Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Geriatric Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2022

Articles 1 - 23 of 23

Full-Text Articles in Geriatric Nursing

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระหว่างกลุ่มซึ่ง ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วัยผู้ใหญ่ อายุน้อยกว่า 60ปี ที่และมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เข้ารับบริการที่ห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 36 คน กลุ่มทดลอง 36 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันได้แก่ ระดับการมองเห็น และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยผสมผสานแนวคิดของ Lorig and Holman (2003) ร่วมกับการให้ความรู้และการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน (Diabetes Self-Management Education) ประกอบด้วยขั้นตอน 1. การประเมิน (Assessment) 2. การตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 3.การวางแผนการปฏิบัติ (Planning) 4. การนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ (Implementation) 5.การประเมินผลการปฏิบัติ (Evaluation) ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เครื่องมือดำเนินการทดลองประกอบด้วยแผนการสอน คู่มือการจัดการตนเองแบบบันทึกเป้าหมายการจัดการตนเอง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ.82 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired sample t- test, independent sample t –test และ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, รัชนี พระราช Jan 2022

ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, รัชนี พระราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นรื้อรังเพศชายและหญิง จำนวน 132 ราย ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทั่วไปและคลินิกโรคปอด โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการหายใจลำบาก แบบสอบถามความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสอบถามหาค่าความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 1.00, 0.81, 0.93, 0.96 และ 1.00 ตามลำดับ และได้ความเที่ยงเท่ากับ .74, .72, .95 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 65.23 (SD = 6.55) 2. ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร (b = .407, p < .05) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (b = .366, p < .05) และภาวะทุพโภชนาการ (b = -.140, p < .05) ตามลำดับ และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 46.2 (Adjusted R2 = .462, F = 38.533, p < .05)


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, เบญจมาศ แสงสว่าง Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, เบญจมาศ แสงสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการฟอกเลือด โรคร่วม ดัชนีมวลกาย ระดับแคลเซียม ระดับฮีโมโกลบิน อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 101 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามความรุนแรงของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพัก แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับ แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงเท่ากับ 0.84, 0.89, 0.89 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สเปียร์แมน และอีต้า ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความรุนแรงของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ในระดับรุนแรงปานกลาง (x=13.91, SD=9.74) 2. โรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.249, 0.213, 0.521, 0.416 และ 0.222 ตามลำดับ) โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ระยะเวลาในการฟอกเลือด ระดับแคลเซียม ระดับฮีโมโกลบินไม่มีความสัมพันธ์กับทางบวกกับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลของการใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็นต่อความปวดของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดเปิดช่องท้อง, โชติกา ทองหล่อ Jan 2022

ผลของการใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็นต่อความปวดของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดเปิดช่องท้อง, โชติกา ทองหล่อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความปวดของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดเปิดช่องท้อง ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็นและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระบบทางเดินอาหารเกี่ยวกับส่วนของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และได้รับการผ่าตัดเปิดช่องท้อง ที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลระยอง จำนวน 40 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 20 รายกลุ่มทดลอง 20 ราย จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลาก และดำเนินการให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยการจับคู่ (Matched pairs) กลุ่มทดลองได้รับการประคบเย็นด้วยหมอนข้าวไรซ์เบอรี่ ซึ่งจะประคบวันที่ 1, 2 และ 3 หลังการผ่าตัด โดยประคบครั้งละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง ก่อนผู้ป่วยทำกิจกรรมลุกเดินโดยเร็ว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นวัตกรรมหมอนข้าวไรซ์เบอรี่ที่ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวดแบบตัวเลข ซึ่งทดสอบค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ได้ค่า r = .801, แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล, แบบบันทึกการใช้นวัตกรรมหมอนข้าวไรซ์เบอรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ independent t-test และ Repeated Measured ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารที่ใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็น ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังผ่าตัด ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้เฉพาะการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)


ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง, กัญธิดา พันทรังษี Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง, กัญธิดา พันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง ตามแนวคิดการจัดการกับอาการของ Dodd (2001) และแนวคิดการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยการจับคู่ อายุ จำนวนยาแก้ปวดที่ได้รับระหว่างการผ่าตัด และระยะเวลาในการผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ1) การประเมินประสบการณ์การมีอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด 2) กลวิธีการจัดการกับอาการท้องอืดหลังผ่าตัด และ 3) การประเมินผลการจัดการอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินอาการท้องอืด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้อง (Repeated – measures ANOVA) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ อาการท้องอืดหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในช่วงเวลาหลังผ่าตัดวันที่ 1 4 ชั่วโมง, 8 ชั่วโมง และหลังผ่าตัดวันที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว, กัมพล อินทรทะกูล Jan 2022

ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว, กัมพล อินทรทะกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Martin Heidegger คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลักให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ van Manen ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 13 ราย ผลการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การให้ความหมายของความเจ็บป่วยด้วยมะเร็งระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน และ 2) ยังหวังว่าการรักษาอาจจะช่วยให้หายได้ และส่วนที่ 2 ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การดูแลเพื่อเพิ่มความสุขสบาย ไม่ทุกข์ทรมาน ครอบคลุมในเรื่อง 1.1) การดูแลความสะอาดและความสุขสบายตามสภาพร่างกายกายของผู้ป่วย 1.2) การดูแลให้ได้รับอาหารตามความต้องการของผู้ป่วย 1.3) การดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัย 1.4) การดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย 1.5) การดูแลตามความเชื่อทางศาสนา และ 1.6) การดูแลผู้ป่วยเพื่อลดความกลัวตาย 2) การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน ครอบคลุมในเรื่อง 2.1) การได้รับความช่วยเหลือสนันสนุนจากครอบครัว 2.2) การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากระบบสุขภาพ และ 2.3) การได้รับความช่วยเหลือสนันสนุนจากระบบสุขภาพชุมชน และ 3) การเรียนรู้และการปรับตัวจากการดูแล ครอบคลุมในเรื่อง 3.1) เพราะความไม่รู้จึงทำให้เครียดในช่วงแรกของการดูแล 3.2) เหนื่อยจากความรับผิดชอบหลากหลาย ร่างกายพักผ่อนไม่พอ และ 3.3) ภูมิใจ ดีใจที่ได้ดูแล และเป็นโอกาสที่ได้ตอบแทนพระคุณ จากผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทีมสุขภาพในการส่งเสริมศักยภาพของผู้ดูแลในครอบครัวให้สามารถดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านได้


ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม, จันทร พูลพิพัฒน์ Jan 2022

ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม, จันทร พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบพรรณนาเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม และศึกษาปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมจากปัจจัยด้านอายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ความกลัวการวินิจฉัยและการรักษา และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมทุกระยะของโรคที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม คลินิกเต้านม แผนกรังสีรักษา และแผนกเคมีบำบัด โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 41 คน และโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จำนวน 69 คน รวม 110 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกระยะเวลาการมาโรงพยาบาล 3) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม 4) แบบสอบถามความกลัวการวินิจฉัยและการรักษา 5) แบบสอบถามการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00, 1.00, .83, .92, .78 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .88, .81 ตามลำดับ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมมีค่า KR-20 เท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระยะเวลาการมาโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่พบอาการผิดปกติครั้งแรกจนกระทั่งมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกมีระยะเวลาเฉลี่ย 119.45 วัน 2) ปัจจัยที่ทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม ประกอบด้วย 2 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม (Beta=-.447) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (Beta=-.236) สามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ ร้อยละ 24.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านอายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความกลัวการวินิจฉัยและการรักษา ไม่สามารถทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้


ปัจจัยทำนายอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ธารทิพย์ แสนดวง Jan 2022

ปัจจัยทำนายอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ธารทิพย์ แสนดวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการพยากรณ์ของปัจจัยได้แก่ ความเหนื่อยล้า ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า การปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 123 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ และแบบประเมินภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .97, .90, .84, .86, .90, และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสเปียร์แมน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พบว่าอยู่ในระดับเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ (Mean=12.13, SD=7.87) 2. ความเหนื่อยล้า ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า การปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.494, .695, .633, .336 และ .399 ตามลำดับ) 3. ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า และการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ สามารถร่วมกันทำนายอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ร้อยละ 58.8 (R2= .588) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z อาการนอนไม่หลับ = .468 Z ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ + .347 Z ภาวะซึมเศร้า + .128 Z การปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019, พัณณิตา แสงขำ Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019, พัณณิตา แสงขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความกลัว ภาวะโรคร่วม ดัชนีมวลกาย อาการนอนไม่หลับ และการสนับสนุนทางสังคมกับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ คนไทยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร จำนวน 101 คน ที่ได้จากการเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและและการเจ็บป่วย 2) แบบประเมินภาวะโรคร่วม 3) แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า 4) แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต 5) แบบสอบถามความกลัว 6) แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับและ 7) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค แบบสอบถามที่ 3,4,5,6,7 มีค่าเท่ากับ 0.92, 0.90, 0.94, 0.92และ0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 มีคะแนนอาการเหนื่อยล้าโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 3.07 (SD=1.67) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.7 รายงานอาการเหนื่อยล้า 2. ภาวะซึมเศร้า ความกลัว ความวิตกกังวล อาการนอนไม่หลับและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.495, 0.545, 0.468, 0.467และ -0.301 ตามลำดับ) 3. ภาวะโรคร่วมและดัชนีมวลกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร, ปริยาภรณ์ พฤกษหิรัญ Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร, ปริยาภรณ์ พฤกษหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร และปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร ได้แก่ อายุ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การสนับสนุนทางสังคม และความแตกฉานทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่มารับบริการ ณ คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจในโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 110 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย 3) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการทำกิจกรรมทางกาย 4) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการทำกิจกรรมทางกาย 5) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการทำกิจกรรมทางกาย 6) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการทำกิจกรรมทางกาย และ 7) แบบสอบถามความแตกฉานทางสุขภาพเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาในชุดที่ 2 – 7 เท่ากับ 1.00, 1.00, 0.97, 1.00, 1.00, และ 1.00 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคชุดที่ 2 – 7 เท่ากับ 0.76, 0.88, 0.95, 0.84, 0.89, และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรมีค่าเฉลี่ยการทำกิจกรรมทางกาย เท่ากับ 6.82 (S.D. = 2.25) 2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม และความแตกฉานทางสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.448, Spearman rho = 0.339, 0.217, และ 0.459 …


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นรีกานต์ กลั่นกำเนิด Jan 2022

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นรีกานต์ กลั่นกำเนิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนรวมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนรวมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้าน 30 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ 30 คน จับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีความึคล้ายคลึงกันในเรื่องดัชนีมวลกายและความรุนแรงของโรค เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินระดับความรู้สึกเจ็บปวด แบบสอบถามกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ และแบบสัมภาษณ์ความเชื่อมั่นตนเองในการเคลื่อนไหวออกแรง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และค่าความเที่ยง เท่ากับ .76 .98 และ .74. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Dependent t-test และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความปวดต่ำกว่า และกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความปวดต่ำกว่า และกิจกรรมทางกายสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง, ธนิกานต์ กฤษณะ Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง, ธนิกานต์ กฤษณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยในที่ได้รับการผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 ราย ได้รับการจับคู่ด้วย เพศ อายุ ประสบการณ์การผ่าตัดในอดีต และชนิดของยาแก้ปวดที่ได้รับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการจัดการอาการของ Dodd และคณะ (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวดแบบมาตรวัดความปวดด้วยสายตา (Visual analog scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติ Independent sample t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้องภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดต่ำกว่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19, ชนินาถ ชำนาญดี Jan 2022

ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19, ชนินาถ ชำนาญดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl Phenomenology ผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทป ข้อมูลที่ได้นำมาถอดเทปแบบคำต่อคำและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีการของโคไลซีย์ (Colaizzi) ผลการศึกษาวิจัยพบว่าประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 สรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ประสบการณ์การรับรู้อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 1.1) อาการแรกเริ่ม ไม่ได้คิดว่าจะเป็นไม่รู้ติดมาจากไหน 1.2) มันเหนื่อยมาก หายใจไม่ออก แทบทนไม่ไหว และ 1.3) ร่างกายไม่เหมือนเดิม มีผลตามมาภายหลังการเจ็บป่วย 2 .ประสบการณ์ในการเข้ารับการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 2.1) รู้สึกโชคดี เข้าถึงการรักษา จึงรอดตาย 2.2) ถูกจำกัดให้อยู่แต่ในห้อง ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียง 2.3) ได้รับการดูแลผ่านกล้องวงจรปิดและพูดคุยผ่านลำโพง และ 2.4) ได้รับการดูแลที่ขาดสัมพันธภาพกับผู้ดูแล 3. หลากอารมณ์ หลายความรู้สึกภายในใจ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 3.1) กังวล กลัวว่าจะไม่รอด 3.2) รู้สึกว้าเหว่ โดดเดี่ยว และ 3.3) ปล่อยวาง ยอมรับและเข้าใจสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น 4. ประสบการณ์ในการกลับเข้าสู่สังคม ภายหลังที่หายจากการเจ็บป่วย ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย4.1) ถูกรังเกียจ เดินหนี ไม่พูดคุย 4.2) ได้รับความห่วงใยและกำลังใจจากคนใกล้ตัว 4.3) ปรับตนเองในการดำเนินชีวิต เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 4.4) ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และ 4.5) คิดทบทวนเกี่ยวกับชีวิตในอนาคต ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 มากขึ้น โดยผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการปัญหาความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19และสามารถนำไปพัฒนาการพยาบาลแบบองค์รวม


การศึกษากลุ่มอาการภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร, นิรัชพร เกิดสุข Jan 2022

การศึกษากลุ่มอาการภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร, นิรัชพร เกิดสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย เพื่อศึกษากลุ่มอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ คนไทยหลังติดเชื้อโควิด-19 อายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 300 คน เขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด 1) เข้ารับการรักษาในระบบสุขภาพ ผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ 2) แยกกักตัวในชุมชน หรือแยกกักตัวที่บ้าน 3) เป็นผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อโควิด-19 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เกณฑ์การคัดออก คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้ เก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างเดือนกันยายน 2565 - พฤศจิกายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด-19 มีการรับรู้ความถี่มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เหนื่อยล้า ไอ ความจำลดลง มีเสมหะ และผมร่วง ตามลำดับ การรับรู้ความรุนแรง ได้แก่ เหนื่อยล้า ไอ ความจำลดลง นอนไม่หลับ และมีเสมหะ ตามลำดับ การรับรู้ความทุกข์ทรมาน ได้แก่ เหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ ความจำลดลง และมีเสมหะ ตามลำดับ 2. องค์ประกอบของกลุ่มอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ มีค่าความแปรปรวนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 67.43 ได้แก่ กลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง, กลุ่มอาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ และภาวะสมอง, กลุ่มอาการระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ, กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป, กลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการเหนื่อยล้า


ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, พิมพ์ลดา เปี่ยมสุขวิลัย Jan 2022

ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, พิมพ์ลดา เปี่ยมสุขวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ไม่มีการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ณ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และชนิดของยาลดความดันโลหิตที่ใช้ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลองกลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียม เครื่องมือที่ใช้งานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องวัดความดันโลหิต และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดโซเดียม ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียม กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้หลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมในกลุ่มทดลองมีความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง, ภัทราภรณ์ หมานมุ้ย Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง, ภัทราภรณ์ หมานมุ้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ รายได้ สถานะการสูบบุหรี่ ภาวะโรคร่วม (โรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภาวะกรดไหลย้อน) อาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทรับกลิ่น คุณภาพการนอนหลับ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรคกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-65 ปี มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรังมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยนอกหรือคลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทางโรคด้านนาสิกวิทยาและภูมิแพ้ โรงพยาบาลตติยภูมิขึ้นไป 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 143 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา 2) แบบสอบถามอาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทรับกลิ่น 3) แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ 4) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรค และ 5) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ แบบสอบถามทุกฉบับได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีคำนวนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.83, 0.73, 0.77 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์ Eta ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังอยู่ในระดับต่ำทั้ง 8 มิติ ได้แก่ การรับรู้สุขภาพทั่วไป ความเจ็บปวด บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากปัญหาด้านอารมณ์ บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากสุขภาพทางกาย พลังงาน สุขภาพจิตทั่วไป การทำหน้าที่ทางสังคม และการทำหน้าที่ทางกาย (ร้อยละ 50.3, 35.7, 35.7, 32.2, 28.0, 19.6, 10.5, และ 9.1 ตามลำดับ) คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี อาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทการรับกลิ่น มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ -.479 และ -.439 ตามลำดับ ในขณะที่การรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .306 รายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนเท่ากับ .148 ในขณะที่โรคหืดและสถานะการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รัชฎาพร บุญสนอง Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รัชฎาพร บุญสนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 195 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด 3) แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย 4) แบบสอบถามแรงจูงใจ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.94, 1.0, 1.0, 0.97, 1.0 และ 0.95 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .76, .80, .73, .91, .96 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค ความรู้ แรงจูงใจ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับสูง (Mean = 100.98 SD = 12.39, Mean = 16.48 SD = 2.16, Mean = 76.03 SD = 8.63, Mean = 67.43 SD = 9.09 และ Mean = 25.73 SD = 3.79 ตามลำดับ) และมีคะแนนการรับรู้การเจ็บป่วยระดับปานกลาง (Mean = 49.81 SD …


ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ราเชนร์ สุโท Jan 2022

ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ราเชนร์ สุโท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเอง ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน จับคู่ทั้งสองกลุ่มให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 1) การประเมิน (assess) 2) การให้คำแนะนำ (advise) 3) การทำความตกลง (agree) 4) การช่วยเหลือ (assist) 5) การติดตามและประเมินผล (arrange) ต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการหายใจลำบาก และแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการอาการหายใจลำบากซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และ .88 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบากของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองหลังการได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเองน้อยกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบากของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้นต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ที่เป็นวัณโรคปอด, วริฐา พรกิจวรกุล Jan 2022

ผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้นต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ที่เป็นวัณโรคปอด, วริฐา พรกิจวรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ที่เป็นวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่อย่างน้อย 1 มวนในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เข้ารับการรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน กำหนดให้ 30 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม และ 30 คนหลังเป็นกลุ่มทดลอง จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุและระดับการติดนิโคติน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลอง ได้รับการพยาบาลตามปกติและโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ และแบบสอบถามสถานะการสูบบุหรี่ ประเมินการเลิกบุหรี่จากการเลิกสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันในช่วง 7 วันก่อนระยะเวลาประเมินผลที่ 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ สถิติทีและสถิติซี ผลการทดลองพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้น สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้น สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) 3. เมื่อประเมินที่ระยะเวลา 2 เดือนหลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่ในกลุ่มทดลอง เลิกบุหรี่ได้ 12 คน ส่วนกลุ่มควบคุม เลิกบุหรี่ได้ 3 คน อัตราการเลิกบุหรี่ในช่วง 7 วันก่อนประเมินผล ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต, วิชาดา ใหญ่สมบูรณ์ Jan 2022

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต, วิชาดา ใหญ่สมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต 6 เดือนขึ้นไป อายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิง ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน โดยทำการจับคู่ กลุ่มตัวอย่างแต่ละคู่มีอายุใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันไม่เกิน 5 ปี และระยะเวลาหลังการปลูกถ่ายไตใกล้เคียงกันไม่เกิน 1 ปี กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) ร่วมกับใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยา ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา และแบบสอบถามวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาที่เหมาะสม มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.77 และ 0.92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของชุดการพยาบาลเพื่อการดูแลช่องปากต่ออาการกระหายน้ำและภาวะปากแห้งของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, ศุภชัย โม้งปราณีต Jan 2022

ผลของชุดการพยาบาลเพื่อการดูแลช่องปากต่ออาการกระหายน้ำและภาวะปากแห้งของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, ศุภชัย โม้งปราณีต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองแบบไขว้กันวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชุดการพยาบาลเพื่อการดูแลช่องปากต่ออาการกระหายน้ำและภาวะปากแห้งของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอาการกระหายน้ำและภาวะปากแห้ง จำนวน 14 คน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดการพยาบาลเพื่อการดูแลช่องปาก แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับอาการกระหายน้ำ แบบประเมินภาวะปากแห้ง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินระดับอาการกระหายน้ำโดยการทดสอบซ้ำ ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินภาวะปากแห้ง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired-Samples t-test และ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการกระหายน้ำของผู้ป่วยภายหลังได้รับชุดการพยาบาลเพื่อการดูแลช่องปากต่ำกว่าภายหลังได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะปากแห้งของผู้ป่วยภายหลังได้รับชุดการพยาบาลเพื่อการดูแลช่องปากต่ำกว่าภายหลังได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, สิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล Jan 2022

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, สิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป อายุ 20-59 ปี เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดแบบเจาะจงเข้ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 22 คน และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส 22 คน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน Short Form McGill Pain Questionnaire (SFMPQ) และแบบประเมินการจัดการตนเอง (SM) ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาชเท่ากับ 0.70 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา, Dependent Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่ากลุ่มหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, สุดารัตน์ ทิพย์พินิจ Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, สุดารัตน์ ทิพย์พินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 40 คน ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศและอายุ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความร่วมมือในการออกกำลังกาย เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินการจัดการตนเอง ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความตรงเท่ากับ 1.00 และ .94 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73 และ .79 และทดสอบความเที่ยงของโปรแกรมมีความสอดคล้องสูง (100 %) เมื่อนำไปทดลองใช้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมมีความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 9.30 (SD = 4.91) และกลุ่มทดลอง เท่ากับ 21.30 (SD = 3.20) ค่าเฉลี่ยความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 9.16, df=32.65, p<0.000)