Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 71

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong Jan 2019

The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are as of following: to explore brand experience and brand equity of Marimekko and to explore the relationship among these two variables. The respondents of this research are two hundred and three Thai women who are first-jobbers, living in Bangkok, aged between 18 to 25 years old and recently bought Marimekko’s products in the past six months. The results depicted that the respondents had a positive opinion on brand experience of Marimekko (M = 3.67). Emotional experience receives the highest mean score (M = 4.18). In contrast, the lowest mean score was social experience (M …


The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn Jan 2019

The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the effect of sales promotion type on consumer attitude and consumer purchase intention. The independent variable of this study included price-off and premium sales promotion. In addition, this research also explored the relationship between consumer attitude towards sales promotion type and consumer purchase intention. The dependent variables were consumer attitude and consumer purchase intention. The product used in the experiment was drinking water, a low involvement product. The study was conducted using the posttest only design. The data was collected from seventy seven undergraduate students at Chulalongkorn University at the end of …


การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์ Jan 2019

การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจองค์ประกอบการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า และ 3) ตรวจสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้ากับผลการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ โดยในกระบวนการพัฒนามาตรวัดนี้ เริ่มต้นจากการทบทวนความหมายระดับแนวคิด และองค์ประกอบของการวัดแนวคิดมุ่งตราสินค้า จากนั้นจึงดำเนินการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูล 3 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน เพื่อนำไปพัฒนาเนื้อหาข้อคำถามเพิ่มเติม 2) การประเมินมิติของการวัด และ 3) การตรวจสอบหลักฐานความตรงตามโครงสร้าง การสำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่หนึ่งกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งทำงานอยู่ในระดับบริหาร และระดับผู้จัดการชาวไทยที่รับผิดชอบหลักในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ งานวางแผนกลยุทธ์การตลาดองค์กร และงานสื่อสารองค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ จำนวน 114 คน ผลการประเมินมิติที่เหมาะสมตรงตามโครงสร้างการวัดใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยมีเนื้อหาข้อคำถามรวมจำนวน 59 ข้อ สามารถจำแนกได้เป็น 7 องค์ประกอบตามกรอบแนวคิด คือ มิติค่านิยมมุ่งเน้นตราสินค้า 1) การมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน 2) วัฒนธรรมตราสินค้า มิติบรรทัดฐานมุ่งเน้นตราสินค้า 3) การสื่อสารแบบผสมผสาน 4) การมีเป้าประสงค์ร่วมกัน มิติสัญลักษณ์มุ่งเน้นตราสินค้า 5) การบริหารเอกลักษณ์ตราสินค้า และมิติพฤติกรรมมุ่งเน้นตราสินค้า 6) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก 7) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองการวัดจากชุดข้อมูลที่สำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่สอง จำนวน 235 คน ยืนยันองค์ประกอบตามโครงสร้างและได้มาตรวัดที่มีข้อคำถามทั้งหมดจำนวน 49 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์การทดสอบคุณภาพความเที่ยง ความตรงเชิงเหมือน และความตรงเชิงจำแนก นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบทิศทางความสัมพันธ์ พบว่า องค์ประกอบวัฒนธรรมตราสินค้าส่งผลต่อการดำเนินงานองค์กรในภาพรวม และองค์ประกอบการมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน กับการสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนภายในส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมิลเลนเนียลจำนวน 400 คน เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2543 และเคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัยหรือองค์ประกอบ และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใส่ใจสุขภาพ (The Health-conscious group) 2) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบรักนวัตกรรมและห่วงใยสิ่งแวดล้อม (The innovation and environment lover group) และ 3) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตามกระแสนิยม (The fashionable group) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิลเลนเนียลเลือกใช้เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ด้านพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า มิลเลนเนียลนิยมซื้อน้ำผักผลไม้สกัด เครื่องดื่มสมุนไพร สถานที่ที่นิยมซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ทั้งนี้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพทั้งในด้านความถี่ในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ และระยะเวลาในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล Jan 2019

การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (4) ศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรที่มีต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศมีแนวทางในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจโดยใช้ลักษณะเฉพาะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งวิธีการพูด น้ำเสียง ลักษณะท่าทาง ความกล้าแสดงออก และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมิติในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจ ทั้งนี้ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่จะสร้างมากกว่าตัวตนในเรื่องเพศ และเข้าใจว่าการสนับสนุนการสื่อสารเรื่องความงามของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นการแสดงจุดยืนที่ดีของตราสินค้าในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูงและทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง คือ การติดตามผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศเพราะเนื้อหาที่น่าสนใจโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเพศ ด้านพฤติกรรมตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่มีการตอบสนองน้อยที่สุด คือ การแสดงความคิดเห็น (Comment)


การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ Jan 2019

การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์เนื้อหาของรายการ Loukgolf’s English Room ที่พัฒนาจากสื่อสารการแสดง และเพื่อศึกษาการรับรู้ การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ ของผู้ชมที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ชีวิตในรายการ Loukgolf’s English Room โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คลิปวิดีโอรายการ Loukgolf’s English Room ที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2562 รวมจำนวนทั้งหมด 47 ตอน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากกลุ่มผู้ผลิตรายการ (Key Informants) และการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้ชมรายการจำนวน 12 คน ที่เคยรับชมรายการตั้งแต่ 12 ตอนขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า รายการ Loukgolf’s English Room เป็นรายการเอดูเทนเมนต์ที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการสนทนาระหว่างพิธีกรและแขกรับเชิญ ซึ่งแขกรับเชิญเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกวงการบันเทิง โดยการคัดเลือกประเด็นที่นำเสนอจะพิจารณาจากความน่าสนใจและมีประโยชน์จากเรื่องราวของแขกรับเชิญ และจัดลำดับเรื่องที่นำเสนอด้วยการเรียงตามลำดับเวลาหรือช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของแขกรับเชิญ ซึ่งเมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ลักษณะเนื้อหารายการพบว่า เนื้อหารายการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำงานของแขกรับเชิญมากที่สุด นอกจากนี้พิธีกรยังมีทักษะในการสื่อสารการแสดง เช่น การจัดการความคิด จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก การจัดการภาษากาย และการจัดการใช้เสียง รวมถึงวิธีการสอนภาษาอังกฤษของพิธีกรที่มักจะสอดแทรกในระหว่างการพูดคุยกับแขกรับเชิญ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ชมมีการรับรู้ด้านเนื้อหาเรื่องของภาษาอังกฤษและข้อคิดที่ได้จากพิธีกรและแขกรับเชิญ ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมมี 6 ด้าน คือ 1) การได้รับข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำต่าง ๆ 2) การลดความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและโลกกว้าง 4) เพื่อจะได้หาความรู้พื้นฐานในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คน 5) เพื่อฆ่าเวลา และ 6) เพื่อหาแบบแผนในการดำเนินชีวิต


ผลของสีบรรจุภัณฑ์และประเภทสินค้า ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ชุลี กอบวิทยาวงศ์ Jan 2019

ผลของสีบรรจุภัณฑ์และประเภทสินค้า ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ชุลี กอบวิทยาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ของ สีบรรจุภัณฑ์ (สีโทนร้อนและสีโทนเย็น) และประเภทสินค้า (สินค้าที่ตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ความรู้สึกและสินค้าที่ตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย) ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรย่อย ได้แก่ การรับรู้ความอร่อย การรับรู้ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์ ทัศนคติต่อตราสินค้า ทัศนคติต่อสินค้า และความตั้งใจซื้อ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบ 2 x 2 แฟคทอเรียล โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 137 คน ผลการวิจัยพบว่า สีบรรจุภัณฑ์ส่งผลกระทบหลักต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์ ส่วนประเภทสินค้าส่งผลกระทบหลักต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านการรับรู้ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และทัศนคติต่อสินค้า ในขณะที่สีบรรจุภัณฑ์และประเภทสินค้าส่งผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน, ณัฎฐา ระกำพล Jan 2019

วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน, ณัฎฐา ระกำพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาวิเคราะห์วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน (2) สังเคราะห์รูปแบบภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐาน (3) ศึกษาการรับรู้และการเข้าใจความหมายในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากเพลงรำวงมาตรฐาน 10 เพลง คือ 1. เพลงงามแสงเดือน 2. เพลงชาวไทย 3. เพลงรำซิมารำ 4. เพลงคืนเดือนหงาย 5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ 6. เพลงดอกไม้ของชาติ 7. เพลงหญิงไทยใจงาม 8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า 9. เพลงยอดชายใจหาญ และ10. เพลงบูชานักรบ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview) ครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) ที่เกี่ยวข้องกับรำวงมาตรฐาน วัจนลีลา วรรณศิลป์ และหลักภาษาศาสตร์ ผลการวิจัย 1. เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลง เป็นระดับภาษาแบบกึ่งทางการ โดยลักษณะเด่นทางภาษา พบว่า มีการใช้การโยกย้ายส่วนของประโยคเพื่อเน้นความหมายในทุกเพลง รองลงมาคือ มีการใช้สรรพนามบุรุษที่1,2 และคำลงท้าย และการละคำ โดยมีการใช้คำถามน้อยที่สุด 2. ภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐานในด้านทำเนียบภาษา พบว่าปรากฏทำเนียบภาษาคือศัพท์นาฏศิลป์ และศัพท์สังคีต จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย และเพลงดอกไม้ของชาติ และพบว่า ศัพท์นาฏศิลป์พบในเพลงรำวงมาตรฐานมากกว่าศัพท์สังคีต ได้แก่ งามแสงเดือน รำมาซิมารำ และดอกไม้ของชาติ โดยศัพท์นาฏศิลป์ที่พบมาก ได้แก่ คำว่า “ฟ้อน รำ ฟ้อนรำ ระบำ ร่ายรำ และนาฏศิลป์”สำหรับศัพท์สังคีต คือเพลงชาวไทย และเพลงคืนเดือนหงาย ได้แก่ คำว่า “ เล่น โบก พริ้ว ประและพรม” 3. การรับรู้และการเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าครูผู้สอนมีการรับรู้และเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


การเล่าเรื่องและสัญญะของความรักที่ผิดหวังในเนื้อเพลงไทยลูกทุ่งและไทยสตริง, ณัฐวัฒน์ พงศ์พัชราพันธุ์ Jan 2019

การเล่าเรื่องและสัญญะของความรักที่ผิดหวังในเนื้อเพลงไทยลูกทุ่งและไทยสตริง, ณัฐวัฒน์ พงศ์พัชราพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องและการใช้สัญญะที่ปรากฏในการเล่าเรื่องความรักที่ผิดหวังทั้งในเพลงไทยลูกทุ่งและเพลงไทยสตริงจากนั้นนำมาเปรียบเทียบว่าเพลงทั้งสองชนิดนี้มีการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Qualitative Content Analysis) มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 59 เพลง ทั้งหมดมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่ผิดหวัง โดยมาจากเพลงไทยลูกทุ่ง 29 ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับรางวัลจากเวทีมหานครอวอร์ด และเพลงไทยสตริง 30 เพลง ซึ่งมาจากการจัดอันดับเพลงที่ได้รับความนิยมของ Joox.com โดยผลการวิจัยพบว่า การเล่าเรื่องในเพลงไทยลูกทุ่งและเพลงไทยสตริงนั้นมีความเหมือนกัน คือ มักจะเป็นการเล่าถึงความขัดแย้งระหว่างบุคคลในท่อนเปิดเรื่อง และลำดับต่อมาจะเป็นการเล่าถึงความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของตัวละครในท่อนเนื้อเรื่องและท่อนไคลแมกซ์โดยเป็นการเล่าถึงการกระทำประเภทการกระทำเชิงรับ (Passive) มากกว่าการกระทำเชิงรุก (Active) และในท่อนยุติเรื่องราวมักจะเป็นการนำเนื้อเรื่องในท่อนอื่นที่มีการเล่าก่อนหน้านี้มาใช้ในการปิดท้ายโดยเฉพาะการนำเนื้อเรื่องบางส่วนจากท่อนไคลแมกซ์เพื่อนำมายุติเรื่องราว แต่มีความแตกต่างกันที่เนื้อหาและภาษาที่เล่า คือในเพลงไทยลูกทุ่งนั้นจะพบการเล่าถึง Setting อย่างการเล่าถึงสถานที่ซึ่งไม่พบในเพลงไทยสตริง และในเพลงไทยลูกทุ่งจะมีการใช้คำสรรพนามแทนตัวที่แสดงถึงความสนิทสนมและความอาวุโส อย่างคำว่า “พี่” “อ้าย” “น้อง” ในขณะที่ในเพลงไทยสตริงนั้นจะพบเพียงแค่การใช้คำว่า “ฉัน” และ “เธอ” อีกความแตกต่างที่พบคือในการเล่าถึงความเจ็บปวดในเพลงไทยลุกทุ่งมักพบว่ามีการเล่าโดยการกล่าวเกินจริง ในขณะที่ในเพลงไทยสตริงมักพบว่ามีการเปรียบเปรยที่แสดงในเห็นถึงมโนทัศน์ที่มองว่าความรักคือการเดินทาง


ผลของความน่าดึงดูดใจของนางแบบในโฆษณาและประเภทสินค้าบนอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ถิรดา ถิระพร Jan 2019

ผลของความน่าดึงดูดใจของนางแบบในโฆษณาและประเภทสินค้าบนอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ถิรดา ถิระพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ 3x2 แฟคเทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของประเภทความน่าดึงดูดใจของนางแบบในโฆษณา (ความสวยแบบน่ารัก ความสวยแบบเย้ายวน และความสวยแบบทันสมัย) และประเภทสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความน่าดึงดูดใจ (สินค้าที่ใช้เพื่อเสริมความงาม และสินค้าที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาความงาม) ที่ส่งผลต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ได้แก่ ทัศนคติต่อนางแบบโฆษณา ทัศนคติต่องานโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลกับนิสิตหญิงที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 180 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่า ประเภทความน่าดึงดูดใจของนางแบบในโฆษณาส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่อนางแบบโฆษณา ทัศนคติต่องานโฆษณา และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนประเภทสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความน่าดึงดูดใจนั้น ส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่อนางแบบโฆษณา ทัศนคติต่องานโฆษณา และทัศนคติต่อตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยิ่งไปกว่านั้น ประเภทความน่าดึงดูดใจของนางแบบในโฆษณาและประเภทสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความน่าดึงดูดใจ ยังส่งผลกระทบร่วมกันต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่อนางแบบโฆษณา และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย


รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน, นัทชนิดา วัชรินทร์ Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน, นัทชนิดา วัชรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุ 22 - 44 ปี จำนวน 1,140 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสาวยุคใหม่ ใช้ชีวิตมีสาระ 2) กลุ่มสาวเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ 3) กลุ่มสาวมั่น เฉียบ ตรงไปตรงมา 4) กลุ่มสาวติดโซเชียล 5) กลุ่มแม่ศรีเรือน ใช้ชีวิตเรียบง่าย และ 6) กลุ่มนางเอกเจ้าน้ำตา สำหรับพฤติกรรมในการเปิดรับสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานมีการเปิดรับสื่อดั้งเดิมในระดับที่ต่ำ ซึ่งสื่อดั้งเดิมที่ยังเปิดคงรับอยู่ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ และสื่อโฆษณากลางแจ้ง และมีการเปิดรับสื่อใหม่ในระดับที่สูง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ โปรแกรมสนทนาไลน์ โปรแกรมสืบค้นข้อมูล และการส่งข้อความทางเฟซบุ๊ก นอกจากนั้น รูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ยังส่งผลให้การเปิดรับสื่อแต่ละประเภท พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลก่อนการซื้อ ประเภทของสินค้าที่ซื้อ และเหตุผลในการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ในช่องทางต่างๆ มีความแตกต่างกันอีกด้วย


เส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของผู้ชมสตรีเจเนอเรชันวาย, พลัชนัน ธีระรังสฤษดิ์ Jan 2019

เส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของผู้ชมสตรีเจเนอเรชันวาย, พลัชนัน ธีระรังสฤษดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความต้องการชมละครโทรทัศน์ การเปิดรับข่าวสารการตลาด กระแสนิยม และเส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของผู้ชมสตรีเจเนอเรชันวาย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยศึกษาผู้ชมละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลเพศหญิงที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2524-2543 ผลการวิจัยพบว่าความต้องการชมละครโทรทัศน์ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ 1) ความต้องการเชิงจิตวิทยาที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในที่เกิดจากความปรารถนาในจิตใจของตัวเองหรือแรงกระตุ้นภายนอกจากการสื่อสารการตลาดของละครโทรทัศน์ และผู้ชมคนอื่น ๆ และ 2) ความต้องการด้านคุณลักษณะของละครโทรทัศน์ด้านแนวเรื่อง องค์ประกอบของละคร และดารานักแสดงนำ ด้านการเปิดรับข่าวสารการตลาด แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ 1) การเปิดรับข่าวสารการตลาดจากการสื่อสารการตลาดของละครโทรทัศน์ 2) การเปิดรับข่าวสารการตลาดจากการแสวงหาข้อมูลด้วยตัวเอง และ 3) การเปิดรับข่าวสารการตลาดจากผู้ชมคนอื่น ๆ ด้านกระแสนิยมสามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลาตามการรับรู้ของผู้ชม คือ 1) กระแสนิยมที่เกิดก่อนละครออกอากาศ และ 2) กระแสนิยมที่เกิดเมื่อละครออกอากาศไปแล้ว โดยเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ด้านเส้นทางการตัดสินใจรับชมละครโทรทัศน์ โดยเริ่มต้นจากการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับละคร และนำไปสู่ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้น รับชมช่วงหนึ่งของละครเพื่อประกอบการตัดสินใจ เกณฑ์ในการตัดสินใจ ค้นหาข้อมูล รับชมจริง ทำกิจกรรมระหว่างรับชม และทำกิจกรรมหลังการรับชม โดยที่ผู้ชมแต่ละคนอาจมีเส้นทางการรับชมละครแต่ละเรื่องแตกต่างกัน และอาจมีการข้ามหรือสลับบางขั้นตอนได้


การสร้างสรรค์เนื้อหาและกระบวนการผลิตของผลงานภายใต้Netflix Original ประเทศไทย, ภรภัทร รัตนกุสุมภ์ Jan 2019

การสร้างสรรค์เนื้อหาและกระบวนการผลิตของผลงานภายใต้Netflix Original ประเทศไทย, ภรภัทร รัตนกุสุมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการการสร้างสรรค์และผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand เรื่อง “เคว้ง” และศึกษาองค์ประกอบและกลวิธีในการเล่าเรื่องที่สามารถเป็นผลงานที่ผลิตภายใต้ Netflix Original Thailand ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าข้อมูลทางด้านเอกสาร การศึกษาเนื้อเรื่อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand จากผลการวิจัยพบว่ากระบวนการบริหารจัดการการสร้างสรรค์และผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand มีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศของทีมงานฝั่งอเมริกาและไทยที่มีวัฒนธรรมต่างกัน และการสร้างสรรค์เนื้อหาจาก “Writer Room” เพื่อเขียนบทและวางแผนงานทั้งหมดก่อนถ่ายทำ ในการถ่ายทำผลงานโดยใช้ระบบ “กองถ่ายทำนอก” เป็นระบบสากลให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตทีมงาน อีกทั้งการรายงานผลและบันทึกข้อมูลลงบนดาต้าเบส มีความเป็นระบบและรักษาความปลอดภัยสูง ตลอดจนมีทีมงานตัดต่อและการทำคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) ทั่วโลก และการสร้างสรรค์เนื้อหาที่เป็น “Local Content” สู่กลุ่มผู้รับชมในระดับ “Global” เพื่อให้เรื่องราวเฉพาะพื้นที่สามารถถ่ายทอดสู่ผู้รับชมทั่วโลกได้ ส่วนการศึกษาองค์ประกอบและกลวิธีในการเล่าเรื่องที่สามารถเป็นผลงานที่ผลิตภายใต้ Netflix Original Thailand พบว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ตอบสนองต่อกลุ่มผู้ชม “Young Adult” นำเสนอถึงสภาพสังคมของคนในแต่ละภูมิภาคที่สร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อบันเทิงแต่ละเรื่องได้อย่างชัดเจน มีการลงเนื้อหาของในทุกตอนแบบรวดเดียว และความยาวของแต่ละที่เป็นเวลาที่เหมาะสม อีกทั้งการถ่ายทำภาพที่สวยงาม และภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) ที่มีความสมจริงและละเอียด ทำให้ผู้รับชมมีความรู้สึกร่วมในการรับชมมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์เนื้อหาและกระบวนการผลิตผลงานภายใต้ Netflix Original Thailand มีการจัดการอย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เนื้อหาท้องถิ่น สะท้อนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมของคนในแต่ละภูมิภาคโดยถ่ายทอดผ่านการสอดแทรกกับเนื้อหาที่เป็นสากล ทำให้ผู้รับชมสามารถรับรู้และเข้าใจกับเนื้อหาในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเนื้อหาท้องถิ่นซึ่งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ในมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อผู้รับชมทั่วโลกมากขึ้น


การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค, สราวุธ บูรพาพัธ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค, สราวุธ บูรพาพัธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค 2) ความแตกต่างทางลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอต 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการยอมรับฯ และ 4) ปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ระหว่างปัจจัยการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติ สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรและผู้บริโภค มีการเปิดรับความข่าวสารในระดับต่ำมาก มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวระดับปานกลาง มีทัศนคติเป็นกลาง และพฤติกรรมการยอมรับฯตั้งใจที่จะทำ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับฯ แตกต่างกัน 3) การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติแต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับฯ ความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการยอมรับฯ เช่นเดียวกับ ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับฯ รวมทั้ง การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและมีอิทธิพลร้อยละ 29.20 ต่อพฤติกรรมการยอมรับฯ 4) ปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ดีที่สุด คือ ทัศนคติ


การสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง, ชัยวิชิต พงษ์พากเพียร Jan 2019

การสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง, ชัยวิชิต พงษ์พากเพียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "การสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง" มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ ที่ให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้รับสาร และ เพื่อสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ ที่ให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง ผลการวิจัยพบว่า หลักในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ เป็นการสร้างสรรค์สื่อที่ผสมผสานทั้งสาระความรู้และความบันเทิงเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ สาระความรู้ที่เลือกมานำเสนอต้องมีความชัดเจน และมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ นำเสนออย่างเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสมดุลในเนื้อหาสาระและความบันเทิง ในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์ ต้องให้ความสำคัญทั้งขั้นก่อนการผลิต คือ การเตรียมเนื้อหา ขั้นกระบวนการผลิต รวมทั้งขั้นหลังกระบวนการผลิต และการเผยแพร่ ประเด็นการให้ความรู้ด้านการสื่อสารผ่านหลักปฏิบัติด้านสื่อสารการแสดง เป็นประเด็นเนื้อหาสาระที่เลือกนำมาศึกษา ทั้งนี้ในการสร้างสรรค์สื่อสาระบันเทิงออนไลน์สามารถนำเอาองค์ความรู้ในด้านอื่น ๆ มาปรับใช้ในการสร้างสรรค์ได้ เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อสาระบันเทิงออนไลน์สามารถนำไปเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียนได้


กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ, สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์ Jan 2019

กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ, สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษากระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์การศึกษา ประการแรก เพื่ออธิบายกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ ประการที่สอง เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยแนวทางปรากฏการณ์วิทยา มีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และ คัดเลือกจากการสังเกตการณ์ออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มแรก ผู้สูงอายุที่มีอายุเทียบเท่าตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เคยมีประสบการณ์การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และมีแสดงออกถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม รวมกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ศึกษา 12 คน กลุ่มที่สอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร จำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 8 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเป็นกระบวนการที่มีการตรวจสอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเรียงลำดับจาก 1) การตรวจสอบด้วยแหล่งข้อมูลในตัวผู้สูงอายุ (Internal source) และเมื่อผู้สูงอายุยังคงไม่แน่ใจความถูกต้อง จะนำไปสู่กระบวนการ 2) การตรวจสอบด้วยแหล่งข้อมูลภายนอกผู้สูงอายุ (External source) นอกจากนั้น หลังจากกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยพบว่ามีกระบวนการหลังการตรวจสอบ คือ การหักล้างข้อมูลเท็จ (Debunking) และผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุโดยพบ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุ ได้แก่ ประเด็นความสะดวก การประกอบอาชีพในอดีต ปัญหาด้านสุขภาพ และความรู้จากการอมรมสัมมนาและสถาบันที่มีความรู้ ส่วนแนวทางในการเสริมสร้างความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ พบว่า มีแนวทางในการพัฒนา คือ ในเชิงการใช้สื่อบุคคลส่งเสริมผู้สูงอายุพบว่า ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลที่มีความใกล้ชิด เป็นสื่อบุคคลที่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุได้มีประสิทธิภาพ ในเชิงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอบรม การสร้างห้องเรียนฝึกทักษะ โดยการมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะทำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนทัศนคติและนำข้อมูลไปใช้ในการตรวจสอบได้ ในเชิงการส่งเสริมภาพลักษณะของผู้สูงอายุ โดยเสนอว่า การตอกย้ำภาพผู้สูงอายุในฐานะผู้ทำผิด เป็นตัวปัญหา ไม่ใช่วิธีที่ดีในการส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ และสุดท้ายคือในเชิงการดูแลและปรับปรุงเนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ให้เหมาะสม ด้วยการสร้างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือชุดอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ มากกว่าการให้ผู้สูงอายุเปิดรับข่าวสารจากการส่งต่อกันมา เป็นต้น


อนุภาค แบบเรื่องและการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส”, พัชรี จันทร์ทอง Jan 2019

อนุภาค แบบเรื่องและการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส”, พัชรี จันทร์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนุภาค แบบเรื่อง ตลอดจนกลวิธีการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส” ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท โดยสร้างแบบวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายและละครโทรทัศน์ เรื่อง ทวิภพ และ บุพเพสันนิวาส พร้อมทั้งเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ประพันธ์นวนิยาย ผู้ประพันธ์บทละคร และผู้กำกับการแสดงจากละครทั้งสองเรื่อง ก่อนนำข้อมูลมาตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง ทวิภพ และบุพเพสันนิวาส ประกอบด้วยอนุภาคจำนวน 3 กลุ่ม คือ อนุภาคที่สอดคล้องกับอนุภาคสากล อนุภาคที่คล้ายกับอนุภาคสากล และอนุภาคที่ไม่สอดคล้องกับอนุภาคสากล หรือ อนุภาคแบบไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมไทย 2) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง ทวิภพ และ บุพเพสันนิวาส มีกลวิธีการเล่าเรื่องแบบโครงเรื่องเชิงเส้น (linear plot) ที่เล่าเรื่องแบบสลับเหตุการณ์อดีตกับปัจจุบัน โดยมุ่งนำเสนอเรื่องราวในอดีตเป็นสำคัญ ซึ่งจากการศึกษาแบบเรื่องพบว่ารูปแบบของละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพจะประกอบด้วยองค์ประกอบตามลำดับดังนี้ การเดินทางย้อนเวลา การปรับตัวเพื่อดำรงอยู่ ภารกิจที่ต้องทำในอดีต เหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื้อคู่อยู่ในอดีต ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสังคม การยอมรับจากผู้นำในสังคมอดีต และการตัดสินใจของตัวละครหลัก 3) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เป็นละครที่เล่าเรื่องเหตุการณ์จากจินตนาการเชื่อมโยงไปกับลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ โดยสร้างเหตุการณ์บางอย่างให้ตัวละครหลัก จำเป็นต้องเดินทางย้อนเวลาไปในอดีต ดังนั้นเมื่อนำนวนิยายประเภทดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ คณะผู้ผลิตละครจึงต้องศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์โดยละเอียดเพื่อนำมาประกอบใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ละคร และเนื่องจากขนาดความยาวของเรื่องเล่าในนวนิยายมักมีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการเล่าเรื่องเป็นละคร ดังนั้นกลวิธีการดัดแปลงนวนิยายสู่ละครโทรทัศน์จึงประกอบด้วย การขยายองค์ประกอบด้านโครงเรื่อง การขยายองค์ประกอบด้านตัวละคร และการดัดแปลงด้านภาษาหรือบทสนทนา


การเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี“กนมีนัม” (Flower Boy) เป็นผู้นำเสนอ, เวธกา พฤษศิริสมบัติ Jan 2019

การเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี“กนมีนัม” (Flower Boy) เป็นผู้นำเสนอ, เวธกา พฤษศิริสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารมี วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์รูปแบบของโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็น ผู้นำเสนอสินค้าที่เผยแพร่บนอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กของตราสินค้า และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธี การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้า ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่มีอายุ 23-39 ปีและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า โฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าจำแนกได้เป็น 26 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านดาราและผู้รับรองสินค้า (Star Appeals and Testimonials) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบจินตภาพ (Imagery) อันดับที่ 2) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านดาราและผู้รับรองสินค้า (Star Appeals and Testimonials) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบการใช้บุคคลอ้างอิงหรือผู้นำเสนอสินค้า (Testimonial/Presenter) อันดับที่ 3) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านคุณภาพ (Quality Appeals) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบการใช้บุคคลอ้างอิงหรือผู้นำเสนอสินค้า (Testimonial/Presenter) และผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า ผู้บริโภคมีระดับการเปิดรับโฆษณาสูง มีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาและมีการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับโฆษณาเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อโฆษณาของผู้บริโภค กล่าวคือ หากผู้บริโภคมีการเปิดรับโฆษณาสูงจะมีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาด้วย และทัศนคติต่อโฆษณามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ โดยหากผู้บริโภคมีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าจะมีแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าสูงตามไปด้วย


Vietnamese Consumers’ Attitude Toward H&M Brand, Visual Merchandising And Their Purchasing Behavior, Ha My Phan Thi Jan 2019

Vietnamese Consumers’ Attitude Toward H&M Brand, Visual Merchandising And Their Purchasing Behavior, Ha My Phan Thi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research wants to investigate Vietnamese consumers’ attitude toward H&M brand, visual merchandising and their purchasing behavior since visual merchandising in fast fashion has been considered to be one of the most strategic marketing tools among others. Quantitative research method was employed by distributing online questionnaire to collect data from Vietnamese consumers living in Ho Chi Minh city. Two hundred and two survey participants were 18 years old or older, visited H&M stores in the past 6 months, and bought H&M products over the past 12 months. The results showed that there were positive relationships between attitude toward H&M visual …


การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร Jan 2019

การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกเปิดรับ ความผูกพันและการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ฟังรายการ R U OK บนยูทูบ วัยทำงาน อายุ 23 – 45 ปี ฟังรายการ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกเปิดรับอยู่ในระดับต่ำ มีความถี่ในการรับฟังรายการ 1 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาการรับฟังรายการแต่ละครั้ง 21 – 30 นาที โดยมีลักษณะในการรับฟังรายการแบบรับฟังตั้งแต่ต้นตอน จนจบเป็นบางครั้ง ด้านความผูกพันพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยเป็นการใช้ประโยชน์ด้านข่าวสาร ด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความบันเทิง และด้านการตัดสินใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความถี่ในการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันโดยรวมต่อรายการของผู้ฟังวัยทำงาน ในขณะที่ ความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำมากและมีทิศทางแบบแปรตามกัน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่า ความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ขณะที่ด้านข่าวสารและด้านความบันเทิงพบว่าไม่มีความสัมพันธ์


คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์ Jan 2019

คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก และ 2) อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25 – 34 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กดติดตามเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone และภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาได้เข้าไปติดตามข้อมูลจากทั้ง 2 เพจ จำนวน 441 คน โดยผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของเพจ ZuvapitSnap คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาที่ผู้นำทางความคิดนำเสนอ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้ติดตามมากที่สุด ขณะที่คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อผู้นำทางความคิด และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนเฟซบุ๊กของผู้ติดตามมากที่สุด สำหรับเพจ I Roam Alone คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตามมากที่สุด


คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีนความผูกพันต่อเนื้อหา และความตั้งใจซื้อของสตรีวัยเริ่มต้นทำงาน, ปวีณา ชิ้นศุภร Jan 2019

คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีนความผูกพันต่อเนื้อหา และความตั้งใจซื้อของสตรีวัยเริ่มต้นทำงาน, ปวีณา ชิ้นศุภร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีน และอธิบายความสัมพันธ์ของการรับรู้คุณลักษณะและความตั้งใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจ้าของอินสตาแกรมอาหารคลีน เจ้าของธุรกิจอาหารคลีน และนักการตลาด จำนวน 8 คน การวิเคราะห์เนื้อหาอินสตาแกรมกลุ่มสินค้าคลีนจำนวน 5 เพจ และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีน เป็นผู้บริโภคในระดับสังคมเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับผู้บริโภคทั่วไป มีความสนใจและสื่อสารเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ มีผู้จำนวนติดตามอยู่ระหว่าง 5,000 – 50,000 คน โดยมีคุณลักษณะสำคัญ อาทิ แสดงออกถึงความสนใจในเรื่องสุขภาพหรือสินค้าคลีน มีบุคลิกภาพหรือไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพหรือสินค้าคลีน นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าคลีน อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ใช้ภาษาสื่อสารกับผู้ติดตามอย่างเป็นกันเองในการนำเสนอเนื้อหาหรือตอบคอมเม้น เป็นผู้บริโภคสินค้าคลีนหรือมีประสบการณ์ตรงกับสินค้า สำหรับรูปแบบเนื้อหาที่โพสต์บนอินสตาแกรมมากที่สุดคือ รูปภาพเดี่ยว และสาระเนื้อหาที่พบมากที่สุดคือ การบอกเล่าประสบการณ์การบริโภคสินค้า (Review) โดยมักจะแทรกเนื้อหาเชิงการตลาด (Tied-in) ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการติดตามบัญชีผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดที่จำนวน 5-10 บัญชี และอ่านโพสต์ในลักษณะดูเฉพาะรูปภาพมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาค ด้านการแสดงออกถึงความสนใจในเรื่องสุขภาพหรือสินค้าคลีนมากที่สุด มีความผูกพันต่อเนื้อหามากที่สุดคือการกดไลค์โพสต์ ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า การรับรู้คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความผูกพันต่อเนื้อหา และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2c), ไวยกรณ์ จริตไวทย์ Jan 2019

ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2c), ไวยกรณ์ จริตไวทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) โดยมีปัจจัยที่ใช้ศึกษา 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ทัศนคติต่อการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการ (IMC) 2. ความพึงพอใจต่อบริการหลังการขาย และ 3. การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 25-49 ปี เป็นผู้เคยซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ขายรายย่อยผ่านผู้ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อบริการหลังการขายมากที่สุด โดยพึงพอใจมากต่อเงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า สมการพยากรณ์ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่ดีที่สุด คือ “ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค = 3.402 + (0.145)บริการหลังการขาย” โดยสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 02 ทั้งนี้ ที่บริการหลังการขายสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อ อาจเป็นไปได้ว่า เงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ และนำไปสู่ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคได้


Loyalty Of Taylor Swift's Fans And Their Uses Of Social Media During Crisis Regarding Music Ownership Controversy, Nidawan Asavataweechok Jan 2019

Loyalty Of Taylor Swift's Fans And Their Uses Of Social Media During Crisis Regarding Music Ownership Controversy, Nidawan Asavataweechok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study fans loyalty, fans’ perception on crisis management of Taylor Swift, and their uses of social media and to explore the relationship among these three variables. Two hundred and twenty-three respondents who are Taylor Swift’s fans, aged between 18 and 35 years old were asked to complete an online questionnaire survey. The results depicted that the respondents had a positive opinion about fans loyalty (M = 4.39). Moreover, the respondents had a positive perception on crisis management of Taylor Swift (M = 4.53) and use social media in a positive way (M = …


ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย, คณัสวรรณ อัศวจงรัก Jan 2019

ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย, คณัสวรรณ อัศวจงรัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย และ 2) อิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับเด็กช่วงก่อนวัยเรียนต่อความตั้งใจซื้อของแม่เจเนอเรชันวาย โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแม่เจเนอเรชันวายในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 26-43 ปี และมีบุตรช่วงก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี จำนวน 613 ชุด ผ่านช่องทางออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (บุคลิกภาพ และการหาข้อมูล) ปัจจัยทางจิตวิทยา (แรงจูงใจ และทัศนคติต่อการซื้อ) ปัจจัยทางสังคม (อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และอิทธิพลของการบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และปัจจัยทางวัฒนธรรม (ความเป็นคติรวมหมู่) ล้วนมีความสำคัญต่อการซื้อสินค้ารถเข็นเด็ก (สินค้าประเภทเน้นประโยชน์ใช้สอย) และเสื้อผ้าเด็ก (สินค้าประเภทเน้นความเพลิดเพลินทางอารมณ์) นอกจากนั้น ผลการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อทั้ง 4 ปัจจัยต่อความตั้งใจซื้อสินค้า พบว่า บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีอิทธิพลเชิงลบต่อการซื้อสินค้าทั้งสองประเภท ในขณะที่การหาข้อมูล ทัศนคติต่อการซื้อ และอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงด้านค่านิยมในการแสดงออก มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าทั้งสองประเภท


รูปแบบการดำเนินชีวิต และการเปิดรับข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ, ดวงหทัย สว่างภพ Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต และการเปิดรับข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ, ดวงหทัย สว่างภพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จัดกลุ่มและอธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ การเงินและที่อยู่อาศัยของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง อายุ 45-59 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 410 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ สามารถแบ่งได้เป็น 9 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มดูดีมีระดับ 2. กลุ่มวางแผนชีวิตพิชิตเป้าหมาย 3. กลุ่มจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือสังคม 4. กลุ่มกล้าคิดกล้าตัดสินใจ 5. กลุ่มทันยุคทันสมัย 6. กลุ่มสาวแกร่ง 7. กลุ่มเติบโตอย่างมั่นคง 8. กลุ่มสบาย ๆ ใส่ใจตัวเอง 9. กลุ่มอนุรักษ์นิยม การเปิดรับข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ พบว่า ผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลิตภัณฑ์ด้านที่อยู่อาศัยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ และการเงินผ่านสื่อใหม่อยู่ในระดับมาก ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านที่อยู่อาศัยมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่อยู่ในระดับปานกลาง


ข่าวปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562, วิศรุต วงษ์น้อม Jan 2019

ข่าวปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562, วิศรุต วงษ์น้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะที่โดดเด่นของข่าวสารปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 (2) ปัจจัยที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง และ (3) กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) คือ การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสารที่น่าสงสัยว่าจะเป็นข่าวปลอมทางการเมืองที่ปรากฏบนเพจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มจำนวน 12 เพจ ได้แก่ (1) กลุ่มเพจที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและพรรคพลังประชารัฐ (Pro-military) และ (2) กลุ่มเพจที่สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและพรรคอนาคตใหม่ (Pro-democracy) และใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) คือ การสัมภาษณ์ผู้ติดตามเพจทั้ง 27 คน ผลการศึกษาลักษณะที่โดดเด่นของข่าวสารปลอมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ข่าวปลอมทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้งเป็นข่าวสารปลอมที่ถูกจัดว่าเป็นการโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมืองและมีวิธีการนำเสนอที่ทำให้ผู้ติดตามเพจทางการเมืองเข้าใจผิด (Misleading) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผ่านกรณีศึกษาทั้งสองคือ (1) กรณีของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาและพรรคพลังประชารัฐ นั้นที่เกี่ยวข้องกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นข่าวสารปลอมทางการเมืองด้วยการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกนโยบายสาธารณะโดยข่าวปลอมดังกล่าวถูกจัดประเภทเป็นคลิกเบท (Click Bait) ที่มีรูปแบบการนำเสนอคล้ายกับสำนักข่าวกระแสหลัก (Imposter) และมีเนื้อหาที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยสมบูรณ์ (Fabrication) (2) กรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ จะเป็นข่าวสารทางการเมืองที่เป็นทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) และที่ผูกโยงเรื่องราวทางการเมืองเช่น the storyline to major political events such as changes in political regime, mass political conflicts, and interference attempt in the election by the US government ที่มาจาการผู้เขียนบทความที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง (fictitious personas) ทั้งนี้ การสัมภาษณ์เชิงลึกชี้ให้เห็นสถานการณ์และแรงจูงใจที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แก่ (1) การแบ่งขั้วทางการเมือง (Political Polarization) (2) การเปิดรับและติดตามเพจทางการเมือง (3) ความสะดวกในการตรวจสอบบนแพลตฟอร์มออนไลน์ …


การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง, หนึ่งฤทัย โฉมมณี Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง, หนึ่งฤทัย โฉมมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และอธิบายอิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับธนาคารรัฐวิสาหกิจในระดับเปิดรับเป็นบางครั้ง ทั้งนี้สื่อที่เปิดรับบ่อย ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของธนาคาร จอภาพเครื่องกดเงินเอทีเอ็ม ป้ายโฆษณาหน้าสาขา จอภาพเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ โฆษณาทางโทรทัศน์ และ ข่าวในโทรทัศน์ ภาพลักษณ์ของธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังโดยรวมเป็นภาพลักษณ์เชิงบวก และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังหรือการใช้บริการซ้ำในระดับสูง และตัดสินใจแนะนำต่ออยู่ในระดับสูงเช่นกัน ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า 1) การเปิดรับข่าวสารธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน 2) ภาพลักษณ์ธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการ และการแนะนำต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน 3) ภาพลักษณ์ธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังด้านองค์กร (β = 0.307) และ ภาพลักษณ์ด้านสินค้าและบริการ (β = 0.185) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาพลักษณ์ธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังด้านองค์กร (β = 0.396) และภาพลักษณ์ด้านสินค้าและบริการ (β = 0.279) มีอิทธิพลต่อการแนะนำต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย, สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ Jan 2019

ความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย, สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “ความทรงจำร่วมในบทละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย” เป็นการศึกษาเนื้อหาความทรงจำร่วมและกลวิธีการนำเสนอความทรงจำร่วมในละครอิงประวัติศาสตร์ของไทย ตลอดจนการรับรู้ความทรงจำร่วมของผู้ชมละครโทรทัศน์ ภายใต้กรอบแนวคิดความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทยจำนวน 22 เรื่อง 31 เวอร์ชัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ด้านต่าง ๆ ตลอดจนผู้ชมที่ชื่นชอบละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 31 คน จากการศึกษาพบว่าละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทยมีการนำสนอเนื้อหาความทรงจำร่วมด้วยการผลิตซ้ำ ต่อรอง ลบเลือน สร้างหรือรื้อฟื้นความทรงจำอยู่เสมอแบ่งได้ 7 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคประกาศอิสรภาพ ยุคทองของกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงแตก ยุคสร้างบ้านแปงเมือง ยุคสยามยามเปลี่ยนผ่าน ยุคอภิวัฒน์สยามถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา และยุคเรียกร้องประชาธิปไตย มีกลวิธีการเล่าเรื่อง 5 แนว ได้แก่ แนวยอพระเกียรติ แนวบ้านเมืองร่มเย็น แนวเสียเลือดเสียเนื้อ แนวอุดมการณ์เหนือความรัก และแนวข้ามภพข้ามชาติ อีกทั้งใช้การประกอบสร้างและการสื่อความหมายผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ขั้นตอนต่าง ๆ โดยมากมักแฝงด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมหรือราชาชาตินิยมและใช้มุมมองแบบเมืองหลวงเป็นศูนย์กลาง ความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทยนิยมผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ในสถานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ และปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขร่มเย็นภายใต้กรอบประวัติศาสตร์แห่งชาติหรือเรื่องเล่าแม่บท ตลอดจนมโนทัศน์หลักและคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐให้ทำหน้าที่ตอกย้ำอุดมการณ์ว่าด้วยลัทธิความภักดีและค้ำจุนอำนาจของชนชั้นนำในสังคม