Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry

2019

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 82

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

การเตรียมพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตผ่านราฟต์อิมัลชันพอลิเมอไรเซชันและไฮบริดเมมเบรนสำหรับเพอร์แวพอเรชัน, เกื้อชนม์ ศรีสัมฤทธิ์ Jan 2019

การเตรียมพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตผ่านราฟต์อิมัลชันพอลิเมอไรเซชันและไฮบริดเมมเบรนสำหรับเพอร์แวพอเรชัน, เกื้อชนม์ ศรีสัมฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตอิมัลชันถูกสังเคราะห์ผ่านราฟต์อิมัลชันพอลิเมอไรเซชันควบคู่กับเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลไมโครอิมัลชันพอลิเมอไรเซชัน งานวิจัยนี้ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารมาโคร-ราฟต์ และปริมาณอนุภาคซิลิกา ต่อร้อยละการเปลี่ยนมอนอเมอร์ ขนาดอนุภาคเฉลี่ย และประสิทธิภาพการห่อหุ้มซิลิกา พบว่า พีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกา นาโนคอมพอสิตมีค่าร้อยละการเปลี่ยนมอนอเมอร์ที่สูง ขนาดอนุภาคเฉลี่ยมีค่า 57.6 นาโนเมตร ที่ภาวะการเติมอนุภาคซิลิการ้อยละ 10 โดยน้ำหนักของมอนอเมอร์ ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน แสดงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตแสดง โครงสร้างอนุภาคแกน-เปลือกระดับนาโน จากนั้นเตรียมยางธรรมชาติ/พีเอ็มเอ็มเอ- ซิลิกาไฮบริดเมมเบรนด้วยวิธีผสมโดยตรง ผลที่ได้แสดงให้เห็นความสามารถ ในการพัฒนาสมบัติเชิงกลและสมบัติเชิงความร้อนของพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกา นาโนคอมพอสิตในไฮบริดเมมเบรน และมากไปกว่านั้นการประยุกต์ใช้ไฮบริด เมมเบรนในกระบวนการเพอร์แวพอเรชัน อนุภาคพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิต สามารถเพิ่มค่าการซึมผ่านของน้ำและประสิทธิภาพการแยกใน ยางธรรมชาติ/พีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกาไฮบริดเมมเบรน โดยการปรับปรุงพื้นผิวของเมมเบรน ยางธรรมชาติให้มีค่าสมบัติชอบน้ำสูงขึ้น ดังนั้นพีเอ็มเอ็มเอ-ซิลิกานาโนคอมพอสิตมี ศักยภาพที่จะนำไปใช้เป็นสารตัวเติมประสิทธิภาพสูงสำหรับเทคโนโลยีการแยกสาร


ผลของชาร์จากชีวมวลต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, กัปตัน สมบูรณชนะชัย Jan 2019

ผลของชาร์จากชีวมวลต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, กัปตัน สมบูรณชนะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก พลังงานจากชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่จะช่วยลดปัญหาข้างต้นกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการแปลงสภาพชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่น่าสนใจ กระบวนการนี้ให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพที่สูงกว่ากระบวนการไพโรไลซิส การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดิบชีวภาพและผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการนำชาร์จากชีวมวลมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การทดลองดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบกะที่อุณหภูมิ 300-350 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที จากผลทดลองพบว่าเมื่อใช้ชาร์ชานอ้อย และ ถ่านกัมมันต์ ให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากชาร์ชานอ้อย และ ถ่านกัมมันต์ มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล และจากผลของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 300 และ 350 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลได้น้ำมันดิบชีวภาพจะลดลงและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สเพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันดิบชีวภาพด้วยเทคนิค GC / MS พบว่าองค์ประกอบของคีโตนเพิ่มขึ้น ในขณะที่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนลดลง แสดงให้เห็นว่า ชาร์ช่วยส่งเสริมปฏิกิริยาการสลายตัวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของการเติมโพแทสเซียมบนชาร์ชานอ้อย ชาร์กะลามะพร้าว และ ถ่านกัมมันต์ พบว่าโพแทสเซียมบนชาร์ทุกชนิดส่งผลให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มสูงขึ้น


การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาและการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด, ชาติยา ตรีพูนสุข Jan 2019

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาและการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด, ชาติยา ตรีพูนสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง เนื่องจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศสูงขึ้น โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเทคโนโลยีการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จึงมีความสำคัญในการลดปริมาณการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการใช้ตัวดูดซับของแข็งในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสม ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของตัวแปรดำเนินการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งโพแทสเซียมคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมและสร้างจลนพลศาสตร์ของการฟื้นฟูสภาพ โดยตัวแปรดำเนินการที่ทำการศึกษาได้แก่ ขนาดอนุภาค 90 109 และ 124 ไมโครเมตร อุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพ 100 200 และ 300 องศาเซลเซียส และความดันเริ่มต้นที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพ 0.35 0.61 และ 0.88 บาร์ ผลที่ได้พบว่า ขนาดอนุภาคไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งในภาวะดำเนินการที่อุณหภูมิการฟื้นฟูสภาพสูงและความดันเริ่มต้นในการฟื้นฟูสภาพต่ำ อุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพมีผลเชิงบวกต่อการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็ง เมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพเพิ่มขึ้น ความสามารถในการฟื้นฟูสภาพของตัวดูดซับสูงขึ้น ส่วนความดันเริ่มต้นที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพมีผลเชิงลบต่อการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็ง นั่นคือเมื่อความดันเริ่มต้นที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพมีต่ำ ความสามารถในการฟื้นฟูสภาพของตัวดูดซับสูงขึ้น ดังนั้น ภาวะที่เหมาะสมในการฟื้นฟูสภาพสำหรับตัวดูดซับของแข็งชนิดนี้ อุณหภูมิที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพเท่ากับ 300 องศาเซลเซียส และความดันเริ่มต้นเท่ากับ 0.35 บาร์ แบบจำลองปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับใช้อธิบายจลนพลศาสตร์ของการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับของแข็งคือแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม


การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Nicos สำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ประจุไฟฟ้าได้, ณัฐสิทธิ์ ตั้งเอี่ยมสกุล Jan 2019

การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Nicos สำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ประจุไฟฟ้าได้, ณัฐสิทธิ์ ตั้งเอี่ยมสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสังเคราะห์นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์ (NiCoS) บนตัวรองรับคาร์บอนที่สังเคราะห์ด้วยวิธี ไฮโดรเทอร์มอลและโซลโวเทอร์มอล เพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสองหน้าที่สำหรับปฏิกิริยาออกซิเจน รีดักชัน (oxygen reduction, ORR) และออกซิเจนอีโวลูชัน (oxygen evolution, OER) เพื่อใช้ งานกับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศขั้นทุติยภูมิ จากการทดลองพบว่าการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) โดยใช้ตัวทำละลายเป็นเอทิลีนไกลคอลมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนรีดัชันและออกซิเจนอีโวลูชันได้ดีกว่าสังเคราะห์ ด้วยตัวทำละลายน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของตัวรองรับคาร์บอน (CB) ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล โคบอลต์ซัลไฟด์ที่มีตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) ให้ประสิทธิภาพดีกว่าที่ไม่มีตัวรองรับ คาร์บอน และยังสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วน นิกเกิล/โคบอลต์ อื่น ๆ พบว่า นิกเกิล โคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงที่สุด ยัง สูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโคบอลต์ออกไซด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂O₄/CB) ที่นิยมใช้งาน ในปัจจุบัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) แม้ว่านิกเกิลโคบอตล์ซัลไฟต์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) จะยังมีความสามารถใน การเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชันด้อยกว่า แต่สำหรับปฏิกิริยาออกซิเจนอีโวลูชัน นิกเกิลโคบอตล์ซัลไฟต์บนตัวรองรับคาร์บอนมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงกว่าแพลทินัมบนตัวรองรับ คาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) มาก ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ พบว่าแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ ที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) ให้ศักย์ไฟฟ้าและความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) แต่เสถียรภาพและการนำกลับมาใช้ งานซ้ำ มีจำนวนรอบที่ต่ำกว่า


การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล Jan 2019

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากวัตุดิบต่างชนิดกัน สามารถจำแนกได้สองประเภทคือไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส ซึ่งไบโอชาร์ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ กะลาปาล์ม (องค์ประกอบลิกนินสูง) และไม้ไผ่ (องค์ประกอบเซลลูโลสสูง) ที่ผ่านกระบวนการเผาเป็นถ่านชาร์แล้ว โดยตัวแปรที่ทำการศึกษาสำหรับการกระตุ้นไบโอชาร์ที่ส่งผลต่อสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ได้ คือ อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้นในช่วง 800 – 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 1 – 4 ชั่วโมง ภายใต้ไอน้ำร้อนยิ่งยวด ในส่วนของถ่านหินซับบิทูมินัสใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารกระตุ้น โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินที่ 0.2:1 0.4:1 และ 0.6:1 ที่อุณหภูมิในการกระตุ้นต่างกันในช่วง 650 – 850 องศาเซลเซียส เวลา 1 – 4 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นถ่านกะลาปาล์ม ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 441.02 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 1000 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 4 ชั่วโมง ในขณะที่การกระตุ้นจากถ่านไม้ไผ่ ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 712 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 2 ชั่วโมง ในส่วนการกระตุ้นถ่านหินซับบิทูมินัสที่อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส 0.6:1 อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 850 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 3 ชั่วโมง ได้พื้นที่ผิวสูงสุดอยู่ที่ 1,107.39 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งพบว่าอุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น เวลาที่ใช้กระตุ้นในส่วนของไบโอชาร์ และอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างรูพรุนของถ่านกัมมันต์ นอกจากนี้ยังพบว่าวัตถุดิบต่างชนิดกันส่งผลให้ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีสมบัติต่างกัน


การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานจากน้ำมันปาล์มผ่านไฮโดรดีออกซิจิเนชันและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน, พชร ฉินทกานันท์ Jan 2019

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานจากน้ำมันปาล์มผ่านไฮโดรดีออกซิจิเนชันและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน, พชร ฉินทกานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากความต้องการใช้น้ำมันอากาศยานที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงฟอสซิล นานาประเทศจึงได้มีความพยายามที่จะผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล อย่างไรก็ตามน้ำมันชีวภาพอากาศยานซึ่งผลิตด้วยน้ำมันปาล์มหรือไขมันสัตว์มักจะมีสมบัติด้อยในด้านการไหลที่อุณหภูมิต่ำ เนื่องจากมีจุดเยือกแข็งสูง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพอากาศยานจาก น้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานซีโอไลต์ โดยต้องการให้น้ำมันชีวภาพที่ผลิตได้มีสัดส่วนของสารประกอบไอโซอัลเคน (isoalkanes) ในปริมาณมากเพื่อลดจุดเยือกแข็งของน้ำมันด้วยไฮโดรไฮเซอเมอไรเซชัน (hydroisomerization, HI) ของนอร์มัลอัลเคน ควบคู่ไปกับไฮโดรดีออกซิจิเนชัน (hydrodeoxygenation, HDO) และไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation, HG) เพื่อกำจัดสารประกอบ ที่มีออกซิเจนและพันธะคู่ ในงานวิจัยนี้ ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีนิกเกิล (Ni) ปริมาณ 10% โดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาบนตัว รองรับซีโอไลต์ทั้งหมดสี่ชนิด (NH₄-Beta, H-Beta, ZSM-5 และ Y) ต่อประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาได้ถูกทดสอบ ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลฐานซีโอไลต์ถูกเตรียมด้วยวิธีการฝังตัวแบบเอิบชุ่มพอดี (incipient-wetness impregnation) และในงานวิจัยนี้ยังได้ศึกษา การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบโลหะคู่ Pt-Ni ซึ่งมีสัดส่วนโดยมวลของ Pt/(Pt+Ni) ตั้งแต่ 0.05-0.15 และปริมาณโลหะสุทธิของตัวเร่ง ปฏิกิริยาถูกควบคุมที่ 10% โดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยาจะถูกทดสอบกัมมันตภาพในกระบวนการผลิตน้ำมัน ชีวภาพอากาศยานในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะ ผลของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ (300-380 องศาเซลเซียส), ความดัน แก๊สไฮโดรเจน (H₂) เริ่มต้น (25-40 บาร์), เวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา (2-8 ชั่วโมง) และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา (2.8-17.0% โดย น้ำหนักของน้ำมันปาล์ม) ต่อค่าการเลือกเกิดและผลได้ของผลิตภัณฑ์ได้ถูกตรวจสอบ ก่อนการทำปฏิกิริยาจะทำการรีดิวซ์ตัวเร่ง ปฏิกิริยาแบบอิน-ซิทู (in-situ reduction) ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ด้วยความดันแก๊ส H₂ เริ่มต้น 10 บาร์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพอากาศยานซึ่งมีสัดส่วนโดยน้ำหนักของไอโซอัลเคน/นอร์มัลอัลเคน (iso/n) สูงที่สุด คือ 1.67 และมีปริมาณสารประกอบออกซิเจนและสารประกอบไม่อิ่มตัวในปริมาณต่ำ เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 10%Ni/NH₄-Beta ปริมาณ 5.7% โดยน้ำหนักของน้ำมันปาล์มภายใต้ความดันแก๊ส …


การขจัดกำมะถันและไนโตรเจนแบบดูดซับของน้ำมันดีเซลโดยใช้ซีโอไลต์วายแบบแลกเปลี่ยนไอออนในระบบสองขั้นตอน, บวรชัย เจริญธีรบูรณ์ Jan 2019

การขจัดกำมะถันและไนโตรเจนแบบดูดซับของน้ำมันดีเซลโดยใช้ซีโอไลต์วายแบบแลกเปลี่ยนไอออนในระบบสองขั้นตอน, บวรชัย เจริญธีรบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน หลายประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น และหนึ่งในปัญหาสำคัญด้านมลพิษทางอากาศ คือ สารประกอบกำมะถันและสารประกอบไนโตรเจนที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลและเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องควบคุมอย่างเข้มงวด การดูดซับเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับของสารประกอบกำมะถันและสารประกอบไนโตรเจนในน้ำมันดีเซล ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการดูดซับของวายซีโอไลท์ที่แลกเปลี่ยนไอออนด้วยโลหะหลายชนิด เช่น Na-Y, Ni-Y, Cu-Y, Co-Y, La-Y, Ce-Y และ Fe-Y ที่มีผลต่อการขจัดสารประกอบกำมะถัน และการขจัดสารประกอบกอบไนโตรเจน ใช้ระบบขั้นตอนเดียวและระบบสองขั้นตอน ภายใต้ภาวะแวดล้อมในระบบคอลัมน์แบบระบบขั้นตอนเดียวโดยซีโอไลต์ La-Y มีประสิทธิภาพการดูดซับสารประกอบไนโตรเจนที่ดีที่สุดในน้ำมันจำลองที่ 4 และ ซีโอไลต์ Na-Y มีความสามารถในการดูดซับสารประกอบกำมะถันสูงที่สุดในน้ำมันจำลองที่ 1 และสำหรับระบบสองขั้นตอน ในขั้นตอนแรกจะบรรจุ La-Y ซีโอไลต์ สำหรับการการขจัดสารประกอบไนโตรเจน และคอลัมน์ที่สองบรรจุซีโอไลต์ Na-Y สำหรับการขจัดสารประกอบกำมะถันในน้ำมันจำลองที่ 4 และพบว่ามีค่าร้อยละการดูดซับของสารประกอบควิโนลีน อินโดวและอะคริดีนเท่ากับ 65.6, 49.2 และ 39.9 ตามลำดับ และร้อยละในการดูดซับของสารประกอบไดเบนโซไทโอฟีน (DBT) และ 4,6 ไดเมทิลไดเบนโซไทโอฟีน (4,6-DMDBT) คือ 38.8 และ 37.7 ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าระบบคอลัมน์แบบสองขั้นตอนโดยใช้ซีโอไลต์ La-Y และ Na-Y เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการดูดซับสารประกอบกำมะถัน และสารประกอบไนโตรเจนของน้ำมันดีเซล ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มอุณหภูมิในการดูดซับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูดซับในระบบขั้นตอนเดียว และระบบสองขั้นตอน และนอกจากนี้ยังสามารถนำตัวดูดซับกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยวิธีสกัดด้วยตัวทำละลายในระบบสองขั้นตอน


การเตรียมฟิล์มยางธรรมชาติที่มีสภาพไม่ชอบน้ำสูงโดยการกราฟต์ด้วยมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอน, พัชรรุจี งามดี Jan 2019

การเตรียมฟิล์มยางธรรมชาติที่มีสภาพไม่ชอบน้ำสูงโดยการกราฟต์ด้วยมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอน, พัชรรุจี งามดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยางธรรมชาติที่มีสภาพไม่ชอบน้ำสูงสามารถเตรียมผ่านกระบวนการปรับปรุงสภาพผิวด้วยไฮดรอกซิเลชัน (hydroxylation) และการกราฟต์ (graft) ด้วยมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอน หลังจากเตรียมฟิล์มยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ (vulcanized natural rubber, VNR) แล้วทำการปรับปรุงพื้นผิวฟิล์มยาง VNR ผ่านไฮดรอกซิเลชันเพื่อให้ได้เป็นยาง ธรรมชาติไฮดรอกซิเลต (hydroxylated natural rubber, VNR-OH) โดยใช้หมู่ไฮดรอกซิลเป็นตำแหน่งกัมมันต์ในการ กราฟต์กับมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอนประเภทต่างๆ ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสและพอลิคอนเดนเซชัน ศึกษาผลของชนิด และความเข้มข้นของกรด รวมถึงเวลาที่ใช้ในการแช่กรดต่อปริมาณหมู่ไฮดรอกซิลบนโครงสร้างของฟิล์มยาง VNR-OH การแช่ฟิล์มยาง VNR ในสารละลายกรดซัลฟิวริก 75% โดยน้ำหนัก นาน 1 ชั่วโมง ทำให้ฟิล์มยาง VNR-OH ที่ได้มีปริมาณ ของหมู่ไฮดรอกซิลมากที่สุดเท่ากับ 7.83 โมล% สำหรับการวิเคราะห์ความไม่ชอบน้ำ พบว่าฟิล์มยาง VNR และ VNR-OH มีค่ามุมสัมผัสหยดน้ำเท่ากับ 97.3° และ 63.5° ตามลำดับ และภายหลังการกราฟต์ด้วย 3.70% โดยน้ำหนัก ของมอนอเมอร์ออร์กาโนซิลิกอนชนิดต่างๆ ได้แก่ เมทิลไตรเมทอกซีไซเลน (MTMS), เฮกซะเดซิลไตรเมทอกซีไซเลน (HDTMS) และ 3-(ไตรเมทอกซีไซลิล)โพรพิลเมทาคริเลท (MPS) เปรียบเทียบกับการใช้เมทิลไตรคลอโรไซเรน (MTCS) พบว่าฟิล์มยาง VNR-OH ที่กราฟต์ด้วย MTCS (VNR-OH-MTCS) ให้ค่ามุมสัมผัสหยดน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 149° เมื่อศึกษา ปริมาณ MTCS ที่ความเข้มข้นต่างกัน (1-5% โดยน้ำหนักในตัวทำละลายเฮกเซน) พบว่าที่ 2% โดยน้ำหนักของ MTCS ในเฮกเซน ทำให้ฟิล์มยาง VNR-OH-MTCS ที่เตรียมได้มีค่ามุมสัมผัสหยดน้ำสูงที่สุดเท่ากับ 155° และพบว่าการนำฟิล์ม ยาง VNR ไปกราฟต์โดยตรงด้วย MTCS ที่ความเข้มข้นเดียวกัน (VNR-MTCS) ให้ค่ามุมสัมผัสหยดน้ำเพียง 118° แสดงให้ เห็นว่าหมู่ไฮดรอกซิลในโครงสร้างของฟิล์มยาง VNR-OH เป็นหมู่ฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ในการเกิดปฏิกิริยากับ MTCS และ …


การสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลจากกลูโคสโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ Husy, พิมลพรรณ เล็กสมบูรณ์ Jan 2019

การสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลจากกลูโคสโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ Husy, พิมลพรรณ เล็กสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการดัดแปรสภาพกรดของซีโอไลต์ HUSY ผ่านการล้างด้วยสารละลายกรด และศึกษาการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัล (HMF) จากกลูโคสโดยใช้ซีโอไลต์ HUSY เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคสเกิดผ่านปฏิกิริยา 2 ขั้นตอน ได้แก่ ปฏิกิริยาไอโซเมอไรเซชันของกลูโคสเป็นฟรุกโตส และปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของฟรุกโตสไปเป็น HMF โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยากรดชนิดลิวอิส และกรดชนิดกรดบรอนสเตดตามลำดับ จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของซีโอไลต์ HUSY พบว่าซีโอไลต์ HUSY ที่ผ่านการดัดแปรสภาพกรดมีปริมาณอะลูมิเนียมลดลง พร้อมกับเกิดการสูญเสียโครงสร้างผลึกซีโอไลต์ จากการศึกษาหมู่ฟังก์ชันพบว่าซีโอไลต์ HUSY ที่ผ่านการแปรสภาพกรดมีหมู่ฟังก์ชันหมู่ไฮดรอกซิลของตำแหน่งกรดชนิดบรอนสเตดและกรดชนิดลิวอิสที่เปลี่ยนแปลงไป และจากการศึกษาสภาพกรดของซีโอไลต์ HUSY ที่ผ่านการแปรสภาพกรด พบว่ามีแนวโน้มของปริมาณกรดรวมลดลง ขณะที่สัดส่วนของปริมาณตำแหน่งกรดแก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปริมาณตำแหน่งกรดชนิดบรอนสเตดและกรดชนิดลิวอิสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคส พบว่าการเปลี่ยนกลูโคสมีความสัมพันธ์กับปริมาณตำแหน่งกรดแก่ในตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY และผลได้ของ HMF มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนระหว่างปริมาณตำแหน่งตำแหน่งกรดชนิดบรอนสเตดกับกรดชนิดลิวอิส (สัดส่วน B/L) ซึ่งพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY-0.1N-80 ที่มีสัดส่วน B/L เท่ากับ 3.17 ทำให้ได้ผลได้ของ HMF สูงที่สุด และสภาวะการสังเคราะห์ HMF พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY-0.1N-80 ปริมาณ 0.25 กรัม สังเคราะห์ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 60 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุด โดยมีการเปลี่ยนของกลูโคส และผลได้ของ HMF เท่ากับ 99.6% และ 65.6% ตามลำดับ


การศึกษาเชิงทฤษฎีของแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียม, ภคินี มานะเจริญสุข Jan 2019

การศึกษาเชิงทฤษฎีของแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียม, ภคินี มานะเจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในความท้าทายของการสังเคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลคือความสามารถเข้าใจสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อออกแบบโครงสร้าง พัฒนาประสิทธิภาพและความเลือกจำเพาะในการเร่งปฏิกิริยา งานวิจัยนี้ศึกษากลไลการเกิดปฏิกิริยาแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียมวัฏภาคแบบสปิเนล (spinel MgAl2O4) ด้วยทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่นที่ระดับ M06-2X/6-31G ขั้นตอนในการเกิดปฏิกิริยาประกอบด้วย อีโนไลซันของ 2-บิวทาโนน การเติมเฟอร์ฟิวรัล และการขจัดน้ำ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีสองเส้นทางโดยเกิดผ่านตำแหน่งเมทิลและเมทิลีนของอีโนเลตไอออนของ 2-บิวทาโนน ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นสารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวโครงสร้างโซ่ตรงและโซ่กิ่ง ตามลำดับ จากผลการคำนวณพบว่าปฏิกิริยาการเติมเฟอร์ฟิวรัลเป็นขั้นตอนควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาอีโนไลซันของ 2-บิวทาโนนและการเติมเฟอร์ฟิวรัลที่ตำแหน่งเมทิลีนเกิดขึ้นได้เร็วกว่าตำแหน่งเมทิล ซึ่งสัมพันธ์กับค่าพลังงานก่อกัมมันต์ที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณที่ได้กับงานวิจัยก่อนหน้าบนแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) พบว่าปฏิกิริยาอีโนไลเซชันของ 2-บิวทาโนนบน MgAl2O4 เกิดขึ้นได้เร็วกว่า MgO ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยาแอลดอลคอนเดนเซชันและอาจใช้เป็นแนวทางพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาให้เหมาะสม


การเปลี่ยนกลูโคสเป็น 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไนโอเบียมรองรับด้วยคาร์บอน/ซิลิกานาโนคอมพอสิต, รุจีลักษณ์ คุ้มโห้ Jan 2019

การเปลี่ยนกลูโคสเป็น 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไนโอเบียมรองรับด้วยคาร์บอน/ซิลิกานาโนคอมพอสิต, รุจีลักษณ์ คุ้มโห้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัล (HMF) จากกลูโคสในระบบตัวทำละลาย 2 วัฏภาค (biphasic system) วัฏภาคหนึ่งเป็นน้ำซึ่งอิ่มตัวด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) และอีกวัฏภาคคือเตตระไฮโดรฟิวแรน (THF) ซึ่งเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ โดยใช้ไนโอเบียมรองรับด้วยเฮกซะกอนอลมีโซพอรัสซิลิกา (Nb/HMS) และมีโซพอรัสคาร์บอน/ซิลิกานาโนคอมพอสิต (Nb/MCS) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคต่างๆ จากการศึกษาพบว่า Nb/MCS มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูง (ประมาณ 400 ตารางเมตรต่อกรัม) และมีขนาดรูพรุนน้อยกว่า 2 นาโนเมตร อีกทั้งยังแสดงสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งชนิดกรด Nb/MCS มีสมบัติความเป็นกรดสูงกว่า Nb/HMS เนื่องจากพื้นผิวของตัวรองรับ MCS มีหมู่ฟังก์ชันของออกซิเจน ได้แก่ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรดบรอนสเตด อีกทั้งการมีคาร์บอนในโครงสร้างของ MCS ส่งผลให้ Nb/MCS มีความชอบน้ำลดลง และศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนของกลูโคสไปเป็น HMF ได้แก่ ชนิดของตัวรองรับ, ปริมาณไนโอเบียมบนตัวรองรับ, อุณหภูมิและเวลาในการทำปฏิกิริยา และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา จากการศึกษาพบว่า Nb/MCS มีสมรรถนะเชิงเร่งดีกว่า Nb/HMS เนื่องจาก Nb/MCS มีสภาพกรดที่เหมาะสมกว่า อีกทั้งความไม่ชอบน้ำของตัวรองรับ MCS สามารถช่วยยับยั้งการเกิดปฏิกิริยารีไฮเดรชันของ HMF เปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่น ๆ เช่น ฮิวมิน เป็นต้น และ Nb/MCS ที่มีปริมาณไนโอเบียมบนตัวรองรับร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก (10 wt% Nb/MCS) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมที่สุดในการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคส โดยให้การเปลี่ยนของกลูโคสร้อยละ 93.2 โดยโมล และผลได้ของ HMF ร้อยละ 57.5 โดยโมล เมื่อใช้ภาวะที่เหมาะสมคือ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 0.018 กรัม, อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 190 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง


ผลของน้ำต่อกลีเซอโรไลซิสแบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันปาล์มสำหรับการผลิตมอนอกลีเซอไรด์, อิทธิฤทธิ์ พิไชยอ้น Jan 2019

ผลของน้ำต่อกลีเซอโรไลซิสแบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันปาล์มสำหรับการผลิตมอนอกลีเซอไรด์, อิทธิฤทธิ์ พิไชยอ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตมอนอกลีเซอไรด์ผ่านปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของน้ำมันปาล์ม แบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา โดยมีไอโซโพรพานอลเป็นตัวทำละลายโดยตัวแปรที่นำมาศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา (220 240 และ 260 องศาเซลเซียส) เวลาในการทำปฏิกิริยา (30 90 และ 150 นาที) อัตราส่วนโดยโมลของไอโซโพรพานอลต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์ม (X:5:1) (0 15 และ 30) ปริมาตรของสารที่ใส่ในเครื่องปฏิกรณ์ (ร้อยละ 40 60 และ 80) พบว่าภาวะที่ให้ ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์สูงสุดคือ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา 260 องศาเซลเซียส เวลาในการ ทำปฏิกิริยา 150 นาที ปริมาตรของสารที่ใส่ในเครื่องปฏิกรณ์อยู่ที่ร้อยละ 40 และอัตราส่วนโดยโมล ของไอโซโพรพานอลต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์มอยู่ที่ 15:5:1 โดยให้ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์ เท่ากับ 54.12 ร้อยละไดกลีเซอไรด์เท่ากับ 3.96 ร้อยละกรดไขมันเท่ากับ 0.40 ร้อยละไตรกลีเซอไรด์ เท่ากับ 15.67 และร้อยละของไอโซโพรพิลเอสเทอร์เท่ากับ 13.20 โดยปัจจัยสำคัญที่ได้จากงานวิจัยนี้ ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เวลาในการทำปฏิกิริยา อัตราส่วนโดยโมลของไอโซโพรพานอล ต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์ม และปริมาตรของสารที่ใส่ในเครื่องปฏิกรณ์ จากภาวะที่ให้ร้อยละ มอนอกลีเซอไรด์สูงสุดได้มีการเปรียบเทียบการใช้กลีเซอรอลดิบเป็นสารตั้งต้นพบว่า ได้ร้อยละ มอนอกลีเซอไรด์เท่ากับ 31.59 และร้อยละไอโซโพรพิลเอสเทอร์เท่ากับ 51.76 ซึ่งไอโซโพรพานอล สามารถใช้เป็นตัวทำละลายในปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาได้ เนื่องจากช่วยลดความหนืดและเพิ่มการถ่ายโอนมวลของสารตั้งต้นได้ โดยน้ำส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของไตรกลีเซอไรด์และประพฤติตัวเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา


การเตรียมและสมบัติของเซลลูโลสจากผักตบชวา/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจล, เฟรินส์ ภู่ทอง Jan 2019

การเตรียมและสมบัติของเซลลูโลสจากผักตบชวา/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจล, เฟรินส์ ภู่ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้เตรียมเซลลูโลสไฮโดรเจลจากสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์/ยูเรียโดยใช้เซลลูโลสจากผักตบชวาที่สกัดได้จากกระบวนการทางเคมีและเพิ่มเสถียรภาพด้วยบอแรกซ์ซึ่งเป็นสารเชื่อมขวางที่สามารถละลายได้ในระบบ จากผลการทดลองพบว่าความหนืดของสารละลาย การดูดซึมน้ำ การส่องผ่านของแสง และร้อยละความเครียดจากการกดของไฮโดรเจลเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเป็นรูพรุนภายในไฮโดรเจล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเชื่อมขวางของสายโซ่เซลลูโลสด้วยบอแรกซ์ นอกจากนี้การเติมบอแรกซ์ยังส่งผลให้ไฮโดรเจลมีสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และเนื่องด้วยเซลลูโลสไฮโดรเจลที่เติมบอแรกซ์ปริมาณ 3 เท่า (ไฮโดรเจล 1/3) มีการดูดซึมน้ำและร้อยละความเครียดจากการกดที่เหมาะสมจึงถูกเลือกเพื่อเตรียมเซลลูโลส/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจลโดยการแช่ในสารละลายว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 และ 10 ของว่านหางจระเข้ในน้ำ พบว่าการแช่เซลลูโลสไฮโดรเจลในสารละลายว่านหางจระเข้นั้นไม่ส่งผลต่อสมบัติการดูดซึมน้ำและร้อยละความเครียดจากการกด นอกจากนี้สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียของเซลลูโลสไฮโดรเจลไม่ได้รับการปรับปรุงโดยการแช่ในสารละลายว่านหางจระเข้


การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับการหาค่าเหมาะที่สุดของกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต, ฐาปณัฐ ชื่นพันธุ์ Jan 2019

การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับการหาค่าเหมาะที่สุดของกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต, ฐาปณัฐ ชื่นพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมีเป็นหนึ่งในวิธีที่ถูกใช้ในกระบวนการบำบัดแก๊สเสียในระดับภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในวิธีการศึกษาและพัฒนากระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การสร้างแบบจำลองในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลา นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับในวงการวิศวกรรมเคมี ในงานวิจัยนี้ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลสองระดับของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนตถูกจำลองโดยระบบสมดุลภายในโปรแกรม Aspen Plus โดยแบบจำลองสมบัติเชิงอุณหพลศาสตร์ ENRTL-RK เพื่อหาค่าเหมาะที่สุดและเปรียบเทียบผลของสถานการณ์ที่เหมาะที่สุดกับผลของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโมโนเอทาโนลามีนจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของสถานการณ์ที่มีค่าเหมาะที่สุดมีค่าร้อยละ 87.04 และมีค่าพลังงานจำเพาะต่อมวลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องทำความร้อนของหอแยกเท่ากับ 2.17 GJ/T CO2 อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีเท่ากับ 57.50 USD/T CO2 ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงกว่าและค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีที่ต่ำกว่าผลการจำลองกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโมโนเอทาโนลามีนจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 73.35 ค่าพลังงานจำเพาะต่อมวลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องทำความร้อนของหอแยกเท่ากับ 4.73 GJ/T CO2 และมีค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีเท่ากับ 107.50 USD/T CO2


การเตรียมและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์, ณัฐกานต์ ประกอบแก้ว Jan 2019

การเตรียมและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์, ณัฐกานต์ ประกอบแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์และเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอซิทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ ในการสังเคราะห์ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ จากซิงก์แอซีเทตดีไฮเดรตและเททระแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ เพนทะไฮเดรต โดยใช้ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาตั้งแต่ 1 ถึง 2880 นาที พบว่าจะได้ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ที่มีขนาดอนุภาค 2 ถึง 6 นาโนเมตร จากนั้นนำมาเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอซิทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ โดยใช้ 10,12-pentacosadiynoic acid (PCDA) เป็นไดแอเซทิลีนมอนอเมอร์ และทำการทดสอบสมบัติการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบส และการเติมกรด/เบสอินทรีย์ จากการศึกษาพบว่า พอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์เกิดการเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นม่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่าพอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร) ที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์เกิดการเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 65 ถึง 70 องศาเซลเซียส และเป็นการเปลี่ยนสีแบบผันกลับได้ ในขณะที่พอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร) เกิดการเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส และพบว่า พอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ มีความไวในการตอบสนองต่อกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดซาลิซิลิก และออกทิลเอมีน สูงกว่าอีกด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์โครงสร้างบ่งชี้ว่า สายโซ่หลักคอนจูเกตของพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์มีความผ่อนคลายมากกว่า และปฏิสัมพันธ์อิออนิกระหว่างส่วนหัวของพอลิไดแอซิทีลีนและพื้นผิวอนุภาคซิงก์ออกไซด์มีความแข็งแรงน้อยกว่า ดังนั้นพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์จึงถูกรบกวนจากสิ่งกระตุ้นภายนอกได้ในระดับที่สูงกว่าพอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร)


การสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพผ่านแอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Srtio3/Sba-15, ธนัทย์ชัย มีมานะ Jan 2019

การสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพผ่านแอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Srtio3/Sba-15, ธนัทย์ชัย มีมานะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพจากเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนผ่านแอลดอลคอนเดนเซชัน ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในแอลดอลคอนเดนเซชันเป็นโลหะออกไซด์ผสมที่ได้จากสตรอนเทียมไททาเนต (SrTiO3) ที่มีปริมาณสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับ SBA15 ที่แตกต่างกัน (10%, 15%, 20% and 25%) และอัตราส่วนโดยโมลของ Sr : Ti ในช่วง 0.5 ถึง 2 ซึ่งเตรียมด้วยวิธีอิมเพรค จากนั้นนำมาเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากการศึกษาสมบัติกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ พบว่า 20STO(2:1)/SBA15 (ที่มีปริมาณสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก และ อัตราส่วนโดยโมลของ Sr : Ti เท่ากับ 2) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีอิมเพรค มีการกระจายตัวของสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับ SBA15 ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะที่สูงและมีปริมาณตำแหน่งเบสรวมมากที่สุด แอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนเพื่อสังเคราะห์สารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวโซ่กิ่งทำในเครื่องปฏิกรณ์ออโตเคลฟภายใต้ความดันไนโตรเจน (10 บาร์) เมื่อวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมากราฟี-แมสสเปกโตสโกปี พบว่า ผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดขึ้นเป็นสารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวที่มีโครงสร้างแบบโซ่ตรง และโซ่กิ่ง นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ C14 และ C13 ที่อุณหภูมิสูงและเวลาในการทำปฏิกิริยาที่นาน 20STO(2:1)/SBA15 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โดยให้การเปลี่ยนของเฟอร์ฟิวรัลร้อยละ 53 โดยโมล และ ผลได้ของ C9B ร้อยละ 41 โดยโมล เมื่อใช้ภาวะที่เหมาะสม คือ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 5% โดยน้ำหนัก, อัตราส่วนโดยโมลของเฟอร์ฟิวรัลต่อ 2-บิวทาโนน 1:5, อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 5 ชั่วโมง


การเตรียมสีน้ำทาภายนอกที่มีสมบัติสะท้อนความร้อนและเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้ผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส, ธนิกานต์ ขุนภักดี Jan 2019

การเตรียมสีน้ำทาภายนอกที่มีสมบัติสะท้อนความร้อนและเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้ผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส, ธนิกานต์ ขุนภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้เตรียมสีน้ำทาภายนอกที่ประกอบด้วยผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส (ทั้งนาโนเซลลูโลสที่ได้จากแบคทีเรียซึ่งเตรียมผ่านวิธีสะโคบี (SCOBY) และนาโนเซลลูโลสจากพืช) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติการสะท้อนความร้อนและสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนของสีทาภายนอก ซึ่งสีที่เตรียมได้จะนำมาเคลือบบนกระเบื้องแผ่นเรียบและทิ้งไว้ให้สีแห้งสนิทเป็นระยะเวลา 168 ชั่วโมงก่อนนำมาทดสอบ ผลการทดสอบพบว่าสีที่ผสมระหว่างผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลสมีประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนและการเป็นฉนวนความร้อนที่ไม่ดีเนื่องจากการออกแบบการทดลองที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีการศึกษานาโนเซลลูโลสที่เหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นฉนวนในการทดสอบนี้ โดยศึกษาทั้งนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียและจากพืช จากนั้นจึงเตรียมสีโดยเติมนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่เตรียมผ่านวิธีสะโคบีลงในสีร้อยละ 0.19 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 0.38 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 0.58 กรัมโดยน้ำหนัก และร้อยละ 0.82 กรัมโดยน้ำหนัก และเติมนาโนเซลลูโลสจากพืชที่ร้อยละ 0.50 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 1.01 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 1.51 กรัมโดยน้ำหนัก และร้อยละ 2.16 กรัมโดยน้ำหนัก ทดลองเทียบกับสีสูตรมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเติมนาโนเซลลูโลส ผลทดสอบพบว่าค่าร้อยละความความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างแผ่นทดสอบด้านบนที่ได้รับความร้อนจากหลอดไฟโดยตรงและด้านล่างแผ่นทดสอบของสีสูตรมาตรฐานมีค่าเท่ากับร้อยละ 3.67 ส่วนสีที่มีการเติมนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียซึ่งเตรียมผ่านวิธีสะโคบีมีค่าความแตกต่างร้อยละ 8.16 ร้อยละ 6.21 ร้อยละ 7.70 และ ร้อยละ 12.41 ตามลำดับ นาโนเซลลูโลสจากพืชมีค่าความแตกต่างร้อยละ 0.50 ร้อยละ 1.01 ร้อยละ 1.51 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ ส่วนสีกันความร้อนตามท้องตลาดมีค่าเท่ากับร้อยละ 8.24 ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าการเติมนาโนเซลลูโลสสามารถปรับปรุงสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนได้เมื่อเทียบกับสีสูตรมาตรฐานปกติเนื่องมาจากสมบัติการนำความร้อนที่ต่ำของนาโนเซลลูโลส


สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด, ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา Jan 2019

สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด, ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ การปรับปรุงสมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด โดยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดถูกเตรียมจากน้ำยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชัน โดยใช้กรดอะคริลิกร้อยละ 50, 70 และ 90 โดยน้ำหนักเนื้อยางแห้ง ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์แทรนสฟอร์มสเปกโทรสโกปี พบว่า พอลิอะคริลิกแอซิดถูกกราฟต์อยู่บนสายโซ่ของยางธรรมชาติแล้ว จากนั้นยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดที่เตรียมได้ถูกนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดที่ปริมาณต่างๆ (ร้อยละ 10, 20 ,30 และ 40 โดยน้ำหนัก) โดยใช้เครื่องผสมแบบปิด และขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกลงในพอลิแล็กทิกแอซิด ส่งผลต่อค่าความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด โดยที่เมื่อมีปริมาณยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด เพิ่มขึ้น แต่ความทนแรงดึง และยังส์มอดุลัสมีค่าลดลงเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ดังนั้นพอลิเมอร์ผสม 70/30 พอลิแล็กทิกแอซิดผสมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด70 มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด (11.3 กิโลจูลต่อตารางเมตร และร้อยละ 11.05 ตามลำดับ) จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดส่งผลให้เสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดเพิ่มขึ้น โดยที่ปริมาณการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ร้อยละ 40 จะทำให้พอลิเมอร์ผสมมีเสถียรภาพทางความร้อนดีที่สุด ส่วนพฤติกรรมทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดนั้น พบว่าไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิเปลี่ยนคล้ายแก้ว และอุณหภูมิการหลอมเหลวผลึก แต่ส่งผลให้อุณหภูมิการเกิดผลึกเย็นเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ปริมาณผลึกลดลงเหลือ จากงานวิจัยนี้พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก เป็นการช่วยปรับปรุงความเหนียว และเสถียรภาพทางความร้อนให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด


การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์จากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่ง, นัทรี ฉัตรยาลักษณ์ Jan 2019

การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์จากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่ง, นัทรี ฉัตรยาลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์ผสมจากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่อัตราส่วนต่างๆ กันตั้งแต่ 100/0, 90/10, 80/20, 70/30, 60/40 และ 50/50 โดยการทดลองสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สำหรับ 2 ส่วนแรก จะเป็นแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งทั้งที่เติมและไม่เติมกลีเซอรอล โดยส่วนแรกเตรียมได้จากการผสมสารแขวนลอยของน้ำแป้งกับน้ำยางธรรมชาติโดยจะเรียกว่า latex mixing จากนั้นทำให้แห้งแล้วนำไปผสมกับสารเคมียางในเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง ในขณะที่ส่วนที่สองยางธรรมชาติจะถูกผสมกับแป้งมันฝรั่งในเครื่องผสมแบบปิด โดยจะเรียกว่า dry mixing จากนั้นนำไปผสมกับสารเคมียางในเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้งต่อไป และในส่วนที่สามจะเป็นการเติมสารคู่ควบไซเลน Si-69 แทนกลีเซอรอล จากนั้นทำการขึ้นรูปตัวอย่างแผ่นฟิล์มเพื่อนำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกลและความร้อนด้วยแม่พิมพ์แบบกดอัดที่อุณหภูมิ 155 oC จากการตรวจสอบแผ่นฟิล์มด้วยตาเปล่าจะเห็นได้ว่า แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing เกิดการแยกเฟสระหว่างยางธรรมชาติและแป้งมันฝรั่งน้อยกว่าที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมกลีเซอรอลช่วยลดการเกาะกลุ่มกันของแป้งมันฝรั่งได้ จากการทดสอบการบวมตัวในน้ำพบว่า การเติมแป้งมันฝรั่งทำให้แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งดูดซับน้ำได้และปริมาณการดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นตามปริมาณแป้งที่เติม โดยที่อัตราส่วนยางธรรมชาติต่อแป้งมันฝรั่งเดียวกัน แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing มีการดูดซับน้ำได้สูงกว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งเตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing และการดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมกลีเซอรอล เมื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมแป้งมันฝรั่งทำให้แผ่นฟิล์มมีสมบัติเชิงกลลดลง ยิ่งเติมมากก็ยิ่งลดลงมาก แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing มีความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดสูงกว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing แต่ให้ความแข็งที่ต่ำกว่า การเติมกลีเซอรอลช่วยเพิ่มความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดแต่ลดความแข็งของแผ่นฟิล์ม สำหรับการสลายตัวทางความร้อนพบว่า การเติมแป้งมันฝรั่งลงในแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติทั้งที่เติมและไม่เติม กลีเซอรอลจากเทคนิกการเตรียมทั้ง 2 แบบ ส่งผลให้ยางธรรมชาติซึ่งเป็นเฟสหลักมีแนวโน้มที่จะสลายตัวที่อุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่อเติมสารคู่ควบไซเลน Si-69 แทนการเติมกลีเซอรอล พบว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่ได้มีความสามารถในการดูดซับน้ำและความทนต่อแรงดึงที่ดียิ่งขึ้น แต่ความต้านทานต่อการฉีกขาดกลับมีค่าต่ำที่สุด


การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารหน่วงการติดไฟโบรมิเนเทตในพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี, พลวัต สิงหเสมานนท์ Jan 2019

การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารหน่วงการติดไฟโบรมิเนเทตในพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี, พลวัต สิงหเสมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีสำหรับการตรวจวัดสารหน่วงติดไฟที่มีธาตุโบรมีนเป็นองค์ประกอบในตัวอย่างพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง โดยใช้วิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี (XRF) ปัญหาของการตรวจวัดด้วยวิธีนี้ต้องใช้วัสดุมาตรฐาน (Reference materials, RM) ที่เหมาะสมโดยต้องมีลักษณะ และองค์ประกอบที่มีความใกล้เคียงกับตัวอย่างมากที่สุด งานวิจัยนี้จึงศึกษาการเตรียมวัสดุมาตรฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิซึ่งเป็นสารเติมแต่งที่ใช้ในการผลิตจริง ในช่วงความเข้มข้นของโบรมีน 1-13% โดยน้ำหนัก ซึ่งครอบคลุมช่วงความเข้มข้นที่ใช้ในการผลิตจริง โดยเตรียมวัสดุมาตรฐานด้วยเครื่องผสมพอลิเมอร์แบบไม่ต่อเนื่อง บดวัสดุมาตรฐานภายใต้ไนโตรเจนเหลว และอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น จากนั้นนำไปสร้างกราฟมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี กราฟมาตรฐานที่ทั้งหมดมีความเป็นเส้นตรงดี (r2 > 0.995) ทดสอบความแม่น (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) ของการทดสอบ โดยใช้สารอ้างอิงมาตรฐานภายใน (In-house reference materials) ที่มีความเข้มข้นของโบรมีน 10% โดยน้ำหนัก ค่าความแม่นรายงานด้วยค่าร้อยละการคืนกลับ (%Recovery) อยู่ในช่วง 98.6 - 104.1% และ ความผิดพลาดสัมพัทธ์ (Relative error) อยู่ในช่วง 0.44 – 4.15 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ความเที่ยงรายงานด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ (%RSD) อยู่ในช่วง 0.12 – 0.62 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัด (Limit of detection, LOD) อยู่ในช่วง 0.32 – 0.45 % โบรมีนโดยน้ำหนัก วัสดุมาตรฐานที่เตรียมขึ้นมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงทั้งภายในชุดผสม และระหว่างชุดผสม อีกทั้งยังมีความเสถียรสูง ไม่มีความแตกต่างของความเข้มของสัญญาณเอกซ์เรย์ที่วัดได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน วิธีที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีที่ไม่ทำลายตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เตรียมตัวอย่างได้ง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างจริง ทั้งงานควบคุมคุณภาพ และวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้


การกำจัดโมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัวในไบโอดีเซลด้วยการดูดซับและผลต่อสมบัติที่อุณหภูมิต่ำของน้ำมันไบโอดีเซลผสม, พีระภักดิ์ ศรีขวัญใจ Jan 2019

การกำจัดโมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัวในไบโอดีเซลด้วยการดูดซับและผลต่อสมบัติที่อุณหภูมิต่ำของน้ำมันไบโอดีเซลผสม, พีระภักดิ์ ศรีขวัญใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัว (Saturated monoglyceride; SMG) คือสาเหตุหลักของการเกิดตะกอนเหนือจุดขุ่นในไบโอดีเซล (B100) ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการอุดตันไส้กรองในเครื่องยนต์ดีเซล ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของ SMG ใน B100 ช่วงความเข้มข้น 0.0-0.7 wt% ที่มีต่อจุดขุ่นในไบโอดีเซลผสม B7, B10 และ B20 ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร4 และ ยูโร5 ที่มีความเข้มข้นของแอโรแมติกสูงและต่ำตามลำดับ พบว่า SMG มีผลต่อจุดขุ่นในไบโอดีเซลผสมมาตรฐานยูโร5 มากกว่า การเพิ่มความเข้มข้นของ SMG ที่ช่วงความเข้มข้นต่ำในไบโอดีเซลผสมจะทำให้ค่าจุดขุ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ การกำจัด SMG ใน B100 ด้วยการดูดซับโดยใช้ตัวดูดซับซีโอไลต์ธรรมชาติที่มีราคาถูกกว่าตัวดูดซับทางการค้า Magnesium silicate (MS) และ Silica gel พบว่าประสิทธิภาพการดูดซับของตัวดูดซับ MS ดีกว่าตัวดูดซับซีโอไลต์ธรรมชาติในการกำจัด SMG ใน B100 ที่อุณหภูมิ 45 oC เมื่อพัฒนาความจุในการดูดซับ SMG ของซีโอไลต์ธรรมชาติ NZ-325m โดยการบำบัดด้วยกรดไนตริก 1 M ที่อุณหภูมิ 60 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทำให้พื้นที่ผิวจำเพาะของตัวดูดซับเพิ่มขึ้นเป็น 141.85 m2/g และยังเพิ่มปริมาณ SiO2 ที่วิเคราะห์จากเทคนิค X-ray fluorescence spectroscopy เนื่องจากผลกระทบจากการกำจัดอะลูมิเนียมในโครงสร้าง นอกจากนี้ยังพบว่าความจุการดูดซับ SMG มีค่าเท่ากับ 38.0 mgSMG/gads ในขณะที่สามารถลดปริมาณ SMG ใน B100 จาก 0.7 wt% เป็น 0.5 wt% เมื่อใช้ตัวดูดซับ 5 wt% ที่สภาวะการดูดซับ 45 oC เป็นเวลา 50 นาที ผลที่ตามมาหลังจากนำไปผสมเป็น B7 พบว่าจุดขุ่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


การเตรียมแมงกานีสไดออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ของขั้วแคโทดแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, ภัสฐิรา แก้วพิจิตร Jan 2019

การเตรียมแมงกานีสไดออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ของขั้วแคโทดแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, ภัสฐิรา แก้วพิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมขั้วไฟฟ้าแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่อัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นขั้วแคโทดของแบตเตอรี่สังกะสีไอออน โดยแมกซีนถูกเตรียมจากไทเทเนียมอลูมิเนียมคาร์ไบด์ผ่านการสกัดชั้นได้สำเร็จ นอกจากนี้แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ถูกเตรียมได้จากแกรไฟต์ด้วยวิธีของฮัมเมอร์และนำมารีฟลักซ์กับไทโอยูเรีย จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขั้วไฟฟ้าแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ให้ค่าการเก็บประจุไฟฟ้าสูงสุด โดยศึกษาที่อัตราส่วนของแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 100:0, 95:5 และ 90:10 พบว่าที่กระแส 1 แอมแปร์ต่อกรัม แมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 95:5 มีค่าความจุจำเพาะของการกักเก็บพลังงานสูงที่สุดเท่ากับ 573 ฟารัดต่อกรัม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือที่อัตราส่วน 95:5 จากนั้นนำอัตราส่วนดังกล่าวมาผสมกับแมงกานีสไดออกไซด์ชนิดเดลต้าที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัล และขึ้นรูปเซลล์แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ศึกษาที่อัตราส่วนของแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20, 85:15, 90:10 และ 95:5 พบว่าค่าความจุจำเพาะของการกักเก็บพลังงานที่กระแส 0.1 แอมแปร์ต่อกรัมมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ทำการทดสอบเสถียรภาพต่อรอบของเซลล์แบตเตอรี่ดังกล่าวจำนวน 500 รอบ พบว่าแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20 สามารถรักษาเสถียรภาพทางไฟฟ้าได้ดีที่สุด โดยสามารถคงค่าเก็บประจุพลังงานได้ถึง 42 มิลลิแอมแปร์-ชั่วโมงต่อกรัม หลังการใช้งาน 500 รอบ ทำให้สรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าแคโทดที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้เป็นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนคือ แมงกานีสไดออกไซด์/แมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20


การจำลองซีเอฟดีของรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ, วทันยา ใยดำ Jan 2019

การจำลองซีเอฟดีของรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ, วทันยา ใยดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปฏิกิริยารีฟอร์มิงมีเทนด้วยไอน้ำเป็นปฏิกิริยาที่สำคัญในโรงงานปิโตรเคมีเป็นอย่างยิ่งและเป็นกระบวนการผลิตไฮโดรเจนจากแก๊สธรรมชาติ โดยมีเทนจะทำปฏิกิริยากับไอน้ำร่วมด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลเกิดเป็นไฮโดรเจน ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ผ่านการกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่มาจากน้ำมันดิบ เพื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์สารเคมี นอกจากนี้ไฮโดรเจนยังถูกจัดอยู่ในพลังงานทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาและปรับปรุงปฏิกิริยารีฟอร์มิงมีเทนด้วยไอน้ำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มขึ้น การดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบสองหน้าที่ที่สามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเป็นตัวดูดซับในเวลาเดียวกัน สมดุลปฏิกิริยาจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่เกิดไฮโดรเจนเพิ่มขึ้น ตัวเร่งปฏิกิริยาที่นิยมใช้ ได้แก่ โดโลไมต์ และ แคลเซียมอะลูมิเนต โดยเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยารีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มด้วยการดูดซับ งานวิจัยนี้ศึกษาแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของการรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มด้วยการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ เพื่อช่วยลดการเกิดฟองแก๊ส เพิ่มการสัมผัสระหว่างแก๊สและของแข็ง ลดการย้อนกลับของของแข็ง และเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปฏิกรณ์ พิจารณาผลของการเพิ่มจำนวนของแผ่นปะทะและศึกษาตัวแปรดำเนินการต่างๆ พบว่า การติดตั้งแผ่นปะทะจำนวนสองแผ่น ส่งผลให้สัดส่วนโดยโมลของไฮโดรเจนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 0.93 และ ตัวแปรดำเนินการที่เหมาะสมได้แก่ ความเร็วที่ 0.1 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิที่ 923 เคลวิน ความสูงของเบดที่ 35 เมตร และ สัดส่วนของไอน้ำและคาร์บอนที่ 4.0


ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช Jan 2019

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการไพโรไลซิสไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือ เวลาทำปฏิกิริยาที่ 30 นาที อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส และขนาดอนุภาคของชีวมวลระหว่าง 0.50-0.71 มิลลิเมตร ส่วนอัตราการไหลแก๊สไนโตรเจนสำหรับไม้ยูคาลิปตัสคือ 120 มิลลิลิตรต่อนาที และสำหรับ ซังข้าวโพดคือ 80 มิลลิลิตรต่อนาที ให้ผลได้น้ำมันชีวภาพสูงสุดของไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดที่ร้อยละ 31.69 และ 22.01 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดให้ค่าความร้อนสูงขึ้นและใกล้เคียงกันคือ 23.14 และ 23.27 เมกะจูล/กิโลกรัม ตามลำดับ สอดคล้องกับอัตราส่วน H/C และ O/C ของน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดที่มีค่าต่ำกว่าในชีวมวล เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพพบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มฟีนอล รองลงมาคือสารในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ อีเทอร์ คีโทน ไฮโดรคาร์บอน แซ็กคาไรด์ และสารที่มีปริมาณน้อยสุดคือสารในกลุ่มฟูแรน และจากการศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์และเอฟซีซีใช้แล้ว พบว่าปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองชนิดไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ


สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดเติมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน, วิมาลา กรินทร์ไตรทิพย์ Jan 2019

สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดเติมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน, วิมาลา กรินทร์ไตรทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและศึกษาสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน โดยสังเคราะห์เซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนด้วยวิธีแบบอิมัลชันพอลิเมอไรเซชัน การดัดแปรพื้นผิวของเซลลูโลสสามารถยืนยันได้จากการทดสอบเอกลักษณ์ด้วยเทคนิคเทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี และความเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเทคนิควิเคราะห์น้ำหนักภายใต้ความร้อน (ทีจีเอ) จากนั้นนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่ ที่ร้อยละ 1 3 5 และ 10 โดยมวล นำคอมพอสิตที่ได้ขึ้นรูปเพื่อศึกษาสมบัติเชิงกล สัณฐานวิทยา ความร้อน การย่อยสลาย และการดูดซึมน้ำ จากการศึกษาพบว่าการเติมเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนมีผลต่อความทนแรงกระแทก ความทนแรง ยังส์มอดุลัส และการยืด ณ จุดขาดเพิ่มขึ้น โดยการเติมเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนที่ร้อยละ 3 โดยมวล ให้ค่าความทนแรงกระแทกของคอมพอสิตสูงสุด แต่ค่าการยืด ณ จุดขาดลดลง เมื่อนำมาศึกษาสมบัติทางความร้อนของคอมพอสิต พบว่า ความเสถียรทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิดบริสุทธิ์ สำหรับสมบัติการย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ และสมบัติการดูดซึมน้ำ พบว่า ปริมาณของเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร้อยละน้ำหนักที่หายไปของวัสดุคอมพอสิตเมื่อถูกฝังกลบเพิ่มขึ้น และดูดซึมน้ำได้มากขึ้นเมื่อถูกแช่ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ตามลำดับ


การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง Jan 2019

การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลฟิล์มโดยใช้กรดซิตริกเป็นสารเชื่อมขวางสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผลจากนั้นทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ดังนี้คือ การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันโดยเทคนิค ATR-FTIR การวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาที่พื้นผิวโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด การทดสอบสมบัติการทนต่อแรงดึง การวิเคราะห์พฤติกรรมในการบวมตัว สัดส่วนการเกิดเจล ความสามารถในการกักเก็บยา ร้อยละการกักเก็บยา พฤติกรรมในการปลดปล่อยยา การต้านแบคทีเรียโดยวิเคราะห์จากร้อยละการลดลงของแบคทีเรีย โดยจากการพิสูจน์เอกลักษณ์พบว่า การเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ได้ฟิล์มที่มีสัดส่วนในการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบฟิล์มที่ปริมาณกรดซิตริกเท่ากันในทางตรงกันข้ามพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ค่าสัดส่วนการบวมตัวของฟิล์มมีค่าที่น้อยลงเพราะว่าการเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้เพิ่มระดับการเชื่อมขวางของฟิล์มจึงทำให้มีสัดส่วนการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นต่อมาจากเทคนิค ATR-FTIR ได้ยืนยันการเกิดการเชื่อมขวางระหว่างโมเลกุลคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสกับพอลิไวนิลแอลกอฮอล์โดยพันธะเอสเทอร์และสำหรับการทดสอบการทนต่อแรงดึงพบว่าค่าความคงทนต่อแรงดึง ค่าความเหนียว ค่าร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด ของฟิล์มมีค่าลดลงตามปริมาณการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการทดสอบฟิล์มแห้งต่อมาสำหรับการศึกษาพฤติกรรมในการกักเก็บยาของฟิล์มพบว่าฟิล์มทุกสูตรมีพฤติกรรมในการกักเก็บยาที่คล้ายคลึงกันและการศึกษาพฤติกรรมในการปลดปล่อยยาพบว่าฟิล์มทั้งหมดสามารถช่วยชะลอการปลดปล่อยยาเททราไซคลินให้ช้าลงได้สุดท้ายจากการทดสอบความสามารถในการต้านแบคทีเรียจากฟิล์มสูตร CMC 80/PVA 20/TiO2 2% พบว่าฟิล์มมีสมบัติต้านแบคทีเรียทั้งแกรมบวก (S. aureus) และ แกรมลบ (E.coli) โดยให้ค่าร้อยละการลดลงของแบคทีเรียเท่ากับ 100 เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน JIS Z 2801 โดยสรุปจากข้อมูลผลการทดลองทั้งหมดทำให้สรุปได้ว่าไฮโดรเจลฟิล์มมีประสิทธิภาพที่เพียงพอในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผล


Molecular Dynamics Simulation Of Phenolic Compound Adsorption On Amine-Functionalized Carbon Nanotubes, Nutapong Tanatananon Jan 2019

Molecular Dynamics Simulation Of Phenolic Compound Adsorption On Amine-Functionalized Carbon Nanotubes, Nutapong Tanatananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The interactions between green tea phenolic compounds, including (−)-epigallocatechin gallate (EGCG) and (−)-epigallocatechin (EGC), and various amine groups functionalized on carbon nanotube (CNT) were studied by all-atom molecular dynamics (MD) simulations. The amine functional groups: ethylenediamine (EDA), triethylenetetramine (TETA), and melamine (MA) were considered in this study. Simulated results showed that amine molecular structure grafted on CNT surface affected diffusion and adsorption of EGCG and EGC. The EDA-functionalized CNT (EDA/CNT) provided a strong adsorption affinity to EGCG and EGC with their bicyclic segments located within the EDA layer. It is because the functionalized-EDA structure was well-defined and given empty site …


Correlation Of Restitution Coefficient : Experiment And Computational Fluid Dynamics Simulation, Tarabordin Yurata Jan 2019

Correlation Of Restitution Coefficient : Experiment And Computational Fluid Dynamics Simulation, Tarabordin Yurata

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The computational fluid dynamics with the discrete element method (CFD-DEM) is widely used to predict the hydrodynamics profile of the multiphase flow of fluid-solid or fluidization process. The coefficient of restitution (COR) is one of the most important parameters which is vital for CFD-DEM simulation. This parameter denotes the ratio of the relative velocity after the collision to the relative velocity before the collision. The appropriate value of the coefficient of restitution must receive attention to obtain the realistic collision and hydrodynamics profile. However, this parameter is still selected by trial and error in traditional CFD-DEM due to the lacking …


Metallophthalocyanine-Based Electrode For Sodium-Ion Batteries, Apinut Chongphanitkul Jan 2019

Metallophthalocyanine-Based Electrode For Sodium-Ion Batteries, Apinut Chongphanitkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, metallophthalocyanine-modified electrodes were fabricated and investigated for their electrochemical properties and energy storage performance. Six kinds of electrodes were prepared from indium tin oxide-coated glass (ITO-coated glass) substrates coated with titanium dioxide nanotube (TNT), poly(3,4-ethylenedioxythiophene) (PEDOT) and reduced graphene oxide (rGO) to improve conductivity of the substrates and surface area for the phthalocyanine-based materials. Target phthalocyanine monomers possess amino groups and Co(II) or Ni(II) central metals. On surface of each electrodes, films of the monomers were coated by a drop-casting technique, while those of their polymers were formed by electropolymerization. According to study on electrochemically active surface …


Non-Hessian Method For Normal Coordinates Calculation, Chirayut Supunyabut Jan 2019

Non-Hessian Method For Normal Coordinates Calculation, Chirayut Supunyabut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Normal mode analysis (NMA) plays an essential role in chemistry for a very long time. It is both a key to understanding molecular motions, especially vibration motions, and to identifying characteristic peaks in infrared and Raman spectra. The traditional NMA requires the construction of a Hessian matrix and using harmonic approximation, which is almost impossible when large molecules and quantum mechanics are involved. Usually, NMA serves a complete set of normal coordinates that describes all possible motion modes of a molecule. This work presents a novel methodology to calculate normal coordinates that use only molecular geometries as input by considering …