Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Political Science

Chulalongkorn University

Articles 1 - 25 of 25

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

พัฒนาการและปัญหาขององค์กรภาคประชาสังคม : ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานีจำกัด, ชิตวรรณ คำมะยอม Jan 2018

พัฒนาการและปัญหาขององค์กรภาคประชาสังคม : ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานีจำกัด, ชิตวรรณ คำมะยอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ศึกษาการจัดตั้งองค์กรพัฒนาการและปัญหาของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด 2. ทำความเข้าใจอำนาจทางการเมืองของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด ผ่านทางการศึกษาความสัมพันธ์ของชุมนุมสหกรณ์ฯ กับภาคส่วนต่าง ๆ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยในการศึกษาได้แก่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี และเครือข่ายของชุมนุมสหกรณ์ฯ ภายในจังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาจาก เอกสาร รายงาน งานวิจัยต่าง ๆ หนังสือ สื่อทั้งสิ่งพิมพ์และออนไลน์ ประกอบกับการทำวิจัยภาคสนาม โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานชุมนุมสหกรณ์ฯ ทั้งยังใช้วิธีการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมของชุมนุมสหกรณ์ฯ ข้อมูลที่ได้นำมารวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาด้านการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัดนั้น พบว่า การจัดตั้งชุมนุมฯ มาจากความต้องการรวมตัวของเกษตรกรเอง เนื่องจากเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในการขายยางพารา ได้แก่ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ความต้องการศูนย์กลางตลาดยางพารา ทำให้เห็นว่าการรวมตัวกันจะช่วยแก้ปัญหาได้ และสามารถรับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ แต่ปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งชุมนุมฯ คือการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะภาครัฐเองก็ได้ประโยชน์จากากรรวมตัวของกลุ่มเกษตร เนื่องจากภาครัฐสามารถได้ข้อมูลจากเกษตรกรได้ดีในเงื่อนไขที่มีการรวมกลุ่มกัน ทำให้ภาครัฐสามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดด้านการสร้างอำนาจทางการเมืองให้กับชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด ผลการศึกษาพบว่า อำนาจทางการเมืองของชุมนุมสหกรณ์ฯ วัดได้จากความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่าง ๆ ห้าด้านดังนี้คือ 1. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับนักการเมือง พบว่านักการเมืองเป็นคนสำคัญที่จะช่วยเจรจาต่อรองระหว่าง ชุมนุมสหกรณ์กับภาครัฐ เมื่อนักการเมืองมีอำนาจลดลงทำให้เกิดความอ่อนแอของชุมนุมสหกรณ์อย่างเห็นได้ชัด 2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับภาครัฐส่วนกลาง จะเห็นได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐให้การสนับสนุน และชุมนุมสหกรณ์ต้องพึ่งพิง ซึ่งไม่ได้มีอำนาจแบบเท่าเทียมกัน 3. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับภาครัฐส่วนภูมิภาค ประเด็นนี้พบว่าไม่มีความแน่นอน ไม่ได้มีลักษณะตายตัว หรือเป็นสถาบัน แต่ขึ้นอยู่กับ ตัวข้าราชการ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ หากข้าราชการฝ่ายปกครองให้ความสนใจประเด็นปัญหายางพารา ชุมนุมสหกรณ์ฯ ก็จะได้รับการช่วยเหลือดูแลและประสานงานอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นกับข้าราชการที่ย้ายมารับตำแหน่ง 4. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าความสัมพันธ์ด้านนี้นั้น ขึ้นกับบรรยากาศและบริบททางการเมือง ในบรรยากาศที่มีประชาธิปไตยและมีการกระจายอำนาจ องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสายสัมพันธ์ที่ดี และเอื้อประโยชน์ให้กับชุมนุมสหกรณ์ฯอย่างมาก และ 5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมนุมสหกรณ์ฯ กับพ่อค้าคนกลาง จะเห็นได้ว่าการรวมตัวกันของชาวสวนยางมีประโยชน์ให้เกิดอำนาจต่อรองมากกว่าชาวสวนยางในลักษณะปัจเจกบุคคล


The Role Of Central Agency In Promoting Open Government In Thailand : The Case Study Of Digital Government Development Agency (Dga), Thanadol Thongprakob Jan 2018

The Role Of Central Agency In Promoting Open Government In Thailand : The Case Study Of Digital Government Development Agency (Dga), Thanadol Thongprakob

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this research were to (1) understand the role of the Digital Government Development Agency (DGA), the central agency, in applying digital technology for promoting open government in Thailand by studying both related external and internal factors, and (2) to suggest key success factors for promoting open government in the country. The study applied qualitative method using documentary research as well as in-depth interview approach to gather primary information from key informants who are experienced and well-versed in digital technology. The findings were that the role of the DGA in promoting open government, such as the formation of …


การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร Jan 2018

การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคง: การวิเคราะห์เชิงวัจนกรรม ตั้งแต่ 2000-2018 พบว่าแรงผลักดันจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคงในประเทศไทย โดยใช้ (1) วัจนกรรมประเภทบอกกล่าว เพื่อเปิดประเด็นวาระการค้ามนุษย์ในเวทีระดับระหว่างประเทศ ด้วยการกล่าวถ้อยความเพื่อระบุข้อเท็จจริงของปัญหาการค้ามนุษย์ (2) วัจนกรรมประเภทคำสั่ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปทัสถานภายในประเทศให้สอดคล้องกับหลักมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปทัสถานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ (3) วัจนกรรมประเภทประกาศ เพื่อประกาศข้อกฎหมายหรือสถานะการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในรายงานต่าง ๆ ที่ออกโดยตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ เช่น รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) ซึ่งเป็นลักษณะของการติดตามตรวจสอบการทำงานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทย มากไปกว่านั้น การรับวาระการค้ามนุษย์ของประเทศไทยส่งผลให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ตามสภาพปัญหาที่ถูกผลักดันเข้ามาจากภายนอกที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงที่ 1 (2000-2007) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ตามปรากฏการณ์ด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความมั่นคงจากตัวแสดงที่มิใช่รัฐ ช่วงที่ 2 (2008-2013) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการค้ามนุษย์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน ช่วงที่ 3 (2014-2018) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การศึกษายังพบอีกว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาการค้ามนุษย์โดยพิจารณาปัญหาตามสภาพบริบทระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสำคัญ โดยมีตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศทำหน้าที่เปิดประเด็น หามาตรการบังคับ และติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ การประกาศสถานะการค้ามนุษย์ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายต่อต้านการค้ามนุษย์ตามข้อเรียกร้องที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญในการเรียกร้องการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนั้น การพิจารณาการค้ามนุษย์ในมุมมองของรัฐไทยจึงให้ความสำคัญกับการเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน


จากนักกิจกรรมนักศึกษา สู่นักการเมือง : การเมืองของการก่อตัวของ 'การตอบโต้ในสาธารณะ' พ.ศ. 2556-2562, ณพัทธ์ นรังศิยา Jan 2018

จากนักกิจกรรมนักศึกษา สู่นักการเมือง : การเมืองของการก่อตัวของ 'การตอบโต้ในสาธารณะ' พ.ศ. 2556-2562, ณพัทธ์ นรังศิยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์หลักของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือการแสวงหาคำอธิบายว่าอะไรคือบทบาท ผลกระทบ และความสำคัญของการเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมนักศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2556-2562 และศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงของความคิดทางการเมืองของนักกิจกรรมนักศึกษา รวมไปถึงแสวงหาคำตอบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ที่นักกิจกรรมนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้เปลี่ยนบทบาทของตนจากนักกิจกรรมนักศึกษามาเป็นนักการเมือง ผลการวิจัยพบว่า นักกิจกรรมนักศึกษานั้นมีบทบาทสำคัญในการก่อร่าง "การตอบโต้ในสาธารณะ"อันเป็นพื้นที่คู่ขนานที่เปิดโอกาสให้กับกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ ที่เป็นชนชั้นรอง หรือเป็นคนส่วนน้อยในสังคม ซึ่งในที่นี้หมายถึงกลุ่มคนที่ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยภายใต้รัฐบาลเผด็จการ โดยทำให้พวกเขาได้เข้ามาร่วมกันสร้าง แลกเปลี่ยน เสนอ หรือส่งต่อ วาทกรรมเพื่อตอบโต้หรือค่านิยมทางเลือกให้แก่สาธารณะ งานวิจัยฉบับนี้ยังพบว่านักกิจกรรมนักศึกษาเหล่านี้ภูมิหลังที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีความแตกต่างกันในด้านทิศทางของการก่อร่างความคิดทางการเมือง อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็เคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกันในท้ายที่สุด เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันในด้านมุมมองทางการเมือง งานวิจัยฉบับนี้ยังพบว่าโครงสร้างโอกาสทางการเมืองที่เปิดขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2562และความพร้อมของนักกิจกรรมนักศึกษาในทางการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของพวกเขา จากนักกิจกรรมนักศึกษาสู่การเป็นนักการเมือง


การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น, สุดรัก หนูนิ่ม Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น, สุดรัก หนูนิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาความสัมพันธ์การพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง ปัจจุบัน โดยมุ่งทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในอำนาจของนักการเมืองท้องถิ่นกับพื้นที่เมืองในระดับนคร ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการเมือง โดยมีคำถามการวิจัยคือ 1) ลักษณะการพัฒนาทุนนิยมของจังหวัดภูเก็ตเชื่อมโยงหรือมีผลต่อการเมืองท้องถิ่นอย่างไรและ 2) ทุนนิยมชนิดใดทีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เมืองภูเก็ตเกิดการพัฒนา การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาพื้นที่เมืองของเทศบาลนครภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่าทุนนิยมในเมืองนครภูเก็ตตั้งแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน ประกอบไปด้วยทุนนิยมเหมืองแร่ และทุนนิยมวัฒนธรรม โดยทุนนิยมเหมืองแร่มีทุนทรัพยากรเป็นพื้นฐานที่สำคัญหลังจากกิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซา เมืองภูเก็ตมีสภาพเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก จนกระทั่งนักการเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ตได้เล็งเห็นถึงการนำทุนอุตสาหกรรมและทุนภาคบริการมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง นับจากนั้นเพียงไม่นานทุนดังกล่าวก็ได้หล่อรวมเกิดเป็นทุนนิยมวัฒนธรรมขึ้นในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งทำให้นักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจในพื้นที่เมืองแห่งนี้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของเมืองนครภูเก็ตผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ทำให้พื้นที่เมืองถูกขยายและพัฒนาออกไป ระบบทุนนิยมวัฒนธรรมวัฒนธรรมส่งผลต่อเศรษฐกิจเมืองและเมื่อเศรษฐกิจเป็นตัวชี้นำทิศทางของการเมืองได้ การแพ้ชนะในการแข่งขันของการเมืองท้องถิ่นจึงเป็นการแพ้ชนะกันด้วยโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดทุนนิยมวัฒนธรรมขึ้น คือ การเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ตซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่ากลุ่มการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีมีมีเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มคนหนุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นนายทุนในพื้นที่ที่มีการสะสมทุนทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคทุนนิยมเหมืองแร่ ดังนั้นนครภูเก็ตตั้งแต่ปี 2540 จนกระทั้งถึงปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยทุนนิยมที่เรียกว่าทุนนิยมวัฒนธรรม


ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน, เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ Jan 2018

ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน, เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีคำถามหลักในการศึกษาว่า ความคิด “ประชาธิปไตย” (Democracy) ในฐานะความคิดการเมืองตะวันตก เริ่มเข้ามาในสังคมไทยในยุคสมัยใด และมีการรับรู้เข้าใจในรูปแบบใดบ้างจนถึง พ.ศ. 2475? ผลการศึกษาพบว่า ความคิด "ประชาธิปไตย" (Democracy) เริ่มเข้ามาสู่ในสังคมไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. 2475 มีการรับรู้เข้าใจในสังคมอย่างน้อยห้ารูปแบบด้วยกัน ได้แก่ (1) รูปแบบการปกครองที่ไม่มีกษัตริย์หรือมหาชนรัฐ (2) องค์ประกอบหนึ่งของระบอบการปกครอง (3) การปกครองของเอเธนส์โบราณ (4) การปกครองในรูปแบบตัวแทน และ (5) อำนาจของประชาชน มากไปกว่านั้น ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ความหมายของประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเอง และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทฤษฎีและปฏิบัติการทางการเมืองตราบจนถึงปัจจุบัน


The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak Jan 2018

The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of privatization in public sector is a one of strategic transformations that significantly helps promoting the organizational development in terms of efficiency and quality which subsequently resulted to the continuous financial development which refers to as revenue and profitability. Such development usually will be corresponded to the competitive market which indicates the organizational achievement. However, privatization can possibly create direct impacts on public sector and stakeholders as well if it was conducted in the public sector that emphasized on public health services such as public hospital where the core product is health care or medical treatment. The objectives …


การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช Jan 2018

การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้สมัชชา 18 ต้องทำการปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนที่เเต่เดิมเป็นเเบบกระจายตัวให้มีการรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น คือ เเบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายหันกลับสู่เอเชียของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของสมัชชา 18 เป็นการปฏิรูปอย่างรอบด้าน ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง รัฐบางท้องถิ่น และกองทัพ โดยในระดับรัฐบาลกลาง ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือการเปลี่ยนเเปลงบทบาทของกลุ่มผู้นำย่อย การประกาศใช้เเผนยุทธศาสตร์เเห่งชาติด้านการต่างประเทศ เเละการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ทับลงไปในกรอบความร่วมมือเดิม ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การใช้มาตรการทางการคลัง การใช้ระบบการเเบ่งหน้าที่ตามพื้นที่ เเละการเปลี่ยนเเปลงหน้าที่ของสำนักการต่างประเทศส่วนท้องถิ่น เเละในระดับกองทัพ ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การปฏิรูปกองทัพให้คณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางมีอำนาจที่เเท้จริงในการบัญชาการกองทัพ เเละการใช้เเนวคิดยุทธศาสตร์สามสงครามเพื่อบูรณาการฝ่ายพลเรือนเเละฝ่ายทหาร ทั้งหมดนี้ ทำให้กระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น เพื่อที่สมัชชา 18 จะสามารถจัดการกับปัญหาทั้งสามข้อข้างต้นได้อย่างรอบด้าน


วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง Jan 2018

วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบทการเมืองไทย โดยมีกรณีศึกษาคือโครงการเด็กดี V-STAR ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการ โดยอธิบายความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจและการต่อรอง ผ่านแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ และ กลไกอุดมการณ์รัฐตลอดจนแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาโดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบททางการเมืองไทยนั้น วัดอยู่ภายใต้การควบคุมของโครงสร้างอำนาจของรัฐผ่านกรอบของกฎหมายและระบบราชการ โดยมีการรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2540 วัดมีบทบาทสถาบันหนึ่งของสังคมที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาอุดมการณ์หลักของรัฐและมีบทบาทที่สัมพัน์กับรัฐใน 4 รูปแบบคือ ร่วมมือ เรียกร้อง ต่อรอง และ ขัดแย้ง ในกรณีของวัดพระธรรมกายกับกระทรวงศึกษาธิการพบว่าการดำเนินโครงการเด็กดี V-STAR มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงร่วมมือกันระหว่างรัฐกับวัดพระธรรมกาย โดยวัดพระธรรมกายมีใช้วิธีการในการเข้าหารัฐผ่านทั้งโครงสร้างของระบบราชการมากกว่าจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายการเมืองซึ่งต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างวัดอื่นๆกับรัฐ


“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์ Jan 2018

“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการคือ 1) อธิบายพัฒนาการการปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มผู้หญิงคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 2) สังเคราะห์ความหมายของสันติภาพของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 3) วิเคราะห์การทำงานของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพที่สัมพันธ์กับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Security Council: UNSC) หมายเลข 1325 และ 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและที่ท้าทายการดำเนินกิจกรรมเพื่อสันติภาพของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมในนามของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ผลการศึกษาพบว่าคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ก่อตัวขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่เกิดขึ้นทั้งก่อนสถานการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ในปี 2547 ผ่านการชักจูงของเจ้าหน้าที่แหล่งทุนและการเชิญชวนปากต่อปากของพวกเธอในช่วงเวลาที่สุกงอมเพื่อสร้างเวทีเชิงประเด็นของผู้หญิงที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา งานด้านสันติภาพและความหมายสันติภาพของพวกเธอเติบโตจากสันติภาพประเด็นเย็นเช่นงานเยียวยาไปสู่งานสันติภาพประเด็นร้อนคือประเด็นความมั่นคงสะท้อนจากผลลัพธ์การทำงานของพวกเธอนั่นคือข้อเสนอพื้นที่สาธารณะปลอดภัยและข้อเสนอสภาวะที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ การทำงานของพวกเธอเมื่อพิจารณาตามมติ 1325 พบว่าต้องเจอกับข้อท้าทายมากมายทั้งข้อท้าทายภายในองค์กรและอีกทั้งยังพบว่าพวกเธอต้องทำงานต่อรองกับนโยบายระดับชาติด้านความมั่นคงที่เลี่ยงการเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยคำว่าพื้นที่ขัดแย้งทางกำลังอาวุธและปัญหาการขาดความตระหนักรู้มิติความสัมพันธ์หญิงชายในพื้นที่ แต่ด้วยข้อสนับสนุนหลายๆประการและการเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับข้อท้าทายต่างๆ ทำให้พวกเธอได้ก้าวออกมาจากการทำงานสันติภาพแบบไม่เป็นทางการซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่อยู่วงนอกของกระบวนการสันติภาพมาเป็นตัวแสดงที่กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่วงในของกระบวนการสันติภาพ


รัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว, กัญญาภัทร เพชรร่วง Jan 2018

รัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว, กัญญาภัทร เพชรร่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาที่เกิดขึ้นภายหลังโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยแบ่งเป็นประเด็นในการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว 2) ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ต่อตัวแสดงทั้งสามฝ่าย และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของรัฐ ทุน และชาวนาหลังนโยบายรับจำนำข้าว ผลการวิจัยพบว่าหลังจากการรัฐประหารในปี 2557 รัฐ (รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และระบบราชการ) ไม่เข้มแข็งพอที่จะควบคุมหรือกำหนดนโยบายเองทั้งหมดเหมือนที่เคยทำได้ในสมัยที่เป็นรัฐราชการ หรือ ช่วงที่เป็นแบบภาคีรัฐ - สังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ทำให้บริบทด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจเปลี่ยนไป รัฐจึงต้องค่อยๆ คลายตัว และลดบทบาทของตนเองลง ในช่วงเวลานั้นทุน โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ และชาวนามีโอกาสได้พัฒนาตนเองจนทำให้มีอำนาจในการต่อรองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐต้องมีการปรับตัว คือการพัฒนาตนเองของชาวนาในด้านการเมืองโดยเฉพาะในช่วงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ประกอบกับบริบททางเศรษฐกิจที่เอื้อให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่สามารถลดการพึ่งพิงรัฐลงได้เรื่อยขณะที่รัฐกลับต้องพึ่งพาการลงทุนจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อีกทั้งต้องสร้างการยอมรับจากทุนท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวนาแทนระบบราชการในท้องถิ่น และต้องการการยอมรับจากชาวนาซึ่งเป็นกลุ่มพลังสำคัญทางการเมือง รัฐจึงจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้คนจากกลุ่มอื่นได้เข้ามาแบ่งปันผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด และดำเนินนโยบายมากกว่ากลุ่มอื่นๆแต่กระนั้น รัฐก็มิได้ปล่อยให้อำนาจในการต่อรอง หรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neo - Liberalism)เสียทีเดียว กล่าวคือ รัฐยังคงมีการแทรกแซง และกุมอำนาจอยู่ และยังไม่ได้เปิดโอกาสให้ชาวนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมเท่าที่เคยมีในช่วงรัฐบาลที่ผ่านๆ มาดังนั้นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าวจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเช่นที่ผ่านมา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า รัฐในยุคของ คสช. จะพยายามรักษาความสัมพันธ์กับทุนท้องถิ่น และชาวนาผ่านการดำเนินนโยบายในลักษณะประชานิยมต่างๆ รัฐยังคงไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาและเอื้อประโยชน์ให้กับทุนขนาดใหญ่เป็นหลักเช่นเดิม


บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์ Jan 2018

บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอธิบายเหตุการณ์การรัฐประหารทั้งในปี พ.ศ.2549 และพ.ศ.2557 โดยทั่วไปแล้ว มุ่งอธิบายเกี่ยวกับตัวแสดงหลัก เช่น ผู้ชุมนุมประท้วงทั้งกลุ่มพันธมิตร ฯ กลุ่มกปปส. นายทหารชนชั้นนำและกองทัพ แต่ไม่มีการอธิบายหรือการศึกษาในแง่มุมของความเคลื่อนไหวขององค์ความรู้ทางโหราศาสตร์และศาสตร์การพยากรณ์อื่น ๆ รวมไปถึงบทบาท หน้าที่ของโหรและหมอดูในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ใช้องค์ความรู้ทางโหราศาสตร์ในการผลิตคำทำนายและคำพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือ คำทำนายและคำพยากรณ์มีส่วนในการลดทอนความชอบธรรมให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันมีส่วนในการเพิ่มความชอบธรรมให้แก่ระบอบเผด็จการ โดยคำทำนายและคำพยากรณ์ถูกสื่อสารไปยังผู้คนในสังคมผ่านความรู้สึก 3 ประการได้แก่ ความรู้สึกหวั่นไหว ความกลัว และความหวังกับความมั่นใจ เพื่อให้ผู้คนในสังคมยินยอมและยอมรับในระบอบเผด็จการ นอกจากนั้น งานวิจัยนี้ยังศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการสร้างสถานะ และความสัมพันธ์ ระหว่างโหรและหมอดูกับทหาร และชนชั้นนำทางการเมืองอื่น ๆ โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) มีการสร้างสถานะ ความสัมพันธ์กับชนชั้นนำทางการเมือง โดยเฉพาะชนชั้นนำทางการทหาร ผ่านความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความเคารพนับถือและเลื่อมใส ในสถานะลูกศิษย์และอาจารย์ ซึ่งสถานะ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะต่างตอบแทนกัน


พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ Jan 2018

พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเด็นนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นข้อขัดแย้งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเด็นนี้นั้นจึงเป็นประเด็นที่มีมิติทางการเมืองอย่างชัดเจนผ่านการกดดันจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่ตนต้องการผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางพรรคการเมืองหรือกลุ่มคณะต่าง ๆ ที่มีผลได้ผลเสียกับนโยบายที่จะกำหนดลงโดยงานชิ้นนี้นั้นต้องการที่จะอธิบายและวิเคราะห์พลวัตรของการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยโดยให้ให้ความสำคัญกับบริบททางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของนโยบาย ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นได้มีจุดประสงค์ที่จะ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่รูปแบบของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำภายในบริบทการเมืองที่แตกต่างกัน อธิบายพลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำในบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างระบอบการเมืองกับการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นศึกษาช่วงเวลาตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และใช้การเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของการกำหนดนโยบายนี้ สิ่งที่พบในการศึกษาคือการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของไทยนั้นมีรูปแบบทั่วไปที่คล้ายกันในตลอดที่ผ่านมาคือการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีข้อยกเว้นในบางกรณีที่มาจากบริบททางการเมืองพิเศษคือการเลือกตั้ง บริบททางการเมืองนั้นส่งผลกับแนวทางและทิศทางของการกำหนดนโยบายทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่ระบอบการเมืองนั้นไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำแต่เป็นบริบททางการเมืองโดยรวมมากกว่าที่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัด


บทบาทของกลุ่มเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ, วิลดาญ เด่นดารา Jan 2018

บทบาทของกลุ่มเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ, วิลดาญ เด่นดารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลกลุ่มเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปา ตานี ที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ ศึกษาบทบาทของกลุ่มเยาวชนในการสร้างสันติภาพ รวมถึง ระบุปัญหาและอุปสรรคในการทากิจกรรมของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ที่ ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการศึกษาภาคสนามเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยให้ความสาคัญกับกิจกรรมแสดง บทบาทที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพ ถอดเทปสัมภาษณ์ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเยาวชน


ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดเห็นของประชาชนในการไม่เคารพกฎหมาย กรณีศึกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 : บทบังคับการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์, รัชมงคล มงคลดาว Jan 2018

ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดเห็นของประชาชนในการไม่เคารพกฎหมาย กรณีศึกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 : บทบังคับการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์, รัชมงคล มงคลดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดเห็นของประชาชนในการไม่เคารพกฎหมาย กรณีศึกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 : บทบังคับการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ มุ่งศึกษาบริบทเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในบทบังคับการสวมหมวกนิรภัยในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างในชุมชนเขตเมืองและชุมชนนอกเขตเมืองเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ข่าวสาร ด้านการวางแผนร่วมกัน และด้านการปฏิบัติและควบคุม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมส่งผลต่อทัศนคติการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร โดยชุมชนนอกเขตเมืองสนับสนุนการสวมหมวกนิรภัยมากกว่าชุมชนเขตเมือง ทั้งนี้ การสื่อสารสร้างการรับรู้ข่าวสารภายในชุมชนสามารถสร้างพฤติกรรมเคารพกฎหมายจราจรในชุมชนนอกเขตเมืองได้ดีกว่า และแม้ว่าชุมชนเขตเมืองมีช่องทางให้เสนอความคิดเห็นอย่างสะดวก แต่การวางแผนร่วมกันภายในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยยังคงน้อยกว่าชุมชนนอกเขตเมือง นอกจากนี้ ระดับการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยนั้น ชุมชนนอกเขตเมืองมีระดับการลงมือปฏิบัติมากกว่า โดยชุมชนเขตเมืองมีแนวโน้มเพียงแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเท่านั้น การพิจารณากำหนดกลไกและนโยบายส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย เพื่อลดอุบัติเหตุ จึงต้องปรับแต่งให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน กล่าวคือ ในชุมชนเขตเมืองควรใช้กลไกการบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ และในชุมชนนอกเขตเมือง ควรส่งเสริมระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการกำกับควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้รถจักรยานยนต์


นโยบายต่างประเทศของรัสเซียต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2008, นราวดี สุวรรณกูฏ Jan 2018

นโยบายต่างประเทศของรัสเซียต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2008, นราวดี สุวรรณกูฏ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่ทำให้รัสเซียในสมัยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวมากขึ้นต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่างค.ศ. 2000 ถึง 2008 ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยในสามระดับ ได้แก่ 1. ตัวแสดงระดับปัจเจกบุคคล 2. ตัวแสดงระดับภายในประเทศ 3. ตัวแสดงระดับระหว่างประเทศ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้ท่าทีของรัสเซียแข็งกร้าว ซึ่งแตกต่างจากสมัยแรกของประธานาธิบดีปูตินรัสเซียที่ยังพยายามเจรจาแก้ไขกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในสมัยที่สองเมื่อรัสเซียเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจบนหมู่เกาะและมีการประจำกองทัพโดยมีเป้าหมายหลักด้านความมั่นคง การศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้รัสเซียดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นเพราะตัวแสดงระดับภายในประเทศและตัวแสดงระดับระหว่างประเทศ เพราะในสมัยแรกรัสเซียยังยินดีที่จะเจรจาตามปฏิญญาร่วมระหว่างอดีตสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 ซึ่งรัสเซียตกลงที่จะคืนเกาะชิโกตันและเกาะฮาโบไมซึ่งเป็นสองเกาะเล็กให้ญี่ปุ่น แต่ท่าทีของรัสเซียในสมัยที่สองได้เปลี่ยนแปลงไป รัสเซียยังคงยืนกรานอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะคูริลและแสดงท่าทีแข็งกร้าวที่จะไม่คืนแม้แต่เกาะชิโกตันและเกาะฮาโบไมให้ญี่ปุ่น บทบาทของตัวแสดงระดับภายในประเทศที่มีผลอย่างมากต่อท่าทีของรัสเซีย คือ สภาดูม่าซาคาลินส์ซึ่งต่อต้านการยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดความขัดแย้งภายในรัสเซีย เพราะในตอนแรกรัฐบาลซึ่งนำโดยประธานาธิบดีปูตินมีท่าทีประนีประนอมต่อการแก้ไขกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล ส่วนบทบาทตัวแสดงระดับระหว่างประเทศที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่เป็นพันธมิตรหลักของญี่ปุ่น ยิ่งทำให้รัสเซียหวั่นเกรงเรื่องความมั่นคงเพราะหากรัสเซียยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาอาจจะเข้ามาตั้งฐานทัพในหมู่เกาะคูริลได้ในอนาคต บทบาทของตัวแสดงระดับภายในประเทศและตัวแสดงระดับระหว่างประเทศส่งผลให้รัสเซียไม่สามารถยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่นได้


จีนกับการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการเจรจาต่อรอง: ศึกษากรณีญี่ปุ่นและไต้หวัน, ชินดนัย ธีระพันธุ์พิเชฏฐ์ Jan 2018

จีนกับการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการเจรจาต่อรอง: ศึกษากรณีญี่ปุ่นและไต้หวัน, ชินดนัย ธีระพันธุ์พิเชฏฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาชิ้นนี้นำเสนอการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจของจีนในการต่อรองระหว่างประเทศ ซึ่งมีคำถามสำคัญคือจีนใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการต่อรองระหว่างประเทศในเชิงผลประโยชน์หรือเชิงยุทธศาสตร์อย่างไร และการใช้เครื่องมือนี้ส่งผลอย่างไร โดยจะชี้ให้เห็นว่าในเบื้องต้นจีนได้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเรืองอำนาจโดยสันติ การพัฒนานี้ทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภายหลัง และยังสร้างคุณูปการทางเศรษฐกิจกับชาติต่างๆทำให้ชาติต่างๆเข้ามาพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับจีน เมื่อเกิดการพึ่งพาที่ไม่เท่าเทียมกันเช่นนี้ จีนได้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อต่อรองเมื่อเกิดความขัดแย้งกับประเทศคู่พิพาท การศึกษาชิ้นนี้ได้หยิบยกญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาโดยชี้ให้เห็นว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นพึ่งพาสินแร่ที่มีธาตุโลหะหายากจากจีนนั้น การพึ่งพาที่ไม่เท่าเทียมกันได้ทำให้จีนใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการต่อรองเมื่อเกิดข้อพิพาทเกาะเซนกากุ/เตียวหยูเพื่อให้ญี่ปุ่นปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของจีน การศึกษาชิ้นนี้ยังหยิบยกไต้หวันขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาโดยชี้ให้เห็นว่าจีนพยายามที่จะใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจภายหลังการเลือกตั้งไต้หวันปี 2000 และปี 2004 และจีนยังให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ชาติต่างๆ อันเป็นเครื่องมือในการแข่งขันการแย่งชิงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับไต้หวัน ดังนั้น การพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับจีนจึงเป็นทั้งประโยชน์และโทษที่รัฐพึ่งพิงจะต้องระวัง อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจของจีนก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จตามที่จีนต้องการเสมอไปเพราะการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี แต่ยังชี้ให้เห็นถึงความย้อนแย้งระหว่างการสร้างความหวาดระแวงกับการเรืองอำนาจโดยสันติด้วย


บทบาทการรณรงค์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในต่างประเทศกรณีหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่น: ศึกษาระหว่าง ค.ศ.2010-2017, สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์ Jan 2018

บทบาทการรณรงค์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในต่างประเทศกรณีหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่น: ศึกษาระหว่าง ค.ศ.2010-2017, สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาบทบาทของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากญี่ปุ่นกรณีหญิงบำเรอที่เกิดขึ้นช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวทีระหว่างประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 2010-2017 ทั้งในส่วนของการตั้งอนุสาวรีย์และรูปปั้นหญิงบำเรอในต่างแดนและการนำประเด็นขึ้นเรียกร้องในสถาบันระหว่างประเทศ เช่นองค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยต้องการศึกษาว่า ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้มียุทธศาสตร์หรือวิธีการใด ในการนำอนุสาวรีย์และรูปปั้นหญิงบำเรอไปตั้งในต่างประเทศและนำประเด็นปัญหาขึ้นเสนอต่อที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องประชาสังคมข้ามชาติ (transnational civil society) มาเป็นกรอบในการศึกษายุทธศาสตร์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ 3 กลุ่ม คือ สมาคมชาวเกาหลีเพื่อผู้หญิงที่ถูกใช้บำเรอทหารญี่ปุ่น (the Korean Council for Women Drafted for Military Sexual Slavery by Japan) หรือ the Korean Council, ภาคประชาสังคมเมืองฮวาซ็อง (Hwaseong city civic group) และภาคประชาสังคมเมืองซูวอน (Suwon city civic group) ผลการศึกษาพบว่า ในการผลักดันประเด็นปัญหาในสู่เวทีนานาชาตินั้น ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ใช้วิธีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มผู้สนับสนุนในต่างประเทศ อย่างภาคประชาสังคมภายนอกเกาหลีใต้และองค์กรระหว่างประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 รูปแบบด้วยกันคือ การใช้กรอบการมีประสบการณ์ร่วมกัน (sisterhood) การใช้อุดมการณ์สากลอย่างสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี (human rights and women's rights) และการผลักดันอดีตหญิงบำเรอออกมาสู่สาธารณะ (survivor's testimony)


บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557), ชาย ไชยชิต Jan 2018

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557), ชาย ไชยชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไทยในช่วงเวลานับแต่ปี 2541 ถึงปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออธิบายว่าการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมาในโครงสร้างระบอบการเมืองของไทย ส่งผลให้กระบวนการทางการเมืองโดยรวมมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงก่อนหน้านั้นอย่างไร การศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดเนื้อหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 677 คำวินิจฉัย พบว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลต่อการใช้อำนาจขององค์กรต่าง ๆ ได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลต่าง ๆ รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในการวินิจฉัยข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญหลายลักษณะ ได้แก่ การโต้แย้งปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแบบนามธรรมในช่วงก่อนและหลังกฎหมายประกาศใช้ การตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ใช้พิพากษาคดีในศาล ข้อขัดแย้งเรื่องอำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ การตีความรัฐธรรมนูญ รวมถึงปัญหาความถูกต้องสมบูรณ์ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญของการดำรงตำแหน่งสาธารณะ การดำเนินกิจการพรรคการเมืองและกระบวนการทางการเมือง การทำหน้าที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในฐานะสถาบันที่ทำหน้าที่พิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ


การมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลเมืองกระบี่ และเทศบาลนครขอนแก่น, สุภะรัฐ ยอดระบำ Jan 2018

การมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลเมืองกระบี่ และเทศบาลนครขอนแก่น, สุภะรัฐ ยอดระบำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล และพัฒนาข้อเสนอในการส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเทศบาลซึ่งเป็นกรณีศึกษา 3 แห่งที่ได้รับรางวัล หรือเกียรติคุณต่างๆ ซึ่งในการประเมินมีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลนั้นๆ และเป็นหลักประกันถึงความเป็นเทศบาลแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ได้แก่ 1.นายกเทศมนตรี 2.ปลัดเทศบาล 3.พนักงานเทศบาล และ 4.สมาชิกสภาเทศบาลของเทศบาลที่เป็นกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบลักษณะร่วมจากเทศบาลทั้ง 3 แห่งซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่นำมาศึกษาว่า 1. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ประกอบด้วย คุณลักษณะองค์การที่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับบุคคล (ความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง วิธีคิดที่เปิดกว้าง ความคิดเชิงระบบ และความคิดสร้างสรรค์) 2) ระดับกลุ่ม (การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม) และ 3) ระดับองค์การ (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การยึดคนเป็นศูนย์กลาง การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการคาดการณ์ล่วงหน้า) โดยเทศบาลแต่ละแห่งจะมีคุณลักษณะประการสำคัญที่โดดเด่นในระดับต่างๆที่แตกต่างกัน 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนในท้องถิ่น และ 2) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ ผู้นำ ยุทธศาสตร์ขององค์การ โครงสร้างองค์การ ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสื่อสารภายในองค์การ บรรยากาศในองค์การ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงาน และการจัดการความรู้ โดยเทศบาลแต่ละแห่งจะมีอันดับการรับรู้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


โลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร : กรณีศึกษามาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย, ไพลิน กิตติเสรีชัย Jan 2018

โลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร : กรณีศึกษามาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย, ไพลิน กิตติเสรีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สามประการ ประการแรก เพื่อคลี่คลายให้เห็นถึงการทำงาน ของกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร โดยมีกรณีศึกษาคือมาตรฐานข้าวอินทรีย์ โดยศึกษาในแง่ของที่มา ตัวแสดง ที่เกี่ยวข้อง ที่มาของสิทธิอำนาจ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงเหล่านั้น ประการที่สอง คือเพื่อศึกษารูปแบบการ อภิบาลมาตรฐานข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย โดยศึกษาเชื่อมโยงกับกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ ประการสุดท้ายคือเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาและอุปสรรคของการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในไทย และ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร และการ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยได้ข้อค้นพบว่า การริเริ่มการทำเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นจากตัวแสดงที่ไม่ใช่ รัฐที่เล็งเห็นปัญหาของการเกษตรแบบสมัยใหม่ จากนั้นจึงเกิดการรวมตัว สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศจนเกิดเป็น องค์กรระหว่างประเทศนอกภาครัฐอย่างสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการ โลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ถึงแม้ว่า IFOAM จะไม่ได้มีสิทธิอำนาจบังคับเหมือนรัฐ และไม่ได้มีอำนาจในเชิง เศรษฐกิจเหมือนบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย แต่ IFOAM คือชุมชนองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ที่ถือครอง ‘สิทธิอำนาจเชิง ความรู้' และสิทธิอำนาจดังกล่าวได้ทำงานผ่านกระบวนการโลกาภิบาลในสามมิติ ได้แก่ มิติของการวางระเบียบกฎเกณฑ์ มิติของการแข่งขันเชิงความรู้ และมิติของการเสริมพลังอำนาจ ในกรณีของประเทศไทย การอภิบาลมาตรฐานเกษตร อินทรีย์แสดงให้เห็นถึงการขัดกันของสถาบันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ เอกชนจึงเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนากระบวนการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย


ขบวนการแรงงานกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, ค.ศ. 1988-2018, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ Jan 2018

ขบวนการแรงงานกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, ค.ศ. 1988-2018, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการทำความเข้าใจกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่าและผลต่อขบวนการแรงงาน โดยเฉพาะในช่วงปี 1988-2018 โดยมีคำถามสำคัญของงานวิจัยคือ ขบวนการแรงงานพม่ามีบทบาทและการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงระยะการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย โดยปัจจัย เงื่อนไข และกระบวนการก่อตัวของขบวนการแรงงานดังกล่าวนี้ จะเป็นกรณีศึกษาของการวิเคราะห์กระบวนการประชาธิปไตยที่กำลังดำเนินอยู่ในพม่าด้วย ภายใต้ทิศทางการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจเอกสารทั้งข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปรากฎการณ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงานวิชาการที่มีการศึกษาก่อนหน้า รวมถึงใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 คน เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์ในเชิงลึก ตรวจสอบข้อมูล และสร้างการเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Protest event analysis (PEA) ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเพื่อช่วยในการตีความข้อมูลและพัฒนาข้อสรุปของงานวิจัย จากการวิจัยพบว่า ขบวนการแรงงานพม่าได้ก่อตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาที่ศึกษา หากแต่ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้น การขับเคลื่อนของขบวนการแรงงานมีแนวโน้มตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐหรือเรียกว่าเป็น "ขบวนการแรงงานที่ถูกรัฐกลืน" ซึ่งทำให้การขับเคลื่อนของขบวนการฯไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองได้ หากแต่ขบวนการที่ก่อตัวขึ้นก็สามารถเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการนโยบาย ในฐานะโครงสร้างเชิงสถาบันที่รัฐสร้างขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางและโอกาสสำคัญในการเรียกร้องและปกป้องสิทธิของตน ลักษณะของขบวนการแรงงานดังกล่าวสะท้อนลักษณะของภาคประชาสังคมพม่าในช่วงการเปลี่ยนผ่านเช่นกัน ที่แม้จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย หากแต่เป็นบทบาทที่ค่อนข้างจำกัด ขาดลักษณะการขับเคลื่อนทางการเมือง และไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโครงสร้างการเมือง


นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง, ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์ Jan 2018

นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง, ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของข้าราชการในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ และปัจจัยที่ส่งผล เพื่ออธิบายการขยายอาณาเขตของระบบราชการไทยจากผลของนโยบายการปฏิรูปที่ต้องการจำกัดอาณาเขตของระบบราชการ โดยเลือกใช้กรณีศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกรมทางหลวงในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2559 การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลการด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากข้าราชการในกรมทางหลวงในฐานะตัวแสดงที่เป็นผู้ชนะในการต่อสู้ทางอำนาจในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่ต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการเพื่อให้สามารถยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นในภายหลังได้โดยไม่ต้องทำการเลิกจ้าง ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของข้าราชการระดับสูงและความต้องการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อเพิ่มตำแหน่งบริหาร อันทำให้ระบบราชการขยายตัวขึ้น นำมาสู่ความต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการต่อมาเป็นวงจร โดยข้าราชการมีวิธีการใช้อำนาจเพื่อบรรลุเป้าหมาย คือ การดำรงตำแหน่งทางการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ, การใช้จังหวะเวลาด้วยการกระทำในสิ่งที่แก้ไขภายหลังได้ยากและการถ่วงเวลา, การสร้างความมีเหตุผลแก่ข้อเสนอในการขยายขอบเขตของหน่วยงาน, การควบคุมข้อมูลและการสื่อสารที่อาจส่งผลลบต่อหน่วยงาน และ การใช้ความสามารถส่วนบุคคลในการผลักดันข้อเสนอของตนเอง ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อำนาจนั้น คือ การที่นโยบายในการปฏิรูปไม่มีความแน่ชัดในจุดประสงค์และวิธีการ, กลไกควบคุมและประเมินผลการปฏิรูปไม่มีประสิทธิภาพ, วัฒนธรรมองค์การไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป และการขาดเสถียรภาพทางการเมือง


การติดตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557, ทนาย เพิ่มพูล Jan 2018

การติดตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557, ทนาย เพิ่มพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามการขับเคลื่อน ผลผลิต และผลลัพธ์ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557 (2) วิเคราะห์อุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายฯ และ (3) สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ รวมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายด้านทรัพยากรที่ใช้เพียงพอแต่ยังขาดความสมดุลระหว่างด้านความมั่นคงและการพัฒนา ด้านเส้นทางนโยบายมีความเชื่อมโยงและเหมาะสม ด้านกระบวนการและกลไกสอดคล้องกันแต่ยังบูรณาการไม่สมบูรณ์ ด้านภาคีได้รับความร่วมมือดีขึ้นจากประชาชน ภาคประชาสังคม เอกชน และต่างประเทศ ส่วนขบวนการลดการก่อเหตุรุนแรงแต่เปลี่ยนมาต่อสู้ทางความคิดอย่างเปิดเผยมากขึ้น ในการติดตามผลผลิต เหตุการณ์ความรุนแรง การสูญเสียประชากรและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงมีแนวโน้มลดลง ส่วนการสิ้นเปลืองยุทโธปกรณ์และงบประมาณมีแนวโน้มสูงขึ้น และในการติดตามผลลัพธ์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ"ปานกลาง"ทั้งในด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ ความเท่าเทียม และเสรีภาพ (2) อุปสรรคที่สำคัญคืออุปสรรคในการบูรณาการให้การจัดสรรทรัพยากรมีสัดส่วนด้านความมั่นคงและการพัฒนาที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งบูรณาการกลไกความมั่นคงและการพัฒนา และอุปสรรคจากการที่ต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือภาคประชาสังคมอาจถูกขบวนการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองได้ (3) ข้อเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคควรปรับปรุงให้การขับเคลื่อนนโยบายมีความสมดุลระหว่างด้านความมั่นคงและพัฒนา ให้กลไกและภาคีในการขับเคลื่อนนโยบายมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง และปรับปรุงให้กระบวนการและกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายมีประสิทธิภาพ


บทบาทของตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว, ศิริสุดา แสนอิว Jan 2018

บทบาทของตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว, ศิริสุดา แสนอิว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาบทบาทของตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาวในงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการตอบคำถามว่า ตัวแสดงภายในประเทศที่ไม่ใช่รัฐใดที่มีบทบาทในการผลักดันการขับเคลื่อนและการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว กรณีศึกษานโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองชายแดนไทย-ลาว โดยทำการศึกษาเมืองชายแดนไทย-ลาว ทั้งที่เป็นเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต และเมืองชายแดนไทย-ลาว ที่มิได้เป็นเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และจังหวัดน่าน-แขวงไชยะบุลี เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาวในระดับพื้นที่/ระดับท้องถิ่น ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เมื่อพิจารณาบริบทของพื้นที่ประกอบกับบทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในการผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายและการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว ในระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ทั้ง 3 พื้นที่ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า เมืองชายแดนที่มีศักยภาพที่จะเป็นจุดขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ได้คือ จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคาย เนื่องจากทั้งสองจังหวัดมีบริบทในเชิงพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ฝั่งตรงข้ามของทั้งสองจังหวัดมีความเป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นกันและเป็นแขวงที่สำคัญทางเศรษฐกิจของลาว นั่นคือ แขวงสะหวันนะเขตและนครหลวงเวียงจันทน์ ด้วยทำเลที่ตั้ง และการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ สะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว เหมือนกัน ทำให้เอื้อต่อการมีบทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว โดยเฉพาะตัวแสดงภาคเอกชนของทั้งสองจังหวัด ส่วนทางด้านจังหวัดน่าน ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือแขวงไชยะบุลีนั้นยังมีขนาดเศรษฐกิจที่เทียบกับทั้งสองแขวงที่กล่าวมาไม่ได้ อีกทั้ง สภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างกันเป็นเขตพื้นที่ป่าและฝั่งไทยเป็นเขตป่าสงวน ทำให้ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในท้องถิ่นมีบทบาทในการขับเคลื่อนและกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองชายแดนไทย-ลาว อย่างจำกัด อันเนื่องมาจากนัยยะเชิงพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันดังที่กล่าวมา และเมื่อวิเคราะห์เมืองชายแดนไทย-ลาวที่มีศักยภาพที่จะเป็นจุดขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย-ลาว นั่นคือ จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคาย ผลการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐที่มีความเข้มแข็งและมีบทบาทในการผลักดันการขับเคลื่อนและการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว ได้แก่ ตัวแสดงภาคเอกชนโดยเฉพาะหอการค้าจังหวัด โดยใช้สถานะ/ตำแหน่งในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และคำนึงถึงผลประโยชน์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยการใช้ทรัพยากรนโยบายที่เป็นจุดเด่นของภาคเอกชน คือ ทรัพยากรข้อมูลข่าวสาร ความรู้เชิงลึกในพื้นที่ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจในท้องถิ่น รวมถึงทรัพยากรองค์การที่ภาคเอกชนมีทั้งกับเครือข่ายภาคเอกชนส่วนกลาง โดยเฉพาะสภาหอการค้าไทย และเครือข่ายกับนักธุรกิจลาวที่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนตัวแสดงภาครัฐส่วนภูมิภาคในการขับเคลื่อนนโยบายจากส่วนกลาง ทำให้จัดเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบหุ้นส่วน อีกทั้ง เมื่อทำการประเมินอิทธิพลและความสำคัญของตัวแสดงภาคเอกชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว ตัวแสดงภาคเอกชนในพื้นที่มีความสำคัญในระดับสูงจากการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในกรอ.จังหวัด ในขณะที่ทางด้านอิทธิพลของตัวแสดงภาคเอกชน ในส่วนของหอการค้าจังหวัด พบว่า อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตัวแสดงภาคเอกชนอื่นๆ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง และตัวแสดงกลุ่มนักวิชาการ โดยความสำคัญและอิทธิพลของตัวแสดงภาคเอกชนดังกล่าวส่งผลต่อความสำเร็จในการผลักดันการกำหนดนโยบายผ่านข้อเรียกร้องทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาในพื้นที่หรือการค้าชายแดนไทย-ลาว อาทิ ตัวแสดงภาคเอกชนในจังหวัดมุกดาหารนำโดยหอการค้าจังหวัด สามารถผลักดันข้อเรียกร้องเชิงนโยบายในการขอเปิดจุดผ่อนปรนการค้าไทย-ลาวเพิ่ม และการเสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสิทธิประโยชน์แก่ผู้ที่จะมาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร รวมถึงผลักดันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร ส่วนบทบาทของตัวแสดงภาคเอกชนในจังหวัดหนองคายนั้น หอการค้าจังหวัดหนองคายสามารถรวมตัวกับตัวแสดงภาคเอกชนในกลุ่มจังหวัด อาทิ หอการค้าจังหวัดอุดรธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ของลาวในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจากความพยายามแก้ไขปัญหาของตัวแสดงภาคเอกชนในพื้นที่ส่งผลให้สถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติได้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2561