Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 17 of 17

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Systems Analysis Projects In Advanced Nursing Practice Education, Barfield John, Debra Smith, Maribeth Smith Dec 2001

Systems Analysis Projects In Advanced Nursing Practice Education, Barfield John, Debra Smith, Maribeth Smith

The Corinthian

The purpose of the presentation is to stimulate discussion among nursing educators regarding integration of an educational strategy which can enhance the ability of graduate students to analyze clinical and administrative problems.


ค่าใช้จ่ายของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (A Vehicle Traumatic Patient's Payment In Maharaj Nakhonsrithammaraj Hospital), สายชล หนูเอก, จุรีวัฒน์ คงทอง, วรรณี มีขวด, สุวาณี ณ นคร May 2001

ค่าใช้จ่ายของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (A Vehicle Traumatic Patient's Payment In Maharaj Nakhonsrithammaraj Hospital), สายชล หนูเอก, จุรีวัฒน์ คงทอง, วรรณี มีขวด, สุวาณี ณ นคร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าใช้จ่ายของ ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 2) เปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายในประเภทผู้บาดเจ็บที่เป็นคนเดินเท้า คนขับขี่ และคนโดยสาร 3) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของ การบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้ยานยนต์ที่ต่างกัน 4) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่คาดเข็มขัด นิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 5) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่สวมหมวกนิรภัยและไม่สวม หมวกนิรภัย 6) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ 7) เปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ได้รับอุบัติเหตุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่เข้ารับบริการ รักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จํานวน 351 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling โดยจับสลากผู้บาดเจ็บที่มารับบริการในระยะเวลาหนึ่งเดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด และแบบบันทึกค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ย โดยการทดสอบค่า ที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว \nผลการวิจัยพบว่า ผู้บาดเจ็บที่ไม่นอนโรงพยาบาล จํานวน 251 คน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 200 บาทต่อคน ผู้บาดเจ็บที่เป็นคนเดินเท้าจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ผู้บาดเจ็บที่การบาดเจ็บเกิดจาก ยานพาหนะอื่น ๆ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการบาดเจ็บที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ ผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์ มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ผู้บาดเจ็บที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ของผู้บาดเจ็บที่คาดและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, ผู้บาดเจ็บที่สวมและไม่สวมหมวกนิรภัยผู้บาดเจ็บที่เกิดเหตุ ในเวลาที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน ผู้บาดเจ็บที่นอนโรงพยาบาล จำนวน100 คน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 7,196 บาทต่อคน ไม่มีความแตกต่างกัน ในค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้บาดเจ็บในกลุ่มของประเภทผู้บาดเจ็บ ประเภทยานยนต์ ผู้บาดเจ็บที่คาดและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, ผู้บาดเจ็บที่สวมและไม่สวมหมวกนิรภัย, ผู้บาดเจ็บที่เกิดเหตุในเวลาที่ต่างกัน


การเปลี่ยนแปลงของระดับแอลฟา-ฟีโตโปรตีนและ ฮอร์โมนฮิวแมน คลอริโอนิค โกนาโดโทรปิน ของสตรีมีครรภ์และน้ําหนักทารกแรกเกิด (The Change Of Alpha-Fetoprotein (Afp) And Human Chorionic Gonadotropin (Hcg) Hormone Levels In Pregnant Women And Their Newborn Birth Weight), กัลยาณี ตันนศฤงฆาร, เบญจภรณ์ ประภักดี, สมชาย อิสระวาณิชย์, อนุสรณ์ รังสิโยธิน, วีนัส อุดมประเสริฐกุล, เริงศักดิ์ บุญบรรดาลชัย, สุชาดา มะโนทัย, อากฤษฎ์ บุญสงวน, สมร ตันธนสุทธิวงศ์, หทัยพร ชุมมณีกุล May 2001

การเปลี่ยนแปลงของระดับแอลฟา-ฟีโตโปรตีนและ ฮอร์โมนฮิวแมน คลอริโอนิค โกนาโดโทรปิน ของสตรีมีครรภ์และน้ําหนักทารกแรกเกิด (The Change Of Alpha-Fetoprotein (Afp) And Human Chorionic Gonadotropin (Hcg) Hormone Levels In Pregnant Women And Their Newborn Birth Weight), กัลยาณี ตันนศฤงฆาร, เบญจภรณ์ ประภักดี, สมชาย อิสระวาณิชย์, อนุสรณ์ รังสิโยธิน, วีนัส อุดมประเสริฐกุล, เริงศักดิ์ บุญบรรดาลชัย, สุชาดา มะโนทัย, อากฤษฎ์ บุญสงวน, สมร ตันธนสุทธิวงศ์, หทัยพร ชุมมณีกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ศึกษาระดับแอลฟา-ฟีโตโปรตีน (AFP) และฮอร์โมนฮิวแมน คลอริโอนิค โกนาโดโทรปิน (HCG) ในสตรีมีครรภ์ที่เข้ารับการตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ โดยทำการเจาะเลือดที่ช่วงอายุครรภ์ \nระหว่าง 14-18, 22-26 และ 30-34 สัปดาห์ ตามลําดับ พบว่าระดับ AFP มีค่า 61.42 ± 41.81 IU/ml (74.32 ± 50.59 ng/ml), 208.54 ± 72.62 IU/ml (252.33 ± 87.87 ng/ml) และ 260.41 ± 96.08 IU/ml (315.10 ± 116.26 ng/ml) ตามลำดับ และระดับฮอร์โมน HCG มีค่า 35,533.35 ± 200000.45 mIU/ml(3,826.59 ± 2153.85 ng/ml), 24,150.62 ±13191.36 mIU/ml (2,600.78 ± 1420.58 ng/ml) และ 351917.35 ± 22697.51 mIU/ml (3,867.94 ± 2444.29 ng/ml) ตามลำดับ ส่วนน้ำหนัก เฉลี่ยของทารกแรกเกิดมีค่า 3,121.74 + 363.64 กรัม


การสร้างแรงจูงใจยุคใหม่, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ May 2001

การสร้างแรงจูงใจยุคใหม่, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Developing Instruments For Cross-Cultural Research, วราภรณ์ ชัยวัฒน์ May 2001

Developing Instruments For Cross-Cultural Research, วราภรณ์ ชัยวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

เครื่องมือวิจัยที่ได้รับการพัฒนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางซีกโลกตะวันตกมักได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่ดีหรือเป็นเครื่องมือมาตรฐาน ดังนั้นนักวิจัยส่วนใหญ่จึงนิยมนำเครื่องมือเหล่านั้น มาแปลเพื่อใช้ในการวิจัยของตน โดยไม่ได้ให้ความสนใจมากนักเกี่ยวกับผลของความแตกต่างของภาษาวัฒนธรรม และลักษณะประชากรต่อความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือ บทความนี้เป็นการกล่าวถึงผลกระทบเหล่านั้น และวิธีการสร้างเครื่องมือวิจัยสำหรับใช้ในการวิจัยข้ามวัฒนธรรม


การปฐมนิเทศโดยใช้กระบวนการกลุ่ม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ May 2001

การปฐมนิเทศโดยใช้กระบวนการกลุ่ม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


คุณภาพบริการพยาบาลในยุคแข่งขัน, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร May 2001

คุณภาพบริการพยาบาลในยุคแข่งขัน, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการในคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ (Program Evaluatlion On The Satisfaction Of Clients And Health Teams At Family Medicine Clinic Department Of Social Medicine, Hat Yai Hospital), นวลตา อาภาคัพภะกุล May 2001

การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการในคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ (Program Evaluatlion On The Satisfaction Of Clients And Health Teams At Family Medicine Clinic Department Of Social Medicine, Hat Yai Hospital), นวลตา อาภาคัพภะกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การศึกษานี้วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการคลินิกเวชปฏิบัติ ครอบครัว โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการ จำนวน 200 คน 2) แพทย์ผู้ให้บริการประจำคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว 2 คน 3) พยาบาลและเจ้าหน้าที่ จำนวน 27 คน 4) แพทย์ทั้งในและนอกคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว 4 คน 5) หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม และ 6) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ การเก็บรวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ เจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกันสุขภาพ มีอาชีพค้าขายและรับจ้าง รายได้เฉลี่ย 6,600 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว มีการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มาใช้บริการเฉลี่ย 6 ครั้งต่อปี ผู้รับบริการส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมารับบริการเฉลี่ย ประมาณ 18 นาที รวมเวลาที่ใช้ในการมารับบริการที่คลินิกประมาณ 37 นาที และคิดว่าจะยังคงมาใช้บริการ \nที่คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวเพราะมีความพอใจในบริการที่ได้รับและไม่เสียเวลาในการรอรับบริการมากกว่า เหตุผลอื่น 2) โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจในระดับมาก ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ห้องรอตรวจ แพทย์ ห้องยา ห้องทำหัตถการ และบรรยากาศทั่วไป แต่ที่พอใจน้อยที่สุดคือ คุณภาพของยาที่ได้รับ 3) พยาบาลและ เจ้าหน้าที่ มีความพึงพอใจต่อการให้บริการและเห็นความสำคัญของการจัดให้มีคลินิกเวชปฏิบัติคู่การดูแล ทั้งชุมชนได้ดี 6) ผู้บริหารระดับกลางและสูงพอใจในระดับหนึ่ง การขยายงานต่อไป คือ การเป็นแม่ขาย ในการดำเนินงาน และเป็นแหล่งความรู้ของนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวจะยังคงดำเนินนโยบายและให้การสนับสนุนต่อไป และเน้นที่การเป็นแม่ข่าย ในการดำเนินงาน และเป็นแหล่งความรู้


ผลของการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด โดยใช้กระบวนการพยาบาลต่อประสิทธิภาพการบันทึก และการรับรู้คุณค่าของวิชาชีพพยาบาล (Effects Of Using Perioperation Nursing Documentation By Using Nursing Process On Nursing Documentation Efficiency And Perceived Value Of Nursing Profession), จริดาภรณ์ ธนบัตร, ยุพิน อังสุโรจน์ May 2001

ผลของการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด โดยใช้กระบวนการพยาบาลต่อประสิทธิภาพการบันทึก และการรับรู้คุณค่าของวิชาชีพพยาบาล (Effects Of Using Perioperation Nursing Documentation By Using Nursing Process On Nursing Documentation Efficiency And Perceived Value Of Nursing Profession), จริดาภรณ์ ธนบัตร, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยใช้ กระบวนการพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้คุณค่าของวิชาชีพการพยาบาลก่อนและหลังการใช้แบบ บันทึก กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิคทุกคน ที่ปฏิบัติงานในแผนกผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง จำนวน 15 คน และแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด จำนวน 30 ฉบับ \nเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยใช้กระบวนการพยาบาลพร้อม คู่มือการใช้แบบบันทึก แบบตรวจสอบประสิทธิภาพการบันทึกด้านความครอบคลุมตามกระบวนการบันทึก \nด้านการบริหารความเสี่ยงและด้านความถูกต้องตามกฎหมาย แบบสอบถามประสิทธิภาพการบันทึก ด้านความคล่องตัวในการบันทึก และแบบสอบถามการรับรู้คุณค่าของวิชาชีพการพยาบาล ทุกฉบับผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed rank test \nผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการบันทึกของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยใช้กระบวนการพยาบาลด้านความครอบคลุมตามกระบวนการบันทึกอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารความเสี่ยงอยู่ใน ระดับดี ด้านความถูกต้องตามกฎหมายอยู่ในระดับดีมาก และด้านความคล่องตัวในการบันทึกอยู่ในระดับมาก และการรับรู้คุณค่าของวิชาชีพการพยาบาลก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลผ่าตัดโดยใช้ \nกระบวนการพยาบาลไม่แตกต่างกัน


ผู้บริหารการพยาบาล บรรยากาศที่เป็นสุขในงานบริการพยาบาล, ลดาวัลย์ รวมเมฆ Jan 2001

ผู้บริหารการพยาบาล บรรยากาศที่เป็นสุขในงานบริการพยาบาล, ลดาวัลย์ รวมเมฆ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


เครื่องมือวัดความพึงพอใจในงาน (Job-Satisfaction Instruments), ชนกพร จิตปัญญ, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, กัลยา แก้วธนะสิน, หทัยรัตน์ โชคชัยธนากุล Jan 2001

เครื่องมือวัดความพึงพอใจในงาน (Job-Satisfaction Instruments), ชนกพร จิตปัญญ, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, กัลยา แก้วธนะสิน, หทัยรัตน์ โชคชัยธนากุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล (Factors Related To Critical Thinking Ability Of Student Nurses), จินตนา ยูนิพันธุ์, ประนอม รอดคำดี Jan 2001

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล (Factors Related To Critical Thinking Ability Of Student Nurses), จินตนา ยูนิพันธุ์, ประนอม รอดคำดี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาประกอบด้วย ชั้นปีที่เรียน คะแนนเฉลี่ยสะสม ที่ตั้งของสถาบัน ความเชื่ออํานาจแห่งตน ความเป็นอิสระแห่งตน แบบการเรียน และการรับรู้พฤติกรรมการดูแลของอาจารย์ พยาบาล กับความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ \nความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ที่ศึกษาภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 433 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยด้านนักศึกษา แบบสอบถามปัจจัย ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน แบบสอบความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าความสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิดวิจารณญาณ โดยรวมและ รายด้าน ของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นการอนุมานอยู่ในระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ยสะสม มีความสัมพันธ์ ทางบวกและสถานที่ตั้งของสถาบันที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ทางลบ กับความสามารถในการ คิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลอาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย กับอาการวิตกกังวล ขณะเผชิญของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Relationships Between Personal Factors, Trait Anxiety And State Anxiety Of Pregnants With Hyperemesis Gravidarum.), ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร, พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล Jan 2001

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลอาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย กับอาการวิตกกังวล ขณะเผชิญของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Relationships Between Personal Factors, Trait Anxiety And State Anxiety Of Pregnants With Hyperemesis Gravidarum.), ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร, พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความสามารถในการเบิกค่ารักษา อาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย และ อาการวิตกกังวลขณะเผชิญ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง และได้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม 3 คณะแพทย ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในระหว่างเดือนมีนาคม 2541 ถึง มีนาคม 2543 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. FW Version 7.5 ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความสามารถในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นอุปนิสัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัยมีความสําคัญทางบวกกับอาการ วิตกกังวลขณะเผชิญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นอุปนิสัยและระดับการศึกษา สามารถร่วมกันทำนายอาการวิตกกังวลขณะเผชิญได้ร้อยละ 14.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย ครั้งนี้พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง โดยการ ให้ข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดอาการวิตกกังวล และสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้อย่างมีความสุข


การรักษาโรคบาดทะยักใน ไอ.ซี.ยู โรงพยาบาลตำรวจ, สุวัฒนา โภคสวัสดิ์ Jan 2001

การรักษาโรคบาดทะยักใน ไอ.ซี.ยู โรงพยาบาลตำรวจ, สุวัฒนา โภคสวัสดิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

บาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Clostridium Tetani ซึ่งเป็น Anaerobic bacteria ทำให้เกิดโรคที่มีอาการทารุณต่อผู้ป่วยมาก และยังมีอัตราการตายค่อนข้างสูง แต่เมื่อผู้ป่วยหายแล้ว จะไม่มี Neurological deficit หลงเหลือเลย และข้อที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ Immunization สำหรับโรคบาดทะยัก ได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซนต์ มีอันตรายจากการฉีดวัคซีนน้อยมาก และราคาถูกมาก แต่เราก็ยังพบผู้ป่วยบาดทะยัก อยู่เสมอในประเทศของเรา


ปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงาน และ การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน กับการรับรู้ ความสามารถด้านการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (Personal Factors, Work Environment, And Job Empowerment By Nurse Directors With Managerial Self-Efficacy Of Head Nurses, Medical Centers Under The Jurisdiction Of The Ministry Of Public Health), ภัสรา จารุสุสินธ์, ยุพิน อังสุโรจน์ Jan 2001

ปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงาน และ การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน กับการรับรู้ ความสามารถด้านการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (Personal Factors, Work Environment, And Job Empowerment By Nurse Directors With Managerial Self-Efficacy Of Head Nurses, Medical Centers Under The Jurisdiction Of The Ministry Of Public Health), ภัสรา จารุสุสินธ์, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมใน การทำงาน และการได้รับการเสริมสร้างพลังอํานาจในงานของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล กับการรับรู้ ความสามารถด้านการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 277 คน \nผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการรับรู้ความสามารถด้านการจัดการโดยรวมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในตําแหน่ง และการได้รับการอบรม ด้านการบริหาร ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถด้านการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทํางาน และการได้รับการเสริมสร้างพลังอํานาจในงานของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การรับรู้ความสามารถด้านการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .65 และ .43 ตามลำดับ)


การเตรียมแผนการสอน : แนวทางการปฏิบัติ, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2001

การเตรียมแผนการสอน : แนวทางการปฏิบัติ, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผลของโครงการชั้นเรียนปลอดบุหรี่ ต่อความรู้และเจตคติต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา (Effect Of Smoke Free Class Project On Knowledge And Attitude In Cigarette-Smoking Of Mathayomsuksa 1 Thasalaprasitsuksa School), เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ, วิเชียร ชูเสมอ Jan 2001

ผลของโครงการชั้นเรียนปลอดบุหรี่ ต่อความรู้และเจตคติต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา (Effect Of Smoke Free Class Project On Knowledge And Attitude In Cigarette-Smoking Of Mathayomsuksa 1 Thasalaprasitsuksa School), เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ, วิเชียร ชูเสมอ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงความรู้และเจตคติของนักเรียนภายหลัง การให้ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้และเจตคติในการป้องกันตนเอง จากบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา ปีการศึกษา 2541 ทั้งหญิงและชาย จำนวน 474 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวน 269 และ 205 คนตามลำดับ กิจกรรมการให้ความรู้ประกอบด้วยการชมวิดีทัศน์ กิจกรรมเกมส์นักข่าว กิจกรรมบทบาทสมมุติเรื่องการปฏิเสธบุหรี่ และกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และเจตคติ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าความรู้และเจตคติสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ \nหลังการประเมินผล ครั้งที่ 1 และกลุ่มทดลองมีค่าความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ หลังการติดตามผล 1 ปี ส่วนเจตคติไม่แตกต่างกัน