Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Political Science

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 178

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

พรรคพลังประชารัฐและการเมืองของการดึงเข้ามาเป็นพวก, จันจิรา ดิษเจริญ Jan 2022

พรรคพลังประชารัฐและการเมืองของการดึงเข้ามาเป็นพวก, จันจิรา ดิษเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาปฏิบัติการกลยุทธ์การดึงเข้ามาเป็นพวกโดยพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งภายใต้บริบทการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คำถามในการศึกษาคือ พรรคพลังประชารัฐดึงนักการเมืองฝ่ายตรงเข้ามาเป็นพวกเพื่อรักษาและสืบทอดระบอบอำนาจนิยม ด้วยกลยุทธ์แบบใด? ใช้เครื่องมือใด? และปฏิบัติการอย่างไร? งานศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกและ 2) การศึกษาเอกสาร และวิเคราะห์ผ่านแนวคิดกลยุทธ์การดึงเข้ามาเป็นพวกของ Maria Josua ข้อค้นพบในการศึกษาคือ บริบทการเมืองที่รัฐบาล คสช. ควบคุมสถาบันรัฐธรรมนูญและกติกาการเมือง สร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม กีดกั้นผู้เห็นต่างและทำให้เป็นผู้แพ้ ใช้ทรัพยากรรัฐเอื้อให้พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมในการเลือกตั้ง ปูทางให้พรรคพลังประชารัฐรักษาระบอบอำนาจนิยม ด้วยปฏิบัติการดึงเข้ามาเป็นพวกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ของพรรคพลังประชารัฐ ดังนี้ 1) เครือข่ายทางการเมือง 2) ตำแหน่งทางการเมือง 3) เงิน 4) นโยบายและงบประมาณ และ 5) ปัดเป่า/ยัดคดีความ และลงโทษในการเลือกตั้ง กลยุทธ์การดึงเข้ามาเป็นพวกทั้ง 5 ด้าน ทำให้พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และหวนคืนสถานะเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจ


กระบวนการประกอบสร้างให้ประเทศไทยเป็นปลายทางสำหรับการศัลยกรรมแปลงเพศ, หทัยภัทร ตันติรุ่งอรุณ Jan 2022

กระบวนการประกอบสร้างให้ประเทศไทยเป็นปลายทางสำหรับการศัลยกรรมแปลงเพศ, หทัยภัทร ตันติรุ่งอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาการเติบโตของอุตสาหกรรมการแปลงเพศในประเทศไทย ผ่านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ สถานพยาบาลและบริษัทนายหน้าเพื่อการแปลงเพศ และกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศไทยและต่างชาติ รวมถึงศึกษาผลกระทบของการเป็นปลายทางเพื่อการศัลยกรรมแปลงเพศกับการสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มผู้หลากหลายทางเพศต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศ อาศัยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ (State) ตลาด (Market) และสังคม (Society) ผลการวิจัยพบว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมการแปลงเพศมาจากผลพวงของอุตสาหกรรมการค้าบริการทางเพศในอดีตและอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ อันนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีและเทคนิคการผ่าตัดแปลงเพศที่ตอบสนองต่อความต้องการการแปลงเพศของผู้หลากหลายทางเพศเพื่อการประกอบอาชีพการค้าบริการทางเพศและสถานบันเทิงทางเพศ อินเตอร์เน็ตมีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์ของสถานพยาบาลเพื่อการแปลงเพศ และนำมาซึ่งการรับรู้โดยทั่วกันของผู้คนทั่วโลกว่าประเทศไทยเป็นปลายทางเพื่อการศัลยกรรมแปลงเพศ อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบที่สำคัญของงานวิจัยฉบับนี้ คือ การที่นายหน้ามีบทบาทอันสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมการแปลงเพศ อย่างไรก็ดี การเป็นปลายทางของการศัลยกรรมแปลงเพศดังกล่าวก็บดบังความเป็นจริงที่ว่าประเทศไทยยังมิได้มีความก้าวหน้ามากเท่าที่ควรในเรื่องสิทธิของผู้หลากหลายทางเพศ และการเข้าถึงการศัลยกรรมแปลงเพศของผู้หลากหลายทางเพศชาวไทยบางส่วนยังเกิดขึ้นอย่างจำกัด


"คนดี" และ "ความดี" ในทางการเมืองไทย: การต่อสู้ทางความหมายทางการเมืองระหว่าง 2549 - 2557, กาญจนาพร เชยอักษร Jan 2022

"คนดี" และ "ความดี" ในทางการเมืองไทย: การต่อสู้ทางความหมายทางการเมืองระหว่าง 2549 - 2557, กาญจนาพร เชยอักษร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยเผชิญกับความถดถอยของประชาธิปไตยพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านจากการเมืองของชนชั้นนำไปสู่การเมืองของมวลชน โดยมีปรากฏการณ์ที่มวลชนคู่ขัดแย้งสองฝ่ายต่างยึดถือความชอบธรรมคนละชุดและออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ฝ่ายหนึ่งต่อต้านประชาธิปไตยยึดหลักความชอบธรรมแบบการปกครองตามจารีตประเพณีที่ดำเนินการตามอุดมการณ์หลักอย่าง “ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” และอีกฝ่ายหนึ่งสนับสนุนประชาธิปไตยยึดหลักความชอบธรรมความถูกต้องตามกฎหมาย มีวาทกรรมจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความชอบธรรมของขบวนการเคลื่อนไหว แต่คำที่ถูกผลิตซ้ำและมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยคือคำว่า “คนดี”และ “ความดี” ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือมวลชนที่ให้คุณค่ากับวาทกรรม“คนดี”และ “ความดี” มีแต่ในขบวนการต่อต้านทักษิณเท่านั้น วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาความหมายของคำว่า “คนดี”และ “ความดี”ของแต่ละกลุ่มภายใต้ขบวนการต่อต้านทักษิณ สาเหตุที่ขบวนการต่อต้านทักษิณใช้วาทกรรม“คนดี”และ “ความดี”มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมและท้ายที่สุดวาทกรรมดังกล่าวส่งผลต่อการเมืองไทยอย่างไรในปัจจุบัน โดยใช้วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis: CDA) มาเป็นเครื่องมือในการศึกษาเพื่อให้สามารถสะท้อนหลักคิดเบื้องหลังวาทกรรมที่ขบวนการเคลื่อนไหวยึดมั่นและนำมาใช้เป็นความชอบธรรมในการชุมนุม ผลการศึกษาพบว่าภายใต้ขบวนการต่อต้านทักษิณมีการให้ความหมาย “คนดี”และ “ความดี” อย่างหลากหลายโดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธผสมผสานกับลัทธิขงจื่อ ขบวนการฯใช้หลักการทางศาสนาเป็นแกนหลักในการเคลื่อนไหวและสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง ข้อเสนอของขบวนการต่อต้านทักษิณไม่เพียงแต่ขับไล่รัฐบาลเท่านั้น แต่พวกเขายังมีความพยายามเสนอรูปแบบการปกครองแบบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะให้ความสำคัญกับหลักคุณธรรมมากกว่าวิถีทางตามหลักประชาธิปไตยแบบสากลซึ่งส่งผลต่อการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2562 อย่างมีนัยสำคัญ


การศึกษายุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมดิจิทัลกับปทัสถานด้านความมั่นคงไซเบอร์ของไทย, ธนาวิทย์ หวังภุชเคนทร์ Jan 2022

การศึกษายุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมดิจิทัลกับปทัสถานด้านความมั่นคงไซเบอร์ของไทย, ธนาวิทย์ หวังภุชเคนทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์การรับรู้ของหน่วยงานและตัวแสดงที่เกี่ยวข้องในไทยเกี่ยวกับปทัสถานทางไซเบอร์ของจีนที่เผยแพร่ผ่านยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมดิจิทัล ความเข้าใจของตัวกระทำการเหล่านี้อาจแตกต่างกันไป ซึ่งส่งผลต่อมุมมองของประเทศไทยเกี่ยวกับความมั่นคงไซเบอร์ ปัจจุบันงานศึกษาจำนวนมากให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาความมั่นคงไซเบอร์ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการวิจัยอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับกลยุทธ์เส้นทางสายไหมดิจิทัลและมิติด้านความมั่นคงไซเบอร์ แต่การศึกษาการมีส่วนร่วมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับปทัสถานไซเบอร์ของจีนยังคงมีจำกัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงกำหนดขอบเขตภายในกรอบการศึกษาผู้ประกอบการเชิงปทัสถาน โดยเน้นที่ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมดิจิทัลซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแพร่กระจายปทัสถานทางไซเบอร์ของจีน เพื่อตรวจสอบบทบาทของตัวแสดงทั้งจากภาครัฐและเอกชนของไทยในฐานะผู้ประกอบการเชิงปทัสถานที่มีส่วนร่วมในการเผยแพร่และอิทธิพลของปทัสถานไซเบอร์ของจีน การศึกษาชี้ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมดิจิทัลมีอิทธิพลต่อมุมมองด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเทคโนโลยีและปทัสถานด้านความมั่นคงไซเบอร์ของจีนหลายประการเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อำนาจอธิปไตยทางไซเบอร์" กลายเป็นประเด็นสำคัญของการถกเถียงเกี่ยวกับปทัสถานทางไซเบอร์ของจีนในเวทีโลก


การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล, ไพรินทร์ มากเจริญ Jan 2022

การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล, ไพรินทร์ มากเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ธรรมาภิบาลความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล และวิเคราะห์ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองทางสังคมต่อแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ แรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน จำนวน 20 คน รวมทั้งการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการตรวจแรงงานประมงทะเลรวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ การเข้าร่วมประชุมการสัมมนาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐไทยมีพัฒนาการด้านนโยบายในการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเลเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและปัจจัยหลักที่รัฐให้ความสำคัญ ตั้งแต่การใช้นโยบายด้านความมั่นคง นโยบายการผ่อนผันให้ทำงานและนำแรงงานเข้าสู่ระบบกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จนกระทั่งปัจจุบันเป็นนโยบายภายใต้แรงกดดันจากภายนอก 2) การเมืองเรื่องธรรมาภิบาล ในช่วง พ.ศ.2558-2562 (ก่อนปลดใบเหลือง) กระบวนการบริหารจัดการร่วมกันเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอำนาจไม่เท่ากัน รวมทั้งมีการเจรจาซึ่งหน้า มีความไว้วางใจ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และความเข้าใจร่วมกันน้อย ทำให้ขาดความร่วมมือร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการประมงทะเล มีรูปแบบเป็น ‘ธรรมาภิบาลแบบสั่งการ’ (Directive Governance) คือ ภาครัฐเป็นผู้กำหนดทิศทาง การบังคับใช้กฎหมายและบริหารจัดการแรงงานผ่านนายจ้าง และยังคงไว้ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจและสั่งการแบบบนลงล่าง แต่ยังไม่สามารถสร้างระบอบที่เป็นกระบวนการตามแนวคิดธรรมาภิบาลความร่วมมือที่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำได้ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2562 (หลังปลดใบเหลือง) - 2565 เป็นช่วงรัฐบาลแบบปกติ ภาครัฐมีการสร้างกลไกในการบริหารจัดการที่ส่อให้เห็นความมีธรรมาภิบาลความร่วมมือมากขึ้น โดยเฉพาะกรมสวัสดิการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตัวอย่างของการรับฟังความคิดเห็นอันนำมาสู่การประนีประนอมเพื่อหาทางออกร่วมกันที่ชัดเจน เช่น กรณีประกันสังคม 3) ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล แม้จะมีพลวัตรในเชิงหลักการ เช่น การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานประมงทะเลโดยตรง แต่ยังคงมีปัญหาด้านการปฏิบัติใช้ เช่น กรณีการเรียกร้องค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ที่มีอุปสรรคในด้านเอกสาร และปัญหาข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการดำเนินการของภาครัฐ


การถอนตัวจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลางของสหรัฐอเมริกา : ปัญหาและข้อท้าทายของระบบความมั่นคงระหว่างประเทศ, ณัฐรินทร์ รัตนะพิบูลย์ Jan 2022

การถอนตัวจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลางของสหรัฐอเมริกา : ปัญหาและข้อท้าทายของระบบความมั่นคงระหว่างประเทศ, ณัฐรินทร์ รัตนะพิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการถอนตัวจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง : ปัญหาและข้อท้าทายของระบบความมั่นคงระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เรียนรู้ปัจจัยและกระบวนการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเสถียรภาพและสันติภาพ 2) พิจารณาอุปสรรคในการรักษาระบอบความมั่นคงระหว่างประเทศ 3) เพื่อเป็นการทำความเข้าใจปัจจัยที่นำไปสู่ความล้มเหลวของระบอบความมั่นคงระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ อันเป็นผลประโยชน์สูงสุดของนานาอารยะประเทศ 4) ส่งเสริมการศึกษานโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา รัสเซียและจีน ในบริบทการแข่งขันอิทธิพลระหว่างชาติมหาอำนาจทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยผู้วิจัยทำการศึกษาด้วยเอกสารชั้นต้นของจีน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงเอกสารชั้นรอง ทำการศึกษาวิเคราะห์ด้วยการอธิบายเชิงพรรณนาเพื่อทำการสรุปความเป็นมาของเรื่อง การวิเคราะห์การถอนตัวจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลางของสหรัฐอเมริกา พบว่า ปัจจัยพิจารณาสำคัญของการถอนตัวจากสนธิสัญญาของสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ภายใต้บริบทความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงระหว่างประเทศและการแข่งขันทางอำนาจระหว่างชาติสหรัฐอเมริกา จีนกับรัสเซีย การผูกพันตนเองในสนธิสัญญาของสหรัฐอเมริกาส่งผลให้สหรัฐอเมริกาประสบกับสภาวะอสมมาตรด้านขีดความสามารถการป้องกันประเทศ


ความต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงของนโยบายต่างประเทศสหราชอาณาจักร: กรณีศึกษาโกลบอลบริเตน, ธนภัทร จังพานิช Jan 2022

ความต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงของนโยบายต่างประเทศสหราชอาณาจักร: กรณีศึกษาโกลบอลบริเตน, ธนภัทร จังพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักรภายหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนำแนวคิดโกลบอลบริเตน (Global Britain) ที่ปรากฏขึ้นมาในรัฐบาลของเทเรซา เมย์ และบอริส จอห์นสัน ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาผ่านกรอบการศึกษาแนวคิดสัจนิยมคลาสสิคใหม่เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การรับรู้ของชนชั้นนำของสหราชอาณาจักร จากการศึกษาได้บ่งชี้ว่า ยุทธศาสตร์โกลบอลบริเตนไม่เพียงแต่ตอบสนองต่อเหตุการณ์การออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ เบร็กซิท (Brexit) ในปี ค.ศ. 2016 เพียงอย่างเดียว แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่พยายามแสวงหาคำตอบในการต่างประเทศของสหราชอาณาจักรอันหยั่งรากลึกมาอย่างยาวนานตั้งแต่การล่มสลายของอำนาจบริติช (The collapse of British power) ที่เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดเจนในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองว่า "สหราชอาณาจักรมีบทบาทอย่างไรในโลก" โดยความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่า “สหราชอาณาจักรยังคงมีบทบาทที่สำคัญต่อโลกนี้” ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความพยายามของลอนดอนในการแสวงหาความมั่นคงท่ามกลางความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างๆ ที่ชนชั้นนำในลอนดอนเผชิญ นอกจากนี้การศึกษาได้ชี้อีกว่า การผลักดันยุทธศาสตร์โกลบอลบริเตนเป็นวิธีการเอาตัวรอดของรัฐบาลและพรรคอนุรักษ์นิยมจากการขาดเตรียมความพร้อมจากเหตุการณ์เบร็กซิท


พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง Jan 2022

พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงของโลก หากแต่ญี่ปุ่นพึ่งพิงทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งสร้างปัญหาความแตกต่างทางรายได้ในโลก ญี่ปุ่นจึงต้องแสดงความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ตามข้อตกลงของประชาคมนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ทว่าการให้ความช่วยเหลือไม่ใช่การให้เปล่าโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนแต่แท้จริงแล้วคาดหวังสิ่งแลกเปลี่ยนบางประการ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกประชาคมนานาชาติกล่าวหาว่าญี่ปุ่นอาศัยการให้ ODA ในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเอง ทั้งนี้องค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ส่งเสริมบรรทัดฐานสากลผ่านการประกาศเป้าหมายการพัฒนาให้ประชาคมนานาชาตินำไปปรับใช้เป็นแกนหลักนโยบาย ญี่ปุ่นจึงต้องโอบรับบรรทัดฐานสากลนั้นมาปรับให้เข้ากับหลักการท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ อันนำมาสู่คำถามวิจัยที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการบัญญัติกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา โดยอาศัยกระบวนการผสมผสานบรรทัดฐานสากลให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานท้องถิ่น ในกรอบแนวคิดประดิษฐกรรมทางสังคมเพื่อศึกษาบรรทัดฐานซึ่งแพร่กระจายไปสู่อีกที่หนึ่งได้เพราะผู้นำของรัฐเห็นผลประโยชน์บางประการจึงเกิดเป็นกระบวนการโอบรับบรรทัดฐานใหม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้กำหนดขอบเขตของเวลาโดยเริ่มต้นที่การบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับแรกในทศวรรษ 1990 ถึงการบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับล่าสุดในต้นทศวรรษ 2020 เพื่อศึกษาพลวัตที่มีอิทธิพลต่อกฎบัตร ODA ของญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา


อำนาจนำทางน้ำและจักรวรรดินิยมทางทรัพยากรของจีนกับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมข้ามชาติ : กรณีศึกษาการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขง, พลวัชร ร้อยอำแพง Jan 2022

อำนาจนำทางน้ำและจักรวรรดินิยมทางทรัพยากรของจีนกับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมข้ามชาติ : กรณีศึกษาการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขง, พลวัชร ร้อยอำแพง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการแผ่ขยายอำนาจของจีนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านแนวคิดลัทธิจักรวรรดินิยมทรัพยากร (Resource Imperialism) และอำนาจนำเหนือน้ำ (Hydro-Hegemony) ของจีนในลุ่มน้ำโขง ผ่านการสำรวจพัฒนาการของลัทธิจักรวรรดินิยมทรัพยากร และอำนาจนำเหนือน้ำ พร้อมกับบริบทเชิงอำนาจที่สนับสนุนอำนาจนำทางนำ้และกลยุทธ์การครอบงำของจีน การศึกษารวมถึงกรณีศึกษาเกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานในฐานะเครื่องมือควบคุมทรัพยากรน้ำของจีนในลาวและผลกระทบ งานวิจัยยังศึกษากลยุทธ์การต่อต้านของประชาสังคมข้ามชาติ ตรวจสอบบทบาท, แรงจูงใจ, กลยุทธ์ และปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของภาคประชาสังคมข้ามชาติในฐานะองค์กรที่มีบทบาทต่อต้านการขยายอำนาจของจีน การค้นพบที่สำคัญในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประกอบไปด้วย สถานะการครองอำนาจนำทางนำ้ของจีน, ผลลัพธ์ของการต่อต้านการสร้างเขื่อนจากภาคประชาสังคม และนำเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การเพิ่มความโปร่งใส ท้ายสุดคือการแสวงหาทางออกที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและการแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค


จีนในทัศนะของทหารไทย: ภาพสะท้อนจากเอกสารวิจัยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, รชยา เทียมประชา Jan 2022

จีนในทัศนะของทหารไทย: ภาพสะท้อนจากเอกสารวิจัยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, รชยา เทียมประชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนของทหารไทยที่มีต่อจีนหลังเกิดการรัฐประหาร 2006 และ 2014 เพราะเป็นระยะเวลาที่กองทัพไทยเข้ามาแทรกแซงและหยั่งรากลึกบทบาททหารในทางการเมือง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาของประเทศไทย เพื่อให้เห็นภาพสะท้อนของทหารไทยที่มีต่อจีนชัดขึ้น ผู้วิจัยจึงทบทวนวรรณกรรมและตีความมุมมองที่อาจเกิดขึ้นได้ในทัศนะของไทยมีต่อจีนออกมาได้ 4 มุมมองคือ 1) มุมมองที่มีต่อจีนผ่านฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยหลังการรัฐประหาร 2549 2) มุมมองที่มีต่อจีนว่าเป็นภัยคุกคาม 3) มุมมองที่มีต่อจีนของอาเซียน และ 4) มุมมองที่มีต่อจีนผ่านผลประโยชน์ระหว่างไทย-จีนเท่านั้นซึ่งศึกษาภาพสะท้อนผ่านเอกสารวิจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ตั้งแต่รุ่นที่ 50 – 61 ทั้งหมด 16 เล่มล้วนเป็นชนชั้นนำทางทหารและอาจส่งมุมมองข้างต้นเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายไทยที่มีต่อจีนได้ จากการศึกษา เนื้อหาเอกสารวิจัยส่วนบุคลของนักศึกษาวปอ. สามารถจัดกลุ่มและจำแนกให้เข้ากับมุมมองที่ไทยมีต่อจีนในทั้ง 4 มุมมองข้างต้นได้ เห็นว่ามุมมองที่มีต่อจีนผ่านฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยมีทั้งหมด 2 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 11, มุมมองที่มีต่อจีนว่าเป็นภัยคุกคามมีทั้งหมด 1 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6, มุมมองที่มีต่อจีนของอาเซียนมีทั้งหมด 6 เล่มซึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33 และมุมมองมีต่อจีนผ่านผลประโยชน์ระหว่างไทย-จีนมีทั้งหมด 9 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 50 ดังนั้น ภาพสะท้อนของชนชั้นนำทหารไทยที่มีต่อจีนนั้นมีแนวโน้มที่ในการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนต่อไปซึ่งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์พิเศษระหว่างไทย-จีนและดึงอาเซียนให้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นลำดับต่อมา


การสื่อสารทางการเมืองผ่าน Tiktok เพื่อการต่อต้านรัฐบาลบนโลกออนไลน์ ช่วงปี 2563 - 2564, นภัสวรรณ รักษาใจ Jan 2022

การสื่อสารทางการเมืองผ่าน Tiktok เพื่อการต่อต้านรัฐบาลบนโลกออนไลน์ ช่วงปี 2563 - 2564, นภัสวรรณ รักษาใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการสื่อสารทางการเมืองเพื่อการต่อต้านรัฐบาลบนโลกอินเทอร์เน็ตผ่านสื่อสังคมออนไลน์ TikTok ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น โดยศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการวิจัยเอกสาร เพื่อตอบคำถามดังต่อไปนี้ ประการแรก ประเด็นปัญหาและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่เครือข่ายผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลใช้ในการสื่อสารทางการเมืองผ่าน TikTok รวมถึงปัจจัยที่มีส่วนทำให้สื่อสังคมออนไลน์ TikTok ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองเพื่อการต่อต้านรัฐบาล ประการที่สอง อุดมการณ์และวาทกรรมที่ขับเคลื่อนอยู่ภายในเครือข่ายผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ปรากฏบนแพลตฟอร์ม TikTok และประการสุดท้าย กระบวนการที่ฝ่ายรัฐใช้ในการจัดการกับการต่อต้านรัฐบาลที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบัน TikTok เป็นส่วนหนึ่งในหลาย ๆ แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ถูกนำมาใช้สำหรับการประท้วงทางการเมืองในประเทศไทย โดย TikTok ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึง TikTok ยังมีบทบาทในการท้าทายอุดมการณ์ใหญ่ของรัฐด้วยอารมณ์ขัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นำมาใช้สำหรับเสียดสีล้อเลียนรัฐและผู้มีอำนาจในสังคม นอกเหนือจากนี้ TikTok ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกควบคุมจากรัฐต่ำกว่าแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่น ๆ แม้ว่าภาครัฐจะมีความพยายามในการรับมือกับการเมืองบนอินเทอร์เน็ตด้วยการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาและการแสดงออกที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์ก็ตาม วิทยานิพนธ์นี้จึงชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบของความสัมพันธ์ระหว่างอินเทอร์เน็ตกับสถาบันการเมืองและระบอบประชาธิปไตย


การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนก เหล่าธรรมทัศน์: การแสวงหาความหมายใหม่ของ "ประชาธิปไตย", ณัตถยา สุขสงวน Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนก เหล่าธรรมทัศน์: การแสวงหาความหมายใหม่ของ "ประชาธิปไตย", ณัตถยา สุขสงวน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผ่านการแสวงหาความหมายใหม่ของ “ประชาธิปไตย” ท่ามกลางบริบทแวดล้อมที่สำคัญรอบตัวของเอนกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในห้วงเวลาต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า เอนกมีความคิดทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประชาธิปไตยสากลตามมาตรฐานตะวันตก เป็นระยะของการก่อตัวทางความคิดทางการเมืองเรื่องประชาธิปไตยของเอนก โดยในภาพรวม เอนกได้ยึดถือคุณค่าและหลักการประชาธิปไตยสากลตามมาตรฐานตะวันตกเพื่อปรับใช้กับประเทศไทยเป็นสำคัญ, ระยะที่ 2 สองนคราประชาธิปไตย เป็นระยะที่เอนกแสดงให้เห็นถึงสภาวะทางสังคมและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะเฉพาะของไทยในรูปแบบสองนคราประชาธิปไตย ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ท่ามกลางการนำประชาธิปไตยแบบตะวันตกตามมาตรฐานสากลไปใช้กับการเมืองไทย, ระยะที่ 3 ประชาธิปไตยโดยประชาชน เป็นระยะที่เอนกให้ความสนใจกับประชาธิปไตยโดยประชาชน ประชาชนเป็นตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย และระยะที่ 4 ประชาธิปไตยที่มีลักษณะเฉพาะของไทย ในระยะนี้ เอนกให้ความสนใจกับประชาธิปไตยที่มีลักษณะเฉพาะของไทย ด้วยการนำเอาความเป็นตะวันออกและความเป็นไทย รวมถึงการมีพระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จัดอยู่ในความสัมพันธ์ทางอำนาจในการเมืองไทย มาผสมผสานและปรับใช้กับความคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก การก่อรูปและการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนกทั้ง 4 ระยะเป็นผลจากบริบทแวดล้อมที่สำคัญรอบตัวเอนก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในห้วงเวลาต่างๆ ทั้งจากภูมิหลังชีวิต บริบทสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนหรือจุดหักเหในชีวิตหรือความคิด และกระแสภูมิปัญญาความคิดทางการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยในสังคมไทยในทศวรรษที่ 2520 – 2560


สถานะ บทบาท และพลวัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ปุญญวันต์ จิตประคอง Jan 2022

สถานะ บทบาท และพลวัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ปุญญวันต์ จิตประคอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่น และองค์กรอื่นในรัฐไทย ด้วยการศึกษาผ่านตัวแสดง ความสัมพันธ์ทางอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน รวมถึงตัวแสดงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอบเขตการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่ยุคก่อร่างรัฐและการผนวกปาตานีเข้ากับรัฐสยามจนถึงปัจจุบันภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ.2329-2564) งานศึกษาชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธิวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาจากข้อมูลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการใช้การตีความจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีความถี่สะสมของเหตุการณ์ความรุนแรงสูงสุดระหว่างปี 2547-2564 ประกอบด้วย อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่นเป็นความสัมพันธ์ที่ผูกติดกับโครงสร้างสถาบันเชิงจารีตที่เชื่อมโยงราชสำนัก ศาสนา เจ้าเมือง และกลุ่มพ่อค้าคนจีน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรอื่นในรัฐไทยเป็นความสัมพันธ์ผ่านโครงสร้างรัฐราชการแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการปกครอง ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้ มีองค์ประกอบของตัวแสดงที่เข้าไปมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยข้าราชการทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์ด้านใดด้านหนึ่งกับเครือข่ายสถาบันจารีตดั้งเดิม และข้าราชการประจำที่มีความสัมพันธ์กับรัฐส่วนกลางตามโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่จิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกช่วงเวลากลับพบว่าอยู่ในระดับต่ำสุด คือ ระดับการครอบงำและบังคับความคิด และระดับการบำบัดรักษา เพราะเครือข่ายเชิงสถาบันในราชการส่วนท้องถิ่นและประชาชนถูกครอบงำโดยโครงสร้างรัฐราชการแบบรวมศูนย์อำนาจภายใต้บริบทสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลทำให้ท้องถิ่นกลายเป็นสถาบันที่ต้องรองรับการใช้อำนาจจากรัฐทุกรูปแบบผ่านวิธีการควบคุม กำกับ กดทับ ลดทอน และจำกัดการกระทำของสถาบันหรือตัวแสดงระดับท้องถิ่น ที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นตัวกำหนดการก่อรูปโครงสร้างเชิงสถาบัน


พัฒนาการของแนวคิดการปกครองตนเองของท้องถิ่น: โอกาสและความท้าทายภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, ฒาลัศมา จุลเพชร Jan 2022

พัฒนาการของแนวคิดการปกครองตนเองของท้องถิ่น: โอกาสและความท้าทายภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, ฒาลัศมา จุลเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดการปกครองตนเองในสังคมไทย ประเมินสถานภาพความสัมพันธ์เชิงอำนาจราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมถึงประเมินเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เป็นแรงกดดันหรือแรงต้านทานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากนั้นนำไปสู่การสังเคราะห์รูปแบบการปกครองตนเองจากทัศนะที่หลากหลาย โดยศึกษาจากพื้นที่ปฏิบัติการจริงของการใช้แนวคิดการปกครองตนเองในสถานการณ์ที่แตกต่าง อันได้แก่ พื้นที่ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งรุนแรงมี การประกาศใช้กฎหมายพิเศษ (เทศบาลปัตตานี) พื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยอาศัยโอกาสจากนโยบายประชารัฐ (เทศบาลนครขอนแก่น) และ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (เทศบาลนครแม่สอด) สำหรับวิธีการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทย (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค) และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี การสังเกตการณ์ (observation) อย่างมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม (focus group) ประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่ และผู้เคยร่วมงานกับผู้นำท้องถิ่น จำนวน 33 คน โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์แบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) พัฒนาการแนวคิดการปกครองตนเองเริ่มเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เนื่องจากมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่สนับสนุนการกระจายอำนาจเต็มที่ และในปี พ.ศ. 2546 ผู้นำท้องถิ่น ทุกประเภทมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 เกิดแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งมิติความเป็นตัวแทนมีมากที่สุด รองลงมามิติอำนาจตัดสินใจไม่สามารถยับยั้งโครงการจากส่วนกลางได้ ในขณะที่มิติการมีส่วนร่วมมีกลไก ไม่ชัดเจน สำหรับแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเหมาะสมสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นแต่ยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแพร่หลาย ส่วนมิติในการปกครองตนเองที่น้อยที่สุด คือ จัดสรรทรัพยากรและความรับผิดรับชอบ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 2) สถานภาพความสัมพันธ์เชิงอำนาจราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เป็นการเจรจาต่อรองในฐานะหุ้นส่วนถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคงเป็นการเจรจาเพื่อให้ส่วนกลางมีพื้นที่ในท้องถิ่น ในขณะที่โครงสร้างที่ส่วนกลางส่งลงมาท้องถิ่นมีลักษณะ “จำแลง” คือ โครงสร้างนโยบายของรัฐที่ต้องการใช้ท้องถิ่นจัดหาประโยชน์ให้ส่วนกลาง ทำให้ส่วนท้องถิ่นไม่สามารถใช้มิติการปกครอง 5 ด้านได้อย่างเต็มที่เพราะถูกกำกับดูแลด้วยคณะกรรมการต่างๆ ในจังหวัด 3) เงื่อนไขภายในที่เป็นทั้งแรงกดดันและแรงต้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหยั่งรากอยู่ในปริมณฑลทางการเมืองและเศรษฐกิจ ได้แก่ นโยบาย โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงภายใน และโครงสร้างทางการเมือง ในทางตรงข้าม การดำเนินการและการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแรงกดดันจากภายนอกเพื่อให้มีการปกครองตนเองมากขึ้น 4) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการปกครองตนเองจากทัศนะที่หลากหลาย ได้แก่ ยุบรวม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง (Lower-Tier) ท้องถิ่นรูปแบบเมืองพิเศษ และการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ทั้งนี้ความท้าทายในการปกครองตนเองมี …


พลวัตการประท้วง : ศึกษากรณีขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, วรรธนพร ภัทรธรรมกุล Jan 2022

พลวัตการประท้วง : ศึกษากรณีขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, วรรธนพร ภัทรธรรมกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเกิดขึ้นและพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และสถานการณ์และแนวโน้มของขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎีการระดมทรัพยากร (Resources Mobilization Theory) ผลการศึกษาพบว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เกิดขึ้นในปี 2559 ภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยใช้อำนาจพิเศษมาตรา 44 ในการก่อกำเนิดและดำเนินโครงการ จึงนำมาสู่การกำเนิดขึ้นของ “ขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” โดยมีข้อเรียกร้องคือให้ยุติหรือชะลอโครงการดังกล่าว ทั้งนี้การเคลื่อนไหวอยู่ภายบริบททางการเมืองที่แบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ อำนาจนิยมเต็มรูปแบบ ในปี 2559 – 2561 และอำนาจนิยมที่มีการเลือกตั้ง ภายหลังการเลือกตั้งในปี 2562 ซึ่งปัจจัยโครงสร้างโอกาสทางการเมืองมีผลอย่างมากต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวและทิศทางการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะในยุคอำนาจนิยมที่มีการจำกัดสิทธิในการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังการเลือกตั้งทำให้มีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่รัฐยังคงรวมศูนย์การตัดสินใจจนได้ดำเนินโครงการจนหวนกลับไม่ได้แล้ว ดังนั้น จึงนำมาสู่การลดทอนข้อเรียกร้องของขบวนการ จนในที่สุดขบวนการได้รับความสำเร็จจากการสร้างผลสะเทือนต่อรัฐ จนเกิดการเร่งทบทวนผังเมืองใหม่ 30 อำเภอ โดยเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น อย่างไรก็ตาม หลังจากการเคลื่อนไหวในปี 2563 การเคลื่อนไหวก็คลายตัวลงแต่การเคลื่อนไหวยังไม่สิ้นสุดเพราะแต่ละพื้นที่ยังคงแยกกันเคลื่อนไหวตามผลกระทบที่ได้รับซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็ได้รับความสำเร็จ/ล้มเหลวแตกต่างกันไป


พลวัตทางการเมืองของตระกูลการเมืองท้องถิ่นภายใต้ระบอบอำนาจนิยม: ศึกษากรณีจังหวัดชลบุรี, อัฟนาน จรัลศาส์น Jan 2022

พลวัตทางการเมืองของตระกูลการเมืองท้องถิ่นภายใต้ระบอบอำนาจนิยม: ศึกษากรณีจังหวัดชลบุรี, อัฟนาน จรัลศาส์น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของอำนาจทางการเมืองและศึกษารูปแบบและวิธีการรักษาอำนาจทางการเมืองของตระกูลการเมืองท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารปี 2557 จนถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นปี 2564 เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ตระกูลคุณปลื้มปรับตัวภายใต้ปกครองระบอบอำนาจนิยมโดยการไม่แสดงการต่อต้านการปกครองโดยคณะรัฐประหาร และตัดสินใจเข้าร่วมพรรคการเมืองฝั่งทหารเพื่อการฟื้นฟูอำนาจของตน แต่ผลกระทบทางอ้อม คือ ก่อให้เกิดกลุ่มท้าทายอำนาจสองกลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการเมืองในเครือข่ายพรรคก้าวไกล (พรรคอนาคตใหม่เดิม) ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามที่ชูนโยบายต่อต้านการสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร 2) กลุ่มการเมืองของนายสุชาติ ชมกลิ่น ที่แยกตัวออกจากบ้านใหญ่ชลบุรีหลังจากการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ไม่ลงตัวในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งสองกลุ่มกลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญในจังหวัดชลบุรี โดยกลุ่มแรกดึงคะแนนเสียงจากคนรุ่นใหม่และชนชั้นกลางที่ไม่ได้มีความยึดโยงกับตระกูลคุณปลื้ม ส่วนกลุ่มที่สองดึงนักการเมืองบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการปรับแนวทางการบริหารเครือข่ายบ้านใหญ่ที่เน้นการอุปถัมภ์ช่วยเหลือผ่านอำนาจในระบบราชการมากกว่าการให้เงินส่วนตัวแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ตระกูลคุณปลื้มยังคงรักษาโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นแบบขั้วเดียวในจังหวัดชลบุรีได้ผ่านวิธีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเพื่อเข้าร่วมฝั่งรัฐบาลในการเมืองระดับชาติ วิธีการจัดสรรผลประโยชน์ภายในเครือข่ายบ้านใหญ่ชลบุรีและสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์เชื่อมโยงตระกูลคุณปลื้มกับประชาชนในการเมืองระดับท้องถิ่น


สงครามจิตวิทยาของอังกฤษในมลายา 1948 ถึง 1960, เมลีซา อับดุลเลาะห์ Jan 2021

สงครามจิตวิทยาของอังกฤษในมลายา 1948 ถึง 1960, เมลีซา อับดุลเลาะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบของอังกฤษในมลายา ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ศึกษาเรื่องสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบในปัจจุบันว่า เป็นการรับมือกับสงครามนอกแบบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษในมลายารู้จักปรับตัวและสร้างวิธีคิดชุดใหม่ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับนโยบายทางการเมืองเป็นหลัก วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์ให้เห็นว่าการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาในมลายาถือเป็นเงื่อนไขทางการเมืองอันโดดเด่นที่ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษได้รับชัยชนะในสงครามดังกล่าว ผ่านแนวคิดการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาของ เซอร์ โรเบิร์ต ทอมสัน บทเรียนสำคัญจากการทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบในมลายา ชี้ให้เห็นว่าการใช้กำลังไม่ใช่ทางออกสำหรับการทำสงคราม หากแต่เป็น “การขจัดองค์กรของศัตรู” ผ่านปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา ในขณะเดียวกันสงครามในมลายายังพิสูจน์ให้เห็นว่า มาตรการทางจิตวิทยา อย่างการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบการใช้ใบปลิวประชาสัมพันธ์นโยบายการมอบตัวและข้อเสนอของรัฐบาล เป็นเครื่องมือที่สามารถโน้มน้าวให้กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐเข้ามามอบตัวและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นจำนวนมาก จนสามารถทำลายองค์กรของศัตรูได้อย่างมีนัยสำคัญ กระทั่งจำนวนลดน้อยลงมาก จนกองกำลังที่เหลือต้องถอยออกไปยังเขตชายแดนมลายา-ไทย ทำให้รัฐบาลอังกฤษสามารถยุติสงครามดังกล่าวได้ภายในเวลาเพียง 12 ปี


นโยบายต่างประเทศของจีนต่ออัฟกานิสถาน ในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11, ภัทรพล รัตนวรรณ Jan 2021

นโยบายต่างประเทศของจีนต่ออัฟกานิสถาน ในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11, ภัทรพล รัตนวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออัฟกานิสถาน หลังเหตุการณ์ 9/11 โดยจะศึกษานโยบายของจีนที่เดิมมักจะได้ข้อสรุปว่า เป็นไปเพื่อการแข่งขันอิทธิพลของสหรัฐฯ และมหาอำนาจอื่น ๆ ในอัฟกานิสถานและภูมิภาคนั้น การศึกษาของสารนิพนธ์นี้จะพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นเหตุผลประกอบในการตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีน ซึ่งมีทั้งจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการเข้ามาของสหรัฐฯ จนอาจเป็นการแข่งขันทางอำนาจในระบบระหว่างประเทศ และจากปัจจัยภายในด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของจีนเองที่ต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของบูรณภาพแห่งดินแดนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่ออัฟกานิสถานในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 นั้น ปัจจัยภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะบทบาทของจีนในอัฟกานิสถาน เป็นไปเพื่อการจัดการปัญหาด้านความมั่นคงภายใน การเสริมสร้างเสถียรภาพ และเพื่อรักษาฐานอำนาจความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากการประสบปัญหาการก่อเหตุรุนแรงเพื่อต่อต้านรัฐบาลจีนในพื้นที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการปกครองประเทศ ด้านสภาวะดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคจนส่งผลให้มีลักษณะของการแข่งขันอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจนั้น เป็นเพียงแต่ผลพลอยได้ที่ตามมาจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนเพื่อปกป้องเสถียรภาพด้านความมั่นคงภายในของจีนเอง ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออัฟกานิสถาน


นโยบาย The Great Firewall กับความสำเร็จของ Unicorn จีน, พิมพ์ใจ วรรณพงษ์ Jan 2021

นโยบาย The Great Firewall กับความสำเร็จของ Unicorn จีน, พิมพ์ใจ วรรณพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของจีนที่มีผลต่อความสำเร็จของสตาร์ทอัพจีนระดับยูนิคอร์น (Startup Unicorn) :โดยจากการพิจารณาผ่านคำอธิบายในทฤษฎีรัฐพัฒนา (Developmental state) และแนวคิดด้านการรักษาความมั่นคงของประเทศ ปัจจัยที่สำคัญเกิดจากการที่รัฐบาลจีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงสนับสนุนด้านพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจจนทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจสตาร์ทอัพในจีน นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งเกิดจากการใช้นโยบาย The Great Firewall of China ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการรักษาอำนาจอธิปไตยทางอินเตอร์เน็ต (Internet sovereignty) แต่กลับส่งผลทางอ้อมในการกีดกันบริษัทจากต่างชาติที่เป็นคู่แข่งของบริษัทสตาร์ทอัพในจีน ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพของจีนสามารถเติบโตขึ้นเป็นระดับยูนิคอร์น


ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหราชอาณาจักรต่ออินโดแปซิฟิกภายใต้วิสัยทัศน์โกลบอลบริเตน, วริทธิ์ เสนาวัตร Jan 2021

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหราชอาณาจักรต่ออินโดแปซิฟิกภายใต้วิสัยทัศน์โกลบอลบริเตน, วริทธิ์ เสนาวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิสัยทัศน์ Global Britain กำหนดการหันเข้าหาโลกของสหราชอาณาจักรภายหลังการลาออกจากสหภาพยุโรป แผนยุทธศาสตร์องค์รวมทำให้วิสัยทัศน์ Global Britain มีความเป็นรูปธรรมากขึ้น โดยกำหนดให้สหราชอาณาจักรมีบทบาทเชิงรุกที่สำคัญในโลก ซึ่งสหราชอาณาจักรเลือกหันเหจุดเน้นทางยุทธศาสตร์มาสู่อินโดแปซิฟิกเพราะอินโดแปซิฟิกมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองมากมายต่อสหราชอาณาจักร ผ่านการประกอบสร้างความมั่นคงในอินโดแปซิฟิก สหราชอาณาจักรรับรู้ว่าจีนเป็นภัยคุกคามจากการขึ้นมามีอำนาจและความก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้น รวมกับ ความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์และการปฏิบัติของสหราชอาณาจักรและจีน ทำให้จีนถูกปฏิบัติเป็นภัยคุกคามจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรผู้ประกอบสร้างความมั่นคง ซึ่งถูกส่งผ่านไปให้ผู้รับสารคือสาธารณชนสหราชอาณาจักรผ่านการรายงานของสื่อมวลชน ซึ่งสาธารณชนสหราชอาณาจักรยอมรับว่า จีนเป็นภัยคุกคาม ต่อ ความมั่นคงทางสาธาณะสุข ความมั่นคงทางไซเบอร์ เป็นภัยคุกคามต่ออุดมการณ์เสรีนิยมของสหราชอาณาจักร เมื่อประชาชนเชื่อว่าจีนเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติ รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงมีความชอบธรรมในการเข้ามาสู่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกอย่างเร่งด่วน เพื่อเข้ามาปกป้องผลประโยชน์และตอบสนองต่อภัยคุกคาม การเข้ามาสู่อินโดแปซิฟิกยังได้รับการส่งเสริมจากพันธมิตรทั้ง ออสเตรเลียและสหรัฐฯ ซึ่งนำมาสู่ นโยบายต่างๆ ในการเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค ทั้งระยะสั้น ได้แก่ การส่งกองเรือ Carrier Strike Group (CSG) และระยะยาว ได้แก่ กรอบการหันเหความสนใจมาสู่อินโดแปซิฟิก (Indo-Pacific Tilt framework)


นโยบายด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักรภายใต้โกลบอลบริเทน กับการหันหาสู่ภูมิภาค อินโด-แปซิฟิก : กรณีศึกษากรอบความร่วมมือทางกลาโหมระหว่างสหราชอาณาจักร-ออสเตรเลีย, จิรัฏฐ์ เหราบัตย์ Jan 2021

นโยบายด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักรภายใต้โกลบอลบริเทน กับการหันหาสู่ภูมิภาค อินโด-แปซิฟิก : กรณีศึกษากรอบความร่วมมือทางกลาโหมระหว่างสหราชอาณาจักร-ออสเตรเลีย, จิรัฏฐ์ เหราบัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกรอบความร่วมมือ กลไก และผลประโยชน์ทางด้านกลาโหมที่ถูกสร้างร่วมกันระหว่าง สหราชอาณาจักรกับออสเตรเลีย ผ่านนโยบายโกลบอลบริเทนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์จากทฤษฎี สัจนิยมเชิงโครงสร้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความร่วมมือทางกลาโหมระหว่าง 2 รัฐนี้ รวมถึงพฤติกรรมของสหราชอาณาจักรผ่านนโยบายฯในภูมิภาคแห่งนี้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง และถูกท้าทายของจีน ซึ่งถือเป็นเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์และความมั่นคงของทั้ง 2 รัฐดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยวิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ทางด้านกลาโหมและความมั่นคงของสหราชอาณาจักร และตัวแสดงที่เกี่ยวข้องที่มีต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ผลการศึกษาพบว่าการสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศออสเตรเลียผ่านกรอบความร่วมมือทางด้านกลาโหมภายใต้นโยบายโกลบอลบริเทนนั้น ได้สร้างโอกาสในการเปิดกว้างของพื้นที่ปฏิบัติการในทุกมิติทางการรบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขยายอำนาจอิทธิพลของสหราชอาณาจักรเข้ามาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในเวลาเดียวกันประเทศออสเตรเลียที่ได้แสวงหาประโยชน์ในด้านต่างๆ จากภูมิภาคแห่งนี้ได้รับประโยชน์ทางด้านกลาโหมและความมั่นคงจากการเลือกดำเนินนโยบายที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและสภาพการเมืองโลก จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 รัฐนี้ล้วนได้ประโยชน์จากการร่วมมือกันทางด้านกลาโหมเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตน ซึ่งในเวลาเดียวกันก็เป็นการสร้างแนวร่วมที่แข็งแกร่งในการทัดทานรัฐที่เป็นดั่งภัยคุกคามร่วมในมิติต่างๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งของการถ่วงดุลอำนาจตามแนวคิดทฤษฎีสัจนิยมเชิงรับอย่างแท้จริง


การรัฐประหารในเมียนมา ปี พ.ศ.2564 กับการเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติดในไทย, ชนะศึก โรจนพิทยากร Jan 2021

การรัฐประหารในเมียนมา ปี พ.ศ.2564 กับการเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติดในไทย, ชนะศึก โรจนพิทยากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์งานวิจัยสองข้อคือ หนึ่ง เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง การรัฐประหารในเมียนมาในปีพ.ศ. 2564 กับการเพิ่มขึ้นของยาเสพติดในไทย โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและรัฐบาลทหาร จนทำให้เกิดสงครามภายในประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตยาเสพติดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทย และอีกข้อหนึ่งคือ เพื่ออธิบายแนวทางการดำเนินการของไทยเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดที่เพิ่มขึ้น สารนิพนธ์นี้มีกรอบแนวคิดการประกอบสร้างความมั่นคงของสำนักปารีสที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปัจเจกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความมั่นคง ให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติในการรับมือกับปัญหาและความร่วมมือกันในลักษณะต่างๆ การเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติดในไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมากับทหารเมียนมาซึ่งก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยการที่กองทัพทหารเมียนมาต้องการให้ปกครองภายใต้รัฐบาลเดียว จึงต้องการให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆ อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล ทำให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยจัดตั้งกองกำลังต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการใช้กำลังของกองทัพเมียนมา โดยแสวงประโยชน์จากช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และความไม่มั่นคงทางการเมือง เพิ่มกำลังการผลิตยาเสพติดขึ้นเพื่อนำรายได้ไปซื้ออาวุธ รวมถึงใช้ยาเสพติดแลกกับอาวุธ เป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของกองกำลัของตนเอง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ยาเสพติดในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ซึ่งไทยเตรียมดำเนินมาตรการหลายประการเพื่อแก้ปัญหาและรับมือยาเสพติดที่เพิ่มขึ้น สำหรับ สารนิพนธ์นี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในไทยและหน่วยงานระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อสร้างความมั่นคงและความสงบสุขต่อไป


เสนาภิวัฒน์ของระบบกฎหมายไทยในช่วงระบอบรัฐประหาร 2557 - 2562, ดวงกมล ประดิษฐ์ด้วง Jan 2021

เสนาภิวัฒน์ของระบบกฎหมายไทยในช่วงระบอบรัฐประหาร 2557 - 2562, ดวงกมล ประดิษฐ์ด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบังคับใช้กฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี พ.ศ.2557 – 2562 ก่อนเลือกตั้ง ตามหลักเสรีประชาธิปไตย ตลอดจนศึกษาการวางฐานทางรัฐธรรมนูญและกฎหมายในการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ วิธีการศึกษาดำเนินการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสารทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จากแหล่งข้อมูลในการศึกษามาจากบทบัญญัติกฎหมาย หนังสือ บทความวารสาร งานวิจัยวิทยานิพนธ์ ข้อมูลสถิติหรือเอกสารเผยแพร่ทางราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลสารสนเทศจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการศึกษากฎหมาย รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถนำมาปรับใช้กับงานวิจัยชิ้นนี้ ผลการวิจัยสรุปว่า คณะรัฐประหารรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พยายามใช้กฎหมายฉบับต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก การใช้กฎหมายทั่วไป ประการที่สอง การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และประการสุดท้าย การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้ามาควบคุมทางการเมือง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเสรีประชาธิปไตย อีกทั้ง ยังส่งผลต่อการวางรากฐานค้ำจุนให้กับระบอบรัฐประหารในระยะยาวอีกด้วย การวิจัยนี้จึงเสนอให้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้กฎหมายของคณะรัฐประหารดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกับหลักเสรีประชาธิปไตย โดยอาศัยหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมควบคู่กัน ในลักษณะเป็นกลไกที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันคือ การใช้กฎหมายเป็นกรอบในการควบคุมและจำกัดการใช้อำนาจ (rule of law) ของคณะรัฐประหารทุกช่วงเวลา เพื่อป้องกันการเข้ามารัฐประหาร รวมถึงคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดจากการใช้อำนาจดังกล่าว ฉะนั้น หากประเทศไทยสามารถทำให้หลักการนิติธรรมสามารถเกิดได้อย่างเป็นรูปธรรม หลักการดังกล่าวนั้นก็จะช่วยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยสามารถทำงานตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันในฐานะเครื่องมือในการสร้างมิตรประเทศ, ณัชพล สังขะโห Jan 2021

การดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันในฐานะเครื่องมือในการสร้างมิตรประเทศ, ณัชพล สังขะโห

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่าไต้หวันพยายามถ่วงดุลอำนาจจีน โดยใช้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) เป็นเครื่องมืออย่างไร จากการศึกษาพบว่า นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) เป็นเครื่องมือของไต้หวันในการถ่วงดุลอำนาจจีนแบบละมุนละม่อม (soft balancing) โดยผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ “มิตรประเทศ” เป้าหมายยุทธศาสตร์ของไต้หวัน 18 ประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับบุคคลเป็นศูนย์กลาง (people-centered) และแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรระหว่างไต้หวันกับประเทศเป้าหมายยุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การศึกษา การเกษตร การท่องเที่ยว การแพทย์ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากจีนและเป็นการสร้าง “แนวร่วม” ที่มีผลประโยชน์และเป้าหมายร่วมกัน (like-minded nations) เนื่องจากมิตรประเทศต้องพึ่งพาเศรษฐกิจกับไต้หวัน จึงต้องรักษาผลประโยชน์ของตน อีกทั้งเป็นการรวมกลุ่มของมิตรประเทศค่านิยมทางการเมืองร่วมกันจากการเป็นรัฐประชาธิปไตย จึงเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความมั่นคงของไต้หวันในการยับยั้งจีนไม่ให้คุกคามไต้หวันจากหลักการจีนเดียวและเป็นการรักษาสถานะเดิมที่เป็นอยู่ของไต้หวัน


นโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 - 2014, มุกขรินทร์ ลาวัณลักขณา Jan 2021

นโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 - 2014, มุกขรินทร์ ลาวัณลักขณา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ภายหลังการล่มสลายของตาลีบันระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2014 โดยใช้หลัก “วัฏจักรของบรรทัดฐาน” (Norm Life Cycle) ภายใต้แนวคิดพลวัตรของบรรทัดฐานระหว่างประเทศ (International Norm Dynamics) เป็นกรอบวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรี ใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิตในสังคมและสิทธิทางการเมือง ด้านการศึกษาและการทำงาน และด้านสาธารณสุข เพื่อวิเคราะห์ว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลอัฟกานิสถานในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2014 ไม่สามารถดำเนินนโยบายส่งเสริมสิทธิสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อตกลงระหว่างประเทศ เอกสารราชการของอัฟกานิสถาน หนังสือและบทความจากวารสารทางวิชาการที่นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2014 รวมถึงรายงานสรุปสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อสนับสนุนข้อเสนอของบทความวิจัยนี้ คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลอัฟกานิสถานไม่สามารถดำเนินนโยบายพัฒนาสิทธิสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ปัจจัยระดับรัฐบาลและระดับสังคม


นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนสมัยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021: ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง, กมลรัตน์ สุขิโต Jan 2021

นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนสมัยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021: ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง, กมลรัตน์ สุขิโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาแนวคิดของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงกับผลประโยชน์ของชาติและเพื่อทำความเข้าใจบริบทการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาว่าเพราะเหตุใดนโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนในสมัยของนายดูเตอร์เตจึงเปลี่ยนท่าทีจากแข็งกร้าวเป็นประนีประนอม ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021 สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลข่าวในสื่อต่างๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาสภาพทางจิตวิทยาการเมืองของผู้นำโลก (The Political Psychology of World Leaders) ของ วาลเลอรี่ ฮัดสัน (Valerie Hudson) ที่อธิบายถึงพฤติกรรมการตอบสนองทางจิตวิทยาของผู้นำที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่านายดูเตอร์เตปรับท่าทีหลายครั้งในนโยบายต่างประเทศต่อจีน เริ่มจากสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและสร้างสรรค์มากขึ้น พยายามมีส่วนร่วมกับจีนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และลดแรงกดดันจากกรณีพิพาททางทะเลในอดีตเมื่อเทียบกับจุดยืนที่คงความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาไว้ แต่ก็แสดงจุดยืนในเรื่องกรณีพิพาททางทะเลว่าฟิลิปปินส์จะไม่ยอมรับการดำเนินการใดๆของจีนที่จะล้ำเส้นในพื้นที่สิทธิ์ทางทะเล ความคิดและการแสดงออกในนโยบายของนายดูเตอร์เตนั้นมาจากแนวคิดชาตินิยมของเขาและความเข้าใจรับรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองในอดีตต่อสถานการณ์ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ ที่นำมาตีความการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยเลือกระบุตนเองให้เข้ากับบทบาท สถานภาพที่ต้องการ เลือกเป้าหมาย เลือกวิธีกระทำ เพื่อให้บรรลุถึงความพอใจในความเป็นตัวตนของตนเองเพราะต้องการให้ประชาชนยอมรับว่านโยบายต่างประเทศที่ดำเนินต่อจีนนั้นเหมาะสมและชอบธรรมภายใต้การเป็นผู้นำฟิลิปปินส์ของเขา


ทิศทางความร่วมมือด้านพลังงานของไทยกับญี่ปุ่นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน, เวทิศ ธนกรดิษฐ์ Jan 2021

ทิศทางความร่วมมือด้านพลังงานของไทยกับญี่ปุ่นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน, เวทิศ ธนกรดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะตอบคำถามว่า แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างไร จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ทำให้ทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นกำหนดเป้าหมายด้านพลังงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างนโยบายด้านพลังงานที่สอดรับกับกรอบการเปลี่ยนผ่านพลังงานโลก โดยญี่ปุ่นได้วางตัวเองเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานในภูมิภาคเอเชีย และเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่ประเทศต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาค ลักษณะเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการพึ่งพิงระหว่างประเทศ และอาจเป็นเครื่องมือกำหนดความร่วมมือด้านพลังงานอื่น ๆ ของทั้งสองต่อไปในอนาคต


นโยบายการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ธำรงศักดิ์ สุนทรภัค Jan 2021

นโยบายการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ธำรงศักดิ์ สุนทรภัค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อยกระดับขีดความสามารถของตนในมิติต่าง ๆ ให้โดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น โดยใช้กรอบการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับรัฐ และระดับระหว่างประเทศ เป็นกรอบแนวคิดหลัก ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยระดับบุคคลคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด โดยเฉพาะ Mohammed bin Zayed al-Nahyan มกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบีที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหารราชการแผ่นดินและมีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศจากการวางตัวเป็นกลางและมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศเป็นนโยบายต่างประเทศที่พยายามมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การทูต เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังงาน และการทหาร ให้โดดเด่นอย่างชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาวท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น


การแก้ไขปัญหาโจรสลัดในช่องแคบมะละกา: สิงคโปร์กับรัฐที่อยู่นอกกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ ค.ศ. 1988, ภูภัฎ โรจน์ตระกูล Jan 2021

การแก้ไขปัญหาโจรสลัดในช่องแคบมะละกา: สิงคโปร์กับรัฐที่อยู่นอกกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ ค.ศ. 1988, ภูภัฎ โรจน์ตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการและความร่วมมือในการจัดการปัญหาโจรสลัดและการปล้นเรือของสิงคโปร์ร่วมกับรัฐชายฝั่งในช่องแคบมะละกา จากการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เอกสารและใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบอบระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นจุดประสานความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย ถึงผลประโยชน์ร่วมกันของรัฐ และงานวิจัยได้ข้อค้นพบดังนี้ ประการที่หนึ่ง ปัญหาโจรสลัดเป็นปัญหาที่ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่อาจแก้ไขให้สำเร็จได้ถ้าหากไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศอื่น ๆ เพราะโจรสลัดและการปล้นเรือใช้ทะเลที่เป็นน่านน้ำระหว่างประเทศเป็นเส้นทางปฏิบัติการต่อเป้าหมาย ระบอบระหว่างประเทศที่เรียกว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ ค.ศ. 1988 (SUA Convention) จึงได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวางกรอบประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าว และประการที่สอง ประเทศที่ตั้งอยู่ในช่องแคบมะละกา มีเพียงสิงคโปร์ที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ ในขณะที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย มิได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของระบอบระหว่างประเทศดังกล่าว เพราะกังวลว่าอาจกระทบต่ออธิปไตยและอัตตาณัติในการดำเนินนโยบายของตน แต่สิงคโปร์สามารถประสานความร่วมมือกับรัฐชายฝั่งเหล่านี้ได้ ในรูปแบบข้อตกลงระดับทวิภาคี และระหว่างหน่วยงานฝ่ายปฏิบัติของสิงคโปร์กับของรัฐชายฝั่งแต่ละประเทศ ประการที่สาม แม้ระบอบระหว่างประเทศจะไม่ได้มีผลบังคับต่อประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกสามารถปรับหลักการ บรรทัดฐาน และมาตรการดำเนินการหลายอย่างที่ระบอบระหว่างประเทศวางไว้เป็นกรอบอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มาเป็นแนวทางประสานความร่วมมือกับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก ดังเช่นที่สิงคโปร์สามารถประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว


ความยุติธรรมกรุณา : กรณีศึกษาการช่วยเหลือผู้ประสบภัยถ้ำหลวง พ.ศ.2561, ชนุตร์ นาคทรานันท์ Jan 2021

ความยุติธรรมกรุณา : กรณีศึกษาการช่วยเหลือผู้ประสบภัยถ้ำหลวง พ.ศ.2561, ชนุตร์ นาคทรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาประเด็นเรื่องความยุติธรรมจากกรณีศึกษาการกู้ภัยถ้ำหลวง พ.ศ. 2561 ศึกษาผ่านกรอบแนวคิด "ความยุติธรรมกรุณา" ในการตอบวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1. เพื่อศึกษาประเด็นเรื่องความยุติธรรม/ไม่ยุติธรรมที่ปรากฎจากการกู้ภัยถ้ำหลวง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมกับความกรุณาที่ปรากฎจากการกู้ภัยถ้ำหลวง 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมกับความกรุณาในเชิงทฤษฎี ผลการศึกษาตอบวัตถุประสงค์ 3 ข้อดังนี้ 1. การกู้ภัยถ้ำหลวงก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับ "ความไม่ยุติธรรมเปรียบเทียบ" 2. ผู้ประสบภัยถ้ำหลวงได้รับความช่วยเหลืออย่างมหาศาลทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรวัตถุ ซึ่งถือว่าผู้ประสบภัยได้รับ "ความกรุณา" อย่างสูงจากการกู้ภัย ส่วนผู้ประสบภัยกรณีอื่นเช่นกรณีน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ.2562 ได้รับการช่วยเหลือตามมาตรฐานที่ถูกต้องแล้ว แต่ก็เกิดคำถามเรื่อง "ความไม่ยุติธรรมเปรียบเทียบ" ในแง่ระดับความช่วยเหลือ 3. แนวคิดเรื่อง "ความยุติธรรมกรุณา" อธิบายว่า "ความไม่ยุติธรรมเปรียบเทียบ" เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในกรณีของการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้วยเงื่อนไขสำคัญคือ 1. ความจำเป็นของผู้ประสบภัยในการได้รับความช่วยเหลือ 2. การช่วยเหลือต้องสร้างผลดีต่อสังคม มากกว่าสร้างผลเสียต่อสังคม 3. ผู้ไม่ได้รับความกรุณา จำเป็นต้องได้รับความยุติธรรมในตัวเอง