Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2001

Nursing

Chulalongkorn University

Traumatic patients

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ค่าใช้จ่ายของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (A Vehicle Traumatic Patient's Payment In Maharaj Nakhonsrithammaraj Hospital), สายชล หนูเอก, จุรีวัฒน์ คงทอง, วรรณี มีขวด, สุวาณี ณ นคร May 2001

ค่าใช้จ่ายของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (A Vehicle Traumatic Patient's Payment In Maharaj Nakhonsrithammaraj Hospital), สายชล หนูเอก, จุรีวัฒน์ คงทอง, วรรณี มีขวด, สุวาณี ณ นคร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าใช้จ่ายของ ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 2) เปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายในประเภทผู้บาดเจ็บที่เป็นคนเดินเท้า คนขับขี่ และคนโดยสาร 3) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของ การบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้ยานยนต์ที่ต่างกัน 4) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่คาดเข็มขัด นิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 5) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่สวมหมวกนิรภัยและไม่สวม หมวกนิรภัย 6) เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ 7) เปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ได้รับอุบัติเหตุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่เข้ารับบริการ รักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จํานวน 351 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling โดยจับสลากผู้บาดเจ็บที่มารับบริการในระยะเวลาหนึ่งเดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด และแบบบันทึกค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ย โดยการทดสอบค่า ที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว \nผลการวิจัยพบว่า ผู้บาดเจ็บที่ไม่นอนโรงพยาบาล จํานวน 251 คน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 200 บาทต่อคน ผู้บาดเจ็บที่เป็นคนเดินเท้าจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ผู้บาดเจ็บที่การบาดเจ็บเกิดจาก ยานพาหนะอื่น ๆ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการบาดเจ็บที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ ผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์ มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ผู้บาดเจ็บที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ของผู้บาดเจ็บที่คาดและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, ผู้บาดเจ็บที่สวมและไม่สวมหมวกนิรภัยผู้บาดเจ็บที่เกิดเหตุ ในเวลาที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน ผู้บาดเจ็บที่นอนโรงพยาบาล จำนวน100 คน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 7,196 บาทต่อคน ไม่มีความแตกต่างกัน ในค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้บาดเจ็บในกลุ่มของประเภทผู้บาดเจ็บ ประเภทยานยนต์ ผู้บาดเจ็บที่คาดและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, ผู้บาดเจ็บที่สวมและไม่สวมหมวกนิรภัย, ผู้บาดเจ็บที่เกิดเหตุในเวลาที่ต่างกัน