Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 30 of 69

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Thai Viewers’ Exposure, Engagement, And Purchase Intention On The Youtube Advertisements During Covid-19 Pandemic, Xinxin Ye Jan 2021

Thai Viewers’ Exposure, Engagement, And Purchase Intention On The Youtube Advertisements During Covid-19 Pandemic, Xinxin Ye

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to analyze the Thai viewers’ exposure, engagement, and purchase intention on the YouTube advertisements during covid-19 pandemic. The research explored the relationship between the exposure to YouTube advertisements and Thai viewers’ engagement with YouTube advertisements, as well as the relationship between Thai viewers’ engagement with YouTube advertisements and their purchase intention. This study focused especially in the personal care products category. This quantitative research was conducted through an online questionnaire which collected data from a total of 206 valid respondents, aged between 18 and 55 years old who lives in Thailand. The results from the study reveals …


คลิปสปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย, ไพรัตน์ โคสะพละกิจ Jan 2021

คลิปสปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย, ไพรัตน์ โคสะพละกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง “คลิปสปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย” โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาคลิปสปอยล์หนังในไทยในฐานะสารนอกตัวบท ผ่านการศึกษาโครงสร้าง เนื้อหาการสปอยล์ ระดับการสปอยล์ ประเภทภาพยนตร์ที่ถูกสปอยล์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบทและข้อความการแสดงความคิดเห็นใต้คลิปจากผู้ที่เข้ามาชมคลิปสปอยล์หนัง จากช่องยูทูบ 5 ช่องของไทยที่ได้รับความนิยมเรียงตามลำดับ และมีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคนขึ้นไป ได้แก่ 1.ช่อง จดอ JUSTดูIT. 2.ช่อง คอเป็นหนัง 3.ช่อง สองสตูดิโอ 4.ช่อง GU Channel 5.ช่อง SNEAK channel อีกทั้ง 2.เพื่อศึกษาปฏิบัติการของผู้ผลิตและติดตามเนื้อหา และมุมมองที่มีต่อคลิปสปอยล์หนังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 1.กลุ่มคนทำคลิปสปอยล์หนัง 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการภาพยนตร์ 3.กลุ่มผู้สร้างและผู้ผลิตภาพยนตร์ 4.กลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา 5.กลุ่มคนรักหนังที่ชอบดูคลิปสปอยล์หนัง 6.กลุ่มคนรักหนังที่หลีกเลี่ยงการดูคลิปสปอยล์หนัง โดยกาiสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยข้อมูลเหล่านี้จะนำมาอภิปรายต่อในลำดับต่อไปด้วยการบรรยายหรือการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการณ์และปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้คลิปสปอยล์หนังกลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่าสื่อในปัจจุบันมีเนื้อหาหลากหลายและมีช่องทางในการรับชมหลายหลาก จึงทำให้ผู้คนในสังคมสามารถเลือกเสพสื่อได้ตามใจชอบและตามรสนิยมที่มีอยู่ในตัวบุคคลผู้นั้น อีกทั้งปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น 1.ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม 2.ปัจจัยด้านระบบนิเวศสื่อใหม่ 3.ปัจจัยด้านเวลา 4.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้คลิปสปอยล์หนังได้รับความนิยมจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย การศึกษาคลิป สปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมสามารถสร้างความเข้าใจต่อวัฒนธรรมภาพยนตร์ร่วมสมัยที่มีความสลับซับซ้อนในประเทศไทยและสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในอนาคต


อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อเกมของผู้ชมทั่วไปและโอตาคุ, อภิญญา สุรกานนท์ Jan 2021

อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อเกมของผู้ชมทั่วไปและโอตาคุ, อภิญญา สุรกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาปัจจัยของความน่าเชื่อถือที่สามารถทำนายความตั้งใจซื้อเกมของผู้ชมทั่วไปและโอตาคุ (2) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความน่าเชื่อถือของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเกมในกลุ่มโอตาคุและผู้ชมทั่วไป โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ความน่าเชื่อถือ (ความเชี่ยวชาญในการเล่นเกม ความน่าดึงดูดใจ ความไว้วางใจ) ของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์เป็นปัจจัยที่ใช้ในการทำนายความตั้งใจซื้อเกมในกลุ่มผู้ชมทั่วไปและกลุ่มโอตาคุ ผู้วิจัยเลือก วีทูบเบอร์ Aisha Channel และสตรีมเมอร์ zbing z เป็นตัวแทนในงานวิจัย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้เทคนิคการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นโอตาคุ 200 คน และ ผู้ชมทั่วไป 200 คน และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Survey Monkey) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความน่าเชื่อถือต่อความตั้งใจซื้อของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ในกลุ่มผู้ชมทั่วไปและกลุ่มโอตาคุมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า องค์ประกอบสำคัญสำหรับการเพิ่มความตั้งใจซื้อเกมของ Aisha Channel ในกลุ่มผู้ชมทั่วไป คือ ความเชี่ยวชาญในการเล่นเกม และความน่าดึงดูดใน และกลุ่มโอตาคุ คือ ความเชี่ยวชาญในการเล่นเกม และความไว้วางใจ องค์ประกอบสำคัญสำหรับการเพิ่มความตั้งใจซื้อเกมของ zbring z. ในกลุ่มผู้ชมทั่วไป คือ ความน่าดึงดูดใจ และกลุ่มโอตาคุ คือ ความน่าดึงดูดใจและความไว้วางใจ


การเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับธุรกิจผ่านซีรีส์เรื่อง Start-Up, ไปรยา สุระชัย Jan 2021

การเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับธุรกิจผ่านซีรีส์เรื่อง Start-Up, ไปรยา สุระชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เกาหลีใต้มีความพยายามในการผลักดันระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งนอกจากจะสร้างนโยบายออกมาเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจใหม่แล้ว ยังส่งเสริมและผลักดันผ่านสื่อบันเทิงในรูปแบบของซีรีส์อีกด้วย การวิจัยในครั้งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจในซีรีส์เรื่อง Start-Up และเพื่อวิเคราะห์การตระหนักรู้ต่อการถ่ายทอดความรู้ที่เกิดขึ้นในซีรีย์ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้ของซีรีส์เรื่องนี้จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ โครงเรื่องที่แบ่งออกเป็น 2 เส้นเรื่อง คือ เส้นเรื่องหลักจะนำเสนอเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ และเส้นเรื่องความสัมพันธ์ นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวและความรักสามเศร้าของตัวละคร โดยมีปมความขัดแย้งเป็นพาหะในการขับเคลื่อนเรื่องราวเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ และในส่วนของตัวละครหลักในเรื่องจะมีลักษณะแบบพลวัต มีพัฒนาการในการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งช่วยทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเชื่อในเนื้อหาความรู้ที่ผู้สร้างสอดแทรกเอาไว้ในเนื้อเรื่อง ในส่วนของการตระหนักด้านการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ พบว่าซีรีส์เรื่องนี้เปรียบเสมือนเป็นบันไดขั้นแรกที่ทำให้ผู้ชมได้เข้าใจระบบนิเวศน์และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยกลุ่มผู้ชมทั่วไปจะมีความตระหนักและได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับธุรกิจมากกว่ากลุ่มผู้ชมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ปรากฎในซีรีส์เรื่องนี้เป็นข้อมูลระดับพื้นฐานของการทำธุรกิจที่ตัวผู้เชี่ยวชาญต่างทราบอยู่ก่อนแล้ว ในขณะเดียวกันแม้ว่าซีรีส์เรื่องนี้จะมีกลวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้เส้นเรื่องความสัมพันธ์เข้ามาดึงดูดความสนใจของผู้ชม แต่กลุ่มผู้ชมกลับรู้สึกว่าเส้นเรื่องความสัมพันธ์กลับเป็นส่วนที่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดเข้ามา จนความเข้มข้นของเนื้อหาการทำธุรกิจขาดหายไป และแม้ว่าซีรีส์เรื่องนี้จะมีการถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่บ้าง เนื่องจากซีรีส์เป็นสื่อละครเพื่อความบันเทิง จึงไม่สามารถสอดแทรกความรู้ลงไปได้ทั้งหมด แต่ในภาพรวมซีรีส์เรื่องนี้ก็สามารถทำให้ผู้ชมเกิดตระหนักและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางธุรกิจสตาร์ทอัพได้ดียิ่งขึ้น


The Influence Of Samsung Smartphone Social Media Advertising On Thai Consumers’ Attitude And Purchase Intention, Seint Sandi Tun Jan 2021

The Influence Of Samsung Smartphone Social Media Advertising On Thai Consumers’ Attitude And Purchase Intention, Seint Sandi Tun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to investigate Thai consumers' attitude towards Samsung smartphone social media advertising and their purchase intention toward both the advertised product and brand "Samsung”. Furthermore, it explores the relationship between consumers’ attitude and their purchase intention, as well as the influence of social media advertising by comparing gender and different types of brand users. The quantitative research was conducted through online survey collecting data from 300 respondents whose age range is between 18-40 years. The results revealed that Thai consumers have positive attitude towards Samsung smartphone social media advertising and moderate purchase intention. As a result, from Pearson’s …


Attitude And Responses Of General Public Towards Foodpanda Thailand’S Crisis Communication Management, Ira Siripatarakulthon Jan 2021

Attitude And Responses Of General Public Towards Foodpanda Thailand’S Crisis Communication Management, Ira Siripatarakulthon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to examine the attitude and responses of the general publics towards a situation crisis communication management which related to a political situation in Thailand. The attitude variable in this study focused on attitudes into crisis communication management in content and the statement release, management of time during the crisis, attitude towards the crisis communication management, and suitable and appropriately management. Meanwhile, the responses variable focused on responses into favorability and credibility, frequently of using the service after the crisis, ways of showing support, movement to boycott, and royalty towards a brand after the crisis. …


การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย, จิดาภา ล้อมพิทักษ์ Jan 2021

การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย, จิดาภา ล้อมพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย และเพื่อศึกษารูปแบบของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้มีอํานาจระดับบริหารหรือมีหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารได้ 8 กลุ่มดังนี้ 1.ผู้ชม 2.ชุมชน/สังคม 3.ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท 4.ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน 5.ผู้จัดละคร/ผู้ผลิตรายการ/นักแสดง 6.คู่ค้า/เจ้าหนี้ 7.สื่อมวลชน 8.ภาครัฐกำกับดูแล ภาคประชาสังคม และองค์กรการกุศล โดยมีวัตถุประสงค์ 7 ประการ ดังนี้ 1.เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและถูกต้องในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 2.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทั้งระหว่างบุคลากรในองค์กร และระหว่างองค์กรกับประชาชน 3.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้สังคม ตระหนักในประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4.เพื่อนำไปสู่การแก้ไขประเด็นปัญหาในสังคม 5.เพื่อสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร 6.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 7.เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร โดยมีกลยุทธ์การสื่อสาร 6 ประการ ดังนี้ 1.นำเสนอผ่านละครและรายการ 2.นำเสนอในมุมบันเทิง 3.ใช้ผู้มีชื่อเสียงขององค์กรในการสื่อสาร 4.สื่อสารอย่างชัดเจนและรวดเร็ว 5.สอดแทรกให้กลมกลืนเพื่อให้สามารถเข้าใจง่าย และ 6.ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเครื่องมือในการสื่อสารสามารถแบ่งได้ ดังนี้ 1. สื่อขององค์กร 2.สื่อภายนอกองค์กร ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ประกอบด้วย 3 ประการดังนี้ 1) การนำเสนอประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านละครและรายการของสถานี โดยมุ่งเน้นการผลิตและนำเสนอละครและรายการที่ดีมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม ควบคู่ไปกับการให้ความบันเทิง 2 ) สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะของหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ การสนับสนุนเงินหรือสิ่งของในการบริจาคช่วยเหลือองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ การให้การสนับสนุนหารประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมของหน่วยงานต่าง และการให้การสนับสนุนดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียง ในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ หรือเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เนื่องในโอกาสต่าง ๆ 3) การจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพบในบางกิจกรรมมีการนำเนื้อเรื่องของละครหรือรายการมาเป็นเส้นเรื่องในการกำหนดกิจกรรม ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบ ดังนี้ 1.การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม 2.การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม 3.การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม 4.การบริจาคเพื่อการกุศล 5.การอาสาช่วยเหลือชุมชน 6. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทยแยกกันไม่ออกจากบทบาทหน้าที่ของวิทยุโทรทัศน์ที่มีต่อสังคม


อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, วรวุฒิ ชูมณี Jan 2021

อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, วรวุฒิ ชูมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงในด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพ ด้านจิตวิทยา และการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ในช่วงอายุที่มีกำลังซื้อ ระหว่าง 35-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง ผลการวิจัยที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) แบบ Stepwise สรุปได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา การเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ และ การตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 4 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยจากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองเส้นทางการหาข้อมูลในการซื้อรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าของผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการการออกแบบการสื่อสารของรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า โดยในด้านของผู้ส่งสาร ควรสื่อสารผ่านกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดในวงการรถยนต์ ในขณะที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิ้ล และยูทูบ โดยมีจุดดึงดูดสารอยู่ที่ข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจและไม่กังวลว่าจะมีความเสี่ยงในการซื้อเกิดขึ้น เช่น ความคุ้มค่าทางการเงิน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


การเปิดรับข่าวสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม "ยังก์โอลด์" (Young Old), วรารัตน์ วัฒนเลิศพงศ์ Jan 2021

การเปิดรับข่าวสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม "ยังก์โอลด์" (Young Old), วรารัตน์ วัฒนเลิศพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร และเพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) ซึ่งเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2505 ยังใช้ชีวิตด้วยความคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม รู้สึกว่าตนเองไม่แก่ อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 - 69 ปี จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ลูกหลาน ญาติ และเพื่อน ขณะที่มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่ในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ และมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อดั้งเดิมในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มหัวสมัยใหม่ ใส่ใจคุณภาพชีวิตที่ดี 2. กลุ่มไม่สนใจใคร ใส่ใจเพียงตนเอง 3. กลุ่มตามกระแสและแคร์ภาพลักษณ์ 4. กลุ่มใช้ชีวิตให้สุด ไม่หยุดอยู่ที่บ้าน 5. กลุ่มสังคมมิตรภาพและธรรมชาติกลมเกลียว


การใช้สตรีทอาร์ตเพื่อเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว, ปิยะธิดา ขันสิงหา Jan 2021

การใช้สตรีทอาร์ตเพื่อเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว, ปิยะธิดา ขันสิงหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจการสื่อสารความคิดเห็นบนสื่อออนไลน์ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อภาพสตรีทอาร์ตในเมืองท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อเข้าใจแนวทางการสร้างสรรค์ภาพสตรีทอาร์ตสำหรับเป็นกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเลือกสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสตรีทอาร์ตในพื้นที่เมืองรอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีมาวิเคราะห์รูปแบบการตอบรับและการสื่อสารการรับรู้ภาพสตรีทอาร์ตของนักท่องเที่ยวจากการรีวิวแหล่งท่องเที่ยวผ่าน Google Maps Review ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 15 มิถุนายน 2565 การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Leximancer วิเคราะห์ข้อความและเนื้อหาหลักที่ปรากฏในกลุ่มตัวอย่าง ประกอบการการวิเคราะห์ด้วยการลงรหัสเพื่อศึกษาเนื้อหาภาพภาพที่นำมาใช้ในรีวิว รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 512 ชิ้น ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวนิยมแสดงออกผ่านรูปภาพมากกว่าแสดงความคิดเห็นด้วยข้อความ และมีจำนวนน้อยที่แสดงความเห็นผ่านทั้งรูปภาพและข้อความ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อความแสดงความคิดเห็น 103 ข้อความด้วยโปรแกรม Leximancer จำแนกประเด็นสำคัญ (Theme) ได้ 5 ประเด็น ได้แก่ 1. Beautiful (ความสวยงาม) 2. Food (อาหาร) 3. Painting (ภาพวาด) 4. Town (เมือง) 5. Care (การดูแล) ภาพวาดสตรีทอาร์ตมีความสวยงาม องค์ประกอบของภาพสตรีทอาร์ตเรื่องราวท้องถิ่น และวิถีชีวิตของเมืองและสะท้อนจิตวิญญาณแห่งพื้นที่ ภาพสตรีทอาร์ตจึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงความเป็นเมืองเข้ากับประสบการณ์นักท่องเที่ยวได้ ในส่วนการวิเคราะห์รูปภาพ ผู้วิจัยพบว่าเนื้อหาของภาพสตรีทอาร์ต 409 ภาพที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมและชื่นชอบในการเลือกถ่ายภาพมาเพื่อประกอบการรีวิวในสื่อสังคมออนไลน์นั้น จำแนกเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ 1. คาแรคเตอร์ 2. สัญลักษณ์ทางภาษา 3. อัตลักษณ์ท้องถิ่น 4. คนกับวิถีชีวิต 5. ประวัติศาสตร์ และ 6. การสะท้อนปัญหาสังคม อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นชุมชนอยู่มากมาย แต่จะพบว่านักท่องเที่ยวนิยมถ่ายเฉพาะภาพถ่ายสตรีทอาร์ตโดด ๆ มากกว่ามีทีท่าปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาในภาพสตรีทอาร์ต ผู้วิจัยเห็นว่าการใช้สตรีทอาร์ตเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นเป็นไปได้ หากใช้ความสวยงามของภาพสตรีทอาร์ตเป็นจุดดึงดูดความสนใจ ควบคู่ไปกับเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นชุมชน ความคิดสร้างสรรค์ผ่านคาแรคเตอร์และการเล่าเรื่อง แต่การใช้สตรีทอาร์ตต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ ประกอบด้วยหากต้องการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำแก่นักท่องเที่ยวกับเมืองที่ไปเยี่ยมชม


อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์ Jan 2021

อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยนำร่องที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และการยอมรับนวัตกรรมในด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และอิทธิพลของกลุ่มและสังคม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และระดับการยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน (ฺBeta = 0.398) ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล (Beta = 0.313) อิทธิพลจากกลุ่มและสังคม (Beta = 0.162) และการรับรู้ความง่ายของการใช้งาน (Beta = 0.148) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อโดยรวม โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้ร้อยละ 61.4 (R2 = 0.614)


The National Identity Representation In Bangkok's Museums, Yiwen Xu Jan 2021

The National Identity Representation In Bangkok's Museums, Yiwen Xu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main objective of this research was to explore how national identity is represented in different museums in Bangkok. Therefore, three museums in Bangkok were selected as the research subjects: Bangkok National Museum, Museum Siam, and Bangkok Art and Culture Centre. Through a qualitative research approach, the researcher investigated the above-mentioned objective by engaging with key informants from museums and scholars from the field of museum communication management. Semi-structured interviews were utilized with five key informants. The research findings illustrated that the three selected museums had arranged the exhibitions appropriately according to their nature by utilizing different exhibition communication approaches. …


Consumers’ Perceived Credibility Of Beauty Key Opinion Leaders And Online Engagement With Beauty Brands On Twitter, Natchapa Deeudomwongsa Jan 2021

Consumers’ Perceived Credibility Of Beauty Key Opinion Leaders And Online Engagement With Beauty Brands On Twitter, Natchapa Deeudomwongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore how consumers perceived the credibility of beauty key opinion leaders, how consumers engage with beauty brands reviewed by these beauty key opinion leaders and whether the two variables correlate with one another. The research was conducted on 200 respondents with the age range of 18 to 37 who were followers of one of the two beauty key opinion leader representatives on Twitter. Through the use of online questionnaire, the results indicated that overall, the perceived credibility of beauty key opinion leaders was positive (M = 4.08) with expertise receiving the highest average score of 4.15. …


The Influence Of Product Placement On Youtube On Dating App’S Consumers' Decision Making, Lyuyang Xu Jan 2021

The Influence Of Product Placement On Youtube On Dating App’S Consumers' Decision Making, Lyuyang Xu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to study the influence of product placement on YouTube on dating apps' consumers' decision making. Online questionnaire is used as tool for collecting data through various websites. The sample size was 292 Thais from Facebook group, Line and Wechat room. Most of them are between 18-35 years old, are also social media addicted. The study found a positive correlation between product placement on YouTube and consumer intention to download dating apps. It turned out that consumer attitudes towards dating apps would impact consumer to make an informed decision regarding the selection of dating apps, …


The Relationship Between Ewom Credibility, Consumer’S Trust, And Intention To Visit A Café Based On The Café Story Facebook Page, Nutchawee Ahrivorayapong Jan 2021

The Relationship Between Ewom Credibility, Consumer’S Trust, And Intention To Visit A Café Based On The Café Story Facebook Page, Nutchawee Ahrivorayapong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to explore eWOM credibility, consumer’s trust, and intention to visit a café based on the Café Story Facebook page and to explore the relationship between these three variables. This research employs a quantitative approach through an online survey, data are collected from 250 target samples who are Thai millennials, aged between 25-40 years old, and follow the Café Story Facebook page. The findings depict that the respondents considered eWOM on the Café Story Facebook page highly credible (M = 4.36). The respondents also highly trust the page (M = 4.19), with cognitive trust receiving …


The Relationship Between Chinese Consumers' Exposure To Taobao Live Streaming Of Thai Brands And Their Purchase Behavior, Chen Lin Jan 2021

The Relationship Between Chinese Consumers' Exposure To Taobao Live Streaming Of Thai Brands And Their Purchase Behavior, Chen Lin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to examine Chinese consumers' exposure to Taobao live streaming of Thai brands, Chinese consumers' purchase behavior of Thai brands via Taobao and test the relationship between these two variables. This research utilizes quantitative methods by collecting the data through online questionnaires. With the collected questionnaires of 203 respondents, aged between 18-40 years old who have watched Taobao live streaming of Thai brands recently. The findings indicated most of respondents sometimes watch Taobao live streaming of Thai brands (M = 2.83), and their watching time was less than two hours (M = 2.49). The results …


The Influence Of Brand Ambassador On Brand Image And Purchasing Decision Of C-Vitt Among Expatriates And Locals, Agung Baskara Jan 2021

The Influence Of Brand Ambassador On Brand Image And Purchasing Decision Of C-Vitt Among Expatriates And Locals, Agung Baskara

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to examine the influence of brand ambassador on brand image and purchasing decision of product vitamin C drinks, C-Vitt, among 2 different groups which were expatriates and Thai. The study also examined the relationship of each variable whether it’s positively related or negatively related. Study of this paper was conducted with a quantitative approach. Online questionnaire was distributed across several online expats and Thai communities. 213 valid respondents had been collected in 4 weeks period of data collection. The outcome of this research showed each of the variables were positively related. Moreover, it also illustrated that there …


การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธาม เหลืองสุขโสภณ Jan 2021

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธาม เหลืองสุขโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กรของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2.) การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3.) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 4.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร กับการดูดซับความรู้ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยการศึกษาดังกล่าวใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 210 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นพนักงานประจำ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการลูกค้า ปฏิบัติงาน ณ พื้นที่สาขาของธนาคารมาแล้วระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1.) กลุ่มตัวอย่างมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กรโดยรวมในระดับเป็นประจำ 2.) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเรียนรู้ในเรื่องโควิด-19 โดยรวมในระดับสูงมาก 3.) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยรวมในระดับทำอยู่บ่อย ๆ และ 4.) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับการดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง ส่วนการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ และการดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


การเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นําเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค, นสวรรณร์ โพธิ์สุวรรณ์ Jan 2021

การเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นําเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค, นสวรรณร์ โพธิ์สุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยนำร่องเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 – 60 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมอยู่ในระดับเปิดรับเป็นบางครั้ง โดยเปิดรับทั้งในช่องทางสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ กลุ่มตัวอย่างมีภาพลักษณ์ตราสินค้าที่นำเสนอผ่านภาพยนตร์โฆษณาเกี่ยวกับประเด็นกลุ่มเปราะบางโดยรวมอยู่ในระดับภาพลักษณ์เป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อตราสินค้าที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 2) การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 3) ภาพลักษณ์ตราสินค้าในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูง ในทิศทางแปรตามกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Joox, ณัฏฐวี ชนะพันธ์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Joox, ณัฏฐวี ชนะพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน JOOX มีตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (ความผูกพันทางการเงิน, ความผูกพันทางสังคม, ความผูกพันทางโครงสร้าง) ความรู้สึกทางอารมณ์ (ต่อศิลปิน, ต่อแอพพลิเคชัน JOOX)และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่เคยใช้แอพพลิเคชัน JOOX กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่เคยใช้แอพพลิเคชั่น JOOX สาเหตุที่เลือกกลุ่มประชากรนี้ เนื่องจากคนที่เคยใช้แอพพลิเคชั่น JOOXเท่านั้นถึงจะทราบได้อย่างแท้จริงว่าปัจจัยใดที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ จำนวน 205 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน JOOX โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ทุกด้านมีทิศทางแปรผันตามกัน โดยที่ค่าความผูกพันด้านความรู้สึกต่อแอปพลิเคชั่น JOOX มีค่ามากที่สุดอยู่ที่ 0.803 และความผูกพันพันด้านความรู้สึกต่อศิลปินมีค่าน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.423 เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่าความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ และความผูกพันที่เกิดจากแอปพลิเคชั่นเป็นตัวกำหนดให้ผู้ฟังเลือกฟังเพลงมากกว่าศิลปิน


พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน Tiktok, จิตวัฒน์ สารตันติพงศ์ Jan 2021

พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน Tiktok, จิตวัฒน์ สารตันติพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 219 คน อายุระหว่าง 18 – 37 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานในช่วงวัย Generation Y และ Z ที่เคยใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ผลการวิจัยวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ทั้งด้านการรับรู้ ทัศนคติ ความตั้งใจใช้งาน และความพึงพอใจค่อนข้างมาก นอกจากนั้น พฤติกรรมการใช้งานยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อแอปพลิเคชัน TikTok อันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ กล่าวคือ ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมต่อแอปพลิเคชัน TikTok มากเพียงใด ก็จะยิ่งส่งผลต่อความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok สูงเช่นเดียวกัน ขณะที่ช่วงวัย Generation Z มีพฤติกรรมการใช้งานในด้านความตั้งใจใช้งานมากกว่าช่วงวัย Generation Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), อธิวัฒน์ คชภูมิ Jan 2021

กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), อธิวัฒน์ คชภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง 2) ประโยชน์ในการใช้งานผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของเอไอเอส โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่มตามคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่ นักสื่อสารแบรนด์ของเอไอเอส เจ้าหน้าที่ของเซีย แบงคอก (SIA Bangkok) และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงจากบริษัทสื่อโฆษณาดิจิทัล หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง (Virtual influencer) มีคุณลักษณะสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะด้านความเหมือนมนุษย์ คุณลักษณะด้านความควบคุมได้ และคุณลักษณะด้านการให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ในส่วนของประโยชน์ในการใช้งานผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง มีแนวทางการใช้งานใน 3 ด้าน ประกอบด้วย การรีวิวสินค้าและบริการ การใช้เพื่อเป็นตัวแทนของตราสินค้า และการสร้างความร่วมมือ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในเชิงภาพลักษณ์ตราสินค้า และในเชิงประสบการณ์ของผู้บริโภค ทั้งนี้ สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของเอไอเอส มีกลยุทธ์การสื่อสาร 4 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์การใช้ตัวแทนของแบรนด์เสมือนจริง กลยุทธ์การสื่อสารแบบเล่าเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารบนโลกออนไลน์ และกลยุทธ์การใช้ผู้มีชื่อเสียง โดยผสมผสานเครื่องมือสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความทันสมัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้าขององค์กร


Impacts Of Bandwagon Effect And Product Type In Instagram Native Advertising On Generation Z Consumer's Behavior, Leiv Tore Kaltbeitzer Jan 2021

Impacts Of Bandwagon Effect And Product Type In Instagram Native Advertising On Generation Z Consumer's Behavior, Leiv Tore Kaltbeitzer

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the impact of bandwagon effect and product type in Instagram native advertising on consumer behavior (i.e., ad intrusiveness, attitude towards the ad, attitude towards the brand, purchase intention and intention to share). Using an experimental method, a 2 (bandwagon effect: high and low) x 2 (product type: utilitarian and hedonic) factorial design was employed to collect data from 129 undergraduate students at The results indicated that bandwagon effect as well as product type have main effects on consumer behavior, in terms of intention to share and purchase intention, respectively. No interaction effect …


Storytelling Techniques, Social Media Strategies, And Tourism Destination Images Of Thailand By Chinese Douyin Content Creators, Xuanrui Xiao Jan 2021

Storytelling Techniques, Social Media Strategies, And Tourism Destination Images Of Thailand By Chinese Douyin Content Creators, Xuanrui Xiao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study explores the storytelling techniques, social media strategies, and tourism destination images of Thailand by ten famous Chinese Douyin content creators. Two qualitative approaches conduct to obtain data. A narrative analysis examines the storytelling techniques of Douyin content creators, and the tourism destination images of Thailand portrayed by them. An in-depth interview is conducted to examine the social media strategies of Chinese Doyin content creators and tourism destination images of Thailand held in their minds. As a result, fifty vlogs are collected and analyzed to obtain 20 attributes under three categories of storytelling techniques and 8 attributes of tourism …


การต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด, โรสนี แกสมาน Jan 2021

การต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด, โรสนี แกสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังและแรงบันดาลใจที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด และศึกษาการต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซียผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด โดยวิเคราะห์บริบทของภาพยนตร์ จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ Rabun (2003) Sepet (2004) Gubra (2006) Mukhsin (2007) Muallaf (2008) และ Talentime (2009) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลใกล้ชิด นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์มาเลเซีย รวมทั้งศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ภูมิหลังและแรงบันดาลใจที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การเลี้ยงดูฟูมฟักจากครอบครัว 2) การศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนาต่างๆ และ 3) สุนทรียภาพจากประสบการณ์ตรงและคนใกล้ชิด ส่วนการต่อรองอัตลักษณ์มุสลิมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ของยาสมิน อะห์หมัด มี 3 คุณลักษณะ คือ 1) อัตลักษณ์มุสลิมที่สังคมคาดหวัง 2) อัตลักษณ์มุสลิมที่สังคมไม่พึงประสงค์ และ 3) อัตลักษณ์มุสลิมที่ประกอบสร้างขึ้นใหม่ โดยปรากฏใน 2 รูปแบบ คือ 1) การต่อรองกับมนุษย์ ได้แก่ การยืดหยุ่นต่อขนบธรรมเนียม วิถีปฏิบัติ และจารีตที่สังคมคาดหวัง ซึ่งมักปรากฏในเชิงกายภาพ และ 2) การต่อรองกับพระเจ้า ได้แก่ การกระทำสิ่งซึ่งขัดแย้ง หรือหมิ่นเหม่ต่อหลักการศาสนา โดยต่อรองกับหลักการและเงื่อนไขศาสนาภายใต้กรอบศีลธรรม มนุษยธรรม และการเอาตัวรอดจากสถานการณ์คับขันในชีวิต ซึ่งชี้ให้เห็นความหลากหลายของมุสลิมในด้านวิถีปฏิบัติที่มิได้มีเฉพาะด้านดีหรือชั่วเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการผสมผสานตัวตนเข้ากับเบ้าหลอมทางศาสนา ตำแหน่งแห่งที่ บทบาททางสังคมอันเชื่อมโยงกับกระแสโลกสมัยใหม่และการแลกรับวัฒนธรรมอื่นรอบตัว อัตลักษณ์มุสลิมที่ปรากฏจึงลื่นไหล แปรเปลี่ยน และถูกปรับปรุงเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ในชีวิต


การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม Jan 2021

การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ ได้แก่ ผู้ผลิตคาแรคเตอร์, อาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน, ผู้ผลิตสินค้าคาแรคเตอร์, และกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งหมด 15 ท่าน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ 6 ด้าน มาเป็นกรอบในการศึกษาแนวทางส่งเสริมต่ออุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ได้แก่ ความเป็นไทย การศึกษา การส่งออกและการร่วมมือระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้ดิจิทัล ผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐ ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยเผชิญกับสถานการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันตามแต่ละภาคส่วน โดยปัญหาที่เป็นจุดร่วมของทั้งระบบนิเวศคือ ความเข้าใจต่อโครงสร้างของระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เป็นต้น โดยผู้วิจัยหยิบยกปัญหาที่มีความสำคัญเหล่านี้มานำเสนอเป็นแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ประกอบไปด้วย แนวทาง 3 วาระ ได้แก่ วาระที่ 1) แก้ปัญหาและสร้างตัวตนแก่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 2) พัฒนาต่อยอดคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 3) สร้างความผูกพันธ์ระหว่างคาแรคเตอร์ไทยกับผู้บริโภคในวงกว้าง ตลอดจนนำเสนอความเป็นไทยในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านคาแรคเตอร์ไทย


ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด, กิตติภูมิ ลมุลพจน์ Jan 2021

ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด, กิตติภูมิ ลมุลพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม และความสัมพันธ์ของคุณค่าตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิคการสำรวจ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต นักศึกษาเจนเนเรชั่นแซดอายุระหว่าง 18 – 24 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในประเทศไทย และเลือก แสนสิริ เป็นตราสินค้าสำหรับการวิจัยโดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางทวิตเตอร์ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 421 ชุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะรับรู้คุณค่าตราสินค้าโดยรวมและรายด้านทุกด้านของตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อยในทุกด้าน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อย ทั้งนี้คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินหรือเห็นการเคลื่อนไหวของตราสินค้าต่อประเด็นที่เป็นกระแสในปัจจุบัน และเชื่อว่าตราสินค้ามีหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับสังคมและย่อมทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น รวมถึงจะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนตรงกัน และจะสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะสนับสนุนตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนในทางตรงกันข้าม


ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด Jan 2021

ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ การใช้งาน และการเกิดขึ้นของมีมจากภาพยนตร์ไทย และ2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทภาพมีมจากภาพยนตร์ไทย ประกอบด้วยภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตกและภาพยนตร์ร่างทรง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตมีมในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่ามีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การจับภาพจากภาพยนตร์ การใช้โปรแกรมตัดต่อ และการใช้ภาพทางการ มีการใช้งานมีมใน 6 ลักษณะ ได้แก่ การทำซ้ำ การเพิ่มองค์ประกอบอื่น การใส่บริบทใหม่ การเพิ่มองค์ประกอบอื่นและใส่บริบทใหม่ การเปลี่ยนแปลงภาพตัวละคร และการเปลี่ยนแปลงบทพูด อีกทั้งประเด็นทางสังคมที่ถูกวิพากษ์อย่างเป็นวงกว้างและสภาพการณ์ทางการเมืองที่มีการกดทับอย่างเป็นระบบมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน นอกจากนั้น การสร้างมีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นผู้สร้างมีมได้เริ่มต้นสร้างจากการพิจารณากระแสสังคมหรือประเด็นใดๆที่กำลังถูกพูดถึง จากนั้นจึงหาภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงหรือสอดคล้องทางบริบทและทำการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน


ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย Jan 2021

ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในรูปแบบ 2x2 แฟคทอเรียล (Factorial Design) ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย คือ (1) มาตรฐานความงามในโฆษณา (มาตรฐานความงามแบบดั้งเดิม และมาตรฐานความงามแบบใหม่) และ (2) ประเภทสินค้า (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับดรักสโตร์) ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนวิชาหลักการประชาสัมพันธ์ จำนวน 125 คน แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มตามเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และประเภทสินค้าไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 อีกทั้งเมื่อพิจารณาในส่วนของผลกระทบร่วมกันของทั้ง 2 ปัจจัย พบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาและประเภทสินค้าส่งผลกระทบร่วมกันต่อทัศนคติต่อโฆษณา แต่ไม่ส่งผลกระทบร่วมกันต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


การสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน, ชยุตม์ ล้ำเลิศสุข Jan 2021

การสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน, ชยุตม์ ล้ำเลิศสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ถึงการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อหาความสัมพันธ์ของการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน อายุระหว่าง 20-60ปี ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ใช้การสุ่มตัวอย่าง(Sampling) เป็นการสร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุดผลการศึกษาพบว่า (1)พบกว่ามีนักลงทุนเพศชายมากที่สุดจำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 55.5 และในลำดับต่อมาคือ เพศหญิงจำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 44.5 (2)นักลงทุนมีการเปิดรับข่าวสารผ่าน Facebook เป็นระดับสูงสุดที่ 3.67 รองลงมาคือ เว็บไซต์ 3.41 เพื่อน 3.20 Youtube 3.15 และน้อยที่สุดคือ โฆษณาในโรงภาพยนตร์ 1.60 (3)ผลการวิจัยในด้านภาพลักษณ์องค์กร พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญในด้านภาพลักษณ์องค์กร คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (M = 4.16,SD 0.619) (4)ผลวิจัยในด้านทัศนคติต่อการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์ พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญต่อ นักลงทุนสัมพันธ์ด้วยค่าเฉลี่ย 4.00(5)ผลวิจัยในด้านความตั้งใจลงทุนของนักลงทุน พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญต่อ ความตั้งใจลงทุนด้วยค่าเฉลี่ย 4.23