Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

1997

Anxiety

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของคนกรุงเทพฯ เฉพาะกลุ่ม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ศุลีพร ธีรเจตกูล Sep 1997

ความรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของคนกรุงเทพฯ เฉพาะกลุ่ม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ศุลีพร ธีรเจตกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ต้องการศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรมของคนไทย กลุ่มที่มารับบริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาของคณะทันแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 650 คน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี จนถึง 76 ปี ซึ่งได้มาใช้ บริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาและถูกสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วยคําถามด้านประชากรศาสตร์และคําถามของ The Corah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า 10.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการมาใช้บริการทันตกรรม, 30.7 เปอร์เซ็นต์ กลัวปานกลาง และ 8.8 เปอร์เซ็นต์ กลัวมากจนถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัว และ กังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS) เท่ากับ 8.30 13.24 เพศหญิงมีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศ ชาย คนหนุ่มสาวและวัยรุ่นมีความกลัวมากกว่าผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดจากการได้เคยใช้บริการทันตกรรมครั้งแรก จะมีผลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ (p<0.001) สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.3043.24 2. อายุ, เพศ,ประสบการณ์ความเจ็บปวดจากการรับบริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


Mycobacterium Infection Of The Duodenum Mimickingwhipple's Disease, Naruemon Wisedopas, Saowanee Yenrudee Jul 1997

Mycobacterium Infection Of The Duodenum Mimickingwhipple's Disease, Naruemon Wisedopas, Saowanee Yenrudee

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


คุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์จุฬาฯ, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศุลีพร ธีระเจตกูล, ภฑิตา ภูริเดช May 1997

คุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์จุฬาฯ, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศุลีพร ธีระเจตกูล, ภฑิตา ภูริเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้ต้องการศึกษาถึงคุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์จุฬาฯ และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความวิตกกังวลและเครียดระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียน วัสดุและวิธีการ ใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคําถามยี่สิบข้อที่สร้างขึ้นและนําไปทดสอบแล้วส่งให้นิสิตทันตแพทย์ จุฬาฯ จํานวน 497 คน ตอบ สาระของคําถามจะประกอบด้วยคําถามทางด้านประชากรศาสตร์ คําถามเกี่ยวกับ ระดับอารมณ์ความเครียดและกังวลใจและสภาวะของสุขภาพ สาเหตุที่ทําให้นิสิตมีอารมณ์เครียดวิตกกังวล ผลการศึกษา คุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยมีความสุข 62.9 เปอร์เซ็นต์มีอารมณ์ที่ เบื่อหน่ายการเรียนและการฝึกปฏิบัติงานในคลินิกและแลบ 64.2 เปอร์เซ็นต์มีความวิตกกังวล ยิ่งศึกษาในชั้นปีที่สูง ขึ้นความวิตกกังวลมีมากขึ้น สาเหตุของความวิตกกังวลและเครียดของนิสิตมาจาก 1) การเรียนที่หนักและขาดเวลา พักผ่อน 2) บรรยากาศการเข้าหาอาจารย์และท่าทีที่แสดงออกของอาจารย์ 3) ปริมาณงานที่ได้รับและต้องทําให้ ครบเกณฑ์ 4) การสอบและเกรด นิสิตที่เรียนและเล่นกีฬาจะมีอารมณ์เครียดน้อยกว่านิสิตที่เรียนอย่างเดียวโดยไม่เล่นกีฬา (P=0.000)สรุป นิสิตทันตแพทย์มีความเครียดและวิตกกังวลค่อนข้างมาก กว่าครึ่งหนึ่งของนิสิตมีความรู้สึกที่เบื่อหน่ายการเรียน ฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนควรจะต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการให้ดี ควรมีการจัดการเรื่องการให้คําปรึกษา ช่วยเหลือนิสิตในยามที่มีปัญหาด้านการเรียนทฤษฎีและปฏิบัติ