Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Social Sciences

Journal

ตุลาการภิวัตน์

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัฒน์, วีระ สมบูรณ์ Jan 2018

มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัฒน์, วีระ สมบูรณ์

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้วิเคราะห์อธิบายมิติระหว่างประเทศซึ่งสัมพันธ์กับตุลาการภิวัตน์ เริ่มจากแนวพินิจเกี่ยวกับตุลาการภิวัตน์ในฐานะส่วนหนึ่งในกระบวนการประกอบสร้างของการจัดการปกครอง พัฒนาการช่วงที่ผ่านมานับแต่สิ้นสุดสงครามเย็นและกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มิติระหว่างประเทศมีผลสำคัญต่อการจัดวางหลักการและแนวปฏิบัติของตุลาการภิวัตน์ทั่วโลก จากนั้นจึงอภิปรายมิติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปทัสถานระหว่างประเทศ เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ และโลกาภิวัตน์ทางตุลาการ โดยนำเสนอกรณีศึกษาหลายประเทศจากอดีตจนถึงช่วงที่ผ่านมา เพื่อชี้ว่าตุลาการภิวัตน์ผนวกกับผลกระทบของมิติระหว่างประเทศ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของแนวทางร่วมสมัยในการแก้ไขความตึงเครียดทางการเมืองในสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน กระบวนการนี้นำมาซึ่งการเผยแพร่รับเอาปทัสถานและแนวปฏิบัติเข้าสู่ระดับภายในประเทศและท้องถิ่น การวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องพิจารณาจริงจังถึงบริบททางประวัติศาสตร์และการใช้ประโยชน์ทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องด้วย ตุลาการภิวัตน์ยังคงอยู่ต่อไป และพัฒนาการซึ่งสัมพันธ์กับมิติระหว่างประเทศยังต้องการการศึกษาและทำความเข้าใจมากขึ้น


ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ, ภูริ ฟูวงศ์เจริญ Jan 2015

ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ, ภูริ ฟูวงศ์เจริญ

Journal of Social Sciences

สถาบันตุลาการไม่ได้แค่บังคับใช้กฏหมายแบบภววิสัยโดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมอะไร งานศึกษาเชิงวิพากษ์จำนวนมากเน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่าผู้พิพากษานั้นมิได้เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค พฤติกรรมและรูปแบบการตัดสินใจของพวกเขามักถูกกำหนดโดยปัจจัยหลากหลาย นอกเหนือไปจากปัจจัยทางกฏหมาย ด้านนหนึ่ง “ตัวแบบเชิงทัศนคติ” เจาะจงไปที่อิทธิพลของแรงจูงใจส่วนบุคคล อย่างค่านิยมเชิงอุดมการณ์ เป้าหมายทางอาชีพ ความเชื่อทางศาสนา และการรับรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ ขณะที่อีกด้านนหนึ่ง “ตัวแบบเชิงกลยุทธ์” โต้แย้งว่า ศาลมีแนวโน้มคำนวณ และประพฤติตัวแบบคิดหน้าคิดหลัง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางสถาบันของตน ในเวลาเดียวกัน สถาบันตุลาการก็ยังฝังตัวอยู่ในระบบการเมือง ศาลในหลายประเทศได้เป็นดั่งผู้มีสิทธิขาดเหนือนโยบายสำคัญๆ ตั้งแต่ด้านนสังคมไปจนถึงด้านนการเงิน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าสถาบันตุลาการทั้งหลายสามารถมีความเป็นการเมืองมากเพียงใด พร้อมกับทบทวนแนวทางเชิงวิพากษ์สำหรับทำความเข้าใจธรรมชาติทางการเมืองของสถาบันดังกล่าว