Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

1991

Dentistry

Dental Student

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความเครียดในกลุ่มนิสิตทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนีย์ จรัสพรสาธิต, วราณี วังกังวาน, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ May 1991

ความเครียดในกลุ่มนิสิตทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนีย์ จรัสพรสาธิต, วราณี วังกังวาน, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

ในสังคมปัจจุบัน ความเป็นอยู่และสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป ทำให้สภาพจิตใจของคนในสังคมค่อนข้าง เครียด ในด้านการศึกษา การแข่งขันค่อนข้างสูงโดยเฉพาะการเรียนทันตแพทย์ ได้มีการวิจัยพบว่า นิสิตทันตแพทย์ จะมีความเครียดตั้งแต่เริ่มสอบเข้า ดังนั้น ในการศึกษานี้จึงต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับความเครียด ซึ่งเกิดขึ้นใน นิสิต 3 กลุ่มคือ ก่อนขึ้นคลินิก คลินิก และหลังปริญญา โดยการเปรียบเทียบความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม และหาความสัมพันธ์ของความเครียดที่เกิดขึ้นกับปัจจัยร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้ Test Anxiety Inventory (TAI) ของ Spielberger เป็นการวัดความเครียดและออกแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยร่วม ได้แก่ ประวัติ ส่วนตัว ประวัติทางการแพทย์ การสูบบุหรี่ ลักษณะที่อยู่อาศัย รายได้ของครอบครัว การเรียนการสอนในวิชา ทันตแพทย์ การจัดเวลาเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา และกลุ่มบุคลากรพยาบาล และวิเคราะห์ข้อมูลโดย SPSS PC ซึ่งพบว่าความเครียดของนิสิตทันตแพทย์กลุ่มก่อนคลินิกมีค่าเฉลี่ย 25.44 ±12.15 คลินิก 23.16 ± 9.86 และ หลังปริญญา 20.97 ± 9.87 และทั้ง 3 กลุ่มมีค่า Stress index เฉลี่ย 23.44 ± 10.83 ซึ่งไม่พบความแตกต่างของ ระดับความเครียดในทั้ง 3 กลุ่ม แต่ในกลุ่มก่อนคลินิกและคลินิกพบว่า นิสิตทันตแพทย์มี Stress index สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 40 นอกจากนั้นยังพบว่า นิสิตมีความเครียดจะสูบบุหรี่ และอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ไม่สะดวก นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยร่วมที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดที่เกิดขึ้นกับนิสิตทันตแพทย์ได้แก่ การจัดเวลาในการเรียนโดยเฉพาะวิชาทางคลินิก การเตรียมตัวของนิสิตในด้านการเรียน และความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันของนิสิตทันตแพทย์กับบุคลากรพยาบาล ซึ่งผลจากการวิจัยนี้น่าจะมีประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้นิสิตมีความเครียดน้อยลงและมีคุณภาพมากขึ้น