Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Sports Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศ โดยการนำมาทดสอบค่า"ที"(t-test) จำแนกตามอายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยการทดสอบค่า "เอฟ"(F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่าง ใช้การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe Method) และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 36 - 45 ปี มีสถานะแต่งงานแล้ว มีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า มีอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,000 - 30,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. ผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมอยู่ในระดับมากและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยโดยรวมมีทิศทางบวก


ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย, ไอรดา จันทร์อารักษ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย, ไอรดา จันทร์อารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย และหาความสัมพันธ์พหุคูณของการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ประชากรในการศึกษาเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 316 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. พนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทยมีระดับการรับรู้ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 2. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .485 และ .503 ตามลำดับ) 3. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อแสดงค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta Coefficients) พบว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีอิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีค่าเท่ากับ β = 0.241, 0.319 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อีกทั้งพนักงานสามารถรับรู้ถึงการปฏิบัติงานของตนเองได้ในระดับสูง


ผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น, ครรชิต มุละสีวะ Jan 2017

ผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น, ครรชิต มุละสีวะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อ ความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการครั้งนี้ เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชายในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 18 คน อายุระหว่าง 15-18 ปี ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ก่อนทำการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการฝึกด้วยแรงต้านที่ความหนัก 60% ของ 1 RM 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาความแข็งแรงและให้คุ้นเคยกับการออกกำลังกายด้วยแรงต้าน หลังจากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 6 คน กลุ่มทดลองที่ 1 (G1) ฝึกโปรแกรมพลังอดทนแบบต่อเนื่อง 20 ครั้ง ที่ระดับความหนัก 30% ของ 1 RM โดยไม่มีเวลาพัก ในท่านอนดัน กลุ่มทดลองที่ 2 (G2) และกลุ่มทดลองที่ 3 (G3) ฝึกโปรแกรมพลังอดทนเหมือนกันแต่มีเวลาพักระหว่างครั้ง 2 วินาที และ 4 วินาที ตามลำดับ กลุ่มทดลองทุกกลุ่มทำการฝึก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรตามได้แก่ ความเร็วเฉลี่ยของบาร์ แรงเฉลี่ย และพลังอดทนในท่านอนดัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี่ และวิเคราะห์ผลการทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัย ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มมี อายุ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และความแข็งแรงสัมพัทธ์ ในท่านอนดันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบความแตกต่างของความเร็วเฉลี่ยของบาร์ที่ระดับความหนัก 15%, 30% และ 40% ของ 1 RM ระหว่างทั้งสามกลุ่ม อย่างไรก็ตามกลุ่ม G3 มีค่าพลังอดทนที่ระดับความหนัก 30% ของ …


ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย, ชนาธิป ซ้อนขำ Jan 2017

ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย, ชนาธิป ซ้อนขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ต่อเนื่องในการเรียนรู้ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 10 คน นักกีฬาทั้งหมดล้วนถนัดขาขวา ได้รับการทดสอบการเตะเฉียงระดับลำตัวทั้งสองข้าง ใน 3 รูปแบบการเตะ คือ รูปแบบการเตะปกติ รูปแบบให้ผลย้อนกลับและรูปแบบตั้งเป้าหมาย เพื่อทดสอบความเร็วในการเตะนำตัวแปรด้านความเร็วอันประกอบไปด้วย ความเร็วสูงสุด และความเร็วเฉลี่ยในการเตะมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างรูปแบบและข้างของขาที่ใช้เตะ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ (Two way ANOVA with repeated measures) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีLSDโดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบอิทธิพลของรูปแบบการเตะที่มีต่อ ความเร็วสูงสุด และความเร็วเฉลี่ย (p< .05) และอิทธิพลของขาที่ใช้เตะต่อความเร็วสูงสุดและความเร็วเฉลี่ย (p< .05) และปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเตะและขาข้างที่ใช้เตะที่ (p < .05) เมื่อเปรียบเทียบแบบรายคู่พบว่าความเร็วเฉลี่ยในการเตะด้วยขาข้างที่ถนัดระหว่างการทดสอบเตะรูปแบบปกติ รูปแบบให้ผลย้อนกลับ และรูปแบบตั้งเป้าหมาย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเตะด้วยขาข้างที่ไม่ถนัด รูปแบบปกติกับรูปแบบให้ผลย้อนกลับและรูปแบบปกติกับรูปแบบตั้งเป้าหมาย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย มีอิทธิพลต่อความความเร็วเฉลี่ยในการเตะเกิดขึ้นในขาข้างที่ถนัดมากกว่าขาข้างที่ไม่ถนัด การให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายส่งผลให้ความเร็วในการเตะเพิ่มขึ้นมากกว่าการเตะตามปกติ เนื่องจากมีความสัมพันธ์สอดคล้องอย่างต่อเนื่องของการเรียนรู้แหล่งข้อมูลที่เป็นตัวกำหนดแนวทางของการแสดงทักษะที่เพิ่มขึ้น ทำให้การแสดงทักษะมีแหล่งอ้างอิงในการแสดงออก เกิดความลื่นไหลที่มากขึ้น และข้อผิดพลาดที่น้อยลง จึงทำให้ความเร็วในการเตะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย


ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ผู้วิจัยเลือกศึกษา 1. ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.96 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อการค่าถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อหาระดับความแตกต่างของการตัดสินใจ ผลการวิจัย พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลของการฝึกเสริมด้วยแรงต้านจากยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันระดับมหาวิทยาลัย, ชวพัส โตเจริญบดี Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยแรงต้านจากยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันระดับมหาวิทยาลัย, ชวพัส โตเจริญบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยแรงต้านจากยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากชมรมแบดมินตันแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 6 คน จะได้รับการฝึกโดยใช้แรงต้านจากเครื่องเวอร์ติแม็ก (Vertimax) เสริมจากโปรแกรมการฝึกแบดมินตันตามปกติ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกแบดมินตันตามปกติจำนวน 6 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะถูกทำการทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาในการกระโดดจากแผ่นวัดแรงปฏิกิริยา Force plate ร่วมกับชุดเครื่องมือวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (Motion analysis) และการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว (Badminton-specific movement agility tests) ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. แบบสองมุมข้าง (Sideway agility test) 2. แบบสี่มุม (Four corner agility test) ซึ่งผลที่ได้รับจากการทดสอบพลังกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวจะถูกบันทึกและรายงานในรูปของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยจะทำการทดสอบทั้งก่อนและหลังการทดลองจากนั้นจึงนำผลที่ได้มาคำนวณทางสถิติ ผลการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังจากการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าความคล่องแคล่วที่ดีขึ้นทั้งในแบบทดสอบแบบสองมุมข้างและแบบสี่มุม (p = 0.01 และ 0.01) ขณะที่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าความคล่องแคล่วว่องไวทั้งในแบบทดสอบสองมุมข้างและแบบสี่มุม (p = 0.35 และ 1.00 ) ในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ค่าร้อยละของความคล่องแคล่วในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุม (p = 0.01 และ 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างกันของค่าพลังกล้ามเนื้อขาภายหลังจากได้รับการฝึกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการฝึกด้วยยางยืดแบบมีลูกรอกสามารถใช้เป็นการฝึกเสริมเพื่อพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันได้


การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดีกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง, ตวงทิพย์ สุระรังสิต Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดีกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง, ตวงทิพย์ สุระรังสิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดี ที่มีและไม่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยประกอบด้วย ผู้มีสุขภาพดี (Healthy: H) ผู้มีสุขภาพดีที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (Healthy with chronic ankle instability: H+CAI) นักลีลาศ (Dancer: D) และนักลีลาศที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (D+CAI) กลุ่มละ 10 คน วัดค่าดัชนีความมั่นคงรวม (Overall Stability index: OSI) ดัชนีความมั่นคงในทิศหน้าหลัง (Anteroposterior stability index: APSI) และดัชนีความมั่นคงในทิศด้านข้าง (Mediolateral Stability index: MLSI) รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า ได้แก่ กล้ามเนื้อทิเบียลิส แอนทีเรีย (Tibialis anteria: TA) เพอโรเนียส ลองกัส (Peroneus loungus: Pl) แกสตรอคนีเมียส (Gastrocnemius lateral part: Ga) และโซเลียส (Soleus: So) ขณะทำการทดสอบยืนขาข้างเดียว 4 รูปแบบ คือ ยืนเปิดตา พื้นราบ (Eyes opened-Floor: EO-Fl) ยืนปิดตา พื้นราบ (Eyes closed-Floor: EC-Fl) ยืนเปิดตา พื้นโฟม (Eyes opened-Foam: EO-Fo) และยืนปิดตา พื้นโฟม (Eyes closed-Foam: EC-Fo) สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวัดค่าความแปรปรวนสองทาง (Two way-ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ขณะยืนทดสอบรูปแบบ EO-Fl ค่า OSI ของกลุ่ม H มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .039 กลุ่ม D …


ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล, ธนาวรรณ นุ่นจันทร์ Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล, ธนาวรรณ นุ่นจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับเยาวชน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง สังกัดโรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับเยาวชน (อายุ15.30 ± 1.12 ; น้ำหนัก 60.53 ± 7.51 กก.; และส่วนสูง 171.13 ± 5.50 ซม.) กำหนดกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (15 คน) ทำการฝึกตามโปร แกรมการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลตามปกติในแต่ละวันเพียงอย่างเดียว และกลุ่มทดลอง (15คน) ทำการฝึกวอล เลย์บอลตามปกติและได้รับการฝึกเสริมการประสานงานของตาและเท้า สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตัวแปรของความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้น อันได้แก่ เวลาปฏิกิริยา (Reaction time) เวลาเคลื่อนที่ (Movement time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ถูกบันทึกทั้งในการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the social science) เพื่อหาค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบสมมติฐาน โดยการหาค่าที (t-test) ระหว่างกลุ่ม และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Paired sample t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย หลังจากการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า เวลาปฏิกิริยา (Reaction time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ของกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของเวลาเคลื่อนไหว (Movement time) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าอาจเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนาเวลาปฏิกิริยา (Reaction time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นของนักกีฬาวอลเลย์บอลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ผลฉับพลันของการนวดตนเองที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงาน, นัชชา แสวงพรรค Jan 2017

ผลฉับพลันของการนวดตนเองที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงาน, นัชชา แสวงพรรค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของการนวดตนเองด้วยมือ และนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู ที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณอัพเพอะ ทราพิเซียสในพนักงานสำนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสำนักงานเพศชายและหญิงที่มีอายุ 25 - 45 ปี จำนวน 17 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนทำการทดลองทั้ง 3 สภาวะ ได้แก่ การนวดตนเองด้วยมือ การนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู และการนั่งพักเฉยๆ บนเก้าอี้ เว้นระหว่างสภาวะการทดลองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยประเมินระดับความรู้สึกเมื่อยล้าด้วยแบบประเมินมาตรวัดตัวเลข (Numerical Rating Scale) และบันทึกค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) เพื่อหาค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (Maximum voluntary contraction) ก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) หากพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Post hoc test) ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อหลังการทดลองทั้ง 3 สภาวะมีค่าลดลง ค่าเฉลี่ยของค่าร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อหลังการทดลองทั้ง 3 สภาวะมีค่าเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และค่าเฉลี่ยร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อ พบว่าหลังการทดลองการนวดตนเองด้วยมือและการนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู ไม่แตกต่างกัน
สรุปผลการวิจัย การนวดตนเองด้วยมือและการนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู บริเวณกล้ามเนื้ออัพเพอะ ทราพิเซียส ระยะเวลา 15 นาที ทำให้พนักงานสำนักงานมีความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อลดลง และกล้ามเนื้อมีการหดตัวดีขึ้น


ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง, นารีรัตน์ จั่นบำรุง Jan 2017

ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง, นารีรัตน์ จั่นบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิง อายุ 60-79 ปี จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ฝึกพิลาทีส จำนวน 14 คน ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยพิลาทีส ครั้งละ 60 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน ใช้ชีวิตประจำวันปกติและไม่ได้รับการฝึกใดๆ ก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาและสมรรถภาพทางกาย ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองโดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair t-test) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยการหาค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกพิลาทีส มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ มีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (Forced Vital Capacity; FVC) ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (Forced Expiratory Volume in one second; FEV 1) การเดิน 6 นาที และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (Maximal expiratory pressure; MEP) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ในกลุ่มฝึกออกกำลังกายด้วยพิลาทีสยังมีการเปลี่ยนแปลง ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (Maximal inspiratory pressure; MIP) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่ม ในขณะที่ตัวแปรทางสรีรวิทยาและค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (Maximum voluntary ventilation; MVV) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬากับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย, บุณยกร ธรรมพานิชวงค์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬากับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย, บุณยกร ธรรมพานิชวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการเป็นผู้สนับสนุนในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และศึกษาการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบเป็นอิสระและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนกีฬาโดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 2. ผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันมีระดับความจำต่อการจดจำตราสินค้าโดยรวมมีผลอยู่ในระดับที่จดจำมาก และในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 3. การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยค่า "ที" แบบเป็นอิสระ(Independent t-test) พบว่า ระดับความเห็นการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาทั้ง 7 ด้านและระดับความจำของการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันไม่แตกต่างกันและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย พบว่า การเป็นผู้สนับสนุนกีฬามีความสัมพันธ์กับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่า การเป็นผู้สนับสนุนกีฬามีอิทธิพลทางบวก (β = 0.741) ในส่วนของการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาในรายด้านทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์กับการจดจำตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่าทุกด้านมีอิทธิพลทางบวก และด้านที่มีผลกระทบต่อการจดจำตราสินค้ามากที่สุดได้แก่ ด้านการสนับสนุนกีฬาแบบเจาะจงประเภทกีฬา รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการสนับสนุนกิจกรรม ด้านการสนับสนุนสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการสนับสนุนนักกีฬา ด้านการสนับสนุนสโมสร/ทีมกีฬา ด้านการสนับสนุนหน่วยงานหรือองค์กรที่ดูแล และ ด้านการสนับสนุนผ่านช่องทางการสื่อสาร


การวิเคราะห์ท่าทางการว่ายน้ำใต้น้ำหลังการกระโดดระหว่างการกระโดดที่ระยะทางแตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำชาย อายุ 18-25 ปี, ปนัดดา ลี้ยาง Jan 2017

การวิเคราะห์ท่าทางการว่ายน้ำใต้น้ำหลังการกระโดดระหว่างการกระโดดที่ระยะทางแตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำชาย อายุ 18-25 ปี, ปนัดดา ลี้ยาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่าทางการเคลื่อนไหวใต้น้ำหลังกระโดดน้ำ โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบว่าการกระโดดน้ำด้วยระยะทางที่แตกต่างกันส่งผลต่อตัวแปรที่สัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในช่วงการเคลื่อนไหวใต้น้ำอย่างไร วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำชายอายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 13 คน มีความถนัดในการกระโดดน้ำท่าเท้านำเท้าตาม (Track Start) และเคยเข้าร่วมการแข่งขันระดับกีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัย หรือการแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยกำหนดให้นักกีฬากระโดดน้ำท่าเท้านำเท้าตามที่ระยะกระโดดใกล้ และระยะที่ไกล (บันทึกภาพการเคลื่อนไหวใต้น้ำโดยกล้องความถี่สูงจำนวน 6 ตัว วิเคราะห์การเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Qualisys Motion Capture เพื่อหาระยะที่ศีรษะลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะที่เท้าลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรก ความเร็วแนวราบขณะเตะขาใต้น้ำ และความเร็วแนวราบขณะว่ายน้ำใต้น้ำ นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรดังกล่าวมาเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในการกระโดดด้วยด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบช่วงว่ายน้ำใต้น้ำทั้ง 3 รอบการเตะด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One–way ANOVA with repeated measures ) โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ .05 ผลการวิจัย: ระยะทางกระโดดไกลส่งผลให้ ระยะที่ศีรษะและเท้าลงลึกที่สุด ลึกน้อยกว่า ในขณะที่ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรกไกลกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการกระโดดใกล้ อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ช่วงว่ายน้ำใต้น้ำมีความเร็วในการเคลื่อนที่ในแนวราบไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อกระโดดที่ระยะใกล้ ความเร็วในแนวราบของการเตะขารอบที่ 1 น้อยกว่ารอบที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย: แม้ว่าการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามที่ระยะใกล้ ใช้เวลาในการมุดน้ำไม่แตกต่างจากการกระโดดที่ระยะไกล แต่การกระโดดที่ระยะไกลจะส่งผลให้ศีรษะและเท้าลงลึกน้อยกว่าโดยอยู่ในระดับความลึกที่เหมาะสมต่อการว่ายน้ำใต้น้ำ จึงมีความเร็วในแนวราบของการว่ายไม่แตกต่างกันของการตีขาทั้ง 3 รอบ ส่งผลให้ใช้เวลาในช่วงออกตัวน้อยกว่าการกระโดดที่ใกล้


ผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, ปริญญ์ พรหมม่วง Jan 2017

ผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, ปริญญ์ พรหมม่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนอายุ 16-18 ปี เพศชาย วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตซอลโรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ( Purposive selection) แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม (Random assignment) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลองที่1 ฝึกโปรแกรมความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับตารางเก้าช่อง กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกโปรแกรมความมั่นคงแกนกลางลำตัวเพียงอย่างเดียว ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ความเร่ง และความมั่นคงแกนกลางลำตัว โดยทำการทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง คือก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มทดลองที่ 1 ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร่ง และความมั่นคงแกนกลางลำตัวมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับ ในกลุ่มทดลองที่ 2 ที่ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร่ง และความมั่นคงแกนกลางลำตัว มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม


ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา Jan 2017

ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพตามตัวแปรเพศ อายุ และระดับการศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัดรัฐบาลที่อยู่ในระดับทุติยภูมิในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 498 คน โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดของแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในการปฏิบัติตามหลัก 3อ2ส มาปรับเนื้อหาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ยังคงแปลค่าคะแนนตามแบบของกองสุขศึกษา และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.87 และผ่านการตรวจสอบความเที่ยง โดยนำแบบประเมินไปทดสอบกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคูเดอร์ ริชาร์ดสันในแบบประเมินตอนที่ 2 เท่ากับ 0.71 และจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในแบบประเมินตอนที่ 3 และตอนที่ 4 เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ "ที" (t-test) และสถิติทดสอบ "เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทำการทดสอบเป็นแบบรายคู่โดยใช้วิธีของแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้เมื่อแต่ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศอยู่ในระดับไม่ดี เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพกับปัจจัยระดับการศึกษา พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรืออนุปริญญาและระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีมีทักษะในด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศมากกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือไมได้เรียนหนังสือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ แต่ความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านการรู้เท่าทันสื่อ และสารสนเทศอยู่ในระดับไม่ดี


ผลของการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตที่มีต่อพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, พัชรี วงษาสน Jan 2017

ผลของการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตที่มีต่อพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, พัชรี วงษาสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตและเปรียบเทียบการฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิมที่มีต่อพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพศชาย ช่วงอายุ 18-25 ปี โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ด้วยวิธีการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม โดยกลุ่มทดลองที่1 ฝึกพลังอดทนแบบใช้การพักภายในเซต และกลุ่มทดลองที่2 ฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิม ฝึกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบพลังสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วบาร์เบลล์สูงสุด พลังสูงสุดเฉลี่ย แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุดเฉลี่ย และความเร็วบาร์เบลล์สูงสุดเฉลี่ย ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (Pair samples t-test) ก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่ม และค่าที (Independent samples t-test) ก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่ม โดยทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย :1.หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบใช้การพักภายในเซต มีพลังสูงสุด พลังสูงสุดเฉลี่ย ความเร็วบาร์เบลล์สูงสุด และความเร็วบาร์เบลล์สูงสุดเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และแรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุดเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 2.หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบใช้การพักภายในเซต มีพลังสูงสุด พลังสูงสุดเฉลี่ย ความเร็วบาร์เบลล์สูงสุด และความเร็วบาร์เบลสูงสุดเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุดเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย : การฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตสามารถเพิ่มพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชายได้ และสามารถพัฒนาพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยได้มากกว่ากลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิม


การเปรียบเทียบผลการฝึกระบบโพรพริโอเซ็ฟทีฟระหว่างสตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่ง กับการประยุกต์ใช้สตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่งร่วมกับแอนเคิลดิสก์ ในนักกีฬาบาสเกตบอลวัยรุ่นที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, พรภณา สุธีระ Jan 2017

การเปรียบเทียบผลการฝึกระบบโพรพริโอเซ็ฟทีฟระหว่างสตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่ง กับการประยุกต์ใช้สตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่งร่วมกับแอนเคิลดิสก์ ในนักกีฬาบาสเกตบอลวัยรุ่นที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, พรภณา สุธีระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของความแตกต่างระหว่างการฝึกระบบโพรพริโอเซ็ฟทีฟด้วยสตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่ง กับการประยุกต์ใช้สตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่งร่วมกับแอนเคิลดิสก์ ในนักกีฬาบาสเกตบอลวัยรุ่นที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมัธยมศึกษาช่วง 13 - 16 ปี จำนวน 22 คน แบ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่มจะทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ แล้วทำการทดสอบ 3 วิธีดังนี้ 1.ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของข้อเท้า 2. ทดสอบความสามารถในการทรงตัวด้วยวิธี Modified Clinical Test of Sensory Integration and Balance (m-CTSIB) และ 3.ทดสอบความสามารถในการทรงตัวด้วยวิธี Athletic single leg stability testจากนั้นหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มด้วย Paired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางที่ .05 ผลการวิจัย พบว่าหลังการฝึก 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกระบบโพรพริโอเซ็ฟทีฟโดยการการประยุกต์ใช้สตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่งร่วมกับแอนเคิลดิสก์ และการฝึกสตาร์เอ๊กเคิลชั่นบาลานเทรนนิ่งให้ผลในการช่วยพัฒนาการควบคุมการทรงตัวที่ไม่แตกต่างกัน ในนักกีฬา ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง


ผลของการฝึกเสริมด้วยการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชน, พิริยา ชนรักษา Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชน, พิริยา ชนรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชน วิธีการดำเนินงานวิจัย นักกีฬาฮอกกี้ทีมโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี เพศหญิง อายุระหว่าง 17-18 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยการฝึกวิ่งหลายทิศทางและการฝึกซ้อมปกติ และกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกซ้อมปกติ การฝึกเสริมด้วยการฝึกวิ่งหลายทิศทาง ประกอบด้วยการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป ความคล่องแคล่วว่องไว การความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่ง ความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ระยะทาง 20 เมตร การวิ่งซ้ำ และการกระโดดสูง ผลที่ได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก ทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (pair t-test) และทดสอบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสะ (independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย ภายหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกวิ่งหลายทิศทาง มีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไว การความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่ง ความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ระยะทาง 20 เมตร การวิ่งซ้ำ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และความสูงของการกระโดดในแนวดิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มควบคุม พบว่า ความเร็วในการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ลดลงแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และของตัวแปรอื่นๆ สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยการฝึกรูปแบบการวิ่งหลายทิศทางช่วยเพิ่มความสามารถของคล่องแคล่วว่องไว การความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่งในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชนได้


ผลของการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย, ภัทราวุธ ขาวสนิท Jan 2017

ผลของการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย, ภัทราวุธ ขาวสนิท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการออกกำลังกายในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนที่แตกต่างกัน และเพื่อศึกษาผลระยะยาวของการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย โดยงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา ในการศึกษาที่ 1 นักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 16 คนอายุระหว่าง 18-22 ปี ทำการวิ่งสปริ๊นท์ไปกลับแบบซ้ำเที่ยว ระยะห่าง 5 เมตร จำนวน 3 เซ็ต เซ็ตละ 6 เที่ยว เที่ยวละ 10 วินาที ด้วยความพยายามสูงสุดที่ทำได้ สลับกับการพักแบบมีกิจกรรม 20 วินาที พักระหว่างเซ็ต 5 นาที ทำการทดลอง 4 ครั้ง โดยใช้วิธีการทดลองแบบถ่วงดุลลำดับเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์โดยมีค่าออกซิเจนที่ต่างกันในแต่ละครั้ง (FIO2 = 20.9%, 14.5%, 13.5% และ 12.5%) วัดค่าระบบการหายใจและระบบไหลเวียนเลือด คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ปริมาณแลคเตทในเลือด จำนวนการสปริ๊นท์ที่สำเร็จ และการประเมินการรับรู้ความเหนื่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอร์โรนี่ ผลการศึกษาครั้งที่ 1 ใช้ในการกำหนดสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำในการศึกษาที่ 2 โดยพิจารณาจากความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นในจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแลคเตทในเลือดและคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แล้วจึงพิจารณาถึงความปลอดภัยในการนำไปใช้จากค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ในการศึกษาที่ 2 ผู้เล่นฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18 - 22 ปีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการจับคู่ตามคะแนนการทดสอบพลังแบบแอนแอโรบิก คือ กลุ่ม Hypoxic (ทำการฝึก FIO2 = 13.5%) และกลุ่มควบคุม (ทำการฝึก FIO2 = 20.9%) ผู้เข้าร่วมทำการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยทำการวิ่งสปริ๊นท์ไปกลับแบบซ้ำเที่ยว ระยะห่าง 5 เมตร จำนวน …


การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก, วรวีร์ นาคพนม Jan 2017

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก, วรวีร์ นาคพนม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก โดยมีขั้นตอนการวิจัยตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์เป็นแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นแบบจำลองในทางทฤษฎี (Hypothesis Model) ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ด้วยเทคนิคการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) โดยใช้สูตรวิธีคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกที่สุ่มได้จำนวน 538 คน ดำเนินการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างตามสมมุติฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และปรับแก้แบบจำลองเพื่อให้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL Version 8.72 จนได้รูปแบบที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2= 14.45, df= 8, p-value = .07086; Relative c2 = 1.80; GFI = 1; AGFI = .96; RMR = .0067; SRMR= .0098; RMSEA = .038; NFI = 1; IFI= 1; CFI = 1; CN = 751.69) 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรงต่อความภักดี (loyalty) ได้แก่ ความสนใจในทีม (Iit) ความสนใจในกีฬา (Iis) การเป็นตัวแทนผลสำเร็จ (Va) สภาพแวดล้อมโดยรวม (We) มูลค่าความบันเทิง (Ev) การเชื่อมสัมพันธ์กับครอบครัว (Bw_fa) การสนับสนุนชุมชน (Tcs) ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .08, .10, .23, .15, .11, …


ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกและลำตัวส่วนบน กับความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟ, วินิธา ผึ้งถนอม Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกและลำตัวส่วนบน กับความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟ, วินิธา ผึ้งถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางเชิงมุมและความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพก กับความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟ
วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาสมัครเล่นระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบโดยการตีกอล์ฟจำนวน 3 ครั้ง ด้วยแรงที่มากที่สุด (maximum efforts) และมีเวลาพักระหว่างการตีครั้งละ 1 นาที โดยผู้วิจัยติดมาร์กเกอร์จำนวน 7 จุดเพื่อนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยเลือกจากลูกกอล์ฟที่ตีได้ไกลที่สุดมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมVicon and bodybuilder program เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหว 3 มิติ ผู้วิจัยคำนวณระยะทางเชิงมุมและความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกด้วยวิธีการทางเวกเตอร์ และใช้โปรแกรม P3 Pro Swing Golf Simulator เพื่อบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลของระยะทางในการตีกอล์ฟ และความเร็วหัวไม้
ผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพกกับลำตัวส่วนบนอยู่ในระดับสูง (r = 0.83, p < 0.01), ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟอยู่ในระดับสูง (r = 0.99, p < 0.01), ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพกกับความเร็วหัวไม้อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.55, p < 0.05) และความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพกและระยะทางในการตีกอล์ฟอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.53, p < 0.05)
สรุปผลการวิจัย ความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกสัมพันธ์กับความเร็วหัวไม้และระยะทางในการตีกอล์ฟ ดังนั้นการเพิ่มความเร็วเชิงมุมของสะโพกจะทำให้ความเร็วหัวไม้และระยะทางเพิ่มขึ้น


ผลของการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศที่มีต่อประสิทธิภาพในท่าลันจ์ของนักกีฬาดาบสากล, ศิรประภา พานทอง Jan 2017

ผลของการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศที่มีต่อประสิทธิภาพในท่าลันจ์ของนักกีฬาดาบสากล, ศิรประภา พานทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศที่มีต่อประสิทธิภาพในท่าลันจ์ของนักกีฬาดาบสากล วิธีการดำเนินงานวิจัย นักกีฬาดาบสากล เพศชาย ชมรมดาบสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18 - 22 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองได้รับการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ด้วยแรงต้าน จำนวน 12 คน จากแรงดันอากาศที่ความหนัก 75% และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์แบบไม่มีแรงต้าน จำนวน 12 คน ฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึกทดสอบข้อมูลทั่วไป ความแข็งแรงสูงสุดของการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เวลาในการเปลี่ยนแปลงทิศทาง และเวลาในการเข้าทำด้วยท่าลันจ์แบบซ้ำ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึกด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และทดสอบค่าทีแบบอิสระ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงสูงสุดของการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ และค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ได้แก่ กลุ่มกล้ามเนื้อในการเหยียดเข่า ทั้ง 2 ข้าง กลุ่มกล้ามเนื้อในการกดปลายขาลงของขาตาม และกลุ่มกล้ามเนื้อในการกระดกปลายขาขึ้นของขานำเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และยังพบว่ากลุ่มทดลองมีเวลาในการเปลี่ยนแปลงทิศทางและเวลาในการเข้าทำด้วยท่าลันจ์แบบซ้ำลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศสามารถพัฒนาความแข็งแรงสูงสุดของการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เวลาในการเปลี่ยนแปลงทิศทาง และเวลาในการเข้าทำด้วยท่าลันจ์แบบซ้ำได้มากกว่าการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์แบบไม่มีแรงต้าน บ่งชี้ว่าการฝึกการเข้าทำด้วยท่าลันจ์ด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศน่าจะนำมาใช้ทำการฝึกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในท่าลันจ์ของนักกีฬาดาบสากลได้เป็นอย่างดี


ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, สหรัฐฯ ศรีพุทธา Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, สหรัฐฯ ศรีพุทธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย ระดับเยาวชนอายุ 13-15 ปี วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตซอลโรงเรียนปทุมคงคา ใช้การคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง ( Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่ (match pair) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกโปรแกรมเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และกลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกเพียงอย่างเดียว ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็ว และความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยทำการทดสอบ 3 ครั้ง คือ ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการทดสอบก่อนการทดลองที่ 1 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มทดลอง ความคล่องแคล่วว่องไวมีการลดลงของเวลา และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็ว ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มทดลองที่ 2 ความคล่องแคล่วว่องไวมีการลดลงของเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็วและความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่การฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม


การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย, สมิทธิ์ บุญชุติมา Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย, สมิทธิ์ บุญชุติมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทยเกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อและกิจกรรมการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ประกอบด้วยการสำรวจ การสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการทดลอง ผลจากการศึกษา พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ แรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์จากองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อนและเพื่อนร่วมงานชาวเมียนมาร์ มีความต้องการได้รับสุขศึกษาในโรงงาน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยในครั้งนี้เรียกว่า รูปแบบ "ENGAGE-A3" ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นได้รับความเชื่อถือ ขั้นสำรวจสภาพแวดล้อม ขั้นขอความช่วยเหลือจากคนในพื้นที่ ขั้นดำเนินกิจกรรม ขั้นดำเนินกิจกรรมแบบเกม และขั้นประเมินผล การใช้รูปแบบนี้ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการประเมินความเสี่ยง การตระหนักต่อความเสี่ยง และการช่วยสื่อสารความเสี่ยง ผู้วิจัยได้จัดทำแผนการจัดกิจกรรมตั้งแต่ขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ จนถึงขั้นประเมินผล โดยการเสริมพลังให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงงานถือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ช่วยลดอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถดำเนินการสื่อสารอย่างสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016, อธิปวัฒน์ ฉัตรกมลธรรม Jan 2017

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016, อธิปวัฒน์ ฉัตรกมลธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้เข้าชมบาสเกตบอลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาล เท่ากับ 0.94 จากผู้เข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 จากนั้นนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาร้อยละค่าเฉลี่ย ( x̄ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 จำแนกตาม เพศ โดยการนำมาทดสอบค่า"ที" (t-test) จำแนกตามอายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยการทดสอบค่า "เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่าง ใช้การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe Method) และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 โดยใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย 1. ด้านข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้เข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้เป็นเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนที่เท่ากันส่วนใหญ่มีอายุ 23 - 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,001 – 30,000 บาท 2. ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สอบถามต่อกีฬาบาสเกตบอล พบว่า ส่วนใหญ่ผู้เข้าชมบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 มีชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอลอยู่แล้ว ซึ่งจะมาชมการแข่งขันบาสเกตบอลเฉพาะรายการที่สำคัญและน่าสนใจไปกับกลุ่มเพื่อนที่เล่นบาสเกตบอลเป็นประจำ ซึ่งที่มีทักษะกีฬาบาสเกตบอลอยู่ในระดับปานกลาง (เล่นได้สนุก) โดยมีการติดตามข่าวสารผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวไปชมการแข่งขัน เพราะมีความชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอลอยู่ในระดับมากและเป็นการได้เข้าสังคมหรือกลุ่มเพื่อนที่ชื่นชอบนักกีฬา และกีฬาบาสเกตบอลเหมือนกัน และในการแข่งขันลีกปี 2016 มีการเข้าชมการแข่งขันมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไป หากไม่สามารถเข้าชมการแข่งขันในสนามได้จะมีการติดตามชมการแข่งขันผ่านโทรทัศน์ Youtube และราคาบัตรที่ซื้อเข้าชมการแข่งขันมีความเหมาะสมด้วย 3. ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจต่อการเข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วยเช่นเดียวกัน 4. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก 2016 ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา …


ผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, อนันต์ จันทา Jan 2017

ผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, อนันต์ จันทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุระหว่าง18-45 ปี จำนวน 27 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 13 คน ให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุมใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และไม่ได้รับการออกกำลังกายใดๆ สำหรับกลุ่มทดลอง ให้กลุ่มตัวอย่างทำการฝึกโยคะครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในสารคัดหลั่งในจมูก นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองในแต่ละกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 นอกจากนั้น วิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มชนิดความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way repeated measures ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยตัวแปรทางสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยอัตราส่วนปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ต่อปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1/FVC) อัตราการไหลของอากาศที่คำนวณในช่วงปริมาตร 25-75% ของปริมาตรอากาศสูงสุด (FEF25-75%) และปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) แตกต่างกับก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และมีค่าเฉลี่ยค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ส่วนค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ไม่แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม 3. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ …


ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด Jan 2017

ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง Jan 2017

การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของการใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดแลคเตทในเลือดที่เกิดจากการล้าจากการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย วิธีการศึกษา การศึกษาในรูป crossover design ในนักบาสเกตบอลที่มีทักษะสูง จำนวน 19 คน (อายุ 19.95 ± 1.87 ปี ค่าดัชนีมวลกาย 22.45 ± 1.36 กิโลกรัม/ตารางเมตร และค่าความสามารถการใช้ออกซิเจนสูงสุด 47.26 ± 2.83 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) กำหนดรูปแบบให้ใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ (แรงกดที่ผิวหนัง 16.71 ± 1.35 มิลลิเมตรปรอท) สลับกับกางเกงเลคกิ้ง (3.79 ± 1.47 มิลลิเมตรปรอท) ในลำดับการสุ่มที่เว้นระยะระหว่างโดยเว้นระยะห่างในแต่ละรูปแบบ 5 วัน ทำการวัดระดับความเข้มข้นของแลคเตทจากเลือดที่ปลายนิ้ว สมรรถภาพการกระโดดสูงสุด และ การวัดคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ gastrocnemius ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอล ผลการศึกษา ผลของกางเกงรัดกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายมีค่าแลคเตทในเลือดน้อยกว่ากลุ่มกางเกงเลคกิ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า integrated electromyography และ median frequency ขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้งช่วงหลังออกกำลังกายเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกายลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่าง การเปลี่ยนแปลง median frequency กับการเปลี่ยนแปลงของระดับแลคเตทในเลือด มีค่าความสัมพันธ์ที่ r = .2 และ r = .47 ในขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้ง ตามลำดับ สรุปผล ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกางเกงรัดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดการสะสมของแลคเตทในเลือดขณะออกกำลังกายเฉพาะบาสเกตบอลที่ทำให้เกิดอาการล้าได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใส่กางเกงเลคกิ้ง


การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง Jan 2017

การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง (CAI) เป็นผลมาจากการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ และคนที่มีภาวะ CAI ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำได้อีก การระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณรอบข้อสะโพกร่วมกับการระบุตำแหน่งของเท้าในคนที่มีภาวะ CAI ขณะมีการเคลื่อนไหว จะเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูคนที่มีภาวะ CAI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก (hip muscle activities) และความสูงจากพื้นของเท้า (foot clearance) ในช่วง terminal swing phase ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะ CAI โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาที่มีภาวะ CAI 22 คน และนักกีฬาที่ไม่มีภาวะ CAI 22 คน ทุกคนจะได้รับการติด surface electrode EMG ที่กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกข้างที่มีภาวะ CAI ในกลุ่ม CAI และข้างถนัดในกลุ่ม control เพื่อบันทึกข้อมูล muscle activity และติด reflective marker ที่ขาท่อนล่างและเท้าทั้งสองข้าง เพื่อบันทึกความสูงจากพื้นของเท้า จากนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยวิ่งเปลี่ยนทิศทางด้วยความเร็ว 3.5 - 5 เมตรต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า percent change of muscle activation ของกล้ามเนื้อ Adductor Magnus กล้ามเนื้อ Gluteus Medius และกล้ามเนื้อ Tensor Fascia Latae มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระหว่างกลุ่ม CAI และกลุ่ม control และค่าความสูงจากพื้นของเท้าในกลุ่ม CAI มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า คนที่มีภาวะ CAI มีความสูงจากพื้นของเท้าต่ำกว่าคนที่ไม่มีภาวะ CAI ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยภาวะดังกล่าว และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ ดังนั้นในโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะ CAI จึงควรให้ความสำคัญกับการฝึกกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก รวมถึงการให้ความสำคัญกับตำแหน่งของเท้าในขณะเคลื่อนไหวด้วย


ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล Jan 2017

ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง ต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) (n=13) เปรียบเทียบกับชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) (n=13) ซึ่งการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม โดยสุ่มแยกอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาล จากนั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตามด้วยการรับประทานน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการทดสอบแบบที่ 2 ทำสลับกับแบบที่ 1 โดยอาสาสมัครทั้งหมดได้รับการวัดระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขน ก่อนและภายหลังการรับประทานน้ำตาลทุกๆ 30 นาทีจนครบ 4 ชั่วโมงพบว่า หลังการรับประทานน้ำตาลอย่างเดียว ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.82±1.39 ml/100ml/min เป็น 20.61±1.75 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.84±2.47 ml/100ml/min เป็น 24.29±2.58 ml/100ml/min, p<0.01) และการออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาลพบว่า ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.72±1.68 ml/100ml/min เป็น 27.25±1.91 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.74±2.86 ml/100ml/min เป็น 34.07±2.14 ml/100ml/min, p<0.01) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าเมื่อกลุ่ม OHT มีค่าระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่ม ONT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง สามารถเพิ่มระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานน้ำตาล ในคนที่มีความดันโลหิตปกติทั้งที่มีและไม่มีประวัติความดันโลหิตในครอบครัว


ผลของการฝึกเสริมด้วยไควเอ็ทอายเทรนนิ่งที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส, พรพรรณ รักปราการ Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยไควเอ็ทอายเทรนนิ่งที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส, พรพรรณ รักปราการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกไควเอ็ทอายที่มีต่ออัตราการพัฒนาความสามารถในการเพ่งมองและความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาเทเบิลเทนนิสจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 10-14 ปี ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 10 คน เท่าๆกัน กลุ่มควบคุมทำการฝึกตามโปรแกรมการฝึกตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเสริมด้วยวิธีไควเอ็ทอายเทรนนิ่งควบคู่กับการฝึกตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบความสามารถทางการเพ่งมอง ด้วยแบบทดสอบเทรลเมกกิ้ง แบบ A และ B และแบบทดสอบความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปิน เป็นจำนวน 3 ครั้ง คือก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ ใช้การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni) และเปรียบเทียบอัตราการพัฒนาระหว่างกลุ่ม จากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 8 และจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองใช้เวลาในการทำแบบทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ A ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 การทดสอบ สำหรับการทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ B กลุ่มทดลองมีอัตราร้อยละการลดลงของเวลาที่ใช้ในการทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ B ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบในสัปดาห์ที่ 8 (25.65±9.43%) มากกว่ากลุ่มควบคุม (12.01±13.13%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .016) แต่ไม่พบความแตกต่างของการพัฒนาในช่วงสัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ในด้านความแม่นยำในการตีลูกโฟรแฮนด์ท็อปสปิน กลุ่มทดลองมีอัตราร้อยละในการเพิ่มขึ้นของคะแนนความแม่นยำมากกว่ากลุ่มควบคุมทั้งจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 (32.65±18.91% และ 12.35±17.49%, p = .023) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 8 (29.21±14.98% และ 8.31±20.80%, p = .019) และจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (61.86±23.68% และ 20.66±17.85%, p …