นแบบ Double Loaded Corridors ประกอบด้วยห้องชุดพักอาศัยแบบ STUDIO 1 รูปแบบ 1 BEDROOM 6 รูปแบบ 2 BEDROOM 5 รูปแบบ และมีขนาดพื้นที่ต่างกันในแต่ละโครงการ สำหรับข้อพิจารณาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากเป็นอาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 2000 ตรม. ไม่ต้องจัดเตรียมที่จอดรถ ในขณะที่อาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 4000ตรม. จะต้องจัดเตรียมที่จอดรถ หากมีจำนวนห้องไม่เกิน 80 ห้อง ก็ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงเสนอแบบห้องชุดพักอาศัย ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีรูปแบบ และจำนวนที่เหมาะสม มีผังพื้นห้องชุดที่มีรูปแบบและขนาดพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งทางเดินภายในอาคารแบบ Double Loaded Corridors, Single Loaded Corridor และ Open Loaded Corridor สำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่อาคารไม่เกิน 2000 ตาราเมตร และ 4000 ตารางเมตร สำหรับอาคารชุดพักอาศัย 5 ชั้น (15 เมตร) และ 8 ชั้น (23 …


สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562, สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ Jan 2019

สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562, สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building information modeling หรือ BIM) ทั้งในกระบวนการก่อสร้าง และบำรุงรักษาอาคารทำให้กระบวนการทำงานมีความซับซ้อนขึ้นแตกต่างจากวิธีการเดิม ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษาด้าน BIM จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ โดยวิธีการดำเนินการวิจัยคือ กำหนดกรอบงานวิจัย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ว่าจ้างจำนวน 3 ท่าน (2) กลุ่มผู้ออกแบบจำนวน 1 ท่าน (3) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้างจำนวน 4 ท่าน และ(4) กลุ่มที่ปรึกษาด้าน BIM จำนวน 6 ท่าน พบอาคารกรณีศึกษา 12 อาคาร จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย อาคารกรณีศึกษาที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มาจากทั้งองค์กรรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยองค์กรที่มีอาคารที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มากที่สุด ได้แก่ องค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรรัฐวิสาหกิจตามลำดับ ประเภทอาคาร ได้แก่ โรงพยาบาล สำนักงาน อาคารเรียน ร้านค้า และอาคารอยู่อาศัยรวม ประเภทอาคารข้างต้นเป็นอาคารที่มีความซับซ้อน หรือมีความซ้ำของรูปแบบห้อง ขนาดอาคารเป็นอาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่15,000 – 224,750 ตารางเมตร หรืออาคารขนาดเล็กที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มูลค่าโครงการเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงตั้งแต่ 324 – 12,500 ล้านบาท ลำดับของกลุ่มที่อยู่ในช่วงดำเนินการใช้ได้แก่ (1) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้าง (2) กลุ่มผู้ออกแบบ และ (3) กลุ่มผู้ว่าจ้าง โดยวัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของทั้ง 3 ผู้เกี่ยวข้องคือ ลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของผู้ออกแบบและผู้รับจ้างก่อสร้างคือเพื่อจัดส่งงานตามการบังคับใช้ของผู้ว่าจ้าง รายละเอียดของ …


ผลกระทบของความเสียหายในการก่อสร้างที่มีต่อการรับรู้มูลค่าและความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียม, รักษพร สุขัมศรี Jan 2019

ผลกระทบของความเสียหายในการก่อสร้างที่มีต่อการรับรู้มูลค่าและความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียม, รักษพร สุขัมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเสียหายของอาคารไม่เพียงแต่ส่งผลต่อโครงสร้างแต่ยังมีผลต่อมุมมองในแง่คุณภาพ ความงามและมูลค่า โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การยอมรับได้ต่อความเสียหายที่มีผลต่อมูลค่าและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มคนทั่วไป รวมถึงศึกษาถึงประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรงที่ต่างกัน โดยกำหนดตัวแปรต้นคือ ประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรง ตัวแปรตาม คือการประเมินการยอมรับได้และราคา โดยใช้การพิจารณาภาพจำลองความเสียหายที่เกิดจากความชื้น รอยแตกร้าวและรอยเปื้อนสกปรกจากคราบเลอะสีและปูน ในระดับความเสียหายที่ต่างกัน 4 ระดับ ประเมินจากค่าคะแนนระดับการยอมรับได้และมูลค่าตามความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างและกลุ่มคนทั่วไป ผลการศึกษาเมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีการประเมินที่ใกล้เคียงกัน แต่ในประเด็นร้อยละของราคาที่ลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติในระดับความรุนแรงที่มากกว่า 30% และเมื่อเปรียบเทียบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งสามประเภท ความเสียหายที่เกิดจากความชื้นและรอยแตกร้าวมีการยอมรับได้ในทุกประเด็นที่น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดจากรอยคราบเปื้อน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรงมีผลต่อการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแง่ของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในงานก่อสร้างที่ไม่ให้เกินเกณฑ์การยอมรับได้คือ ความเสียหายที่เกิดจากความชื้นและรอยแตกร้าวในระดับความรุนแรงไม่เกิน 10% และไม่เกิน20% ของความเสียหายที่เกิดจากรอยเปื้อนเพราะมีผลต่อการยอมรับได้ทั้งในแง่ของคุณภาพและมูลค่าที่ลดลง


การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ Jan 2019

การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับพื้นที่มีจำกัด ทำให้โรงพยาบาลถูกออกแบบให้มีความสูงและจำนวนชั้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสัญจรทางตั้งมีความสำคัญ โดยลิฟต์ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการสัญจรทางตั้งภายในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาล มีความซับซ้อนของการใช้งาน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเพียงเกณฑ์ขั้นต้นเพื่อความปลอดภัยที่บ่งบอกถึงลักษณะทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของการใช้งานในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคารที่มีความแตกต่างจากอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน ปัญหาและลักษณะการใช้งานของอาคารกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของกลุ่มลิฟต์ภายในโรงพยาบาล โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยคือ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลจากแบบทางสถาปัตยกรรม จำนวน 21 อาคาร ประกอบกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้อาคารและสำรวจการใช้งานจริงของอาคารกรณีศึกษา 6 อาคารเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพบว่าการออกแบบกลุ่มลิฟต์ในเส้นทางสัญจรทางตั้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางตำแหน่งของกลุ่มลิฟต์ ได้แก่ การเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรหลักภายในโรงพยาบาลและแนวทางการขยายทางสัญจรหลักในอนาคต รูปแบบของอาคาร เส้นทางการอพยพในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และการออกแบบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลิฟต์ภายในอาคารโรงพยาบาลถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยเริ่มต้นจาก ลิฟต์เตียง ลิฟต์ดับเพลิงที่ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นลิฟต์สกปรกในเวลาปกติและลิฟต์สะอาด หากอาคารมีความซับซ้อนมากขึ้นอาจมีการเพิ่มลิฟต์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ ลิฟต์โดยสาร ลิฟต์ฉุกเฉิน ลิฟต์ที่จอดรถ เป็นต้น ในการใช้งานจริงพบว่าจำนวนลิฟต์ในอาคารส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อมีการซ่อมบำรุง และมีการกำหนดลักษณะการใช้งานของลิฟต์เพิ่มเติมจากที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ เนื่องจากการใช้งานอาคารโรงพยาบาลต้องคำนึงถึงมาตรฐานการให้บริการ จึงเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ตอบสนองต่อเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการในระดับสากล ยกตัวอย่างเช่น มีการกำหนดการใช้ลิฟต์บริการให้ขนส่งได้ทั้งของสะอาดและของสกปรกโดยการแบ่งเวลาการใช้งาน และมีการกันลิฟต์บริการให้เป็นลิฟต์ฉุกเฉิน เป็นต้น โดยผลการวิจัยจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลได้ในอนาคต


เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี Jan 2019

เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใน สปป ลาว มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 10 ฉบับ ประกอบด้วย กดหมายว่าด้วยกานปกปักฮักสาสิ่งแวดล้อม ดำลัด ข้อตกลง คำแนะนำ และละเบียบกาน ส่วนในประเทศไทย มีมาตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 60 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ใน สปป ลาว กำหนดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กานปะเมินผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และกานสึกสาเบื้องต้นเกี่ยวกับผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (IEE) เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยกำหนด 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เดิมเรียกว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เมื่อเปรียบเทียบด้านเนื้อหาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่า ใน สปป ลาว กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 95 วัน ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการแก้ไขรายงานฯ กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ เฉพาะในช่วงก่อสร้าง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ ไม่มีโทษปรับ ส่วนประเทศไทย กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม 5 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 75 วัน การแก้ไขรายงานฯ ทำได้เพียงครั้งเดียว กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ มีโทษปรับ ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ใน สปป ลาว กำหนดประเภท และขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานฯ 4 ประเภท แต่ในประเทศไทย กำหนด 5 ประเภท และบังคับให้จัดทำรายงานฯ เฉพาะในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ …


ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา การซ่อมแซมและการเปลี่ยนทดแทนงานระบบพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงกรณีศึกษา : อาคารชุด 4 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร, ภุชงค์ สุขเสนา Jan 2019

ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา การซ่อมแซมและการเปลี่ยนทดแทนงานระบบพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงกรณีศึกษา : อาคารชุด 4 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร, ภุชงค์ สุขเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมและบำรุงรักษางานระบบในพื้นที่ส่วนกลางที่เกิดขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึง ลักษณะของค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคาร ในเรื่อง ผลรวมสัดส่วน โอกาสและช่วงราคา ในการเกิดของค่าใช้จ่ายแต่ละระบบประกอบอาคาร ในช่วงเวลา 20 ปี โดยใช้แนวทางการศึกษากรณีศึกษา (Case Study Approach) โดยคัดเลือกกลุ่มอาคารชุดพักอาศัยที่เป็นอาคารสูงตั้งแต่ 23 ชั้น ขึ้นไป ตั้งอยู่ในเขต CBD จำนวน 4 แห่ง โดยนำค่าใช้จ่ายในหมวดการซ่อมแซมและบำรุงรักษามาศึกษาตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษา พบว่าโอกาสการเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคารในหมวดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ระบบลิฟต์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 90-100% เริ่มเกิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปีที่ 1 รองลงมาเป็นระบบหม้อแปลงไฟฟ้า และระบบไฟฟ้ากำลัง 60-75% เริ่มเกิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปีที่ 3 โอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมแซม ของระบบไฟฟ้าสำรอง ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 50-65 % เริ่มตั้งแต่ช่วงปีที่ 1 รองลงมาเป็น ระบบดับเพลิง มีโอกาสเกิดขึ้น 45-60 % เริ่มมีค่าใช้จ่ายในช่วงปีที่ 3 น้อยที่สุด 5 % เป็นระบบหม้อแปลงไฟฟ้า เกิดขึ้น ในช่วงปีที่ 16 พบโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายในจ่ายในหมวดการเปลี่ยนทดแทน ของระบบลิฟต์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 35-55 % เริ่มตั้งแต่ช่วงปีที่ 6 รองลงมาเป็น ปั๊มน้ำเสีย มีโอกาสเกิดขึ้น 10-15 % เริ่มมีค่าใช้จ่ายในช่วงปีที่ 5 น้อยสุด 5 % เป็น การเปลี่ยนทดแทนระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบโทรศัพท์ ระบบควบคุมการเข้า-ออก ระบบดับเพลิง จากงานวิจัยทำให้ทราบว่า ควรจัดเตรียมงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคาร ในหมวดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนทดแทน .ในรายการที่สำคัญ ช่วง 20 ปี ได้แก่ ระบบลิฟต์ รายการการเปลี่ยนสลิงลิฟต์ที่เกิดขึ้น 2 รอบ ในช่วงปีที่ 6-8 และปีที่ 14-16 มีราคาค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่ 200,000-1,600,000 บาท และระบบที่เกิดค่าใช้จ่าย …


แนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน, มนสิชา แจ่มโนทัย Jan 2019

แนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน, มนสิชา แจ่มโนทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ.2537) เคยมีการปรับปรุงข้อกำหนดให้ช่องจอดรถยนต์เล็กลง จากขนาดกว้าง 2.50 x ยาว 6.00 เมตร เป็น 2.40 x 5.00 เมตร ต่อมามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ส่งผลให้เกิดการใช้รถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้น โดยการศึกษาเบื้องต้นพบว่าช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กมีขนาดลดลงเป็น 2.30 x 4.20 เมตร ดังนั้นถ้าขนาดช่องจอดรถยนต์มีขนาดเล็กลง และมีหลายขนาดเพื่อรองรับรถยนต์ที่มีความหลากหลายในปัจจุบันได้ จะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่ช่องจอดรถยนต์ และประหยัดค่าก่อสร้างมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่จะได้รับจากการปรับใช้ช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กร่วมกับรถยนต์ขนาดทั่วไป จากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างช่องจอดรถยนต์ ทางวิ่ง โครงสร้าง ทางลาด และเปรียบเทียบอัตราส่วนของพื้นที่ระหว่างช่องจอดรถยนต์ขนาดทั่วไปและขนาดเล็กที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนการก่อสร้าง ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสรุปแนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อมีการปรับใช้และเพิ่มอัตราส่วนของจำนวนช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กเข้าไปแทนที่ช่องจอดรถยนต์ขนาดทั่วไป สามารถลดขนาดพื้นที่ของอาคารเริ่มต้นได้ 1% และลดลงไปได้มากที่สุดถึง 3-4% โดยพื้นที่มีขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 27-31 ตร.ม./คัน หรือลดลงต่อ 1 ชั้น เท่ากับ 2 ตร.ม./คัน นอกจากนี้การลงทุนการก่อสร้างยังลดลงในอัตราส่วนที่เท่ากันตามไปด้วย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีผู้เห็นด้วยต่อการตัดสินใจในการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ที่เล็กลงและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง นอกจากประหยัดค่าก่อสร้างมากขึ้นแล้ว พื้นที่เหลือสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ขายและพื้นที่เช่าได้ในอาคารชุดระดับปานกลาง-ต่ำ ห้างสรรพสินค้า และสำนักงานในเมือง โดยอัตราส่วนของช่องจอดรถยนต์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทและที่ตั้งของอาคาร ซึ่งแนวความคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้เป็นมาตรการส่งเสริมการพัฒนาการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR Bonus ได้ และข้อเสนอแนะงานวิจัยนี้ นอกจากการลดพื้นที่ช่องจอดรถยนต์แล้ว ขนาดของทางวิ่งและทางลาด ควรมีขนาดที่สัมพันธ์กับพื้นที่ของช่องจอดรถยนต์ที่เล็กลงตามไปด้วย เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


วัดบ้านเซเวียร์ : สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย, สุภาวรรณ ปันดิ Jan 2019

วัดบ้านเซเวียร์ : สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย, สุภาวรรณ ปันดิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดบ้านเซเวียร์ ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ในปี ค.ศ.1971 การวิจัยเริ่มจากการตั้งคำถามเกี่ยวกับการผสานความเป็นสากลในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับเอกลักษณ์เฉพาะในสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลด้านเอกสารและการสัมภาษณ์ รวมทั้งการแยกแยะลักษณะสมัยใหม่และลักษณะดั้งเดิมออกจากกัน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของทั้งสองลักษณะดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่าจะนำไปสู่ความเข้าใจแนวความคิดการผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทย อันปรากฏเป็นอัตลักษณ์ของวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าสถาปนิกผู้ออกแบบผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทยโดยเลือกใช้ลักษณะไทยที่เป็นลักษณะร่วมของสถาปัตยกรรมไทยในแต่ละภูมิภาค และเป็นลักษณะที่ใช้กันโดยทั่วไปในสถาปัตยกรรมทุกฐานานุศักดิ์มาประยุกต์ ผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จนเกิดรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นสากลและมีลักษณะไทยแบบกลาง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นของภูมิภาคไหนหรือของชนชั้นใด สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทย ในสถาปัตยกรรมวัดบ้านเซเวียร์ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสังคายนาสากลวาติกันครั้งที่ 2 ที่สร้างกรอบแนวความคิดพื้นฐานสำหรับการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกยุคสมัยใหม่ 2) นโยบายของรัฐบาลไทย ที่มีเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติไทย ทำให้พระศาสนจักรคาทอลิกหันมาร่วมพัฒนาสังคมไทยและใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีลักษณะไทยมาปรับใช้ในวัดโรมันคาทอลิก 3) แนวทางของคณะเยสุอิต ที่ส่งเสริมการพัฒนาคนรุ่นใหม่ตามแนวความคิดประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของวัดบ้านเซเวียร์แห่งใหม่ เพื่อรองรับกิจกรรมของกลุ่มปัญญาชนของประเทศไทย และ 4) แนวความคิดของสถาปนิกในงานออกแบบวัดบ้านเซเวียร์ ซึ่งมีมิติของการสืบสาน การปรับเปลี่ยน การคิดใหม่-ทำใหม่ ทำให้เกิดการผสานทั้งลักษณะความเป็นสากลกับลักษณะดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมไทยและโบสถ์คาทอลิกจากตะวันตก


การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ Jan 2019

การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสนามกีฬาในร่ม เป็นอาคารช่วงกว้างที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและเปรียบเทียบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารประเภทสนามกีฬาในร่มร่วมกับการใช้แสงธรรมชาติและไม่ใช้แสงธรรมชาติ และทำการคำนวณการสำรองพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ โดยทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางสถาปัตยกรรม สำรวจการใช้พลังงานไฟฟ้าจริงของอาคารและตารางการใช้อาคารสนามกีฬาในร่ม โดยเก็บข้อมูลอาคารสนามกีฬาในร่มจากภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 22 อาคาร เพื่อสร้างแบบจำลองอาคารต้นแบบในการทดลอง โดยได้ทำการคำนวณพลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม System Advisor Model 2018.11.11 และประเมินศักยภาพการนำแสงธรรมชาติมาใช้ภายในอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 8.2 โดยกำหนดอาคารจำลองทั้งสิ้น 3 ขนาด และ 4 รูปแบบหลังคาอาคารที่หันไปยังทิศทางต่างๆ ทั้งหมด 8 ทิศทาง จากผลการศึกษา พบว่า หลังคาทรงเพิงหมาแหงน มุมเอียงหลังคาที่ 15 องศา หลังคาอาคารหันไปทางทิศใต้ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงที่สุด จากข้อมูลพบว่า การติดตั้งช่องแสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวประหยัดไฟฟ้าได้ 20-32% ของการใช้พลังงานต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ผลอื่นๆ เพิ่มเติม พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติประหยัดไฟฟ้าได้ 60-75% ของการใช้พลังงานต่อวัน การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมร่วมกับแบตเตอรี่ประหยัดไฟฟ้าได้ 100% ของการใช้พลังงานต่อวัน ในส่วนของระยะเวลาคืนทุน พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติ มีระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุดเท่ากับ 5.1-7.8 ปี ท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอแนวทางการออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม โดยคาดการณ์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนจากขนาดพื้นที่ของอาคาร


การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในด้านการบูรณาการ การพัฒนาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกายภาพ อาคารสิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร พร้อมทั้งจัดทำรายงานส่ง อย่างไรก็ตามปริมาณข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีจำนวนมากและข้อมูลมีความซับซ้อน ซึ่งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างหน่วยงาน รวมถึงใช้ระยะเวลาในการประเมินมาก ในการวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารร่วมกับการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยมีขั้นตอนในการใช้งานแบ่งเป็น 4 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 การเตรียมระบบข้อมูลสำหรับเป็นฐานข้อมูลและการแสดงผล และการเตรียมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ส่วนที่ 2 การตั้งค่าฐานข้อมูลและกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร และการแสดงผลในแบบแปลนและในรูปแบบรายงาน ทั้งในระดับอาคารและระดับคณะ/สำนัก ส่วนที่ 4 เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร ในรูปแบบรายงาน จากการใช้งานเครื่องมือที่ได้พัฒนาสำหรับแต่ละอาคาร ใช้เวลาแต่ละขั้นตอนประมาณ 5 นาที ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ 4 อย่าง ได้แก่ 1) การแสดงผลการประเมินตามค่าระดับสีในแบบแปลนบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับอาคาร 3) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับคณะ/สำนัก 4) รายงานแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร โดยในส่วนโปรแกรมที่ได้พัฒนานี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคารและฐานข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร รวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการประเมินผล