Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

The Thai Journal of Veterinary Medicine

1994

พิษเฉียบพลัน เอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรส เมททิลพาราไธออน ปลากะพงขาว

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

พิษเฉียบพลันของเมททิลพาราไธออนในปลากะพงขาว (Lates Calcarifer), สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, ภัทรา หาญจริยากูล, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ Jun 1994

พิษเฉียบพลันของเมททิลพาราไธออนในปลากะพงขาว (Lates Calcarifer), สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, ภัทรา หาญจริยากูล, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ปลากะพงขาวขนาด 8.5 ± 0.5 ซม. 10 กลุ่ม ๆ ละ 50 ตัวสัมผัสกับสารฆ่าแมลง เมททิลพาราไธออนที่ขนาดความเข้มข้น 0.5-2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยวิธีแบบแช่ นาน 96 ชั่วโมง พบว่าค่า LC50 ภายใน 96 ชั่วโมงเท่ากับ 1.48 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราการตายและ ความรุนแรงของอาการเป็นพิษในปลาเพิ่มขึ้นตามขนาดของความเข้มข้นของสารฆ่าแมลงที่ให้ ในขณะเดียวกันพบว่าสมรรถนะของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในกล้ามเนื้อ และสมองลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) มีความสัมพันธ์กันระหว่างสมรรถนะของเอนไซม์ในสมองและ ในกล้ามเนื้อที่ลดลงกับความเข้มข้นของสารฆ่าแมลง ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาแสดงให้เห็นว่ามีการตายของเซลล์ตับและกล้ามเนื้อ เหงือกถูกทำลายโดยทั่วไป ผลทางจุลพยาธิ เห็นได้เด่นชัดหลังจากปลาสัมผัสกับเมททิลพาราไธออนไปแล้ว 48 ชั่วโมง ปลาส่วนใหญ่ที่สัมผัสกับเมททิลพาราไธออนที่ความเข้มข้นสูงตายทันทีหลังจากสัมผัสสาร แต่ไม่แสดงความ ผิดปกติทางพยาธิสภาพเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการวัดสมรรถนะของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในสมอง และกล้ามเนื้อปลากะพงขาวสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออแกโนฟอสเฟตในปลาได้