Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 168

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Tea Culture Tourism In Southeast Asia : A Comparative Study Of Mae Salong In Thailand And Thai Nguyen In Vietnam, Yanling Guo Jan 2018

Tea Culture Tourism In Southeast Asia : A Comparative Study Of Mae Salong In Thailand And Thai Nguyen In Vietnam, Yanling Guo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study attempts to explore the development of tea planting and producing, and tea culture tourism in Mae Salong in Thailand and Thai Nguyen in Vietnam. The findings reveal that tea planting in Mae Salong is derived from KMT villagers in northern Thailand who initially planted tea for livelihood, later developed as a cash crop for substituting opium and reducing soil erosion under the cooperation between the Royal Project and Taiwanese organizations. Nowadays, tea in Mae Salong is selected as "OTOP" and marketed as tourism resources to attract tourists. The tea culture tours in Mae Salong are usually organized with …


“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์ Jan 2018

“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการคือ 1) อธิบายพัฒนาการการปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มผู้หญิงคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 2) สังเคราะห์ความหมายของสันติภาพของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 3) วิเคราะห์การทำงานของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพที่สัมพันธ์กับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Security Council: UNSC) หมายเลข 1325 และ 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและที่ท้าทายการดำเนินกิจกรรมเพื่อสันติภาพของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมในนามของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ผลการศึกษาพบว่าคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ก่อตัวขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่เกิดขึ้นทั้งก่อนสถานการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ในปี 2547 ผ่านการชักจูงของเจ้าหน้าที่แหล่งทุนและการเชิญชวนปากต่อปากของพวกเธอในช่วงเวลาที่สุกงอมเพื่อสร้างเวทีเชิงประเด็นของผู้หญิงที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา งานด้านสันติภาพและความหมายสันติภาพของพวกเธอเติบโตจากสันติภาพประเด็นเย็นเช่นงานเยียวยาไปสู่งานสันติภาพประเด็นร้อนคือประเด็นความมั่นคงสะท้อนจากผลลัพธ์การทำงานของพวกเธอนั่นคือข้อเสนอพื้นที่สาธารณะปลอดภัยและข้อเสนอสภาวะที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ การทำงานของพวกเธอเมื่อพิจารณาตามมติ 1325 พบว่าต้องเจอกับข้อท้าทายมากมายทั้งข้อท้าทายภายในองค์กรและอีกทั้งยังพบว่าพวกเธอต้องทำงานต่อรองกับนโยบายระดับชาติด้านความมั่นคงที่เลี่ยงการเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยคำว่าพื้นที่ขัดแย้งทางกำลังอาวุธและปัญหาการขาดความตระหนักรู้มิติความสัมพันธ์หญิงชายในพื้นที่ แต่ด้วยข้อสนับสนุนหลายๆประการและการเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับข้อท้าทายต่างๆ ทำให้พวกเธอได้ก้าวออกมาจากการทำงานสันติภาพแบบไม่เป็นทางการซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่อยู่วงนอกของกระบวนการสันติภาพมาเป็นตัวแสดงที่กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่วงในของกระบวนการสันติภาพ


สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล Jan 2018

สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาสารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณจากงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่บรรจุแทรกในวรรณคดีสันสกฤตประเภทศาสตร์ 5 เรื่อง ได้แก่ อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ, พฤหัตสํหิตาของวราหมิหิระ, ยุกติกัลปตรุของโภชะ, มานโสลลาสะของโสเมศวระ และศุกรนีติสาระของศุกราจารย์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษาสารัตถะ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลปฐมภูมิ 5 เรื่อง กับงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่เป็นเรื่องเดี่ยว ส่วนที่สองคือการศึกษาความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม โดยพิจารณาจากข้อความตัวบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องแทรกว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีกับงานนิพนธ์เรื่องหลัก รวมทั้งพิจารณาบทบาทของศาสตร์แห่งอัญมณีที่ปรากฏในงานนิพนธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารัตถะของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ คือ การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและจำแนกสิ่งมีค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณี นำไปสู่การประเมินมูลค่าและคุณค่า เพื่อตอบสนองความมั่นคงของราชอาณาจักร องค์ความรู้เรื่องการตรวจสอบอัญมณีจำแนกได้เป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดการตรวจสอบอัญมณี หมวดการประเมินค่าอัญมณี หมวดการกำหนดราคาอัญมณี และหมวดเบ็ดเตล็ดซึ่งครอบคลุมศิลปะการทำอัญมณีตลอดจนความเชื่อ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้อัญมณี เนื้อหาสาระของตำราอัญมณีประเภทเรื่องแทรกที่นำมาศึกษาครั้งนี้ โดยมากพ้องกับตำราอัญมณีประเภทเรื่องเดี่ยว สิ่งที่แตกต่างกันคือรายละเอียดปลีกย่อยและบริบทของการนำไปใช้ซึ่งมุ่งในแวดวงของราชสำนัก ส่วนความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณนั้นแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านภาษาและวรรณคดี และด้านการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า ศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณมีคุณูปการต่อสังคมในวงกว้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีการสืบทอด การผลิตช้า การดัดแปลง และการอ้างอิงศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียในงานนิพนธ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน


การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช Jan 2018

การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้สมัชชา 18 ต้องทำการปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนที่เเต่เดิมเป็นเเบบกระจายตัวให้มีการรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น คือ เเบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายหันกลับสู่เอเชียของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของสมัชชา 18 เป็นการปฏิรูปอย่างรอบด้าน ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง รัฐบางท้องถิ่น และกองทัพ โดยในระดับรัฐบาลกลาง ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือการเปลี่ยนเเปลงบทบาทของกลุ่มผู้นำย่อย การประกาศใช้เเผนยุทธศาสตร์เเห่งชาติด้านการต่างประเทศ เเละการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ทับลงไปในกรอบความร่วมมือเดิม ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การใช้มาตรการทางการคลัง การใช้ระบบการเเบ่งหน้าที่ตามพื้นที่ เเละการเปลี่ยนเเปลงหน้าที่ของสำนักการต่างประเทศส่วนท้องถิ่น เเละในระดับกองทัพ ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การปฏิรูปกองทัพให้คณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางมีอำนาจที่เเท้จริงในการบัญชาการกองทัพ เเละการใช้เเนวคิดยุทธศาสตร์สามสงครามเพื่อบูรณาการฝ่ายพลเรือนเเละฝ่ายทหาร ทั้งหมดนี้ ทำให้กระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น เพื่อที่สมัชชา 18 จะสามารถจัดการกับปัญหาทั้งสามข้อข้างต้นได้อย่างรอบด้าน


มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร Jan 2018

มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาการลักลอบ ล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย วิเคราะห์ผลการศึกษาและบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยภาคสนาม (Field Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มนายพราน กลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มองค์กรอิสระด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวม 13 คน ผลการศึกษา มีข้อมูลทางสถิติแสดงว่าสภาพปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีความรุนแรงมากที่สุดในพื้นที่ป่า ภาคตะวันตกของประเทศไทย รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบการลักลอบล่าสัตว์ป่าในบริบทของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) เพื่อการดำรงชีพ (2) เพื่อการค้า (3) เพื่อการพักผ่อน และ (4) เพื่อการแข่งขันหรือกีฬา สาเหตุของการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเกิดจาก (1) ปัญหาความยากจนของครัวเรือน (Poverty) (2) ความต้องการโอกาสทางสังคม (Social Opportunity) (3) แรงกดดันทางสังคม (Social Pressures) (4) ค่านิยมเฉพาะกลุ่ม (Group Value) (5) ความเชื่อท้องถิ่น (Local Belief) (6) การเพิ่มมูลค่าของสัตว์ป่าในทางเศรษฐศาสตร์ (Wildlife Economic Value Added) (7) การเข้ามาของกลุ่มนายทุนนอกพื้นที่ (Capitalist) (8) ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย (Legal Gap) และ (9) การไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด (Intrepidity of commit an offence) ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความไม่เสมอภาคทางสังคม (Social Inequality) (2) ความอ่อนแอของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Weakness of …


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียน นิสิต อาจารย์ และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งด้านกายภาพ ปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบอาชญากรรม ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม และช่องโอกาสในการเกิดอาชญากรรม ตลอดจนศึกษาแนวทางหรือ มาตรการที่ช่วยลดการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเขียนรายงานต่อไป จากการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกปี โดยเหยื่ออาชญากรรมเป็นนักเรียน นิสิต อาจารย์ รวมถึงบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสถานศึกษา ซึ่งประเภทอาชญากรรมที่พบคือ อาชญากรรมต่อทรัพย์ ต่อชีวิตร่างกายและต่อเพศ จากการศึกษาวิเคราะห์สถิติคดียังพบอีกว่า มีแนวโน้มที่บุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมประเภทดังกล่าว โดยมีสาเหตุและปัจจัยระดับปัจเจกบุคคลที่ทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้แก่ 1) พฤติกรรม 2) บุคลิกภาพ และ 3) ลักษณะทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความตระหนักถึงความปลอดภัยพบว่า นิสิตและบุคลากร ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานศึกษานั้นไม่ค่อยจะระมัดระวังตนเองหรือทรัพย์สิน มีความประมาท ประกอบกับจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อบุคลากรและต่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการดูแล และไม่มีความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนขาดความชำนาญและขาดประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม ในส่วนของโครงสร้างทางกายภาพ พบว่า สถานศึกษามีประตูเข้า-ออกหลายช่องทางหากมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นอาชญากรสามารถหลบหนีได้ง่าย อีกทั้งถนนภายในและภายนอกของสถานศึกษาบางแห่งมีแสงไฟส่องสว่างน้อย บางจุดไม่มีกล้องวงจรปิด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการก่อสร้างปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมได้


บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค Jan 2018

บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องบทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ : ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของท่าอากาศยาน ปัญหาอุปสรรคของท่าอากาศยาน และการพัฒนาแนวทางของท่าอากาศยาน ในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรม ข้ามชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรมข้ามชาติที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้นภายในท่าอากาศยาน และทำการสัมภาษณ์ประชาชนผู้มาใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการบินยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของกลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้าย นอกจากนี้การหลั่งไหลของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง การกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การลักลอบขนงาช้าง การลักลอบขนสัตว์ป่า การลักลอบขนยาเสพติด การเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกระทำที่เป็นการแทรกแซงอันมิชอบด้วยกฎหมาย (Acts of Unlawful Interference) เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความเชื่อถือและวางใจในมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้น พนักงานตรวจค้นจะต้องมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการคัดกรองวัตถุต้องสงสัยมิให้มีการนำออกไปจากราชอาณาจักร โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนที่สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรมให้กับท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามมีกฎหมายที่บังคับใช้กับมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งการก่อการร้ายในเขตอากาศยาน ที่เป็นกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นควรมีการทบทวนและหาแนวทางในการปฎิบัติให้แก่ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่อาจต้องมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามระดับความเสี่ยงของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง รวมถึงท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ ทอท. จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในอนาคต


การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา Jan 2018

การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์ของสังคมซึ่งเกิดจากความบกพร่องในการป้องกันอาชญากรรมของรัฐ เหยื่ออาชญากรรมจึงสมควรได้รับการช่วยเหลือในรูปแบบรัฐสวัสดิการจากนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานตามนโยบาย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวกว้างจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินนโยบายการช่วยเหลืออาชญากรรมโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวลึกเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ วิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประมวลผลเป็นความเรียง การผสมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพใช้วิธีเปรียบเทียบผลการศึกษาที่ได้แบบประเด็นต่อประเด็น ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหลักเป็นความเพียงพอของทรัพยากร การประชาสัมพันธ์สิทธิ์การได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐ เหยื่ออาชญากรรมยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมน้อย การดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมยังมีความล่าช้า งบประมาณในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมยังมีไม่เพียงพอ พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังทราบว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยด้านนโยบาย การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ การจัดสรรทรัพยากร การพัฒนาระบบช่วยเหลือและเยียวยา คณะกรรมการและอุทธรณ์ และปฏิบัติการช่วยเหลือและเยียวยา เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมในอนาคต ควรมีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาให้ชัดเจนและไม่คลุมเครือ ประชาสัมพันธ์การรับรู้สิทธิ์ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ ควรจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมโดยเฉพาะ โดยเงินกองทุนมาจากเงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคอุทิศให้ เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน และไม่ควรให้เงินและทรัพย์สินของกองทุนต้องส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินในแต่ละปีงบประมาณ


การบริหารพอร์ตการลงทุนด้วยการวิเคราะห์สเปกตรัม, ดนุพล คุณานุปถัมภ์ Jan 2018

การบริหารพอร์ตการลงทุนด้วยการวิเคราะห์สเปกตรัม, ดนุพล คุณานุปถัมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นสามารถที่จะส่งผลได้หลากหลายรูปแบบต่อตลาดการเงินในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบสามารถวัดได้ด้วยความถี่ ซึ่งก็คือรอบวัฏจักรของข้อมูล สำหรับในการวิจัยนี้ จะใช้การวิเคราะห์สเปกตรัมในการวิเคราะห์ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคธุรกิจในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยการใช้ Discrete-Time Fourier Transform ด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ค่าผลตอบแทน ค่าความเสี่ยง ค่าความแปรปรวนร่วมและผลตอบแทนคาดหวังในกรอบอ้างอิงของความถี่ได้ ซึ่งในกรอบของความถี่ เราสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างแผนการลงทุนที่ใช้กับผลตอบแทนของสินทรัพย์ในแต่ละช่วงเวลาได้ สำหรับพอร์ตการลงทุน เราสามารถที่จะสร้างพอร์ตโดยใช้ mean-variance-frequency optimal portfolios และแบ่งช่วงความถี่ของผลตอบแทนที่เราสนใจ ซึ่งในวิธีการ mean-variance optimal portfolios แบบดั้งเดิมไม่สามารถแยกช่วงความถี่ออกมาพิจารณาได้ โดยที่ประสิทธิภาพของพอร์ตการลงทุนจะขึ้นอยู่กับช่วงความถี่ที่เลือกใช้ จำนวนข้อมูลที่ใช้ในการประมาณค่าน้ำหนักการลงทุน และช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการปรับน้ำหนักของพอร์ตการลงทุน


สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน : ทฤษฎีฐานราก, พรรณพนัช แซ่เจ็ง Jan 2018

สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน : ทฤษฎีฐานราก, พรรณพนัช แซ่เจ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสร้างทฤษฎีฐานราก ที่สร้างทฤษฎีขึ้นจากข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลคือ พ่อแม่ผู้ฝึกสติปัฏฐานในระยะยาว จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีฐานรากประกอบด้วย 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1) ความทุกข์ใจในการเลี้ยงดู อันแสดงถึง ลักษณะของความทุกข์ ที่มาของความทุกข์ใจ และการเปลี่ยนแปลงของความทุกข์ในการใช้สติในการเลี้ยงดู 2) รากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู ประกอบด้วย ความตั้งมั่นของพ่อแม่ในการใช้สติกับลูก ความสงบ และใจที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการสังเกตใคร่ครวญ 3) กระบวนการเท่าทันและเข้าใจในการเลี้ยงดู คือ กระบวนการรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ การยับยั้งตนเอง กระบวนการทำความเข้าใจโดยอาศัยเวลาในการใคร่ครวญ และการแสดงออกต่อลูก 4) ความเข้าใจธรรมชาติในการเลี้ยงดู คือความเข้าใจในความเกี่ยวเนื่องระหว่างตนกับลูก การยอมรับในความไม่แน่นอนในการเลี้ยงดู และการวางใจในการเป็นพ่อแม่ 5) การตระหนักในคุณค่าของการใช้สติในการเลี้ยงดู ประกอบด้วย การตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับตนเอง การตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับลูก และการตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับสัมพันธภาพ ทฤษฎีแสดงและอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 5 ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกัน โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่มีรากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู และมีความทุกข์ใจในการเลี้ยงดู เชื่อมโยงไปสู่กระบวนการเท่าทันและเข้าใจในการเลี้ยงดู จึงได้ตระหนักในคุณค่าของการใช้สติในการเลี้ยงดู และเกิดความเข้าใจธรรมชาติในการเลี้ยงดู ซึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังการเปลี่ยนแปลงของความทุกข์ และรากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู ทฤษฎีฐานรากที่ปรากฏขึ้นนี้ เป็นองค์ความรู้ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมพัฒนาสติในการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ และนักวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสติในการเลี้ยงดูในแนวพุทธได้ต่อไป


Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen Jan 2018

Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to investigate whether the variation in sex composition of children can explain the variation of Vietnamese women's fertility desire. Vietnam has experienced rapid fertility decline since the middle of the 20th century but within a broader context of strong cultural norms regarding son preference. Thus, the sex composition of children is one of the key determinants of reproductive behavior within Vietnam. To my knowledge, no previous study has examined the relationship between sex composition of children and women's fertility desires in Vietnam. Using data from the 2014 Vietnam Multiple Indicator Cluster Survey (MICS) I investigate the association …


Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang Jan 2018

Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Vietnam, like many developing countries, is undergoing a rapid pace of population ageing but within a resource limited context. Therefore, understanding the factors that are important to later life well-being has become a key policy issue. Using data from the 2011 Vietnam National Aging Survey, this thesis aims to investigate gender differences in the direct and indirect impacts of education on subjective well-being of older Vietnamese based on four domains: happiness, life satisfaction, loneliness, and depression (N=2,789, including 1,683 females and 1,106 males). The results from path analysis show that those with higher level of education are happier and more …


Economic Effects Of Social Capital, Roman Dennis Bausch Jan 2018

Economic Effects Of Social Capital, Roman Dennis Bausch

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis investigates economic effects of social capital in three separate studies. The first two studies deal with the effect of social capital on two factors that pave the way for fiscal stress, informality and fiscal cyclicality. While the shadow economy as a form of tax evasion deteriorates public revenues, a cyclical behavior of fiscal policy often goes along with an extension of lasting financial obligations in economic good times which makes public budgets vulnerable in following downturns. The third study focusses on the occurrence of fiscal stress which lends itself as research object for the analysis of the overall …


The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak Jan 2018

The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of privatization in public sector is a one of strategic transformations that significantly helps promoting the organizational development in terms of efficiency and quality which subsequently resulted to the continuous financial development which refers to as revenue and profitability. Such development usually will be corresponded to the competitive market which indicates the organizational achievement. However, privatization can possibly create direct impacts on public sector and stakeholders as well if it was conducted in the public sector that emphasized on public health services such as public hospital where the core product is health care or medical treatment. The objectives …


Politics Of Changes In Thailand's University Admission Policy (1999-2017), Nitchapat Kitcharern Jan 2018

Politics Of Changes In Thailand's University Admission Policy (1999-2017), Nitchapat Kitcharern

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to study a significant phenomenon, the changes in Thailand's University Admission system between 1999 and 2017. During this period, the admission system was changed six times. This research focuses on the political factors that led to the changes in admission policy, particularly the relationships among politicians, bureaucracy, schools, civil society and students. The purpose of this research is threefold: (1) to understand the causes and procedures of changes in Thailand's university admission policy, (2) to study and understand the correlation between politics and changes in university admission system, and (3) to understand the impact these changes had …


Caring For Patients With Drug Use Disorders In Yangon Region, Myanmar : Socioeconomic And Psychological Burden And Coping Strategies, Khin Zar Khaing Thein Jan 2018

Caring For Patients With Drug Use Disorders In Yangon Region, Myanmar : Socioeconomic And Psychological Burden And Coping Strategies, Khin Zar Khaing Thein

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drug use disorders are considered chronic illnesses, like other severe mental disorders, and caregivers of drug users face a large impact on various aspects of their life. However, there is shortage of research in Myanmar about caregivers' experiences with caring for patients with drug use disorders. This mixed method study, therefore, aims at exploring the socioeconomic and psychological burden caregivers carry, the coping strategies they employ, as well as the barriers to coping they face. The results of the framework analysis revealed that financial loss, productivity loss, social limitation and negative impact on family members are important dimensions of socioeconomic …


Clmv Male Migrant Sex Workers In Bangkok : Livelihoods And Social Protection, Ob-Orm Utthasit Jan 2018

Clmv Male Migrant Sex Workers In Bangkok : Livelihoods And Social Protection, Ob-Orm Utthasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to the lucrative business of sex industry in Thailand, it welcomes not only Thai sex workers to engage in sex industry, but also migrant sex workers from neighboring countries including Cambodia, Lao PDR, Myanmar, and Vietnam. The high incomes of sex industry convince not only the female migrants, but also male migrants either heterosexual or homosexual identified to engage in sexual services. These migrant sex workers are experiencing more barriers that the local due to their migrants' legal status. Because sex work is not considered a legitimate form of employment, these migrant sex workers are unable to exercise their …


Chin Diaspora And Their Social Networks In Thailand : Implications For Development In Myanmar, Pau Sian Lian Jan 2018

Chin Diaspora And Their Social Networks In Thailand : Implications For Development In Myanmar, Pau Sian Lian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to socioeconomic and political reasons, Chin ethnic people from the western part of Myanmar have been migrating to inner part of the country and abroad. Economic growth and requirement of low skill labor in Thailand since the 1980s have been the pull factors for low skill migrants from its neighbors, including Myanmar. Chin people came to Thailand not only for economic opportunities but also for onward migration. The purpose of this research is to explore the social networks of Chin diaspora in Thailand and their implication to the economic and political development of their home community in Myanmar. With …


Women Political Participation In Myanmar’S House Of Representatives, Thu Thu Swe Jan 2018

Women Political Participation In Myanmar’S House Of Representatives, Thu Thu Swe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The thesis mainly discusses about main obstacles and challenges for women to participate in political activities in Myanmar including economic factor, social factor, political factor, and the ways how women are empowered to participate in political activities in Myanmar by using both primary and secondary data. The primary concept for this study is based on women empowerment processes which are included four different pathways in which women are changed –material (economy), perceptual (knowledge and skill), cognitive (self-confident and self-esteemed) and relational (bargaining power). Moreover, the thesis analyses actor's roles in these four pathways. The thesis found out external factors namely …


Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban Jan 2018

Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Myanmar, Inca Inchi is one of the new economic businesses that made changes to the agriculture sector with both its advantages to the quality of life of the people and a high selling price which generates an economic benefit. This study tries to explore the overall social and economic impact that Inca Inchi contract-farming as a business model has had on the security and development specifically for the farmers who signed the contracts with the Inca Inchi companies in the Kachin state, Myanmar. Sample size in Myitkyina Township represented total population. Quantitative data collection method based on primary data …


The Relationship Between Fdi And Employment In China's Manufacturing Industry, Ruoheng Wang Jan 2018

The Relationship Between Fdi And Employment In China's Manufacturing Industry, Ruoheng Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

China has achieved rapid economic growth after reforming and opening up, becoming the second largest economy after the United States. At the same time, China began to attract foreign direct investment, and the scale of foreign direct investment has been becoming larger and larger. It's obvious that FDI has played a crucial role in promoting China's economic growth. But China is a country with a big population, the employment problem is the most direct and realistic problem. Although overall employment is increasing in China, the speed of employment growth in the manufacturing industry is very low. After all, the manufacturing …


Roles Of Actors In The Development Of Organic Farming In Baan Non-Yang, Amphoe Kud-Chum, Yasothon Province, Yan-Ting Huang Jan 2018

Roles Of Actors In The Development Of Organic Farming In Baan Non-Yang, Amphoe Kud-Chum, Yasothon Province, Yan-Ting Huang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Organic agriculture in Thailand has been shaped by the agency factors with contestation on development in structural contexts since the 1970s. It emerged and developed as a part of alternative agriculture movement, and transformed in dynamic contexts with involvement of various actors. Organic farming in Non-Yang community can be perceived as the microcosm of the development. POs, NGOs, GOs and private sectors are involved into the community as actors of organic farming network. With negotiation and cooperation in the network, the movement has persisted and become viable until today. The thesis was conducted with a stakeholder analysis on the case …


The Role Of Consumer Determinants In The Relationship Between Brand Equity And Behavioral Intentions, Hanh Tran Thi My Jan 2018

The Role Of Consumer Determinants In The Relationship Between Brand Equity And Behavioral Intentions, Hanh Tran Thi My

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study is to examine the relationship between brand equity and behavioral intentions (i.e., repurchase, recommend) as well as the moderating role of consumer determinants (i.e., trust, satisfaction, perceived electronic word-of-mouth) in this relationship within hedonic and utilitarian high-involvement product settings. The study employs a quantitative approach in which the cross-sectional survey was made to collect the data in Bangkok, Thailand. A total of 423 target samples aged from 18 to 25, studying and/or working in inner areas, were collected. The findings illustrate that brand equity is positively related to behavioral intentions in both contexts. Additionally, trust, …


การเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีแบบต่าง ๆ ต่อการส่งออกทูน่ากระป๋องในประเทศไทย, เค้นท์ สเคาว์เทิ่น Jan 2018

การเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีแบบต่าง ๆ ต่อการส่งออกทูน่ากระป๋องในประเทศไทย, เค้นท์ สเคาว์เทิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทต่าง ๆ ต่อมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของประเทศไทย โดยผ่านแบบจำลองแรงโน้มถ่วง (Gravity Model) โดยใช้ข้อมูลจาก 14 ประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยแบบรายปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006-2015 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่นานาชาติใช่กับสินค้าทูน่ากระป๋อง (HS code: 160414) ไม่ส่งผลเสียกับมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของประเทศไทย แต่กลับส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดการใช้มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี เนื่องจาก มาตรฐานสินค้าทูน่ากระป๋องของประเทศไทยสูงกว่าข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่นานาประเทศบังคับใช้กับประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องมากที่สุดคือ มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทจำกัดปริมาณ (Quantitative Restrictions :QR) เนื่องจาก มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทจำกัดปริมาณที่สำคัญไม่ส่งผลต่อประเทศไทยแต่ส่งผลกับคู่แข่งของไทย คือ มาตรการห้ามนำเข้าทูน่ากระป๋องที่มีวัตถุดิบจากการทำประมงอวนล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการประสานงานแก้ไขโดยสมาคมอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องไทยเรียบร้อย แต่ประเทศผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องประเทศอื่น ๆ ยังคงประสบปัญหานี้อยู่ ทำให้ในตลาดสหรัฐอเมริกามีทูน่ากระป๋องจากประเทศคู่แข่งของไทยน้อย จึงทำให้ทูน่ากระป๋องของไทยมีส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้นและมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย


การเปรียบเทียบมูลค่าเวลาของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, กนกพงศ์ ตั้งอารีอรุณ Jan 2018

การเปรียบเทียบมูลค่าเวลาของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, กนกพงศ์ ตั้งอารีอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเต็มใจจ่ายของผู้โดยสารสามารถใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความเหมาะสมของการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารได้ โดยวัดจากความเต็มใจจ่ายของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับเวลาที่ใช้ในการเดินทางลดลงหรือระดับการบริการที่เพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามูลค่าเวลาและความเต็มใจจ่ายของผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเปรียบเทียบกับรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งผลกระทบของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการต่อระดับความพึงพอใจด้านค่าโดยสารของผู้โดยสาร โดยรวบรวมข้อมูลของผู้โดยสารด้วยวิธีทฤษฎีเปิดเผยความพึงพอใจ ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกส์ทวิร่วมกับอัตราส่วนเพิ่มสุดท้ายของการทดแทนกันระหว่างเวลาที่ใช้ในการเดินทางและค่าโดยสาร และการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมกับแบบจำลองการวิเคราะห์การถดถอยโพรบิตแบบเรียงลำดับ ผลการศึกษาด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกส์ทวิพบว่า ผู้โดยสารในกรุงเทพมหานครมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้น 37.14 บาทถ้าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสามารถประหยัดเวลาการเดินทางได้ 60 นาทีเมื่อเทียบกับรถโดยสารประจำทาง ในส่วนของการศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการต่อความพึงพอใจด้านค่าโดยสาร พบว่าผู้โดยสารทั้งสองระบบการเดินทาง จะมีความพึงพอใจด้านค่าโดยสารเพิ่มขึ้นถ้ามีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการด้านเวลาที่ใช้ในการเดินทาง


ผลกระทบของ Digital Banking ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์, จิรัชยา เย็นทรวง Jan 2018

ผลกระทบของ Digital Banking ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์, จิรัชยา เย็นทรวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาวิวัฒนาการทางการเงินของอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งในประเทศไทยและศึกษาผลกระทบของธนาคารพาณิชย์ที่เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง และโมบายแบงกิ้งต่อผลการดำเนินงานของธนาคารประกอบด้วยความสามารถในการทำกำไรและ Tobin's q โดยปัจจัยที่นำมาศึกษา ได้แก่ ดิจิตอลแบงกิ้ง ขนาดสินทรัพย์ ขนาดกับเทคโนโลยี อัตราส่วนความเป็นเจ้าของ อัตราส่วนเงินฝากต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนเงินให้กู้ต่อสินทรัพย์ จำนวนผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ จากปัจจัยดังกล่าวนำมาสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน โดยทดสอบวิธี Fixed effect แบบ Cluster test ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ.2543 ถึงไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ. 2561 จำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 11 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่าการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งส่งผลต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (ROE) ลดลงร้อยละ 0.25 เช่นเดียวกับผลการทดสอบของการเปิดให้บริการโมบายแบงกิ้งส่งผลต่ออัตราส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลงร้อยละ 0.1 นอกจากนี้ผลการศึกษาของขนาดสินทรัพย์และจำนวนผู้ใช้โมบายแบงกิ้งพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับผลการดำเนินงานที่ระดับนัยสำคัญ


การประเมินประสิทธิภาพหน่วยงานจัดเก็บรายได้ของประเทศไทย, ศรัณยพงศ์ วงษ์วิชาพานิช Jan 2018

การประเมินประสิทธิภาพหน่วยงานจัดเก็บรายได้ของประเทศไทย, ศรัณยพงศ์ วงษ์วิชาพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บภาษี โดยใช้วิธี Malmquist DEA เพื่อหาประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีของ 119 สรรพากรพื้นที่ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2560 ผลการศึกษาพบว่า สรรพากรมีการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคที่สูง แต่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพนั้นมีค่าน้อย และจำนวนข้าราชการระดับอาวุโสมีผลต่อการเพิ่มขึ้น ของผลิตภาพในการจัดเก็บภาษี


วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง Jan 2018

วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบทการเมืองไทย โดยมีกรณีศึกษาคือโครงการเด็กดี V-STAR ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการ โดยอธิบายความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจและการต่อรอง ผ่านแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ และ กลไกอุดมการณ์รัฐตลอดจนแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาโดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบททางการเมืองไทยนั้น วัดอยู่ภายใต้การควบคุมของโครงสร้างอำนาจของรัฐผ่านกรอบของกฎหมายและระบบราชการ โดยมีการรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2540 วัดมีบทบาทสถาบันหนึ่งของสังคมที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาอุดมการณ์หลักของรัฐและมีบทบาทที่สัมพัน์กับรัฐใน 4 รูปแบบคือ ร่วมมือ เรียกร้อง ต่อรอง และ ขัดแย้ง ในกรณีของวัดพระธรรมกายกับกระทรวงศึกษาธิการพบว่าการดำเนินโครงการเด็กดี V-STAR มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงร่วมมือกันระหว่างรัฐกับวัดพระธรรมกาย โดยวัดพระธรรมกายมีใช้วิธีการในการเข้าหารัฐผ่านทั้งโครงสร้างของระบบราชการมากกว่าจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายการเมืองซึ่งต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างวัดอื่นๆกับรัฐ


บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์ Jan 2018

บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอธิบายเหตุการณ์การรัฐประหารทั้งในปี พ.ศ.2549 และพ.ศ.2557 โดยทั่วไปแล้ว มุ่งอธิบายเกี่ยวกับตัวแสดงหลัก เช่น ผู้ชุมนุมประท้วงทั้งกลุ่มพันธมิตร ฯ กลุ่มกปปส. นายทหารชนชั้นนำและกองทัพ แต่ไม่มีการอธิบายหรือการศึกษาในแง่มุมของความเคลื่อนไหวขององค์ความรู้ทางโหราศาสตร์และศาสตร์การพยากรณ์อื่น ๆ รวมไปถึงบทบาท หน้าที่ของโหรและหมอดูในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ใช้องค์ความรู้ทางโหราศาสตร์ในการผลิตคำทำนายและคำพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือ คำทำนายและคำพยากรณ์มีส่วนในการลดทอนความชอบธรรมให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันมีส่วนในการเพิ่มความชอบธรรมให้แก่ระบอบเผด็จการ โดยคำทำนายและคำพยากรณ์ถูกสื่อสารไปยังผู้คนในสังคมผ่านความรู้สึก 3 ประการได้แก่ ความรู้สึกหวั่นไหว ความกลัว และความหวังกับความมั่นใจ เพื่อให้ผู้คนในสังคมยินยอมและยอมรับในระบอบเผด็จการ นอกจากนั้น งานวิจัยนี้ยังศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการสร้างสถานะ และความสัมพันธ์ ระหว่างโหรและหมอดูกับทหาร และชนชั้นนำทางการเมืองอื่น ๆ โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) มีการสร้างสถานะ ความสัมพันธ์กับชนชั้นนำทางการเมือง โดยเฉพาะชนชั้นนำทางการทหาร ผ่านความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความเคารพนับถือและเลื่อมใส ในสถานะลูกศิษย์และอาจารย์ ซึ่งสถานะ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะต่างตอบแทนกัน


พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ Jan 2018

พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเด็นนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นข้อขัดแย้งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเด็นนี้นั้นจึงเป็นประเด็นที่มีมิติทางการเมืองอย่างชัดเจนผ่านการกดดันจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่ตนต้องการผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางพรรคการเมืองหรือกลุ่มคณะต่าง ๆ ที่มีผลได้ผลเสียกับนโยบายที่จะกำหนดลงโดยงานชิ้นนี้นั้นต้องการที่จะอธิบายและวิเคราะห์พลวัตรของการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยโดยให้ให้ความสำคัญกับบริบททางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของนโยบาย ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นได้มีจุดประสงค์ที่จะ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่รูปแบบของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำภายในบริบทการเมืองที่แตกต่างกัน อธิบายพลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำในบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างระบอบการเมืองกับการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นศึกษาช่วงเวลาตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และใช้การเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของการกำหนดนโยบายนี้ สิ่งที่พบในการศึกษาคือการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของไทยนั้นมีรูปแบบทั่วไปที่คล้ายกันในตลอดที่ผ่านมาคือการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีข้อยกเว้นในบางกรณีที่มาจากบริบททางการเมืองพิเศษคือการเลือกตั้ง บริบททางการเมืองนั้นส่งผลกับแนวทางและทิศทางของการกำหนดนโยบายทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่ระบอบการเมืองนั้นไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำแต่เป็นบริบททางการเมืองโดยรวมมากกว่าที่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัด