Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 1 - 30 of 347

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Engaged Buddhist Community As A Human Right Response: A Case Of Buddhist Participatory Communication, Palphol Rodloytuk Jul 2021

Engaged Buddhist Community As A Human Right Response: A Case Of Buddhist Participatory Communication, Palphol Rodloytuk

Asian Review

Religions have played very important roles in resolving conflicts and problems for mankind in addition to providing the paths to happiness and salvations based on their uniquely defined traditions and frameworks. In the past several decades, where world problems have become more complex, including peace and conflict resolution, requiring more complex international standards and frameworks, the declaration of human rights was announced, promulgated, and implemented into governance and development policies adopted by many countries worldwide, in order to facilitate the ways that problems, conflicts, and various causes of suffering could be solved, with clear international standards and guidelines. Religions, Buddhism …


The Covid-19 Pandemic And Human Rights Limitation: The Role Of Trust And Communication In Vietnam, Van Thanh Vu Jul 2021

The Covid-19 Pandemic And Human Rights Limitation: The Role Of Trust And Communication In Vietnam, Van Thanh Vu

Asian Review

The COVID-19 pandemic is an unprecedented health crisis in modern history, causing disruption and chaos to the usual way of life, and requiring radical measures. This study investigates how willingly Vietnamese people cooperate with their government’s anti-pandemic measures, which limit their right to assembly, privacy and freedom of movement during the COVID-19 pandemic. The findings show that the region of residence of the respondents influences their cooperation with government’s measures. It has also been found that the more the respondents have trust in the government as an important agency in pandemic management, the more they cooperate with the government’s measures.


Authoritarianism And People-Centric Development In Asian Context, Jayasri Priyalal Maggonage Jul 2021

Authoritarianism And People-Centric Development In Asian Context, Jayasri Priyalal Maggonage

Asian Review

What are the successes and failures of the Asian authoritarian political systems, and how they have evolved over the centuries? Thus, Chinese history became a chapter of human civilization. The famous saying reminds us that; those who cannot cope with changes will never initiate changes. What are those changes, and how did the rulers, emperors, and party leaders in China adjust to the change is worth exploring academically from a historical point of view, The salient features of the code of conduct the rulers adopted presumably gave the numerous emperors a sense of direction to apply autocratic rule yet maintained …


Migrant Workers Rights From A Human Rights Perspective, Padma Rani Jul 2021

Migrant Workers Rights From A Human Rights Perspective, Padma Rani

Asian Review

Migrant workers constitute 59% of the migrant population. Migrants contribute to growth and development in their place of destination, while the place of origin benefits from their remittances and the skills acquired. Migration is here to stay, it has multiple benefits, and it is a fundamental human right to work and move in freedom. The two main approaches to deal with migration-the migration management and the human rights approach. The human rights approach is based on international human rights law. Under international human rights law, all migrants are entitled to respect, protection, and full enjoyment of their human rights, regardless …


Introduction: Human Rights As A Development Right, Kalinga Seneviratne Jul 2021

Introduction: Human Rights As A Development Right, Kalinga Seneviratne

Asian Review

No abstract provided.


The Spiritual Basis Of The Struggle For Alternative Societies, Chandra Muzaffar Jul 2021

The Spiritual Basis Of The Struggle For Alternative Societies, Chandra Muzaffar

Asian Review

There has never been a situation where humankind as a whole is faced with a multitude of challenges all at the same time in different spheres of life. This is partly because we are all being drawn — whatever our cultures and ideologies — into the same pattern of modernization which is supposed to signify progress. There are, in fact, two processes at work in this transformation of the entire globe into a certain pattern of existence. At the deeper level, there is a definite notion of the individual, the community, nature, and technology, which is embodied in that worldview …


การศึกษาข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เสกสรรค์ นามบัวศรี Jan 2021

การศึกษาข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เสกสรรค์ นามบัวศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของ รฟม. และเสนอแนวทางการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มรายได้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์บุคลากรของ รฟม. พบว่า การสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของ รฟม. มีข้อจำกัดแบ่งเป็น ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากที่ดินของโครงการรถไฟฟ้าซึ่งได้จากการเวนคืนที่ดิน พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 75 (6) ซึ่งกำหนดให้การให้เช่าหรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ การกำหนดรูปแบบการลงทุนและการแบ่งผลตอบแทน และการกำกับดูแลจากหน่วยงานภายนอก สำหรับข้อจำกัดที่ไม่ใช่กฎหมาย ได้แก่ วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูงของ รฟม. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงธุรกิจ และการสร้างความร่วมมือระหว่างส่วนงานภายในองค์การ ข้อเสนอแนะในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นโดยการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในบริเวณโครงการรถไฟฟ้า (Transit-Oriented Development: TOD) การปรับกฎหมายที่เป็นข้อจำกัดของการใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทบทวนการแบ่งผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อรับรู้รายได้มากขึ้น พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงธุรกิจ และเร่งรัดการเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งสาธารณะอื่น


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ Jan 2021

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบทบาทและโครงสร้างองค์การของกรมศุลกากรและศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลของกรมศุลกากร ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน ซึ่งครอบคลุมข้าราชการกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่จากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลการศึกษา พบว่า กรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะหน่วยงานหลักภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีกองสืบสวนและปราบปรามที่ทำหน้าที่ในด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล โดยปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นหลัก ในด้านโครงสร้างองค์การนั้นกรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะสำนักปฏิบัติการ 4 ที่มุ่งเน้นภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลในรูปแบบของการบูรณาการ และได้มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีการลักลอบขนส่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงทางทะเล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการบูรณาการร่วมกันระหว่างทั้งหน่วยงานภายในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับภาวะปกติจนถึงภาวะที่ไม่ปกติที่อาจส่งผลต่อความเสียหายของประเทศอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ในด้านการปฏิบัติงานนั้น พบข้อจำกัดและอุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดแคลนเรือตรวจการณ์ สถานที่จอดเรือ และระบบเทคโนโลยีในการติดตามเรือ ที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในบางพื้นที่ รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน และวัฒนธรรมในการบูรณาการร่วมกันที่ควรมีการพัฒนาในรูปแบบการยึดผลงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การอันจะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น


การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (E-Project) กรณีศึกษา กรมศุลกากร, พิยวรรณ สุภัททธรรม Jan 2021

การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (E-Project) กรณีศึกษา กรมศุลกากร, พิยวรรณ สุภัททธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร และเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและกลุ่มตัวอย่าง มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า ระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร เป็นระบบงานที่ใช้ในการบริหารจัดการ ตรวจสอบติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกรมศุลกากร โดยระบบนี้ได้มีการใช้งานมามากกว่า 10 ปี และมีข้อจำกัดในการใช้งานบางประการ จากการสอบถามความพึงพอใจที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร สามารถสรุปได้ว่า มีผลความพึงพอใจอยู่ที่ระดับปานกลาง ยกเว้นเพียงด้านซอฟต์แวร์ ที่มีผลความพึงพอใจอยู่ที่ระดับน้อย ปัญหาและอุปสรรคของระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร ที่พบมากที่สุดคือเรื่อง ซอฟต์แวร์ ซึ่งหากมีโอกาสในการพัฒนาระบบต่อไป ควรต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการพัฒนา แก้ไข และปรับปรุงเป็นส่วนแรก แนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร ควรมีการพัฒนาโดยการใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบ มีความน่าเชื่อถือ สำหรับการเชื่อมโยงกันระหว่างระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร และระบบ eMENSCR ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า มีโอกาสมาก เพราะมีอยู่ในแผนงานของทาง สศช. ด้วยระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 เมื่อระบบ eMENSCR เปิดให้เชื่อมโยงข้อมูลได้ กรมศุลกากรควรพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ให้เชื่อมโยงกัน


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4.0 (ปภ. 4.0), พีระพงศ์ ศรีชัย Jan 2021

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4.0 (ปภ. 4.0), พีระพงศ์ ศรีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาเป็นระบบราชการ 4.0 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการเป็น ปภ. 4.0 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็น ปภ. 4.0 และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสู่การเป็น ปภ. 4.0 ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1. การพัฒนาเป็นระบบราชการ 4.0 ของ ปภ. แบ่งเป็น 1) ปัจจัยการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 ของ ปภ. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้นำ ด้านความร่วมมือ ด้านนวัตกรรม ด้านบุคลากร ด้านความเป็นดิจิทัล ด้านผลลัพธ์ ด้านผู้รับบริการ และด้านกระบวนการ และ 2) การเป็น ปภ. 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ด้านการมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย และด้านการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อการเป็น ปภ. 4.0 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ตำแหน่งงาน และสังกัด 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็น ปภ. 4.0 ได้แก่ ด้านการให้ความร่วมมือ ด้านบุคลากร และด้านผู้นำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยทั้ง 3 ร่วมกันพยากรณ์การเป็น ปภ. 4.0 ได้ร้อยละ 78.20 4. แนวทางในการสู่การเป็น ปภ. 4.0 สรุปได้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ควรมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้พัฒนาระบบการทำงาน 2) ด้านบุคลากร ควรยกระดับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ HRM 4.0 3) ด้านเครือข่ายและความเป็นหุ้นส่วน …


ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี: กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จ.เลย, สโรบล มนตรีรักษ์ Jan 2021

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี: กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จ.เลย, สโรบล มนตรีรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามวิจัยที่ว่า โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนไทดำบ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ OTOP นวัตวิถีในพื้นที่หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ จำนวนรวม 8 คน งานวิจัยพบว่า ชาวไทดำมีการบริหารจัดการทางวัฒนธรรมอยู่แล้วก่อนการเข้ามาของโครงการ OTOP นวัตวิถี เช่น การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่ม การทำที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในลักษณะโฮมสเตย์ เป็นต้น ดังนั้นโครงการ OTOP นวัตวิถีจึงส่งผลให้มีการเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น เพิ่มรายได้ ด้านผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมการดำเนินโครงการ OTOP นวัตวิถีทำให้เกิดการส่งเสริมทำให้เกิดการจัดตั้งองค์กรทางเศรษฐกิจใหม่ภายในชุมชนไทดำ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการให้วัตถุดิบในการผลิต และการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้จากการทำการเกษตร ส่งผลให้โครงสร้างของการบริหารจัดการที่เป็นระเบียบมากขึ้น มีการพัฒนาเกี่ยวกับการให้บริการนักท่องเที่ยว การแสดง การบริการอาหารและที่พัก เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน การมีผลประโยชน์เข้ามาในชุมชนก็ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น เกิดความขัดแย้งจากการกระจายผลประโยชน์ไม่ทั่วถึงในชุมชน ทำให้เกิดผลกระทบทางลบด้านสังคมขึ้นภายในชุมชน สำหรับผลกระทบด้านวัฒนธรรม งานวิจัยพบว่าชาวไทดำส่วนใหญ่เห็นว่า OTOP นวัตวิถีได้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อวัฒนธรรมไทดำในแง่ที่ทำให้พวกเขาเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีผู้เห็นว่า OTOP นวัตวิถีมีผลกระทบทางลบในแง่การนำสินค้าที่ผลิตจากภายนอกมาสร้างแบรนด์ไทดำทั้งที่ไม่ได้มีเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์หรือวิถีชีวิตของชาวไทดำ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามามากขึ้น


แนวทางพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานกรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ชีวภัทร์ สวิงสุวรรณ Jan 2021

แนวทางพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานกรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ชีวภัทร์ สวิงสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และนำเสนอ หรือเสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงและต่อยอดการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือสามารถพิจารณานำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยต่อไป โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth -Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่รับผิดชอบกำกับดูแลด้านการบริหาร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้อำนวยการกลุ่มงานต่าง ๆ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ผลการศึกษาพบว่า กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางของสำนักงาน ก.พ. มาตามลำดับ โดยได้เสนอให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาออกประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางของสำนักงาน ก.พ. ที่แจ้งให้ส่วนราชการต่าง ๆ ยืดถือเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใช้มาตรฐานการดำเนินงานอย่างเดียวกัน และสอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งการพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเอง มีจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง ปัญหาและอุปสรรคในขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ดังนั้น การพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการต่าง ๆ ร่วมกัน จึงจะทำให้การประเมินผลการปฏิบัติงานสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด


ทัศนคติของบุคลากรบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษา : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สินชัย สุริยงค์ Jan 2021

ทัศนคติของบุคลากรบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษา : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สินชัย สุริยงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของบุคลากรบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 กรณีศึกษา : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 3) ศึกษาถึงประโยชน์ และข้อจำกัด เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 290 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และภูมิลำเนา แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 2) ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 3) บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่าการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีประโยชน์หรือมีความพึงพอใจในเรื่องของการประหยัดเวลาในการเดินทาง การประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าเครื่องแต่งกาย ฯ และการได้ใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็เห็นว่า การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและ/หรือผู้บังคับบัญชาลดน้อยลง ไม่สามารถแยกเวลาปฏิบัติงานกับเวลาส่วนตัวได้ และปัญหาความเครียด เป็นข้อจำกัดหรือความท้าทายที่บุคลากรส่วนใหญ่ต้องเผชิญ


ความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการกรมศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่สืบสวนและปราบปราม, อัษฎา หิรัญบูรณะ Jan 2021

ความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการกรมศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่สืบสวนและปราบปราม, อัษฎา หิรัญบูรณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรมศุลกากรได้มีการนำระบบการข่าวกรองมาใช้ประกอบกับหลักการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 แต่จวบจนปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) ยังไม่เคยมีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานระบบการข่าวกรองในมุมของบุคลากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปราม งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อทราบถึงระดับความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากร 2. เพื่อทราบถึงความแตกต่างด้านความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากร เมื่อแบ่งกลุ่มจำแนกตามระดับตำแหน่ง ช่วงอายุ ช่วงอายุราชการ ช่วงประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนและปราบปราม จำนวนครั้งที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการข่าว และสังกัดปฏิบัติงาน 3. สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ด้านการข่าวของเจ้าหน้าที่ภายในกรมศุลกากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยรูปแบบผสมศึกษาประชากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากร ผ่านการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 81 รายเพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 รายเพื่อศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากรมีระดับความรู้ความเข้าใจโครงสร้างองค์การเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 55.4 มีระดับสมรรถนะด้านการข่าวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 58.8 และมีแนวโน้มทัศนคติด้านการข่าวในเชิงบวก โดยจำนวนครั้งที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการข่าวมีผลต่อมีแนวโน้มทัศนคติด้านการข่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยมี 3 ประการ ได้แก่ 1. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการข่าวควรมีสถานะโครงสร้างที่ชัดเจนเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ ซี่งจะส่งผลให้การสนับสนุนด้านการข่าวแก่หน่วยงานด้านสืบสวนและปราบปรามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การจัดทำระบบเทคโนโลยีฐานข้อมูลใหม่เป็นสิ่งที่น่าริเริ่มศึกษา เนื่องจากระบบเทคโนโลยีฐานข้อมูลของกรมศุลกากรในปัจจุบันมีการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูลน้อยและไม่เอื้อต่อการใช้งาน (user - unfriendly) จนเป็นภาระต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปราม 3. การจัดฝึกอบรมด้านการข่าวและการสืบสวนและปราบปรามในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงขึ้นไปจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่เหมาะสมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามที่มีระดับประสบการณ์แตกต่างกันได้


ความพร้อมของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรมช่วงเวลา พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564, วิรุจน์ วิโรจน์ธนากุล Jan 2021

ความพร้อมของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรมช่วงเวลา พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564, วิรุจน์ วิโรจน์ธนากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาวิจัย เรื่องความพร้อมของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วงเวลา พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาความพร้อมของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วงเวลา พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วงเวลา พ.ศ. 2562 -พ.ศ. 2564 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของบุคลากรภาครัฐกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วงเวลา พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2564 โดยใช้การศึกษาในเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์บุคลากรกลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 12 คน ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรระดับบริหาร และบุคลากรระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรภาครัฐมีความพร้อมกับการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการประชาชนของสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วงเวลา พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564 อยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่ามีความแตกต่างระหว่างแนวคิดของผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งพบว่า ผู้บริหารมองว่าองค์กรและบุคลากรมีความพร้อมต่อการปรับใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก แต่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งระดับชำนาญการ ชำนาญงาน และปฏิบัติงาน มีความพร้อมในระดับปานกลางเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อต่อความพร้อม หรือมองว่าเป็นปัญหาอุปสรรคในการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กร ส่วนใหญ่จะเป็นสมรรถนะคอมพิวเตอร์ ทัศนคติที่มีต่อองค์กรและต่อเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงอายุของผู้ปฏิบัติงานด้วย ซึ่งการศึกษาส่วนใหญ่ ผู้ปฏิบัติงานมีสมรรถนะคอมพิวเตอร์ระดับปานกลาง ทำให้ความเชี่ยวชาญในการใช้งานระบบดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยพบว่ามีปัญหาในเรื่องขององค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบเชิงลึก ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และปัญหาระบบบริการที่ยังไม่เสถียร ยังมีความยากต่อการใช้งานของบุคลากรอยู่ นอกจากนี้ยังพบปัญหาความไม่เพียงพอของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยรวมจึงมองว่า การปรับใช้งานระบบเป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องรอให้พร้อมมากกว่านี้


ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) กับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) : กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ, ศิรินภา เสริมศรี Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) กับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) : กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ, ศิรินภา เสริมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนกับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคล คือ นายกเทศมนตรีตำบล หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สมาชิก อปพร. ดีเด่น และประชาชนที่รับบริการ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกับการปฎิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรณีศึกษา อปพร. เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และอปพร. เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ด้านการจัดการงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2. ด้านการบริหารจัดการองค์กรของท้องถิ่น 3. ด้านการบริการประชาชน จากผลการศึกษาในครั้งนี้ หน่วยงานสามารถนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อการพัฒนาอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่มีความจำเป็นต่อไป


การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง, ปิยนุช สถาวร Jan 2021

การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง, ปิยนุช สถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเกิดภัยพิบัติด้านน้ำบ่อยครั้ง อันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและจากฝีมือมนุษย์ สร้างความเสียหายต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงอาจจะต้องคำนวณจากความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำต้นทุน (Supply) และปริมาณความต้องการใช้น้ำ (Demand) กรมชลประทานได้ชี้ว่า สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 มีสาเหตุจากปรากฎการณ์เอลนีโญ (El Niño) ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 - 2562 ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปีอยู่ที่ร้อยละ 16 ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศลดน้อยลง โดยมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบัน สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งรวมถึงพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำมีระดับความรุนแรงสูงสุดในรอบ 14 ปี ในจังหวัดระยองมีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญจำนวน 5 อ่างฯ ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2562 ปริมาณน้ำคงเหลือทั้ง 5 อ่างฯ มีปริมาณคงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 50 นับว่าเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ และหากฤดูฝนในปี 2563 ล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จะให้เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจนกระทบต่อหลายพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินการของภาครัฐและผู้ใช้น้ำในสถานการณ์วิกฤต ศึกษาระดับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ใช้น้ำในสถานการณ์วิกฤต อีกทั้งเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารภาครัฐและผู้ใช้น้ำที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษามาตรการในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง จังหวัดระยอง มีลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ใช้น้ำ ตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต ระยะเกิดภาวะวิกฤต และระยะหลังเกิดภาวะวิกฤต ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ด้านความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำระหว่างภาครัฐและตัวแทนผู้ใช้น้ำภาคอุปโภคบริโภค และตัวแทนผู้ใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม มีการร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันผู้ใช้น้ำภาคเกษตรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานยังมีบทบาทน้อยเกินไป การแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำแบบบูรณาการที่แท้จริง ต้องประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่มีทั้งส่วนได้และส่วนเสีย เข้าร่วมทุกองค์ประกอบของกิจกรรม อันจะนำมาซึ่งความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน


การปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตในยุคสังคมผู้สูงอายุ, สุกัญญา ชำนาญ Jan 2021

การปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตในยุคสังคมผู้สูงอายุ, สุกัญญา ชำนาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคตที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ของธุรกิจประกันชีวิต และเพื่อศึกษาการปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของการเข้าสู่สังคมผู้อายุ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันชีวิต จำนวน 5 คน และผู้บริหารระดับสูงธุรกิจประกันชีวีตในวัยเกษียณ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ตามแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมุลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสะสม ผลการวิจัย ปรากฏว่า แนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคตที่ส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิต สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีความพร้อมในฐานะทางการเงิน และกลุ่มที่ 2 ที่สนใจการออมเงินและการลงทุนผ่านประกันชีวิต และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ยังต้องพึ่งพิงลูกหลาน ไม่มีรายได้ อยู่ได้ด้วยเงินสวัสดิการของภาครัฐและลูกหลาน ภาครัฐควรเข้ามาร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนกระตุ้นหรือช่วยเหลือให้ประชากรกลุ่มนี้มีสวัสดิการประกันชีวิต ส่วนการปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านการดำเนินงานมุ่งเน้นช่องทางในการสื่อสารและการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย 2) ด้านผลิตภัณฑ์ใหม่มุ่งเน้นการให้ความคุ้มครอง การประกันสุขภาพ และรองรับการเกษียณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และ 3) ด้านกลยุทธ์มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และสื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการทำประกันชีวิต


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์การ กรณีศึกษา บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด, บัณฑิต ฉายาขจรพันธ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์การ กรณีศึกษา บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด, บัณฑิต ฉายาขจรพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในภายในองค์การ กรณีศึกษา บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด โดยเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปเพื่อใช้ในการสร้างแรงจูงใจ ปรับปรุงโครงสร้างสวัสดิการ ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานที่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่ บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด จำนวน 192 คน การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม คือการวิจับแบบเชิงปริมาณและการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การวิจัยแบบเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test, One-Way ANOVA ,Chi-Square และการวิเคราะห์การถดถอยของตัวแปรแบบพหุคูณ (Multiple Regression) จากการวิจัยพบว่า 1) พนักงานบริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด มีความคิดเห็นด้วยมากด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในระดับต่ำมาก 3) ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยปัจจัยด้านความสำเร็จของงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด 4) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยแผนกลยุทธ์ขององค์กร ตรงตามวิสัยทัศน์ เป้าหมายวัตถุประสงค์และบริษัทฯ มีความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ พนักงานมีทักษะ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: มุมมองผู้บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลดินแดง, พรรณิดา ศรีเลิศชัยวัฒน์ Jan 2021

ความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: มุมมองผู้บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลดินแดง, พรรณิดา ศรีเลิศชัยวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2565 มีการชุมนุมเกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการออกมาชุมนุมของกลุ่มเยาวชนที่เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และข้อกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้ดุลยพินิจของตนเองในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะ และข้อกำหนดดังกล่าวยังตัดทอนกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ นำไปสู่การควบคุมการชุมนุมสาธารณะในหลายพื้นที่ รวมถึงพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่กลุ่มเยาวชนมักมาชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักความสมดุลระหว่างความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้ข้อกำหนดดังกล่าวยังทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจขาดกรอบอันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติ และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องดำเนินคดี ข้อเสนอแนะคือรัฐควรให้แนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อเลี่ยงการใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเป็นอัตวิสัยส่วนบุคคลอันสามารถนำไปสู่ข้อโต้แย้งและผลทางกฎหมายอื่น ๆ ตามมา


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วงWfh และความท้าทายในการจัดการของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ปิยฉัตร คีรีมาศทอง Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วงWfh และความท้าทายในการจัดการของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ปิยฉัตร คีรีมาศทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดสรรบุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการทำงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านลักษณะงาน ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพทำให้ทราบถึงการจัดแผนการดำเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) และแนวทาง ข้อเสนอแนะในการปรับรูปแบบการบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรบุคคล การเตรียมความพร้อม และการวางแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


ภารกิจและการบริหารมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : กรณีศึกษา มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์, อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล Jan 2021

ภารกิจและการบริหารมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : กรณีศึกษา มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์, อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ภารกิจของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นอย่างไร และมีอิทธิพลต่อกระบวนการในการบริหารองค์การอย่างไร โดยมีมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ เป็นกรณีศึกษา รวมทั้งตอบคำถามว่า กระบวนการในการบริหารของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง โดยศึกษาเจาะลงไปที่มูลนิธิฯ ในประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การพัฒนาเอกชน และกระบวนการในการบริหารองค์การ ตลอดจนองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของประเทศเยอรมนี ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานการดำเนินงานประจำปีของมูลนิธิฯ บทความประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรม รายละเอียดโครงการความร่วมมือ รายงานสรุปการดำเนินโครงการ รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานในมูลนิธิฯ จากการศึกษา ได้ข้อค้นพบว่า ภารกิจของมูลนิธิฯ เกี่ยวโยงกับภูมิหลังที่มาที่ไปตามประวัติศาสตร์ของประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การมุ่งส่งเสริมการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ และเสริมสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตย ผ่านการให้การสนับสนุนองค์การในความร่วมมือทั่วโลก วิสัยทัศน์และพันธกิจนั้นเชื่อมโยงไปยังวัตถุประสงค์และประเด็นการดำเนินงานของมูลนิธิฯ รวมทั้งการวางกรอบนโยบายการทำงานที่เป็นขั้นตอน และการวางองค์ประกอบการทำงานภายในมูลนิธิฯ เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัว ในส่วนของกระบวนการในการบริหารงานมูลนิธิฯ ที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยนั้น มีการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อนำเอาผลมาพิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์การทำงาน ซึ่งมีทั้งระยะยาว 3 ปี ระยะกลาง 1 ปี และระยะสั้นภายในระยะเวลา 1 ปี องค์ประกอบองค์การมีตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในสายงานหลักและสายงานสนับสนุนที่มีหน้าที่รับผิดชอบของตนชัดเจน มีลำดับขั้นบังคับบัญชาน้อยมากและไม่ซับซ้อน การควบคุมผลการดำเนินงานเน้นการควบคุมให้มีการติดตามและประเมินผลโครงการที่ชัดเจน การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณที่รวดเร็วโปร่งใส ท้ายสุด ในการวัดประสิทธิผลองค์การ มูลนิธิฯ วัดโดยยึดที่ความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย และวัดที่ความพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมูลนิธิฯ


ประสิทธิภาพของระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรม (Cios): กรณีศึกษาความคิดเห็นของทนายความในจังหวัดอ่างทอง, ธีระ แก้วรัตนศรีโพธิ์ Jan 2021

ประสิทธิภาพของระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรม (Cios): กรณีศึกษาความคิดเห็นของทนายความในจังหวัดอ่างทอง, ธีระ แก้วรัตนศรีโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรม (CIOS) ผ่านความคิดเห็นของทนายความผู้ใช้ระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรมออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของทนายความที่มีต่อการปรับใช้งานระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม ของสำนักงานศาลยุติธรรม อีกทั้งเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเห็นการปรับใช้งานระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรมของสำนักงานศาลยุติธรรม และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือทนายความที่มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอ่างทองจำนวน 20 คน ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้น แบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่การเก็บแบบสอบถามปลายปิดและทำการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำผลการเก็บแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(one way anova) หรือ F-test และในส่วนของการสัมภาษณ์นั้นจะใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยผลสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองแบบนั้นแสดงได้ว่าทนายความส่วนใหญ่มีความคิดว่าระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรมนั้นสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในระดับดี แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานระบบและการให้ข้อมูลการใช้งานของเจ้าหน้าที่ และมีความคิดเห็นบ้างส่วนแสดงให้เห็นว่าระบบนี้นั้นเหมาะกับงานคดีบ้างประเภทเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมในการให้บริการในทุกรูปแบบคดี


ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร, กฤติน ทองมาก Jan 2021

ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร, กฤติน ทองมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานวิจัย “ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร” จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร สังกัดกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ข้าราชการเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆปี และเสนอแนะแนวทางในการวางแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลแก่กองตรวจสอบอากร สำหรับการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และกระบวนการทำงานของข้าราชการ ทั้งนี้ในช่วงการดำเนินงานได้มีการประสานความร่วมมือและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านทรัพยากรบุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ มีการสัมภาษณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก อีกทั้งการเก็บข้อมูลงานวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถามจากบุคลากรภายในหน่วยงาน และได้มีการศึกษาทบทวนวรรณกรรมงานวิจัย และข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อได้มาซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากรมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ซึ่งต้องการทักษะเฉพาะด้านในแต่ละองค์ประกอบ อาทิ การจัดเก็บอากร การตรวจสอบเอกสาร การตรวจสอบพิกัดศุลกากร การตรวจสอบบัญชีเอกสาร การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จากการทำการวิจัยได้ผลลัพธ์การวิจัยว่า การเกษียณอายุราชการส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากรในหลากหลายด้าน อาทิ การจัดเก็บและตรวจสอบเอกสารหลังผ่านพิธีการศุลกากร การตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร และการขอรับสิทธิประโยชน์ทางอากรให้ครบถ้วน การกำหนดแนวทางหรือมาตรการด้านการตรวจสอบการจัดเก็บอากรและสิทธิประโยชน์ทางอากร กระบวนการและมาตรการในการจัดเก็บภาษีอากร เป็นต้น ซึ่งผลกระทบจะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของบุคลากรที่ได้เกษียณอายุราชการไป โดยตำแหน่งที่เมื่อเกษียณอายุราชการแล้วส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากรมากที่สุดคือ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ ที่สะสมองค์ความรู้ไว้มาก และมีอัตราการเกษียณอายุที่สูงที่สุดภายในหน่วยงาน เพื่อลดผลกระทบจากการเกษียณอายุดังกล่าว กองตรวจสอบอากรควรมีการวางแผนการสอนงานผ่านระบบการโค้ช (Coaching) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) พิจารณาการสรรหาบุคลากรที่มีชุดประสบการณ์ใกล้เคียงกันจากหน่วยงานอื่นภายในกรมศุลกากรมาทดแทน รวมไปถึงในระยะยาว ควรมีการปรับปรุงนโยบายวางแผนทรัพยากรบุคคล และการปรับตัวชี้วัดให้มีความเชื่อมโยงกันภายในกลุ่มด้วย


การนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี, คมสัน ดาวทอง Jan 2021

การนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี, คมสัน ดาวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีไปปฏิบัติ รวมทั้ง ปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินโครงการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง จากผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ จำนวน 3 กลุ่ม 26 ราย ทำการตรวจสอบด้วยวิธีการสามเส้า (Triangulation) จากการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวภายในชุมชน ด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนา พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น มากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ดำเนินโครงการ อีกทั้งด้านผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อมนั้น พบว่าในด้านผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนนั้น ไม่มีปัญหาใดๆ แต่ด้านผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมนั้นพอมีอยู่บ้าง แต่สามารถควบคุมและแก้ไขได้ ไม่ก่อผลกระทบที่รุนแรงกับชุมชน ในการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เช่น สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดี ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่าย มีการใช้จ่ายอย่างประหยัดทำให้การกระจายรายได้สู่ชุมชนยังไม่เต็มที่เท่าที่จะควร ปัญหาการขาดการให้ความช่วยเหลือจากผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาความร่วมมือของคนภายในชุมชน และปัญหาการขาดการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึงในวงกว้าง และข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ได้แก่ ทางราชการควรมีงบประมาณในการต่อยอดการดำเนินโครงการฯ เพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างร้านค้า ตลาดชุมชนให้มีความมั่นคงแข็งแรง การประชาสัมพันธ์หมู่บ้านให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนให้หน่วยงานราชการต่างๆ ไปศึกษาดูงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี การส่งเสริมความร่วมมือทั้งหน่วยงานราชการท้องถิ่น ท้องที่ และชาวบ้านในพื้นที่ให้ร่วมมือกันทำงานด้วยกันทุกฝ่าย


แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานฝีมือทักษะสูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, นรเศรษฐ์ คำบำรุง Jan 2021

แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานฝีมือทักษะสูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, นรเศรษฐ์ คำบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านแรงงานทักษะฝีมือสูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความท้าทายด้านการพัฒนาแรงงานทักษะฝีมือสูงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อหาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาแรงงานทักษะฝีมือสูงให้มีความรวดเร็วและได้จำนวนเพียงพอต่อความต้องการ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานฝีมือทักษะสูงโดยตรง จำนวนทั้งสิ้น 17 คน แบ่งเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้าง/ใช้แรงงานฝีมือทักษะสูง (4 คน) กลุ่มผู้พัฒนาแรงงานฝีมือทักษะสูง (7 คน) กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ (6 คน) ผลการศึกษาพบว่า 1) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ต้องการแรงงานฝีมือทักษะสูงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน การออกแบบสร้างสรรค์และปรับปรุงกระบวนการทำงาน และทักษะเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติสมัยใหม่ ซึ่งแรงงานในส่วนนี้ยังไม่ได้รับตอบสนองด้านการพัฒนาทักษะฝีมือได้อย่างรวดเร็วทันท่วงทีตามความต้องการของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) การพัฒนาแรงงานฝีมือทักษะสูงยังคงมีความท้าทายในหลายด้าน ซึ่งส่งผลต่อจำนวน คุณภาพ และความรวดเร็วในการพัฒนาที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการแข่งขันขององค์กร โดยมีอุปสรรคจากการจัดสรรงบประมาณและการสนับสนุนที่ไม่ทั่วถึง ทำให้ระยะเวลาและจำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะขั้นสูงไม่ตรงตามจำนวนความต้องการของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก


การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่องค์การคล่องตัว: กรณีศึกษา โปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติการบริหารทรัพยากรบุคคล (Hr Chatbot) กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร, จักรกฤษณ์ ทิพย์ปัญญา Jan 2021

การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่องค์การคล่องตัว: กรณีศึกษา โปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติการบริหารทรัพยากรบุคคล (Hr Chatbot) กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร, จักรกฤษณ์ ทิพย์ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมศุลกากรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีความคล่องตัว (Agile Organization) 2) วิเคราะห์รูปแบบของการให้บริการข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลแก่ผู้รับบริการของกรมศุลกากร และ 3) นำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับบริบทในภาครัฐ ผลการศึกษา พบว่า 1) กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้องค์การเกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถ พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นไปตามแนวทางของแผนระดับประเทศ 2) การพัฒนาโปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติ Dada HR Chatbot สร้างความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่บุคลากร ทำให้องค์การมีความคล่องตัวมากขึ้น ในด้านการใช้งาน บุคลากรสามารถสอบถามข้อมูลได้ทั้งการพิมพ์ถามตอบ หรือกดปุ่มในประเด็นที่ต้องการ และ 3) แนวทางการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับบริบทในภาครัฐไทย มีความคาดหวังว่า องค์การจะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการให้บริการมากที่สุด เช่น การเพิ่มช่องทางในการให้บริการข้อมูลพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรรมการทำงานให้กับบุคลากรภายในมากขึ้น


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของบุคลากรในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา : กรมศุลกากร, จารุณี อามานนท์ Jan 2021

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของบุคลากรในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา : กรมศุลกากร, จารุณี อามานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของข้าราชการในช่วงวิกฤติการเกิดโรคระบาดของบุคลากรกรมศุลกากร ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครืองมือ คือ แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างบุคลากรกรมศุลกากร สำนักงานใหญ่ จำนวน 266 คน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของบุคลากรกรมศุลกากร ในช่วงวิกฤติการเกิดโรคระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงให้การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของบุคลากรกรมศุลกากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรกรมศุลกากรสายงานสนับสนุน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ภาพรวมปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง เปรียบเทียบก่อนและระหว่างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของบุคลากรกรมศุลกากรมากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home; WFH) มากกว่าด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน และมากกว่าด้านการติดต่อสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน และปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร ไม่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home; WFH) ของบุคลากรกรมศุลกากร ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปฏิเสธสมมติฐานที่ 1 และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของบุคลากรกรมศุลกากรในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อน WFH และระหว่าง WFH มีความแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานที่ 2 แนวทางการปรับปรุง พบว่า ควรปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้มีฐานข้อมูลที่เป็นดิจิตอล กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจน มีตารางงาน ลดขั้นตอนการทำงานลงโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้มีประสิทธิภาพโดยจัดหาอุปกรณ์อุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับบุคลากรให้เพียงพอ


การรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับการคำนวณและขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา เทศบาลนครรังสิต, เจริญรัตน์ แท่นทอง Jan 2021

การรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับการคำนวณและขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา เทศบาลนครรังสิต, เจริญรัตน์ แท่นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมติคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ประเด็นเรื่องสังคมสูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ซึ่งประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดสรรสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุคือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับการคำนวณวันที่ยื่นลงทะเบียน วันที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในบริบทของงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูล คือประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 55 - 58 ปี มีคุณสมบัติที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของกระทรวงมหาดไทย จำนวน 15 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรับยื่นลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครรังสิต จำนวน 1 คน ผลการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และแก้ไขเพิ่มเติม และแนวปฏิบัติที่กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือแจ้งเวียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญสอดคล้องกับระเบียบและหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนดหรือไม่อย่างไร โดยในภาพรวมพบว่า ผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมีการรับรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับสถานที่ยื่นลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพ ช่องทางการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ และความหมายของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ยังขาดการรับรู้ความเข้าใจในรายละเอียดสำคัญ ๆ ที่จะทำให้ยื่นตรงเวลา ได้รับสิทธิ์ตามที่ควรจะเป็น


บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ต่อการจัดระเบียบสายสื่อสาร, ณัชพนธ์ มีแสง Jan 2021

บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ต่อการจัดระเบียบสายสื่อสาร, ณัชพนธ์ มีแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทางผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ต่อการจัดระเบียบสายสื่อสารและแนวทางการจัดระเบียบสายสื่อสาร รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์จัดทำแนวทางแก้ไขปัญหา และเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบายและเชิงการปฏิบัติงานต่อหน่วยงานและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคม โดยผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และทำการรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการและประสบการณ์ปฏิบัติงานในภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาสายสื่อสารไม่เป็นระเบียบเกิดขึ้นจากความไม่ต่อเนื่องของนโยบายและแนวปฏิบัติที่สัมพันธ์กันมาตั้งแต่การดำเนินงานตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย ที่ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวในการเตรียมการรองรับสายที่จะเพิ่มขึ้น หรือรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต ด้วยบทบาทของสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานกลางในการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นสำนักงาน กสทช. ควรปรับบทบาทตนเองจากเดิมที่เป็นผู้รวบรวมแผนงานไปสู่การเป็นผู้นำในการประสานความร่วมมือ และการกำหนดแนวนโยบายหรือแผนการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ จึงต้องสร้างกระบวนการดำเนินงานที่เหมาะสม เพื่อลดความซ้ำซ้อน สร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ โดยสรุปแล้วสำนักงาน กสทช. ต้องมีการสร้างรูปแบบการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างเป็นระบบและสร้างการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติต่อไป