Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Applied Environmental Research

Journal

2002

Articles 1 - 11 of 11

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ผลของเวลากักตะกอนที่มีต่อสารละลายอินทรีย์คาร์บอนที่ย่อยสลาย ได้ทางชีวภาพในน้ำเสียที่ผ่านการบําบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Effect Of Solid Retention Time Of Activated Sludge On Biodegradable Dissolved Organic Carbon In Effluents), Sutha Khaodhiar, Eakalak Khan, Pischa Wanaratna Jul 2002

ผลของเวลากักตะกอนที่มีต่อสารละลายอินทรีย์คาร์บอนที่ย่อยสลาย ได้ทางชีวภาพในน้ำเสียที่ผ่านการบําบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Effect Of Solid Retention Time Of Activated Sludge On Biodegradable Dissolved Organic Carbon In Effluents), Sutha Khaodhiar, Eakalak Khan, Pischa Wanaratna

Applied Environmental Research

ค่าบีโอดีเป็นพารามิเตอร์ที่ใช้ในการบ่งบอกลักษณะและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ดีในการวิเคราะห์น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ ต่ำมักขาดความถูกต้องและแม่นยำ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปัจจัยควบคุมที่มีต่อค่าบีดีโอซีซึ่งเป็นพารามิเตอร์ใหม่ ในน้ำเสียจากระบบตะกอนเร่ง และวิเคราะห์พารามิเตอร์ อื่นๆ ได้แก่ค่าบีโอดี ค่าซีโอดี ค่าดีโอซี และมวลชีวภาพ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวัดค่า บีดีโอซีอีกด้วย จากผลการศึกษาในแบบจำลองพบว่า ค่าบีดีโอซีที่ได้จากระบบบำบัดที่มีเวลากักตะกอนต่ำมีค่าสูงกว่าที่พบในน้ำที่บำบัดที่มีเวลากักตะกอนสูง นอกจากนี้ยังพบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดโดยวิเคราะห์จากค่าบีดีโอซีมีความสัมพันธ์กับเวลากักตะกอนอย่างเห็นได้ชัดซึ่งอาจสามารถใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวมาทำนายและใช้ในการ ออกแบบระบบตะกอนเร่งได้ในอนาคตและเป็นที่น่าสังเกตว่าค่าบีดีโอซีมีความสัมพันธ์กับค่าบีโอดี และดีโอซี อย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มจำนวนของข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลชัดเจนยิ่งขึ้น จากผลการศึกษาของ ทุกระบบพบว่าค่าบีดีโอซีมีความแม่นยำในการวิเคราะห์เหนือกว่าค่าบีโอดีอย่าง มีนัยสำคัญ


ดัชนีเพื่อการประเมินคุณค่าแหล่งธรรมชาติประเภท บึง หนอง และ ทะเลสาบ : กรณีศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์, พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ, กำธร ธีรคุปต์, อาจอง ประทัตสุนทรสาร Jul 2002

ดัชนีเพื่อการประเมินคุณค่าแหล่งธรรมชาติประเภท บึง หนอง และ ทะเลสาบ : กรณีศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์, พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ, กำธร ธีรคุปต์, อาจอง ประทัตสุนทรสาร

Applied Environmental Research

การศึกษาดัชนีเพื่อการประเมินคุณค่าแหล่งธรรมชาติประเภท บึง หนองและทะเลสาบ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท้องถิ่นได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้ใช้บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์เป็นกรณีศึกษา ดัชนี/ ตัวชี้วัดที่สร้างประกอบด้วยด้านคุณค่ามี 16 ตัววัด ด้านศักยภาพมี 4 ตัววัดและด้านความเสียงมี 3 ตัววัด จากนั้นจัดอันดับความสำคัญของตัวชี้วัดแล้วสร้างเกณฑ์การให้คะแนนตัววัด ในขั้นสุดท้ายนำมาหาค่าความเหมาะสม ซึ่งมี 3 ระดับ ดังนี้
- ค่าความเหมาะสมต่ำ คะแนนอยู่ระหว่าง 1.0-2.4
- ค่าความเหมาะสมปานกลาง คะแนนอยู่ระหว่าง 2.5-3.4
- ค่าความเหมาะสมสูง คะแนนอยู่ระหว่าง 3.5-5.0
ผลการศึกษา คุณค่าของบึงบอระเพ็ดมีค่าความเหมาะสม 3.72 ส่วนศักยภาพในการบริหารจัดการบึงมีค่าความเหมาะสม 3.04 และความเสียงที่อาจเกิดขึ้นมีค่าความเหมาะสม 2.84 จึงสรุปได้ว่า บึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่มีคุณค่าสูงโดยเฉพาะด้านความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ ส่วนศักยภาพในการบริหารจัดการและความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง


การกำจัดตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการดูดติดผิว โดยใช้ถ่านกัมมันต์ผลิตจากเปลือกผลไม้, ธเรศ ศรีสถิตย์, ลลิดา นิทัศนจารุกุล Jul 2002

การกำจัดตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการดูดติดผิว โดยใช้ถ่านกัมมันต์ผลิตจากเปลือกผลไม้, ธเรศ ศรีสถิตย์, ลลิดา นิทัศนจารุกุล

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์ จากเปลือกทุเรียนและเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ผ่านกระบวนการกระตุ้นทางเคมีโดยใช้เกลือแกง (NaCI) การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ขั้นแรกเป็นการเตรียมถ่านกัมมันต์ ศึกษาลักษณะทางกายภาพ และประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ การทดลองพบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมที่ใช้ในการเผาวัตถุดิบให้เป็นถ่านพร้อมกับการกระตุ้นคือ 800 องศาเซลเซียส และผลของตัวกระตุ้นพบว่า การแช่วัตถุดิบด้วยสารละลายเกลือแกงอิ่มตัวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำไปอบแห้ง แล้วนำมาทำการเผาและกระตุ้นก็เพียงพอ ที่จะทำให้ได้ถ่านกัมมันต์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยถ่านเปลือกทุเรียนและถ่านเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์จะมีค่าไอโอดีน นัมเบอร์สูงที่สุดเท่ากับ 567 และ 532 มิลลิกรัมของไอโอดีนต่อกรัมของถ่านกัมมันต์ตามลำดับ
ขั้นตอนที่สองคือการทำการทดลองแบบไม่ต่อเนื่องเพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดูดติดผิวตะกั่ว จากการศึกษาพบว่า การดูดติดผิวตะกั่วจะเพิ่มขึ้นเมื่อพีเอชของน้ำเสียเพิ่มขึ้น และที่พีเอชของน้ำเสียเริ่มต้นตั้งแต่ 4 ขึ้นไป พบว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วออกจากน้ำเสียสูงกว่า 90% ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการดูดติดผิวบนถ่านกัมมันต์ร่วมกับการตกตะกอนของตะกั่ว ผลของเวลาสัมผัสพบว่า สมดุลของการดูดติดผิวสำหรับถ่านทั้งสองชนิดคือ 10 นาที ผลของการ หาไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดิช แสดงให้เห็นว่าถ่านเปลือกทุเรียนมีความสามารถในการดูดติดผิวสูงกว่าถ่านเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์
ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดลองแบบต่อเนื่องโดยใช้ถังดูดติดผิวแบบแท่งเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของถ่าน การทดลองแบบต่อเนื่องได้เลือกใช้ถ่านเปลือกทุเรียน เมื่อทำการป้อนน้ำเสียแบบไหลลงอย่างต่อเนื่อง และทำการเก็บน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดทางปลายแท่ง จนกระทั้งถ่านหมดประสิทธิภาพในการดูดติดผิว พบว่า ถ่านเปลือกทุเรียนที่ขั้น ความสูง 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตรสามารถบำบัดนี้าเสียได้ 94.01, 58.85, 50.98 และ 47.06 BV ตามลำดับ


การเกษตรกรรมและแก๊สเรือนกระจก, วรทัย รักหฤทัย, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, ประเสริฐ ภวสันต์, Masatoshi Aoki Jul 2002

การเกษตรกรรมและแก๊สเรือนกระจก, วรทัย รักหฤทัย, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, ประเสริฐ ภวสันต์, Masatoshi Aoki

Applied Environmental Research

เอกสารนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการแปรสภาพพื้นที่ทางธรรมชาติให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมต่ออัตราการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยแก๊สเรือนกระจกที่พิจารณาในงานนี้ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน และแก๊สไนตรัสออกไซด์ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเมื่อพื้นที่ธรรมชาติถูกแปรสภาพให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนี้น อัตราการเกิดแก๊สเรือนกระจกจะมีค่าสูงขึ้น โดยผลกระทบของการเกษตรกรรมต่ออัตราการผลิตแก๊สมีเทนและ แก๊สไนตรัสออกไซด์ เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของอัตราการปลดปล่อยแก๊สทั้งหมดจะมีค่ามากกว่าผลกระพบต่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน การอุตสาหกรรมและการคมนาคม เป็นหลัก สำหรับงานวิจัยนี้ เราพบว่าตัวแปรที่สำคัญที่มีผลต่อการผลิตแก๊สเรือนกระจกในพื้นที่เกษตรกรรมประกอบ ไปด้วยชนิดของพืชพรรณ สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและลักษณะการชุ่มน้ำ นอกจากนิลักษณะการเพาะปลูก เช่น วิธีการพรวนดิน ลักษณะการใช้ปุ๋ย การทิ้งพื้นที่ให้รกร้างหลังการเพาะปลูก ฯลฯ ยังส่งผลต่ออัตราการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกด้วย


ความสำคัญของการควบคุมอนุภาคปนเปื้อนและเทคโนโลยีห้องสะอาดในภาคอุตสาหกรรมของไทย, นคร ทิพยาวงศ์, ณัฐ วรยศ์, สัจจะ สุขสมัย, อเล็ค ลี Jan 2002

ความสำคัญของการควบคุมอนุภาคปนเปื้อนและเทคโนโลยีห้องสะอาดในภาคอุตสาหกรรมของไทย, นคร ทิพยาวงศ์, ณัฐ วรยศ์, สัจจะ สุขสมัย, อเล็ค ลี

Applied Environmental Research

No abstract provided.


การใช้ประโยชน์กากตะกอนน้ำเสียชุมชนในการทดแทนหน้าดินของวัสดุเพาะชำกล้าไม้ป่า, ธวิโรจน์ ตันนุกิจ Jan 2002

การใช้ประโยชน์กากตะกอนน้ำเสียชุมชนในการทดแทนหน้าดินของวัสดุเพาะชำกล้าไม้ป่า, ธวิโรจน์ ตันนุกิจ

Applied Environmental Research

No abstract provided.


คุณลักษณะของกระดาษรีไซเคิลจากกล่องนมที่ใช้แล้วทิ้ง, มาลิน ชัยศุภกิจพันธ์, ธนัญญา เกียรติสุรนนท์, พัชรินทร์ แซ่เอี้ยว Jan 2002

คุณลักษณะของกระดาษรีไซเคิลจากกล่องนมที่ใช้แล้วทิ้ง, มาลิน ชัยศุภกิจพันธ์, ธนัญญา เกียรติสุรนนท์, พัชรินทร์ แซ่เอี้ยว

Applied Environmental Research

No abstract provided.


ประสิทธิภาพของหญ้าแฝกหอม Vetiveria Zizanioides (Linn.) Nash และหญ้าแฝกดอน Vetiveria Nemoralis A. Camus ในการกำจัดโครเมียมในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากโรงฟอกหนัง, ธเรศ ศรีสถิตย์, วงศ์พลา เส็งสาย Jan 2002

ประสิทธิภาพของหญ้าแฝกหอม Vetiveria Zizanioides (Linn.) Nash และหญ้าแฝกดอน Vetiveria Nemoralis A. Camus ในการกำจัดโครเมียมในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากโรงฟอกหนัง, ธเรศ ศรีสถิตย์, วงศ์พลา เส็งสาย

Applied Environmental Research

No abstract provided.


การวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่สถานีตรวจวัดดินแดง, พิชญ รัชฎาวงศ์, ชัยพร รัตนธนัตพงศ์ Jan 2002

การวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่สถานีตรวจวัดดินแดง, พิชญ รัชฎาวงศ์, ชัยพร รัตนธนัตพงศ์

Applied Environmental Research

No abstract provided.


รายงานวิจัย การประเมินแผนอนุรักษ์พลังงานเชิงเศรษฐกิจสังคม, เสถียร รุจิรวนิช Jan 2002

รายงานวิจัย การประเมินแผนอนุรักษ์พลังงานเชิงเศรษฐกิจสังคม, เสถียร รุจิรวนิช

Applied Environmental Research

No abstract provided.


การสำรวจคลองคอคอดกระด้วยภูมิปัญญาไทย, ระหัตร โรจนประดิษฐ์ Jan 2002

การสำรวจคลองคอคอดกระด้วยภูมิปัญญาไทย, ระหัตร โรจนประดิษฐ์

Applied Environmental Research

No abstract provided.