Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 330

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า) พฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ การซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม) 2) อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 3) อิทธิพลของทัศนคติ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จากการรับชมรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นตราสินค้า Amado 220 คน และตราสินค้า Madame Fin 211 คน รวมทั้งหมด 431 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์โดยรวม และทัศนคติของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และตราสินค้า Madame Fin แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคทั้งสองตราสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภคทั้งด้านทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า และปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งด้านการซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม นอกจากนี้ ทัศนคติของผู้บริโภคยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และ Madame Finเช่นกัน


The Relationship Between Interest And Attitude Towards Online Sales Promotion, And Impulsive Buying For Cosmetics Among Chinese Generation Z Consumers, Peilin Peng Jan 2021

The Relationship Between Interest And Attitude Towards Online Sales Promotion, And Impulsive Buying For Cosmetics Among Chinese Generation Z Consumers, Peilin Peng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study are as follows: to explore interest in online sales promotion, attitude towards online sales promotion, and impulsive buying behavior for cosmetic consumption among Chinese Generation Z, and to investigate the relationship among these three variables. The research samples of this research were 250 Chinese male and female Generation Z, aged between 18 and 26 years old, who have purchased cosmetics in the past three months and currently residing in China. The results illustrated that respondents had a positive opinion on interest in online sales promotion for cosmetics (M = 3.57), with discount promotion receiving the …


Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul Jan 2021

Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As Thai cultural identity is one of the remarkable assets in Thai culture and has gained wider attention, there is a growing trend for the market to capture domestic customers' behavior. This study investigates consumers' value perceptions and their intentions to purchase Thai cultural products by extending the theory of consumption value through four values that influence perceived value of product attitude, which also affect purchase intention and customer satisfaction. Online Survey data from 412 people in Thailand were used to test the hypotheses, and content analysis of 9 in-depth interviewees was used to understand the product's perceptions better. The …


The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol Jan 2021

The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the effects of demographic change, the change of labor supply, and human capital on Thailand’s economic development. This will help shed light on the relationship between population (quantitatively and qualitatively) and economic development. The demographic dividends, the neoclassical growth Solow-Swan model, and human capital are adopted as the conceptual framework for this research. The secondary panel data at the provincial level from government officials will be used for statistical analysis. Fixed effect or random effect with lagged dependent variable is introduced into the estimated model. The finding suggests that the labor productivity, employment level, share of the …


Testing Of A New Job Crafting Measure And Intervention To Enhance Thai Healthcare Professionals' Motivation, Work Engagement And, Job Performance, Pichaya Rochanadumrongkul Jan 2021

Testing Of A New Job Crafting Measure And Intervention To Enhance Thai Healthcare Professionals' Motivation, Work Engagement And, Job Performance, Pichaya Rochanadumrongkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present research consisted of two studies. In Study I, the objective was to develop and validate the job crafting measure in related to the levels of motivation, work engagement and job performance in Thai healthcare professionals using structured interview and structure equation model (SEM). Qualitative method using the interview (N = 20) was employed to extract employees’ experiences of crafting their job and explore additional dimension of job crafting. The results of the interview revealed an additional dimension of job crafting namely "humor” for Thai Job Crafting Behavior scale (Thai JCB) (physical crafting, relational crafting, cognitive crafting and humor). …


Health-Conscious Pet Owner And Premium Pet Food Purchasing In Thailand, Potjaman Khongthon Jan 2021

Health-Conscious Pet Owner And Premium Pet Food Purchasing In Thailand, Potjaman Khongthon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, the market value of premium pet food has been significantly increasing overtime. Simultaneously, consumers also increasingly demand healthy food to satisfy healthy lifestyle which is trendy nowadays. This phenomenon seems to grow with the same direction so the purpose of this study is to investigate the influence of health-consciousness lifestyle on the food choice for pets by using the logistic regression. The questionnaire was distributed to pets’ owners who keep dogs or cats or keep both. The result shows that health-conscious pet owners are more likely to purchase premium pet food. In addition, the owners who have pet …


The 7ps Marketing Mix Of Koi Thé That Affect Consumer’S Purchase Decisions In Bangkok, Varith Romyanan Jan 2021

The 7ps Marketing Mix Of Koi Thé That Affect Consumer’S Purchase Decisions In Bangkok, Varith Romyanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, bubble tea has become some of the most famous beverages that people prefer to drink worldwide, especially in Thailand. The bubble tea shop business market has consecutively high competition, in terms of consumers having different choices of beverages to consume and also in terms of owners that have more competitors. KOI Thé is possibly one the most popular bubble tea chain in Thailand. In consequence, this paper's purpose can be classified into two categories. First, to examine the impact of components of the 7Ps marketing mix on consumers' purchasing decisions of KOI Thé. Second, to examine the influence of …


The Impact Of Covid-19 On Neets In Thailand Between 2019-2021, Nawathas Thasanabanchong Jan 2021

The Impact Of Covid-19 On Neets In Thailand Between 2019-2021, Nawathas Thasanabanchong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With the completely aged society, Thailand requires young people more than ever since the young people of today are the future of tomorrow. Nonetheless, young people in Thailand currently face a painful transition for young people into an active workforce, particularly during the COVID-19 pandemic. Over 1.3 million youths or 14 percent of the youth population aged 15-24 years are not in Education, Employment, or Training (NEET). Hence, the study aims to understand the characteristics of NEETs and the impact of COVID-19 on NEETs in Thailand. The “NEET” term is more than unemployment and inactiveness. The rooted causes of being …


The Impact Of Covid-19 On Exchange Rate: Evidence Through Thai Baht, Sitang Ketloi Jan 2021

The Impact Of Covid-19 On Exchange Rate: Evidence Through Thai Baht, Sitang Ketloi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper illustrates the impact of the COVID-19 pandemic on exchange rate of Thailand by using COVID-19 confirmed cases and deaths to measures how Thai Baht volatile during the pandemic period. To examine the impact of COVID-19 on exchange rate of Thailand, the daily data of COVID-19 confirmed cases and deaths of Thailand also the historical data of Thai Baht exchange rate, determine by USD/THB, JPY/THB, and EUR/THB were collected. All data covers the period from March 1, 2020, to December 31, 2021. This study employed Ordinary Least Squares (OLS) regression to estimate the relationship of the variables. The result …


Factors Affecting Airline Decision To Join Alliance: Evidence Of Global Full-Service Carriers (Fscs), Thikhamporn Benyaapikul Jan 2021

Factors Affecting Airline Decision To Join Alliance: Evidence Of Global Full-Service Carriers (Fscs), Thikhamporn Benyaapikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper illustrates the determinants of airlines’ decision to join global alliances. The author adopted various models and compared a variety of literature reviews to find out supporting ideas of the advantages of forming cooperative alliances. The result shows that airlines with several passengers’ volumes and full-service airlines lead to the participation between airlines with five beneficial emphases – reduction of utility cost, driving growth opportunities through globalization, strengthening market position, improvement of service quality, and enhancing passengers’ loyalty. These all present competitive advantages compared to non-airline alliances. Most collaborations have been joined by international airlines, however, some airline alliances …


The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun Jan 2021

The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite rapid economic growth, Southeast Asia and Latin America continue to have significant income inequality. This study applies fixed-effects regression estimation with the dynamic panel model with lagged independent variables and the fixed-effects analysis with endogenous covariates to examine the impact of economic and demographic factors on income inequality in 6 Southeast Asian and 15 Latin American countries from 1994 to 2017. Empirical results indicate that emissions, trade openness, old-age dependency ratio, human capital, and female population reduce income inequality, whereas industrialization, unemployment, young-age dependency ratio, and urban population increase income inequality in Southeast Asian countries. This study also finds …


Consumers’ Perceptions And Attitudes Towards Louis Vuitton And Their Brand Ambassadors, Victor Mechai Siharath Jan 2021

Consumers’ Perceptions And Attitudes Towards Louis Vuitton And Their Brand Ambassadors, Victor Mechai Siharath

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to explore consumers’ perceptions and attitudes towards Louis Vuitton and their brand ambassador, BTS. The study was qualitative in nature. An online focus group discussion was used to collect data from eight participants. The participants were purposively selected and a selection criterion was administered to ensure diversity amongst participants. The participants were consumers of Louis Vuitton, aged between 22-28 years old, and were also aware that BTS are Louis Vuitton’s brand ambassador. This study employed a discussion guideline as the research instrument. The luxury value perception framework was used to explore consumers’ perceptions towards …


Attitude And Responses Of General Public Towards Foodpanda Thailand’S Crisis Communication Management, Ira Siripatarakulthon Jan 2021

Attitude And Responses Of General Public Towards Foodpanda Thailand’S Crisis Communication Management, Ira Siripatarakulthon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to examine the attitude and responses of the general publics towards a situation crisis communication management which related to a political situation in Thailand. The attitude variable in this study focused on attitudes into crisis communication management in content and the statement release, management of time during the crisis, attitude towards the crisis communication management, and suitable and appropriately management. Meanwhile, the responses variable focused on responses into favorability and credibility, frequently of using the service after the crisis, ways of showing support, movement to boycott, and royalty towards a brand after the crisis. …


Sino-Burmese Overland Trade Under Dual-Overlordship System In Qing Dynasty With Special Focus On Tea Trade In Sipsong Panna, Jingli Bai Jan 2021

Sino-Burmese Overland Trade Under Dual-Overlordship System In Qing Dynasty With Special Focus On Tea Trade In Sipsong Panna, Jingli Bai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Overland trade had played a significant role in the interactions among China, Southeast Asia and South Asia for centuries. Though maritime trading raised in fifteenth century overwhelmingly attracts more attention from scholars, overland route was far from inconsiderable. Continental commercial intercourse essentially affected the demography, politics and also modernization process of Southern China and mainland Southeast Asia to a large range. During 17th to early 20th century, represented by several Shan states, Sino-Burmese frontier trade reached another peak. Enormous commodities carried by caravans shuttled on Tai leaders’ domains. By tributing to both China and Myanmar courts, Tai leaders received recognition …


ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด Jan 2021

ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ การใช้งาน และการเกิดขึ้นของมีมจากภาพยนตร์ไทย และ2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทภาพมีมจากภาพยนตร์ไทย ประกอบด้วยภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตกและภาพยนตร์ร่างทรง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตมีมในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่ามีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การจับภาพจากภาพยนตร์ การใช้โปรแกรมตัดต่อ และการใช้ภาพทางการ มีการใช้งานมีมใน 6 ลักษณะ ได้แก่ การทำซ้ำ การเพิ่มองค์ประกอบอื่น การใส่บริบทใหม่ การเพิ่มองค์ประกอบอื่นและใส่บริบทใหม่ การเปลี่ยนแปลงภาพตัวละคร และการเปลี่ยนแปลงบทพูด อีกทั้งประเด็นทางสังคมที่ถูกวิพากษ์อย่างเป็นวงกว้างและสภาพการณ์ทางการเมืองที่มีการกดทับอย่างเป็นระบบมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน นอกจากนั้น การสร้างมีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นผู้สร้างมีมได้เริ่มต้นสร้างจากการพิจารณากระแสสังคมหรือประเด็นใดๆที่กำลังถูกพูดถึง จากนั้นจึงหาภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงหรือสอดคล้องทางบริบทและทำการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน


การเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้, ชนาพร ธราวรรณ Jan 2021

การเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้, ชนาพร ธราวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานสร้างสรรค์งานละครโทรทัศน์ประเทศไทยและเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมและวัฒนธรรมในละครโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ ผ่านการศึกษาตัวบทประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนของผู้ชมหรือผู้เขียนรีวิวละครเกาหลีใต้และนักวิชาการด้านเกาหลีศึกษาเพื่อเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่าละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้การเล่าเรื่องมีการผสมผสานการเล่าเรื่องในรูปแบบที่หลากหลาย นอกเหนือจากการนำเสนอแนววิชาชีพเพียงอย่างเดียว มีการใช้ตัวละครนำที่เป็นเพศตรงกันข้ามเป็นหลักในการเผชิญกับปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องมีความรักแบบชายหญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีการใช้สัญญะมาช่วยเข้าในสร้างตัวละคร รวมถึงใช้เรื่องราวภูมิหลังของตัวละครมาเป็นความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพ ในส่วนของการสื่อสารค่านิยมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจเจกและกลุ่ม ด้านครอบครัว ด้านเพศ และด้านการทำงาน พบว่ามีการสื่อสารผ่านกลวิธีการเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาและตัวละครเป็นหลัก แต่มีการใช้กลวิธีการสื่อสารอื่นเข้ามาเพิ่มมิติในการสื่อสารคุณลักษณะของค่านิยม และคุณลักษณะของค่านิยมภายในละครส่วนมากยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมจากลัทธิของขงจื๊อ แต่ได้นำเสนอมุมมองการเปลี่ยนแปลงผ่านยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างสิทธิและทางเลือกให้กับตัวละคร โดยใช้วิชาชีพของตัวละครหลักเข้ามามีส่วนช่วยเพื่อชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างเพื่อคลี่คลายสถานการณ์


การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร Jan 2021

การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากลยุทธ์และการบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติขององค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทย รวมถึงอุปสรรคและแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจดังกล่าวในอุตสาหกรรมสื่อไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากองค์กรสื่อที่ดำเนินธุรกิจละครข้ามชาติ 6 ราย และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อข้ามชาติ 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทยไม่ว่ารายใหญ่หรือรายย่อยต่างให้ความสำคัญกับตลาดผู้ชมต่างประเทศ เป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเป็นไปเพื่อแสวงหารายได้และฐานผู้ชมที่ใหญ่ขึ้น โอกาสทางธุรกิจและการต่อยอดความสำเร็จ รวมถึงเสริมสร้างอำนาจอ่อนให้แก่ประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง เทคโนโลยี วัฒนธรรมและกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็น 4 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์อุตสาหกรรมสื่อไทยในภาพรวมมีจุดเด่นอยู่ที่บุคลากรที่มีความสามารถและเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการยอมรับ รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีทั้งการซื้อขายลิขสิทธิ์ละคร การผลิตร่วมและการรับจ้างผลิต ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นสอดคล้องไปกับเป้าประสงค์ คือ องค์กรมีการเติบโตในแง่ของรายได้และฐานผู้ชม อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากตลาดเนื้อหาสากล ทว่าก็ยังมีอุปสรรคจากระบบเซนเซอร์ของประเทศจีนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ข้อจำกัดทางงบประมาณและรสนิยมที่แย้งกันระหว่างผู้ชมภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกิจละครข้ามชาติเป็นธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายตัวแปร เมื่อประกอบกับการขาดการผลักดันที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จึงทำให้การเติบโตขององค์กรสื่อไทยในธุรกิจนี้ไม่แข็งแรงนัก


การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา Jan 2021

การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา (1) วัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในไทย ได้แก่ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม (2) แฮชแท็กในโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้ใช้แฮชแท็กจำนวน 423 คน วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้แฮชแท็กส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดยใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์มากที่สุด รองลงมา คือ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม วัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดีย คือ การตอบสนองด้านข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งสิ้น 10 ด้าน ได้แก่ การค้นหาและติดตามข้อมูล สนับสนุนบุคคลที่ชื่นชอบ การจัดการข้อมูล การกระจายเนื้อหาและเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ประโยชน์ทางธุรกิจและการซื้อขายสินค้า ความสนุกสนานและตลกขบขัน การแสดงความคิดเห็น การสร้างความสัมพันธ์ การนำเสนอตนเอง สื่อความหมายและทดแทนอวัจนภาษา ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น ด้านความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์ม การใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะและความสนใจส่วนบุคคล ขณะที่การใช้แฮชแท็กในอินสตาแกรมเป็นข้อมูลที่เน้นตนเองเป็นหลัก ส่วนเฟซบุ๊กเป็นการใช้แฮชแท็กในเชิงข้อมูลเกี่ยวกับคนรู้จักและการเน้นข้อความ นอกจากนี้พบว่าผู้ใช้แฮชแท็กตัดสินใจเลือกใช้แฮชแท็กจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง สังคม ลักษณะแฮชแท็ก และการรองรับของแพลตฟอร์ม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าแฮชแท็กจะถือกำเนิดจากการจัดระเบียบข้อมูล แต่ผลการศึกษาพบว่าการใช้แฮชแท็กสามารถตอบสนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการใช้เครื่องมือสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของตนในแต่ละด้าน


การโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s, ธัญพร เฮงวัฒนอาภา Jan 2021

การโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s, ธัญพร เฮงวัฒนอาภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s ในสังคมไทย, พฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีตและการสร้างเนื้อหาขึ้นเองของผู้ฟังที่นิยมเพลงไทยสากลยุค ’90s, กระบวนการสื่อความหมายของการโหยหาอดีตผ่านเนื้อหาต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตสื่อบันเทิงสร้างขึ้นโดยมีเพลงไทยสากลยุค ’90s เป็นองค์ประกอบ รวมถึงศึกษาการสร้างเนื้อหาและพฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีต ที่ศิลปินนักร้องในยุค ’90s และศิลปินยุคปัจจุบันมีต่อแฟนเพลง ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร การใช้ข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณาจากประสบการณ์ของผู้วิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเข้าสังเกตการณ์แบบเปิดเผยและมีส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต แนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง และแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตสื่อเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต เป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s เกิดจากมิติปัจเจกบุคคล ได้แก่ การมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นตามวัยจนรู้สึกโหยหาความสดใสและความเป็นอิสระในอดีต และมิติทางสังคม ได้แก่ สภาพการณ์บ้านเมืองและสภาวะโดยรวมของโลกที่ทำให้รู้สึกไม่มีความสุขเหมือนในอดีต ความรู้สึกที่เกิดขึ้นประกอบไปด้วย การโหยหาตัวตนในอดีตและภาพประสบการณ์ส่วนตัว การโหยหาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอดีต การโหยหาสภาพสังคม การโหยหาการเปิดรับสื่อ และการโหยหาลักษณะของเพลงไทยสากลในยุค ’90s โดยกลุ่มผู้รับสารจะแสดงออกถึงความรู้สึกเหล่านี้ผ่านพฤติกรรมการใช้สื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการสร้างสรรค์สื่อบันเทิง ส่วนผู้ผลิตสื่อมีวิธีสร้างเนื้อหาเพื่อสื่อความหมายของการโหยหาอดีต ได้แก่ “Remaster” หรือ การปรับปรุงของเดิมให้สดใหม่ “Remake” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่จากโครงสร้างเดิม และ “Reboot” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน สำหรับกลุ่มศิลปินนักร้องเพลงไทยสากลในยุค ’90s มีพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต ได้แก่ การรักษาความเป็นตัวตน การรักษาและพัฒนาความสามารถ และการรักษาความสัมพันธ์กับแฟนเพลง ในขณะที่กลุ่มศิลปินนักร้องในปัจจุบันนิยมใช้การแสดงตัวตนที่เป็นเด็กยุค ’90s หรือมีประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเพลงไทยสากลในยุค ’90s มาก่อน ซึ่งความหมายของความโหยหาอดีตจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีทั้งความสอดคล้องและขัดแย้งกัน.


อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต Jan 2021

อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คู่รักที่คบหากันเป็นเวลานานมักเผชิญกับปัญหาความเบื่อหน่ายในความสัมพันธ์ และพบว่าคุณภาพของความสัมพันธ์มักลดถอยลงเมื่อเวลาผ่านไป โมเดลการขยายตัวตนให้หลักฐานว่าการทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นร่วมกับคนรักช่วยส่งเสริมคุณภาพและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ โดยความน่าตื่นเต้นเป็นกลไกที่ทำให้คู่รักได้รับผลดีจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ความสัมพันธ์สดใหม่และลดความเบื่อหน่ายได้ อีกทั้งพบว่าแรงจูงใจแบบเข้าหา (การทำกิจกรรมโดยมุ่งเน้นผลดี) และแรงจูงใจในการขยายตัวตน (ความชอบความแปลกใหม่) ยังกระตุ้นให้บุคคลแสวงหาการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น แม้การศึกษาก่อนหน้าพบว่าแรงจูงใจทั้งสองเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความน่าตื่นเต้นของการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักได้ แต่ยังขาดการศึกษาเชิงทดลองและการศึกษาถึงประเด็นดังกล่าวยังมีน้อย ผู้วิจัยออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของแรงจูงใจเข้าหาแบบต่างๆ และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ที่มีต่อระดับความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมการวิจัย (n = 131) ทำแบบสอบถามออนไลน์ ตอบมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ มาตรวัดแรงจูงใจในการขยายตัวตน จากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการชี้นำแรงจูงใจแบบเข้าหาในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักที่มุ่งเน้นผลดีต่อความสัมพันธ์ ต่อคนรัก หรือต่อตนเอง โดยเขียนถึงกิจกรรมใหม่อะไรก็ได้ที่อยากทำกับคนรัก ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำ และตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม หลังจากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขอีกครั้ง แต่อาจเป็นเงื่อนไขเดียวกับครั้งแรกหรือไม่ก็ได้ โดยครั้งนี้เขียนถึงการไปเที่ยวประเทศที่ไม่เคยไปด้วยกัน ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำและตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมอีกครั้ง ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยแบบลำดับขั้น ไม่พบว่าประเภทของแรงจูงใจเข้าหามีผลให้ความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมแตกต่างกัน โดยไม่ว่าบุคคลจะใช้แรงจูงใจแบบเข้าประเภทใดก็ตามก็มีผลให้กิจกรรมมีความน่าตื่นเต้นอยู่ในระดับสูง และพบอิทธิพลทางบวกของแรงจูงใจในการขยายตัวตนต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมที่ผู้ร่วมวิจัยเลือกเองโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเที่ยวต่างประเทศ กล่าวคือบุคคลที่มีแรงจูงใจในการขยายตัวตนในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นสูง ผลที่พบเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสัมพันธ์ในคู่รักผ่านการนำแรงจูงใจแบบเข้าหาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมให้บุคคลมีแรงจูงใจในการขยายตัวตนหรือทำสิ่งใหม่ ๆ ร่วมกันยังเป็นอีกปัจจัยที่นำไปสู่การทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น และการหมั่นทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นร่วมกับคนรัก ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาความสัมพันธ์และกระตุ้นให้ความสัมพันธ์ยังสดใหม่ในระยะยาว


อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเพลินในงานเป็นสภาวะเชิงบวกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลจดจ่อกับงานอย่างลึกซึ้ง รู้สึกเพลิดเพลินและมีแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดความเพลินในงานภายใต้ทฤษฎีข้อเรียกร้องในงานและทรัพยากรในงาน โดยทดสอบอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ที่มีต่อความเพลินในงาน โดยกำหนดสมมติฐานว่า ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานจะมีความแตกต่างกันระหว่างการใช้จุดแข็งในระดับสูงและต่ำ ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานสูง จากการศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวน 222 คนด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นพบว่า (1) ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = -.20, p < .05, f2 = .02) (2) ความมีอิสระในการทำงานด้านการกำหนดวิธีการทำงานมีอิทธิพลกำกับทางบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = .22, p < .05, f2 = .02) และ (3) ปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจ และการใช้จุดแข็ง มีอิทธิพลต่อความเพลินในงาน (β = -.31, p < .05, f2 = .03) โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานเมื่อมีการใช้จุดแข็งสูง ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานต่ำ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่พบนี้ไม่สอดคล้องกับทิศทางของสมมติฐาน จึงสรุปได้ว่า การใช้จุดแข็งเป็นทรัพยากรในงานที่พนักงานที่มีอิสระในการตัดสินใจต่ำสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเพลินในงานมากขึ้น เมื่อเผชิญกับข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายในระดับสูง


ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับการแสดงความเห็นและความเงียบของพนักงานโดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ, สริตา วรวิทย์อุดมสุข Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับการแสดงความเห็นและความเงียบของพนักงานโดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ, สริตา วรวิทย์อุดมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน หลายองค์การให้ความสำคัญกับการบริหารงานแบบล่างขึ้นบนที่สนับสนุนให้พนักงานแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์การ งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับพฤติกรรมแสดงความเห็นและพฤติกรรมเงียบของพนักงาน โดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ ผู้วิจัยศึกษาพฤติกรรมแสดงความเห็นโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ การพูดพร้อมคำแนะนำและการพูดเกี่ยวกับข้อกังวล และศึกษาพฤติกรรมเงียบโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ การเงียบเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและการเงียบเพราะเชื่อว่าเสียงของตนเองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 210 คนที่เป็นพนักงานประจำในบริษัทเอกชนในประเทศไทยที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิเคราะห์โดยใช้ PROCESS ในโปรแกรม SPSS พบว่า ความถ่อมตนของผู้นำมีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมแสดงความเห็นรูปแบบการพูดพร้อมคำแนะนำและพฤติกรรมเงียบทั้งสองรูปแบบ ความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ทางบวกระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมการพูดพร้อมคำแนะนำ และความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ทางลบระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมเงียบเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ความปลอดภัยทางจิตใจยังเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงบางส่วนทางลบระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมเงียบที่เชื่อว่าเสียงของตนเองไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยไม่พบว่าความกล้าหาญของผู้นำแสดงอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ดังกล่าว องค์ความรู้นี้เสนอแนะถึงความสำคัญของการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีความถ่อมตนเพื่อสนับสนุนให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจเพื่อที่จะกล้าแสดงความเห็นและลดพฤติกรรมเงียบ


การประเมินผลกระทบของน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน, จุติมา สุตตเขตต์ Jan 2021

การประเมินผลกระทบของน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน, จุติมา สุตตเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำท่วมฉับพลันเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดน่าน ผลกระทบจากภัยดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหลายภาคส่วน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สร้างรายได้จำนวนมากให้กับจังหวัด เพราะน่านมีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมอันมีค่า อย่างไรก็ตามทรัพยากรดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อปัญหาน้ำท่วมฉับพลันซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันในจังหวัดน่านโดยใช้แบบจำลองดัชนีชี้วัดศักยภาพการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood Potential Index) และการสร้างแบบจำลองประเมินผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวโดยมีองค์ประกอบของภาคส่วนการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความอ่อนไหวของน้ำท่วม นำมาวิเคราะห์บนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน คือ อำเภอสองแคว อำเภอบ่อเกลือ อำเภอปัว และอำเภอทุ่งช้าง รวมถึงอำเภอเมืองน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก และเป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีสูงกว่าบริเวณอื่น ในส่วนผลการศึกษาด้านการประเมินผลกระทบของการเกิดน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน พบว่า พื้นที่ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ตำบลดู่ใต้ ตำบลไชยสถาน ตำบลผาสิงห์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลฝายแก้วในอำเภอภูเพียง และ ตำบลปัว อำเภอปัว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและที่พักจำนวนมาก ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ สามารถเป็นแนวทางให้กับหลายภาคส่วนในการวางแผนเพื่อการเตือนภัย ลดความเสียหายจากภัยพิบัติ และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง


การหยั่งความลึกน้ำทะเลจากการรับรู้ระยะไกลในอ่าวไทยด้วยภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 8, ชนัตถพงศ์ เสืองามเอี่ยม Jan 2021

การหยั่งความลึกน้ำทะเลจากการรับรู้ระยะไกลในอ่าวไทยด้วยภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 8, ชนัตถพงศ์ เสืองามเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสำรวจแผนที่ทะเลของประเทศไทยในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่ใช้ในการสำรวจและด้านบุคลากร ทำให้ไม่สามารถสำรวจปรับปรุงแผนที่ทะเลให้มีความทันสมัยและครอบคลุมทั่วประเทศ จึงมีความจำเป็นในการหาเครื่องมือหรือวิธีการในการช่วยหาความลึกน้ำทะเลที่ให้ค่าความถูกต้องของความลึก ประหยัด และรวดเร็วในการสำรวจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ในการวิเคราะห์หาค่าความลึกน้ำทะเลในอ่าวไทย จำนวน 3 พื้นที่ ซึ่งอ้างอิงขอบเขตตาม แผนที่เดินเรือ ได้แก่ พื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก (ทางเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา) พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (เกาะสะบ้า ถึง เกาะจิกนอก) และพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก (อ่าวชุมพร) ด้วยเทคนิคการสร้างแผนที่ความลึกน้ำทะเลด้วยวิธี Satellite Derived Bathymetry (SDB) ร่วมกับแบบจำลองอัตราส่วนช่วงคลื่น (Log-Band Ratio Method) เพื่อให้ได้ความลึกน้ำทะเลที่มีความแม่นยำสูงเมื่อเทียบฐานข้อมูลแผนที่เดินเรือจากการสำรวจด้วยวิธีการหยั่งน้ำด้วยเสียงแบบลำคลื่นเดียว ผลวิจัยพบว่าค่าความลึกน้ำทะเลจากภาพถ่ายดาวเทียมช่วงระดับความลึก 0 – 15 เมตร ในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก และพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก มีค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) เท่ากับ 0.8621, 0.9130 และ 0.9304 ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการหยั่งความลึกน้ำทะเลด้วยวิธีการ SDB ร่วมกับแบบจำลองอัตราส่วนช่วงคลื่นในทะเลอ่าวไทยทั้ง 3 พื้นที่ กับความลึกน้ำสำรวจด้วยวิธีการหยั่งน้ำด้วยเสียงแบบลำคลื่นเดียวมีความสอดคล้องกันสูงโดยเฉพาะพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก ดังนั้นวิธีการ SDB ร่วมกับแบบจำลองอัตราส่วนช่วงคลื่นจึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการทางเลือกในการสนับสนุนการสำรวจแผนที่อุทกศาสตร์ในพื้นที่ที่ต้องการทราบค่าความลึกในช่วงความลึกน้ำไม่เกิน 15 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่น้ำตื้นหรือชายฝั่งทะเลที่มีข้อมูลอุทกศาสตร์อยู่เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยได้เป็นอย่างดี


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรรณภัทร ราชาภรณ์ Jan 2021

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรรณภัทร ราชาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุทกภัยปี 2563 ในจังหวัดนครศรีธรรมราชสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมมือกับองค์การสาธารณกุศล เพื่อกระจายความช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว จากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปัจจัยผู้นำ ที่มีความเข้าใจในงาน มีความเด็ดขาดช่วยแก้ไขปัญหา และใส่ใจในผู้ปฏิบัติงาน, ปัจจัยวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน และปัจจัยอำนาจตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้รวดเร็วและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือฯ ได้แก่ ปัจจัยการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ที่ยังมีความยากลำบากและความยุ่งยากในความร่วมมือ, ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานซึ่งแตกต่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานเกิดความติดขัด, ปัจจัยทรัพยากรในการปฏิบัติงาน ทั้งงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์กู้ภัยยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และปัจจัยการแสวงหาผลประโยชน์และการแทรกแซงการปฏิบัติงานจากบุคคลภายนอก นำไปสู่การลาออกของผู้ปฏิบัติงาน ผู้วิจัยได้นำเสนอตัวแบบสานพลังจัดการสาธารณภัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาความร่วมมือของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชกับองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีกระบวนการความร่วมมือเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย


สงครามจิตวิทยาของอังกฤษในมลายา 1948 ถึง 1960, เมลีซา อับดุลเลาะห์ Jan 2021

สงครามจิตวิทยาของอังกฤษในมลายา 1948 ถึง 1960, เมลีซา อับดุลเลาะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบของอังกฤษในมลายา ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ศึกษาเรื่องสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบในปัจจุบันว่า เป็นการรับมือกับสงครามนอกแบบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษในมลายารู้จักปรับตัวและสร้างวิธีคิดชุดใหม่ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับนโยบายทางการเมืองเป็นหลัก วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์ให้เห็นว่าการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาในมลายาถือเป็นเงื่อนไขทางการเมืองอันโดดเด่นที่ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษได้รับชัยชนะในสงครามดังกล่าว ผ่านแนวคิดการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาของ เซอร์ โรเบิร์ต ทอมสัน บทเรียนสำคัญจากการทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบในมลายา ชี้ให้เห็นว่าการใช้กำลังไม่ใช่ทางออกสำหรับการทำสงคราม หากแต่เป็น “การขจัดองค์กรของศัตรู” ผ่านปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา ในขณะเดียวกันสงครามในมลายายังพิสูจน์ให้เห็นว่า มาตรการทางจิตวิทยา อย่างการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบการใช้ใบปลิวประชาสัมพันธ์นโยบายการมอบตัวและข้อเสนอของรัฐบาล เป็นเครื่องมือที่สามารถโน้มน้าวให้กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐเข้ามามอบตัวและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นจำนวนมาก จนสามารถทำลายองค์กรของศัตรูได้อย่างมีนัยสำคัญ กระทั่งจำนวนลดน้อยลงมาก จนกองกำลังที่เหลือต้องถอยออกไปยังเขตชายแดนมลายา-ไทย ทำให้รัฐบาลอังกฤษสามารถยุติสงครามดังกล่าวได้ภายในเวลาเพียง 12 ปี


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สร้างความท้าทายต่อการปรับตัวทางอาชีพแก่บุคลากร งานวิจัยที่ผ่านมาพบความสำคัญของภาวะผู้นำของหัวหน้าและการรับรู้ความงอกงามในงานของพนักงาน มีส่วนผลักดันให้บุคลากรนำทรัพยากรทางจิตเชิงบวกของตน มาพัฒนาเป็นความสามารถในการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานในกลุ่มสายงานบริการ ซึ่งมีหน้าที่ลำดับแรกคือปฏิสัมพันธ์กับผู้มาขอรับบริการ ที่มีความต้องการหลากหลาย จึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับวิธีการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจ กับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากพนักงานในสายงานบริการ เช่น นักการตลาดและพนักงานไอที ที่ปฏิบัติงานในองค์การภาคเอกชนในประเทศไทย จำนวน 241 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอย พบว่า ภาวะผู้นำทำนายความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพในเชิงบวก (β = .28, p < .001) ผ่านตัวแปรความงอกงามในงานซึ่งเป็นการส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) (effect = .19, se = .06, 95% CI: .09, .32) ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า หัวหน้างานที่เน้นให้อำนาจการตัดสินใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน จะช่วยให้เกิดความงอกงามในงาน รับรู้ถึงพลังชีวิตและการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ ดังนั้นเพื่อให้พนักงานในสายงานบริการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอาชีพ องค์การควรส่งเสริมให้พนักงานมีความงอกงามในงาน ผ่านการพัฒนารูปแบบผู้นำแบบเสริมอำนาจในกลุ่มหัวหน้างาน


“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู Jan 2021

“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาวัฒนธรรมชาติและกระบวนการทางสังคมของกัญชา ผ่านการสำรวจกิจกรรมจัดหา แปรรูปและแจกจ่ายกัญชาที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคกลาง ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยดำเนินการอย่างเป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมายป้องปรามยาเสพติดของไทย ผู้วิจัยอาศัยแนววิเคราะห์เชิงวัตถุ-สัญญะและกรอบคิดเรื่องวัฒนธรรมชาติในการสำรวจปรากฎการณ์ดังกล่าว โดยเสนอว่ากัญชาเป็นวัตถุที่มีความเลื่อนไหลและหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวัตถุศักดิ์สิทธิ์ สินค้า ยารักษาโรค และสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบุญ นอกจากนี้ผู้วิจัยเสนอว่า ปรากฏการณ์ผิดกฎหมายดังกล่าวดำรงอยู่ได้จากกระบวนการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์ที่มีลักษณะจำเพาะสองรูปแบบขึ้น ภายใต้พิธีกรรมแจกจ่ายกัญชาสองลักษณะ กล่าวคือ การประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบผูกขาดในพิธีกรรมเชิงการแพทย์ และการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบรวบรวมในพิธีกรรมศาสนา กระบวนการทางสังคมของกัญชาดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นความพร่าเลือนและคร่อมข้ามของกรอบคิดทวิลักษณ์และปริมณฑลที่แน่นิ่ง ตายตัวต่าง ๆ ทั้งรัฐ/ราษฎร์ วิทยาศาสตร์/ศาสนา สาธารณะ/ส่วนตัว และได้นำไปสู่การขยับขยายเข้าใจต่อเรื่องการสั่งจ่ายยา โดยพิจารณาอิทธิพลของตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์ในบริบทด้วย


การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร, ปุณยนุช ลอยมา Jan 2021

การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร, ปุณยนุช ลอยมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดตัวชี้วัดของกรมศุลกากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพื่อให้ข้อเสนอแนะกับกรมศุลกากรในการปรับปรุงตัวชี้วัดให้เหมาะสม โดยการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามในรูปแบบของ Google Form กับกลุ่มตัวอย่างข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 400 คน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 5 คน (ระดับหัวหน้างาน จำนวน 2 คน และระดับชำนาญการ ปฏิบัติการ จำนวน 3 คน) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กรมศุลกากรมีการกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการที่มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลได้จริง มีกรอบระยะเวลาในการวัดที่ชัดจน ผู้ถูกวัดสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้ รวมถึงได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้วัดกับผู้ถูกวัด อีกทั้งการกำหนดตัวชี้วัดนี้มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า การจะพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมฯ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานก็เป็นปัจจัยที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ ข้อเสนอแนะที่จากการศึกษาคือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในเรื่องของการกำหนดตัวชี้วัด มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาระบบริหารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน จัดทำรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากรในแต่ละภารกิจงาน เพื่อใช้ประกอบการกำหนดตัวชี้วัด กำหนดน้ำหนักในการประเมินผล นอกจากนี้ควรพัฒนากระบวนการสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการได้ทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นในการวัดผลการดำเนินงาน


ระดับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19และการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4, ทอแสง จันทร์แสน Jan 2021

ระดับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19และการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4, ทอแสง จันทร์แสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการมุ่งศึกษา “ระดับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ว่ากระจายตัวอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระดับใดมากที่สุด และศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของเหตุผลของการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 (สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) ทัศนคติต่อโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 (สำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ) โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามการวิจัยแบบออนไลน์ ที่ได้จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 412 ชุด และนำมาวิเคราะห์ผลโดย การใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน เครื่องมือการวิเคราะห์การกระจายผลประโยชน์ และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัยทั้ง 3 ข้อ พบว่า 1) การกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 กระจายตัวอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระดับน้อยเป็นจำนวนมากที่สุด 2) การศึกษาเหตุผลของการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 พบว่า ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า “ตนเองไม่ต้องการหรือไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการ” 3) การศึกษาทัศนคติต่อโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีทัศนคติไปในเชิงบวก ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยคือการนำผลการวิจัยไปปรับใช้ และปรับปรุงการดำเนินโครงการคนละครึ่งระยะต่อ ๆ ไป